วิธีการตรวจดูแบงค์ปลอมที่ถูกต้อง
ช่วงนี้คงได้เห็นข่าวเกี่ยวกับแบงค์ปลอมแพร่ระบาด ถึงขนาดที่ปลอมปนไปอยู่ในตู้ ATM ด้วย สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนทั่วไปเป็นอย่างมาก
ที่ผ่านมาก็มี FW mail ส่งต่อกันถึงวิธีดูแบงค์ปลอม (ผมยังไม่ได้รับ เลยไม่รู้ว่าข้อมูลใน FW mail เป็นยังไงนะครับ) แต่ว่าในนั้นเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง (จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย)
ทางธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้แจ้งข่าวออกมาให้รู้ถึงวิธีการตรวจดูอย่างถูกต้อง ขอยกมาแปะทั้งดุ้นเลยนะครับ
เรื่อง ชี้แจงกรณีการส่งต่อ e-mail เตือนให้ระวังธนบัตรปลอม
ตามที่มีการ Forward e-mail จากบุคคลภายนอก แจ้งเตือนให้ระวังธนบัตรปลอม โดยแนบไฟล์รูปภาพธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท จำนวน ๒ ฉบับ พร้อมแนะนำจุดสังเกตไว้ด้วยนั้น เนื่องจากเป็นการนำธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕ (ไม่มีแถบฟอยล์) มาเปรียบเทียบกับ ธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕ ปรับปรุง (มีแถบฟอยล์) ซึ่งธนบัตรทั้งสองแบบมีรายละเอียดและลวดลายบนธนบัตรที่แตกต่างกัน ไม่สามารถนำมาเป็นจุดสังเกตหรือเปรียบเทียบว่าเป็นธนบัตรจริงหรือปลอมได้
ธปท. จึงขอเรียนให้ผู้ที่ได้รับเมล์ดังกล่าว โปรดระงับการส่งต่อเมล์ เพื่อป้องกันการส่งข้อมูลข่าวสารที่อาจสร้างความสับสนต่อสาธารณชน
วิธีสังเกตธนบัตรที่ถูกต้อง
- ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕ (ไม่มีแถบฟอยล์) : ดูรูปประกอบ
- ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕ ปรับปรุง (มีแถบฟอยล์) : ดูรูปประกอบ
- ทั้งนี้ สามารถเข้าชมวิธีสังเกตธนบัตรในรูปแบบข้อมูลภาพและวิดีทัศน์ตาม Link : //www.bot.or.th/Thai/Banknotes/Pages/howtocheck.aspx
จึงเรียนมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
ที่มา - ธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้แจงกรณีการส่งต่ออีเมล์
ข้อมูลเพิ่มเติม
Create Date : 23 ธันวาคม 2551 |
Last Update : 23 ธันวาคม 2551 13:25:28 น. |
|
3 comments
|
Counter : 942 Pageviews. |
 |
|
ก็เลยกดทีละน้อยๆ