
 |
|
 |
 |
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
ซิมบิเดียมคืออะไร???
 กล้วยไม้ซิมบิเดียมเป็นกล้วยไม้ที่มีความสวยงามทั้งด้านรูปทรงของพุ่มใบ ดอก และ สีสันที่หลากหลาย รวมทั้งการดูแลรักษาที่ง่าย ทำให้ซิมบิเดียมเป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วโลก อย่างไรก็ตามความนิยมดังกล่าวค่อนข้างจะจำกัดอยู่ในเขตที่มีอากาศอบอุ่น หรือ หนาวเย็น เช่นในแถบยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลี จีน และญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะกล้วยไม้ซิมบิเดียมที่ชาวตะวันตกเก็บไปเพาะเลี้ยงและปรับปรุงพันธ์ส่วนใหญ่มาจากแถบเทือกเขาหิมาลัย ยูนนาน ภาคเหนือของพม่า เวียดนาม ทำให้ลูกผสมกล้วยไม้ซิมบิเดียมส่วนใหญ่ต้องการอากาศที่หนาวเย็นในการออกดอก อีกทั้งในอดีตนิยมปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ ก้านช่อแข็งแรงและ บานทน ซึ่งกล้วยไม้ซิมบิเดียม สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว มักมีแหล่งกำเนิดในบริเวณเทือกเขาที่มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็นเท่านั้น จากคุณสมบัติของการบานทน ก้านช่อแข็งแรง และสีสันที่หลากหลายนี้เองที่ทำให้กล้วยไม้ซิมบิเดียมตัดดอกในตลาดประมูลของเนเธอร์แลนด์มีมูลค่าสูงสุดในกลุ่มกล้วยไม้ตัดดอกด้วยกัน ปัจจุบันแหล่งผลิตและปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ซิมบิเดียมอยู่ในเขตอบอุ่นทั้งหมด ได้แก่ ตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และ เนเธอร์แลนด์ ส่วนในอนาคตอันใกล้คาดว่าจะรวมเอายูนนานของจีนเป็นแหล่งผลิตกล้วยไม้ซิมบิเดียมเมืองหนาวที่สำคัญอีกแห่ง

ในระยะหลังได้มีความพยายามที่จะสรรหาคุณลักษณะแปลกใหม่ออกไป ทำให้มีการนำเอากล้วยไม้ซิมบิเดียมสายพันธุ์ต่างๆนอกเหนือจากกลุ่มเดิม เข้ามาในการปรับปรุงพันธุ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้เป็นไม้กระถาง ไม่ต้องการอากาศที่หนาวเย็นเพื่อกระตุ้นตาดอก รวมทั้งเปลี่ยนฤดูการออกดอกให้มีซิมบิเดียมบานในฤดูร้อนของเขตอบอุ่น และยังมีคุณสมบัติอื่นๆเพิ่มขึ้น เช่น มีกลิ่นหอม มีลายจุดเล็กๆกระจาย และรูปลักษณ์ของพุ่มใบที่มีลักษณะกระเดียดไปทางซิมบิเดียมจีน (Chinese Cymbidium) หรือไม่ก็เป็นประเภทช่อห้อยยาว ซึ่งต้องเลี้ยงเป็นไม้แขวน

กล้วยไม้ซิมบิเดียมจัดเป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอ (sympodial) ลำต้นลดรูปและอัดแน่นเป็นหัวเทียม (psuedo bulb) บางชนิดหัวเทียมมีลักษณะกลม ป่อง เด่นชัด บางชนิดแบนยาวหรือเป็นลำต้นยืดยาว กล้วยไม้ซิมบิเดียมในธรรมชาติมีทั้งที่ เจริญบนต้นไม้ใหญ่ บนหิน และบนพื้นดิน รากของกล้วยไม้ซิมบิเดียมส่วนใหญ่หนาไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิเมตร มี velamen สีขาวหุ้มอยู่ ใบของกล้วยไม้ซิมบิเดียมส่วนใหญ่มีลักษณะบาง ยาว แคบ ปลายแหลมและมีแนวหรือร่องกลางใบตลอดความยาวของใบ ใบของกล้วยไม้ซิมบิเดียมส่วนใหญ่มีลักษณะอ่อนโค้งแต่ในบางชนิดได้มีการพัฒนาใบให้มีลักษณะหนาแข็ง(coriaceous) และ/หรือตั้งตรง เพื่อให้สามารถทนต่อสภาวะที่แห้งแล้งได้เช่นใน กะเระร่อนต่างๆและ บางสายพันธุ์ที่พบในออสเตรเลีย ใบของกล้วยไม้ซิมบิเดียมส่วนใหญ่เรียงอัดแน่นเป็นระเบียบสวยงามเหมือนพัด (fan-like shape or plicate) อยู่บนส่วนยอดของหัวเทียม ทำให้กล้วยไม้ซิมบิเดียมมีรูปทรงที่สวยงามแม้ในยามที่ไม่มีดอก จากประวัติศาสตร์ของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เน้นที่จะชี่นชมความงามของพุ่มใบมากกว่าดอกเสียอีก
สกุลกล้วยไม้ซิมบิเดียมมีทั้งหมดประมาณ 44 ชนิดแบ่งได้เป็น 3 สกุลย่อย
1. สกุลย่อยไซเปอโรคิส Sub-Genus Cyperorchis เป็นกลุ่มที่มีต้นและดอกขนาดใหญ่และชอบอากาศเย็น ก้านช่อดอกแข็งแรง ดอกบานทนนาน ส่วนใหญ่ไม่มีกลิ่นหอม สามารถแบ่งได้เป็น 5 section 1.1 Section Iridorchis Cymbidium lowianum* Cymbidium iridiodes Cymbidium tracyanum* Cymbidium hookerianum Cymbidium sanderae Cymbidium insigne* Cymbidium erythraeum Cymbidium schroederi
1.2 Section Eburnea Cymbidium mastersii* Cymbidium roseum*** Cymbidium eburneum
1.3 Section Annamaea Cymbidium erythrostylum
1.4 Section Cyperorchis Cymbidium elegans Cymbidium cochleare Cymbidium whiteae Cymbidium sigmoideum
1.5 Section Parishiella Cymbidium tigrinum**
2. สกุลย่อยซิมบิเดียม Sub-Genus Cymbidium เป็นกลุ่มทีมีดอกขนาดเล็กจำนวนดอกต่อช่อมาก ส่วนใหญ่ช่อดอกห้อยลง แต่บางชนิดก็ตั้งตรง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ใบหนา หลายชนิดทนร้อนและความแห้งแล้งได้ดี สามารถแบ่งได้เป็น 6 section
2.1 Section Cymbidium Cymbidium aloifolium* Cymbidium bicolor* Cymbidium rectum Cymbidium finlaysonianum* Cymbidium atropurpureum**
2.2 Section Borneense Cymbidium borneense
2.3 Section Himantophyllum Cymbidium dayanum*
2.4 Section Austrocymbidium Cymbidium hartinahianum Cymbidium madidum Cymbidium canaliculatum Cymbidium suave Cymbidium chloranthum*** Cymbidium elongatum
2.5 Section Floribundum Cymbidium floribundum (pumilum) Cymbidium sauvissimum
2.6 Section Bigibbarium Cymbidium devonianum*
3. สกุลย่อยเจนโชว Sub-Genus Jensoa เป็นกลุ่มที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า Chinese Cymbidium มีลักษณะเด่นที่พุ่มใบอ่อนช้อยงดงาม ใบแคบบางเหมือนกอหญ้า ดอกมีขนาดเล็กแลดูบอบบางและไม่เด่น ช่อดอกส่วนใหญ่ตั้งตรง มีกลิ่นหอมแรง แบ่งได้เป็น 4 section
3.1 Section Jensoa Cymbidium sinense* Cymbidium ensifolium* Cymbidium kanran Cymbidium munronianum**
3.2 Section Maxillaianthe Cymbidium cyperifolium* Cymbidium faberi Cymbidium goeringii
3.3 Section Geocymbidium Cymbidium lancifolium*
3.4 Section Pachyrhizanthe Cymbidium macrorhizon*
Create Date : 02 สิงหาคม 2548 |
Last Update : 28 สิงหาคม 2552 15:50:35 น. |
|
12 comments
|
Counter : 6219 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: ต้น/otonil (otonil ) วันที่: 7 สิงหาคม 2548 เวลา:23:29:52 น. |
|
โดย: surgery วันที่: 8 สิงหาคม 2548 เวลา:18:32:50 น. |
|
โดย: ปาปิลัน (ปาปิลัน ) วันที่: 10 สิงหาคม 2548 เวลา:11:04:31 น. |
|
โดย: บัวเ IP: 58.147.39.90 วันที่: 12 สิงหาคม 2548 เวลา:17:52:27 น. |
|
โดย: zouthfern (fern_south ) วันที่: 13 สิงหาคม 2548 เวลา:22:31:15 น. |
|
โดย: สำเภางาม วันที่: 22 สิงหาคม 2548 เวลา:23:44:54 น. |
|
โดย: jaxcu วันที่: 4 พฤศจิกายน 2548 เวลา:8:50:08 น. |
|
โดย: ไอยเรศแดง วันที่: 26 ธันวาคม 2549 เวลา:23:06:16 น. |
|
โดย: มาดามนิบง IP: 203.114.113.22 วันที่: 14 มกราคม 2550 เวลา:20:22:40 น. |
|
โดย: ฟืเำส IP: 124.120.161.195 วันที่: 23 มีนาคม 2550 เวลา:3:18:54 น. |
|
โดย: pmp orchid IP: 202.57.179.252 วันที่: 18 พฤษภาคม 2550 เวลา:15:16:48 น. |
|
| |
|
สำเภางาม |
 |
|
 |
|
สวยจังเลยคัฟผม