|
ทำไมยาแดงต้องเป็นสีแดง
วัตถุดิบหลักที่เอามาทำยาแดงก็คือ Merbromin (ชื่อทางการค้า Mercurochrome, Merbromine, Sodium mercurescein, Asceptichrome, Supercrome และ Cinfacromin) เป็นสารฆ่าเชื้อภายนอก ใช้สำหรับาดแผลสด เป็นสารอินทรีย์ที่มีปรอทอยู่ในโครงสร้างซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ fluorescein มีขายทั่วไปในหลายประเทศ แต่สำหรับสหรัญอเมริกามีคำสั่งห้ามใช้ เนื่องจากมีปรอทเป็นองค์ประกอบ
การใช้งาน Merbromin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นยาแดงที่ใส่แผลสด เมื่อมีการทาลงบนผิวก็จะทำให้เห็นรอยสีแดงเข้ม ทำให้การตรวจสอบรอยแผลนั้นเป็นไปด้วยความยาก และนอกจากนั้นยังใช้เป็นสีที่ใช้ทำเครื่องหมายบนเนื้อเยื่อที่ต้องการดู และในทางอุตสาหกรรมก็สามารถใช้หารายตำหนิที่ผิวของโลหะเหมือนกับสีที่มีโลหะ เป็นองค์ประกอบอื่นๆ ยาแดงก็ผสมได้จาก merbromin 2% แล้วทำการละลายด้วยแอลกอฮอลล์หรือน้ำจนครบ (หรือจะผสมกันก็ได้) สมบัติในการฆ่าเชื้อของมันค้นพบโดย doctor Hugh H. Young แห่งโรงพยาบาล Johns Hopkins ในปี คศ. 1919 และได้ีรับความนิยมในการใช้งานโดยแพทย์และผู้คนตามบ้าน และนอกจากนั้นมักจะมีติดในห้องพยาบาล รร. ส่วนใหญ่ด้วย
Create Date : 27 กรกฎาคม 2552 |
| |
|
Last Update : 27 กรกฎาคม 2552 13:58:02 น. |
| |
Counter : 7595 Pageviews. |
| |
|
|
|
Glow in the dark pigment.....
Strontium aluminate (SRA, SrAl, SrAl2O4) หรือ สตรอนเทียมอลูมิเนต
เป็นของแข็งไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ เป็นผงสีเหลืองอ่อน และมีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ เป็นสารที่เฉื่อยต่อต่อเคมีและสิ่งมีชีวิต เมื่อถูก dope ด้วย Dopant ที่เหมาะสม เช่น europium ก็จะกลายเป็น SrAl2O4:Eu ก็สามารถทำให้เป็นสารที่สามารถเรืองแสงในที่มืดได้โดยที่มีระยะเวลาการเปล่า งแสงที่นานขึ้น มี CAS number คือ 12004-37-4
สารตัวนี้มีสมบัติในการเปล่งแสงที่ดีกว่า copper-activated zinc sulfide ถึง 10 เท่า ระยะเวลาในการเปล่งแสงก็นานกว่า 10 เท่า และราคาก็แพงกว่า 10 เท่าเช่นกัน มักจะใช้ผสมในของเล่นที่เรืองแสงได้ มีการนำมาใช้งานแทน copper-activated zinc sulfide แต่อย่างไรก็ตาม ชิ้นงานที่ได้จะมีความแข็งสูงอันจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียดสีกับเครื่อง จักรได้ ดังนั้นจึงต้องใช้สารหล่อลื่นที่เหมาะสมเติมลงไปในชิ้นงานพลาสติกด้วย
สารนี้เรืองแสงออกมาเป็นสีเขียวและฟ้าอ่อนได้ สีเขียวจะให้ความสว่างสูงกว่าในขณะที่สีฟ้าอ่อนจะให้ระยะ้วลาเปล่งแสงที่ ยาวนานกว่า ความยาวคลื่นแสงที่สามารถกระตุ้นสารนี้ได้จะเป็นแสง UV ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 200 - 450 nm โดยที่แสงที่เปล่งออกมาจะมีความยาวคลื่น 520 nm (สีเขียว) และ 505 (สีฟ้าอมเขียว) และแสง 490 nm (สีฟ้า) ซึ่งแสงที่มีความยาวคลื่นมากกว่าอาจจะพบได้จาก strontium aluminate อย่างเดียวเช่นกัน แม้ว่าความสว่างที่ได้อาจจะต่ำกว่า
ความยาวคลื่นแสงที่เปล่งออกมาขึ้นอยู่กับโครงสร้าง ภายในผลึก การเพิ่มประสิทธิภาพนั้นสามารถทำได้ขณะกระบวนการผลิต (เช่น ลดความดันบรรยากาศ การปรับอัตราส่วนของสารตั้งต้น การเติมคาร์บอนหรือสารประกอบ rare-earth halides ได้
สารเปล่งแสงที่ได้จาก Strontium aluminate จะถูกทำลายที่อุณหภูมิ 1250 C ซึ่งการได้รับอุณหภูมิที่สูงกว่า 1090 C จะเป็นสาเหตุทำให้สมบัติในการเรืองแสงลดลงได้
ความเข้มของแสงที่เปล่งออกมายังขึ้นอยู่กับขนาดของอนภาคด้วย โดยปกติอนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่าจะเปล่งแสงได้สว่างกว่าด้วย
Strontium aluminate ขายในรูปของสีที่เรืองแสงได้ในที่มืดในท้องตลาดชื่อ Super-LumiNova หรือ NoctiLumina ด้วย
ที่มา วิกิพีเดีย แปล in-situ
แต่ก็มีการผสมกับสารอื่นๆเพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการนะครับ ไม่ได้เรืองเฉพาะสีเขียวอย่างเดียว
Create Date : 21 กรกฎาคม 2552 |
| |
|
Last Update : 21 กรกฎาคม 2552 14:21:16 น. |
| |
Counter : 2923 Pageviews. |
| |
|
|
|
ปรากฏการณ์แดดเลียสี
ความคงทนของสีที่มีต่อแสงก็เป็นปัจจัยสำคัญครับ เพราะถ้าแดดเลียบ่อย แต่สีทน สีก็ไม่ซีด แต่ถ้าสีที่ไม่มีความคงทนต่อแสงสูง สีก็ก็จะซีดง่ายครับ คราวนี้ความคงทนต่อแสงของสีนี่ ก็มีปัจจัยหลายๆประการ ตั้งแต่ 1. โครงสร้างทางเคมีของสี ถ้าโครงสร้างทางเคมีของสีมี chromophore ที่เป็น linear ก็จะมีความคงทนต่อแสงน้อยกว่าสีที่มีโครโมฟอร์แบบ cyclic เช่นสีที่เป็น azo ก็จะทนแสงน้อยกว่า anthraquinone หรือ สีที่เป็น cyclic ที่เชื่อมกับหมู่ให้อิเล็กตรอนก็จะมีความคงทนแสงน้อยกว่าหมู่ดึงอิเล็กตรอน เช่น สีที่เป็น quinone ก็จะทนแสงได้ดีกว่า quinimine หรือ สีที่เป็น inorganic pigment ก็จะทนมากกว่า organic pigment เป็นต้น 2. โครงสร้างผลึกของสี ถ้าสีที่มีความเป็นผลึกสูงกว่า หรือ มีขนาดผลึกที่ใหญ่กว่า สีนั้นก็จะมีความคงทนสูงกว่า เนื่องจากเกิดจากการบังกันเองมากกว่า 3. ความเข้มต่อหน่วยของสีเอง (Molar extinction coefficient) ถ้าสีตัวที่มีค่านี้มากกว่า ก็จะทำให้ที่ความเข้ม (K/S) เท่ากันนั้น จะมีความคงทนที่ต่ำกว่า เนื่องจากจำนวนโมเลกุลที่น้อยกว่าในการที่ทำให้สีเข้มเท่ากัน 4. ความเข้มข้นของสี สีตัวเดียวกัน สีที่มีความเข้มข้นมากกว่า ก็จะมีความคงทนต่อแสงมากกว่า 5. ความสามารถในการดูดกลืนแสงของ polymer matrix ของ Latex ที่ใช้ในสีทา ถ้า polymer มีความสามารถดูดกลืนแสงมากกว่า ก็จะทำให้สีไปโดนแสงทำลายก็น้อยลง 6 ฯลฯ จำไม่ค่อยได้แล้ว แฮ่ๆๆ แต่ก็มีอีกหลายปัจจัยล่ะครับ
แล้วทำไมภาพ เมื่อถูกแดดเลียไปนานๆถึงออกไปทางโทนฟ้าหรอ?? 1. สีฟ้ามักจะเป็น phthalocyanine ครับ pigment ชนิดนี้ มีความเป็นผลึกที่สูงมากเนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลเค้าเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ทำให้มันเรียงตัวกันได้แน่นมาก 2. เนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลของ phthalocynine มี pi-electron ทั้งหมด 18 ตัว ซึ่งเข้ากฏ 4n+2 ของสารประกอบอะโรมาติกที่สมบูรณ์ เลยทำให้มีเสถียรทางเคมีสูงมากเป็นพิเศษกว่าสีที่มีโครงสร้างอื่นๆ 3. สีเหลือง-แดงที่ใช้ในการพิมพ์ภาพมักจะเป็น azo colorant ซึ่งเป็นหมู่ให้สีที่เป็นแบบ linear เลยถูกทำลายได้ง่าย อีกทั้งรูปร่างโมเลกุลของเค้าก็จะเป็นลักษณะยาวทำให้ความสามารถในการก่อผลึก น้อยกว่าสีฟ้าครับ
Create Date : 21 กรกฎาคม 2552 |
| |
|
Last Update : 21 กรกฎาคม 2552 12:44:14 น. |
| |
Counter : 2548 Pageviews. |
| |
|
|
|
| |
|
|
in-situ |
|
|
|
|