สิ่งทอ คือ วิทยาศาสตร์บนพื้นฐานของศิลปะ

ปรากฏการณ์แดดเลียสี

ความคงทนของสีที่มีต่อแสงก็เป็นปัจจัยสำคัญครับ เพราะถ้าแดดเลียบ่อย แต่สีทน สีก็ไม่ซีด แต่ถ้าสีที่ไม่มีความคงทนต่อแสงสูง สีก็ก็จะซีดง่ายครับ คราวนี้ความคงทนต่อแสงของสีนี่ ก็มีปัจจัยหลายๆประการ ตั้งแต่
1. โครงสร้างทางเคมีของสี ถ้าโครงสร้างทางเคมีของสีมี chromophore ที่เป็น linear ก็จะมีความคงทนต่อแสงน้อยกว่าสีที่มีโครโมฟอร์แบบ cyclic เช่นสีที่เป็น azo ก็จะทนแสงน้อยกว่า anthraquinone หรือ สีที่เป็น cyclic ที่เชื่อมกับหมู่ให้อิเล็กตรอนก็จะมีความคงทนแสงน้อยกว่าหมู่ดึงอิเล็กตรอน เช่น สีที่เป็น quinone ก็จะทนแสงได้ดีกว่า quinimine หรือ สีที่เป็น inorganic pigment ก็จะทนมากกว่า organic pigment เป็นต้น
2. โครงสร้างผลึกของสี ถ้าสีที่มีความเป็นผลึกสูงกว่า หรือ มีขนาดผลึกที่ใหญ่กว่า สีนั้นก็จะมีความคงทนสูงกว่า เนื่องจากเกิดจากการบังกันเองมากกว่า
3. ความเข้มต่อหน่วยของสีเอง (Molar extinction coefficient) ถ้าสีตัวที่มีค่านี้มากกว่า ก็จะทำให้ที่ความเข้ม (K/S) เท่ากันนั้น จะมีความคงทนที่ต่ำกว่า เนื่องจากจำนวนโมเลกุลที่น้อยกว่าในการที่ทำให้สีเข้มเท่ากัน
4. ความเข้มข้นของสี สีตัวเดียวกัน สีที่มีความเข้มข้นมากกว่า ก็จะมีความคงทนต่อแสงมากกว่า
5. ความสามารถในการดูดกลืนแสงของ polymer matrix ของ Latex ที่ใช้ในสีทา ถ้า polymer มีความสามารถดูดกลืนแสงมากกว่า ก็จะทำให้สีไปโดนแสงทำลายก็น้อยลง
6 ฯลฯ จำไม่ค่อยได้แล้ว แฮ่ๆๆ แต่ก็มีอีกหลายปัจจัยล่ะครับ

แล้วทำไมภาพ เมื่อถูกแดดเลียไปนานๆถึงออกไปทางโทนฟ้าหรอ??
1. สีฟ้ามักจะเป็น phthalocyanine ครับ pigment ชนิดนี้ มีความเป็นผลึกที่สูงมากเนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลเค้าเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ทำให้มันเรียงตัวกันได้แน่นมาก
2. เนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลของ phthalocynine มี pi-electron ทั้งหมด 18 ตัว ซึ่งเข้ากฏ 4n+2 ของสารประกอบอะโรมาติกที่สมบูรณ์ เลยทำให้มีเสถียรทางเคมีสูงมากเป็นพิเศษกว่าสีที่มีโครงสร้างอื่นๆ
3. สีเหลือง-แดงที่ใช้ในการพิมพ์ภาพมักจะเป็น azo colorant ซึ่งเป็นหมู่ให้สีที่เป็นแบบ linear เลยถูกทำลายได้ง่าย อีกทั้งรูปร่างโมเลกุลของเค้าก็จะเป็นลักษณะยาวทำให้ความสามารถในการก่อผลึก น้อยกว่าสีฟ้าครับ


Create Date : 21 กรกฎาคม 2552
Last Update : 21 กรกฎาคม 2552 12:44:14 น. 0 comments
Counter : 2363 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

in-situ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




[Add in-situ's blog to your web]