มิถุนายน 2567

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
6
8
9
10
12
14
15
16
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
เรื่องเล่ากว่าจะเป็นหมอ ep 7 หมอเมด คือ หมอยา เท่านั้นหรือ

วอร์ดอายุรกรรม หรือที่เรามักเรียกกันว่า หมอยา จริงๆแล้ว Medicine Department ทำอะไรบ้าง ตัวเอกในซีรี่ย์ส่วนใหญ่ จะเป็นหมอศัลย์ (หมอผ่าตัด) กับหมอที่อยู่ในวอร์ดฉุกเฉิน การทำงานของหมอเมด อ าจดูไม่หวืดหวา ไม่ตื่นเต้นมากพอที่จะเป็นตัวเอกของเรื่อง แต่ก็มี เรื่อง House MD หากใครได้ชมซีรี่ย์นี้ ก็ เห็นภาพงานของ หมอเมด นอกจากซักถามอาการคนไข้ จ่ายยา แล้วหมอต้องทำอะไรบ้างที่จะวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง เท่านั้น  
ดังนั้น ในพวกหมอด้วยกัน จะรู้ว่า หมอเมด คือ หมอที่มีงานเยอะ เรียกว่า สายเยิ้น บางเคสต้องใช้เวลาในการวินิจฉัย ต้องใช้เครื่อมือ ผลแลป อื่นมาประกอบการ  วางแผนการรักษา ติดตามดูแลคนไข้ ยิ่งในรายที่มีอาการไม่คงที่ หมอเมดต้องอยู่ รพ เผื่อเกิดอาการวิกฤต หมอเมดเป็นด้านแรกๆ ที่ต้องให้การวินิจฉัยว่าคนไข้ป่วยเป็นอะไร หากต้องใช้การรักษาอื่นร่วมด้วยก็ต้องไป consult หรือส่งต่อให้วอร์ดอื่นรักษาต่อไป

แล้วที่เวลาเราไป รพ เอกชน จะถูกถามว่าวันนี้มาพบหมออะไรคะ  หมอทั่วไป หรือ อายุรแพทย์ หรือแพทย์เฉพาะทาง อิหยังหว่า มันแตกต่างกันอย่างไร ก็เห็นว่าจ่ายยาได้เหมือนๆกัน คนไข้แบบเราก็จะงงๆ มาดูว่ามีความเหมือนและต่างกันอย่างไร

หมอทั่วไป (General Practional GP) 
เป็นหมอที่เรียนจบ 6 ปี และสอบใบประกอบวิชาชีพผ่าน  แต่บางคนก็อยากไม่เรียนต่อเฉพาะทาง หมอกลุ่มนี้ก็สามารถทำการตรวจรักษาโรคทั่วไปเบื้องต้น  และทำหัตถการที่ไม่ซับซ้อน เช่น ทำคลอดเคสปกติ เย็บแผล ทำแผลทั่วไป หากเจอคนไข้ที่มีอาการเป็นเคสที่ซับซ้อน เช่น เบาหวาน ความดัน ค่าไตสูงผิดปกติ เป็นผื่นแพ้ หมอทั่วไปก็จะส่งให้คนไข้ไปพบอายุรแพทย์ หรือหมอเฉพาะทาง


อายุรแพทย์ (Internal Medicine) 
คือ หมอทั่วไปที่เรียนต่อเฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์อีก 3 ปี ตรวจรักษาทุกโรคในผู้ใหญ่ (เคสโรคที่ซับซ้อนกว่า) อายุรแพทย์ต้องทำการวินิจฉัยผู้ป่วย นอกเหนือจากการซักประวัติ บางรายหมอจะสั่งตรวจเพิ่มเติม ดูค่า น้ำตาลในเลือด ค่าไขมัน x-ray, MRI, CT scan จากนั้นหมอก็จะวางแผนการรักษา อาจมีเรื่องการผ่าตัด ซึ่งก็จะส่งไปให้ แผนกนั้นๆ เช่น ศัลยแพทย์
โดยหลักๆหมอเมดจะใช้ยาในการรักษาคนไข้ หมอเมดไม่ทำการผ่าตัดเพื่อรักษา ไม่ตรวจรักษาเด็ก(กุมารแพทย์)
หากต้องการเป็นหมออายุรแพทย์เฉพาะทาง ก็ต้องเรียนต่อเพิ่มอีก 3 ปี เท่ากับต้องเรียน 6+3+3 ปี กว่าจะได้เป็นหมอเฉพาะทาง มารักษาคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น

ในการฝึกงานที่วอร์ดเมด จะวน 2 ส่วนหลักๆ คือ 

วอร์ดผู้ป่วยนอก 

หน้าที่หลักๆ คือ ตื่นเช้าต้องมารอที่ห้องตรวจ เข้าไปแนะนำตัวกับคนไข้ที่มารอคิวตรวจ ว่าเป็น นศ แพทย์ ปี5 จะขออนุญาตซักอาการเบื้องต้น (บางคนก็ยินยอม บางคนก็ปฏิเสธ) คนไข้ที่สูงอายุ แบบคุณตา คุณยาย จะบอกว่าเอาเลยลูก อีกหน่อยหมอจะได้เก่งๆ ไปรักษาคนอื่น (คนไข้กลุ่มนี้จะให้ความร่วมมือดี และมักไปชมให้ อาจารย์ว่า คุณหมอเด็กๆน่ารักนี่โน้นนี่อยู่บ่อยๆ) จากนั้นเด็กๆก็ต้องทำสรุปผลการวินิจฉัยเบื้องต้น พร้อมวางแนวทางรักษาคนไข้ ก่อนคนไข้จะเจออาจารย์

พอถึงคิวคนไข้เข้าห้องตรวจ ก็จะรายงานให้ หมอรุ่นพี่ หรือ อาจารย์ ฟัง จากนั้นก็รอว่า รุ่นพี่หรือ อจ ตรวจและวินิจฉัย ว่าเป็นอะไร รักษาอย่างไรต่อ เทียบกับที่ตัวเองทำไว้ 

งานส่วนใหญ่ในทุกวอร์ดที่วนไป เด็กปี 5-6 จะได้รับมอบหมายให้ทำเป็นหลัก คือ เรื่องงานเอกสาร หรือเอาผลการตรวจบันทึกเข้าระบบ อย่างที่รู้ ลายมือหมอเป็นอย่างไร แม้จะเรียนหมอมา แต่ก็ต้องใช้ การเดาว่า อาจารย์ น่าจะหมายถึง อาการนี้ ชื่อโรคนี้ ชื่อยานี้ จัดพิมพ์เข้าระบบ ลูกบอกหมอมีงานเอกสารเยอะมาก ทั้งออกเอกสารรายละเอียดการเสียชีวิตเพื่อไปใช้ออกใบมรณบัตร เขียนผลการชันสูตร ใบรับรองกรณีที่คนไข้มีเคลมประกัน อื่นๆอีกมากมาย บางทีทำทั้งวันเลย น่าเบื่อที่สุด

 

วอร์ดผู้ป่วยใน

ต้องตื่นไปรับเวรก่อน 7 โมง คุยกับคนที่อยู่เวรเมื่อคืน ว่ามีคนไข้ใหม่เข้ามาไหม ส่วนคนไข้เก่า อาการคงที่หรือมีอะไรผิดปกติ พอ 7 โมง (อาจจะเร็วหรือช้าขึ้นกับหมอในวันนั้นพร้อมมาตรวจ) ก็เริ่มเดินตรวจไปกับ อจ. หรือ หมอรุ่นพี่ แบบที่เห็นในละคร พอถึงเตียงที่เรารับผิดชอบก็ต้องรายงานอาการคนไข้ให้ทราบ จากนั้นก็ยืนสังเกตและจด ว่า อจ หมอ สั่งยา หรือต้องตรวจพิเศษอะไรเพิ่มเติม หรือ สั่ง Discharge (หมายถึงให้คนป่วยกลับบ้านได้)
รุ่นพี่จะจัดเวร ให้น้อง อยู่สลับกันไป วันไหนทำกะกลางคืน นั้นหมายถึงวันนั้นจะเริ่มงาน ราวๆ บ่าย 4 และเลิกงาน ตอน บ่าย 4 ของอีกวัน ถึงกลับไปพักได้ ลูกบอกตอนกลางคืน นอกจากต้องไปเดินดูคนไข้ในตามตาราง หากไม่ถูกเรียกตัว เพราะมีเหตุฉุกเฉิน ระหว่างนั้นก็แอบนั่งงีบที่เก้าอี้ ในห้องพักที่เขาจัดให้ได้ แต่ก็จะนอนไม่ค่อยสนิท เพราะกังวลว่า ถ้ามีคน call มาแล้วไม่ได้ยิน ก็จะโดน อจ หรือรุ่นพี่ ด่าได้ 

 

เรื่องห้องพักใน รพ ที่เคยเล่า ก็เจอมาหลายรูปแบบ แต่มีที่หนึ่ง ลูกส่งรูปมาให้ดู บนตู้เย็นมีคนตั้งตุ๊กตาและของเล่นเด็ก นมกล่อง ขนม เปิดแล้วแต่ไม่คนกิน  ฝั่งตรงข้ามก็จะเป็นโซฟาที่นิสิตแพทย์อาจมานั่ง นอนพักตอนกลางคืนได้ ลูกถามพี่ๆ ว่า คืออะไร ของใคร ก็ไม่มีคนให้คำตอบ แต่บางคืนที่เพลียและเหนื่อยมากๆ ก็ต้องเข้าไปนอน แต่ก็ไม่มีเรื่องใดๆ เกิดขึ้น หรืออาจเพราะเพลีย จนไม่สนใจ
แต่ก็หาใช่ว่าจะไม่มี ลูกเคยเล่าว่าเจอในบางแห่งเหมือนกัน 




หากอยู่เวรห้อง ICU ก็มักจะนั่งในห้อง ICU ทั้งคืน จะสะดวกกับการดูแลคนไข้มากกว่า

จบไปสองวอร์ดสายโหด คือ เมด และ ศัลย์ เด็กจะได้สัมผัสชีวิตของคนไข้ ที่มีความหลากหลายฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และเรื่องดราม่ามาก บางครั้งก็เป็นเรื่องตลกขบขันกันไปทั้งจาก นักเรียนหมอ และคนไข้ ที่แน่ๆ คือ ความคิด มุมมองของเด็ก เปลี่ยนไป โตเป็นผู้ใหญ่ในช่วงเวลาสั้นๆ




Create Date : 18 มิถุนายน 2567
Last Update : 23 มิถุนายน 2567 19:18:57 น.
Counter : 454 Pageviews.

0 comments
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แมวเหมียวลายสีชมพู
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]