ถนนสายนี้มีตะพาบ ประจำหลักกิโลเมตรที่ 359 : รอยยิ้มที่ไม่มีวันลืม "พิพิธภัณฑ์พระราม 9"
ถนนสายนี้มีตะพาบ ประจำหลักกิโลเมตรที่ 359 : รอยยิ้มที่ไม่มีวันลืม "พิพิธภัณฑ์พระราม 9"
พิพิธภัณฑ์พระราม 9 ตั้งอยู่ ตำบล คลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
พิกัด : https://maps.app.goo.gl/cRbng4tGXwSCQzgU6 



วันนี้ผมจะพามาดูรอยยิมของนักเรียนของผมที่ได้มาศึกษานอกสถานที่ (ทัศนศึกษา)
ที่พิพิธภัณฑ์พระราม 9 หรือ ที่คนจะรู้จักกันในชื่อ อาคารลูกเต๋า มีอะไรที่ให้เรียนรู้กันบ้างไปดูกัน



มาที่ห้องจัดแสดงที่ 1 OUR HOME นำเสนอเรื่องราวของการกำเนิดจักรวาล ระบบสุริยะ
และโลก ไปจนถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเกิดสายพันธุ์มนุษย์ที่สามารถปรับตัว
เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก ประกอบด้วยส่วนจัดแสดง



กำเนิดจักรวาล (BIG BANG) จุดเริ่มต้นของทุกสรรพสิ่ง สรรพชีวิตบนโลกเป็นผล
สืบเนื่องมาจากการระเบิดครั้งใหญ่หรือบิ๊กแบงซึ่งก่อให้เกิดจักรวาล ระบบสุริยะ และโลก



ที่พักพิง (SHELTER) กว่าโลกจะกลายมาเป็น “บ้าน” ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนั้น
ได้ผ่านวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น การก่อตัว
และการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศต่าง ๆ



วัฏจักรของน้ำที่ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในโลก ชั้นบรรยากาศ อุณหภูมิ
กระแสลม กระแสน้ำ ฯลฯ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เอื้อให้สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมา
ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับลักษณะทางกายภาพของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ



ชีวิต (LIFE) ชีวิตบนโลกเริ่มต้นขึ้นจากการเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ต่อมาอิทธิพล
ของสิ่งแวดล้อมส่งผลให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวจนมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นและถ่ายทอด
ลักษณะต่าง ๆ สู่ลูกหลานผ่านดีเอ็นเอ



วิวัฒนาการและการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (EVOLUTION AND MASS EXTINCTION)
สิ่งมีชีวิตต้องพยายามปรับตัวเพื่ออยู่รอด โดยสะท้อนให้เห็นผ่านรูปแบบของวิวัฒนาการ



และเผชิญกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่หลายครั้ง ร่องรอยดังกล่าวนี้ปรากฏให้เห็นผ่านซาก
ดึกดำบรรพ์ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้นำมาศึกษาเพื่อบอกเล่าถึงความเป็นมาของโลกและสิ่งมีชีวิต



การเดินทางของมนุษยชาติ (HUMAN ODYSSEY) ในห้วงเวลาแห่งวิวัฒนาการ
อันยาวนานของสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์มนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด มีชีวิต
และความเป็นอยู่อย่างไร และเผ่าพันธุ์ของเราจะเป็นอย่างไรต่อไร



เป็นคำถามสำคัญที่สามารถค้นหาคำตอบได้จากส่วนจัดแสดงนี้ ผ่านตัวอย่างมนุษย์
สายพันธุ์หลัก ๆ ที่แสดงถึงวิวัฒนาการทางกายภาพ จนกระทั่งมนุษย์สามารถยืนตัวตรง
เดินสองขาได้อย่างมั่นคง รวมไปถึงการใช้มือที่มีลักษณะพิเศษ และสติปัญญาในการ
สร้างสรรค์วัฒนธรรม เพื่อปรับตัวและอยู่รอดตามสภาพแวดล้อมของโลกที่แตกต่างกันออกไป



นักเรียนของผมได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ และได้ทำอะไรที่สนุกมากกมาย ได้ฝึกการสังเกตุ
ทำให้อยากเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เห็นรอยยิ้มของนักเรียน
ที่มีความสุขที่ได้มาศึกษานอกสถานที่ในครั้งนี้



ใครที่ยังไม่ได้เข้าไปอ่านบล๊อก ไหว้หลวงพ่อสมหวัง ขอโชคลาภ เสริมดวง
วัดกลางบางพระ นครปฐม
 
สามารถกดที่นี่ได้เลยครับ



ฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว : 
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341 



ฝากกดติดตาม YouTube PT Channel : 
https://www.youtube.com/channel/UCGZdHn45JVfiyGdW4wZE0Tw 



ขอบคุณที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผม
"นายแว่นขยันเที่ยว"



ขอบคุณเพลง : 9 นาฬิกา
ศิลปิน : SPF
Vote : ท่องเที่ยวไทย




Create Date : 06 กันยายน 2567
Last Update : 7 กันยายน 2567 16:29:24 น.
Counter : 315 Pageviews.

3 comments
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณtoor36, คุณmultiple, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณปรศุราม, คุณทนายอ้วน, คุณhaiku, คุณกะว่าก๋า, คุณปัญญา Dh, คุณnewyorknurse, คุณดอยสะเก็ด, คุณpeaceplay, คุณหอมกร, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณSweet_pills, คุณtuk-tuk@korat, คุณ**mp5**

  
จริงๆ พวกพิพิธภัณฑ์ในไทยเยอะนะ น่าสนใจ แถวทำได้ดีด้วย แต่เดินทางไปเยี่ยมชมค่อนข้างลำบากครับ การขนส่งสาธารณะเข้าถึงน้อย เรียกว่าถ้าไม่มีรถส่วนตัวค่าใช้จ่ายพุ่งเลยล่ะครับ
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 6 กันยายน 2567 เวลา:16:57:11 น.
  
การที่เด็กๆ ได้ออกมาดูอะไรนอกสถานที่นี่
มักจะมีความสนุกสนาน น่าตื่นตาตื่นใจมากเลยนะครับ
ยิ่งพามาดูเรื่องน่าสนใจแบบนี้ ยิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างดีเลยนะครับ

โดย: multiple วันที่: 6 กันยายน 2567 เวลา:19:10:07 น.
  
โดย: หอมกร วันที่: 7 กันยายน 2567 เวลา:19:02:18 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

BlogGang Popular Award#20



นายแว่นขยันเที่ยว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]



กันยายน 2567

1
3
5
7
8
10
12
14
15
17
19
21
22
24
26
28
29
 
 
All Blog