หากมีแต่เพียงท่วงท่าภายนอก ไร้ภายในชักนำ ก็เรียกได้เพียงว่า"รำมวย" ไม่สามารถเรียกว่า "มวยไท่เก็ก"
 
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
28 กันยายน 2549

กำเนิดมวยไทเก๊ก 2

บทความด้านล่างนี้ เรียบเรียงโดย อ.เซียวหลิบงั้ง
(webmaster //www.thaitaiji.com)
จากข้อเขียนของอจ. อู๋ถูหนาน

ตีพิมพ์ในวารสารฮวงจุ้ยกับชีวิต
ผมขออนุญาติ นำใจความสำคัญมามาเรียบเรียงอีกครั้งครับ


มวยไทเก๊กของท่านจางซันเฟิง


ท่านจางซันเฟิงถือกำเนิดที่มณฑลเหลียวตง
สมัยราชวงศ์หยวน(ค.ศ. 1279-1368)

ท่านเป็นผู้ที่มีสติปัญญาความสามารถ ทางด้านอักษรศาสตร์เกินผู้อื่น เมื่อราชวงศ์หยวนวางรากฐานที่ปักกิ่ง
อัครเสนาบดีเหลียนซีเซี่ยน ได้กราบบังคมทูลเสนอให้ท่านจางซันเฟิงไปปกครองเขตจงซาน
(ปัจจุบันคืออำเภออันกั๋ว มณฑลเหอเป่ย)

แต่ตัวท่านจางซันเฟิงชืดชาต่อลาภยศชื่อเสียง
เอนเอียงไปชอบทางวิชาบำรุงสุขภาพ
และการมีอายุวัฒนะของลัทธิเต๋า

ท่านมีความรู้สึกปลงตกต่อความรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมของยุคต่างในประวัติศาสตร์ ไม่มีจิตใจที่อยากจะเป็นขุนนาง จึงได้ขอลาออก

ต่อมาบิดามารดาของท่านได้ถึงแก่กรรมลง
ท่านจึงได้ไว้ทุกข์ให้แก่บุพการีเป็นเวลา 3 ปี ตามประเพณี จากนั้นก็ได้เอาทรัพย์สมบัติทั้งหมด แบ่งแจกจ่ายให้กับคนในตระกูลเดียวกัน แล้วจึงออกเดินทางท่องเที่ยว
โดยนำเอาบ่าวที่เป็นเด็กชาย ติดตามไปด้วยสองคน
คนหนึ่งชื่อชิงเฟิง อีกคนหนึ่งหมิงเยี่ย

ท่านได้ท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆเป็นอันมาก
น่าเสียดายที่ไม่ได้พบพานสัจธรรม

ภายหลังท่านจางเดินทางไปถึงเขาหัวซาน
ที่มณฑลส่านซี เงินทองที่ติดตัวไปด้วยก็ได้ใช้ไป
จนเหลือเพียงเล็กน้อย บ่าวทั้งสองคนที่ติดตามมา
ก็ทยอยล้มตายไป

ระหว่างที่คิดปลงอนิจจังอยู่คนเดียวนั้นเอง ก็มี
นักพรตท่านหนึ่งลงมาจากเขา ชื่อว่าหั่วหลงเจินเหริน
(นักพรตมังกรไฟ)

สมัยก่อนนั้นบรรดานักพรตล้วนมีชื่อทางพรต
(แบบเดียวกับชื่อทางพระ) ร่องรอยของหั่วหลงเจินเหริน ท่านอู๋ถูหนานได้ค้นคว้าจาก
หนังสือจำนวนหนึ่ง มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งได้จดบันทึกเอาไว้ว่า ท่านหั่วหลงเจินเหรินมีชื่อจริงว่า เจี่ยเต๋อเซิน
แต่วันเดือนปีเกิดรวมทั้งชาติตระกูลไม่ได้กล่าวไว้
ชัดเจน

ท่านหั่วหลงเจินเหริน ได้พาท่านจางซันเฟิงกลับไปยัง
อารามของท่าน เห็นว่าทั้งร่างกายและจิตใจของ
ท่านจางซันเฟิงอ่อนล้าอย่างมาก

จึงบอกให้บำรุงร่างกายให้แข็งแรงเสียก่อน
จึงจะเริ่มสอนการบำเพ็ญเพียรให้

ท่านจางซันเฟิงอยู่ที่เขาหัวซาน นอกจากได้ร่ำเรียนวิชาบำรุงสุขภาพและการมีอายุวัฒนะจากท่านหั่วหลงเจินเหริน
แล้ว ยังได้ร่ำเรียนวิชาการออกกำลังและบริหารร่างกาย ซึ่งก็คือมวยไท่เก๊ก

อาจารย์ของท่านหั่วหลงเจินเหริน ก็คือท่านปรมาจารย์ผู้เฒ่าเฉินปั๋ว ซึ่งก็คือท่านปรมาจารย์เฉินซีอี๋

ท่านนี้เป็นผู้ค้นคว้าทางด้านมวยไท่เก๊กโดยเฉพาะ
ได้ร่วมค้นคว้ากับอีกสองท่านคือคนแซ่เฉิงและคนแซ่จู
เขียนหนังสือ “อรรถาธิบายแผนภาพไท่เก๊ก” ซึ่งอธิบายถึงที่มาและกฎเกณฑ์ของไท่เก๊ก รวมทั้งเนื้อหาอีกไม่น้อยเป็นต้น

มวยไท่เก๊กที่ท่านจางซันเฟิงร่ำเรียน มีความเหมือนกับชุดที่สวี่เซวียนผิงในสมัยราชวงศ์ถังฝึกอยู่
โดยมีเอกสารบันทึกทางประวัติศาสตร์ ที่สามารถ
สืบค้นและอ้างอิงได้




ท่านจางซันเฟิงพัฒนามวยไทเก๊ก

ตอนที่ท่านจางซันเฟิงบำเพ็ญพรตอยู่
มีความรู้สึกว่าการปฏิบัติของผู้บำเพ็ญพรต
จะหนักไปทางปฏิบัติด้วยท่านั่งและท่านอน

เมื่อนั่งนอนด้วยเวลาที่ยาวนาน ก็ทำให้แข้งขาเกิดอาการเหน็บชาขึ้นมาต้องรอสักพักหนึ่ง จึงจะลุกขึ้นเดินเหินได้ตามปกติ

ท่านจึงได้เพิ่มเติมท่าเท้าที่มีการเตะถีบในมวย
ไท่เก๊กเข้าไปอีก และท่าพวกนี้ก็คือท่าเท้าในการเตะถีบ ของมวยไท่เก๊กที่นิยมกันในปัจจุบัน

ครั้งที่ท่านจางซันเฟิง ติดตามท่านหั่วหลงเจินเหรินฝึกฝน
ร่ำเรียนวิชาการบำรุงร่างกาย อายุวัฒนะ และมวยไท่เก๊กนั้น ท่านมีอายุย่างเข้า 67 ปี
ภายหลังที่ท่านจาริกไปถึงภูเขาอู่ตัง ก็มีอายุได้ 70
กว่าแล้ว

ในยุคนั้น บรรดานักพรตมักต้องออกจาริก
ท่องเที่ยวไปตามป่าเขา
ระหว่างการเดินทาง ยากนักที่จะไม่ประสบพบพานกับปัญหาใดๆ ควรจะต้องมีวิทยายุทธ์ติดตัวอยู่บ้าง
จึงจะรักษาตัวรอดเอาไว้ได้

ท่านจางซันเฟิงคิดว่าตัวท่านอายุมาก เข้าวัยชราแล้ว
หากว่าเกิดพบพานผู้ที่มีความรวดเร็วกว่าตนเอง
มีพลังที่เหนือกว่าสมบูรณ์กว่า
อย่างนั้นจะอาศัยอะไรไปรับมือคนเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้ท่านได้เกิดปัญญาขึ้นมา
และได้คิดทฤษฎีออกมาหลายข้อ

ข้อแรกคือ ใช้ความสงบสยบการเคลื่อนไหว
ข้อที่สอง ใช้ความอ่อนหยุ่นพิชิตความแข็ง
ข้อที่สาม ใช้ความช้าเอาชนะความรวดเร็ว
ข้อที่สี่ ใช้น้อยต่อต้านมาก


ท่านเคยกล่าวว่า หากตรงข้ามกับทฤษฎีทั้งสี่ข้อนี้แล้ว
ย่อมไม่ใช่มวยไท่เก๊ก
ต่อมาภายหลังท่านได้สอนศิษย์ไว้ไม่น้อย
ทฤษฎีของท่านได้สืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นปรัชญาแห่งยุค

หวังอวี่หยางเขียนบรรยายไว้ว่า
“วิชาหมัดมวย สำนักเส้าหลินเป็นฝ่ายมวยภายนอก
สำนักอู่ตังของจางซันเฟิงเป็นฝ่ายมวยภายใน
จากจางซันเฟิง ภายหลังมีผู้สืบทอดคือหวังจง
หวังจงได้ถ่ายทอดไปยังแถบเหวินโจว และเฉินโจว
ในรัชสมัยเจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง
ตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน ทั้งสองสำนัก
ได้ถ่ายทอดออกไปทั่วทางตะวันออกของประเทศจีน”
นี่เป็นบันทึกตอนหนึ่งทางประวัติศาสตร์
หวังอวี่หยางมีฐานะเป็นปรมาจารย์ทางด้านอักษรศาสตร์ เป็นการมองอย่างบุคคลที่สามจริงๆ

เนื่องจากเขาไม่ใช่คนในแวดวงยุทธจักร
ดังนั้นเหตุผลจึงอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ

ที่อารามไป่หวิน(อารามเมฆขาว)ในปักกิ่ง
(อารามแห่งนี้เป็นอารามเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของ
ศาสนาเต๋า)


ท่านจางซันเฟิงเคยพำนักอยู่ที่นี่ ช่วงปีต้นๆของหมิงกั๋ว ท่านอู๋ถูหนานได้ไปยังอารามเมฆขาวแห่งนี้
และได้พบกับนักพรตท่านหนึ่งชื่อหูอวี้สี่

ขณะนั้นเขาสอนมวยไท่เก๊กอยู่ที่ปักกิ่ง
ท่านอู๋ถูหนานได้ถามว่า เขาได้ร่ำเรียนมวยไท่เก๊กมาจากที่ไหน เขาตอบว่า

“ตั้งแต่หลังราชวงศ์หมิงมา พวกเราในอารามแห่งนี้
ถือเป็นวิชาที่ต้องฝึกฝนกันเป็นประจำ นอกจาก
การไปประกอบพิธี เล่นดนตรี และสวดมนต์แล้ว
ก็ใช้มวยไท่เก๊กมาทำการบริหารร่างกาย”


ท่านหูย้ำว่า “ต้องการความสำเร็จอย่างสูง ให้ขัดเกลานิสัยจิตใจ ต้องการความสำเร็จอย่างต่ำ ก็ฝึกวิทยายุทธ์”

ท่านหูยังได้อธิบายอีกว่า
“มวยไท่เก๊กเอาไว้ป้องกันตัว ไม่ใช่เอาไว้ใช้
ไม่นำมวยไท่เก๊กไปส่งเสริมทางด้านศาสนา
วิถีพรตถือการมีอายุยืนเป็นหลัก”


ท่านจางซันเฟิง ได้สิ่งที่ตกทอดมาจากเฉิงหลิงสี,
สวี่เซวียนผิง, เฉิงปี้ และหั่วหลงเจินเหริน

จนกระทั่งยุคของท่านจางซันเฟิง
ได้รวบรวมเอาความรู้ของทุกท่านมาประสานกัน
ให้สมบูรณ์

ถึงแม้ว่ามวยไท่เก๊กจะมีกำเนิดมาแล้วอย่างยาวนาน
แต่การนำเอาความรู้ของทุกท่าน มาประสานกันให้สมบูรณ์ เกิดขึ้นในยุคของท่านจางซันเฟิง
*************

หมายเหตุ ทฤษฏีที่ว่ามวยไทเก๊กมาจากท่านจางซานฟง
เป็นทฤษฎี ที่มีผู้เชื่อกันมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมากนัก
ที่จะสาวไปถึงท่านจางซานเฟิง กับมวยไทเก๊กได้

โดยเฉพาะบันทึกของตระกูลซ่ง ที่ท่านอู๋ถูหนาน
อ้างถึงนั้นกล่าวถึง สำนักเก่าแก่ทั้งสี ของไทจี๋ฉวน
คือ ฉู่ หยู เฉิง และหยิน

แต่ชื่อท่ามวย ท่ากระบี่ ในบันทึก
แทบจะเหมือนกับ ชื่อท่ามวย ท่ากระบี่ของ
ตระกูลหยางทุกอย่าง

ดังนั้น มวยไทเก๊กของตระกูลซ่ง
จึงน่าจะมาจากมวยตระกูลหยาง
ดังนั้นหลักฐาน ในส่วนที่มาจาก
บันทึกของตระกูลซ่ง จึงไม่สามารถยึดเอาเป็น
ความจริงได้



Create Date : 28 กันยายน 2549
Last Update : 26 ตุลาคม 2549 19:21:07 น. 1 comments
Counter : 1341 Pageviews.  

 
คารวะผู้อวุโส
ผู้น้อยมีความเลื่อมสัยใน blog ของผู้อวุโสยิ่งนัก
ผู้น้อยขอเสียมายาท add blog ของผู้อวุโสไปเป็น friend's blog ของผู้น้อยด้วยเถอะ
ขอผู้อวุโสโปรดอภัย


โดย: awaw.bloggang (amureen ) วันที่: 29 พฤศจิกายน 2551 เวลา:2:36:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ramin&Indra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




สำหรับท่าน ที่ไม่ยังไม่รู้จักมวยไท่จี๋นะครับ

มวยไทจี๋ หรือ ไทจี๋ฉวน
มาจากคำว่า ฉวน แปลว่า มวย + กับ ไทจี๋
เป็นวิชา การต่อสู้ชนิดเดียวกับ ที่เราเรียกแบบแต๊จิ๊วว่ามวยไทเก๊ก
หรือ ที่กลุ่มกายบริหารเพื่อสุขภาพ
สมัยใหม่ เอาไปดัดแปลงแล้วเรียก ว่า ไทชิ
รวมทั้งศัพท์ วัยรุ่นที่เรียกว่า "ทิชชี่"
แถมยังมีแบบผสมโยคะ เอาไปเรียกว่า "โยชิ"
หรือ "ไทคะ"อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกแบบสมัยใหม่นั้น
บางครั้ง เป็นเพียงการยืมชื่อมาใช้
เพื่อโฆษณาสรรพคุณ
โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกับมวยไทจี๋เลย
หรือไม่ก็ เป็นการใช้คุณประโยชน์ของมวย
แค่เพียงกระผีกริ้นของมันเท่านั้น

มวยไทจี๋มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล
ในหลากหลายด้าน หากคุณได้ศึกษาจากผู้รู้
และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง เป็นวิชา ที่คุณสามารถ
ใช้เป็นวิชาประจำตัว เรียนรู้จากมันได้ไม่มีที่สิ้นสุดจนตลอดชีวิต

บล๊อกนี้ผมตั้งใจจะ รวบรวม ประวัติ และ
ท่ามวยไทจี๋ของหลากแบบ หลายสายอาจารย์
ของมวยไทจี๋ตระกูลต่างๆเอาไว้ เผื่อผู้สนใจจะได้สามารถเปรียบเทียบได้

จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ปัจจุบัน มวยไทจี๋แบ่งออกเป็นหลายแบบ
หลากตระกูล ที่สำคัญๆก็คือ
มวยไทจี๋ตระกูลเฉิน ตระกูลหยาง
ตระกูลอู๋ ตระกูลอู่ ตระกูลซุน
สายหมู่บ้านเจ้าเป่า สายบู๊ตึ๊ง

แต่ละสาย ยังแตกแขนงออกไปอีกมากมาย
รวมทั้ง สายแปลกๆ สาย ย่อยต่างๆอีก
ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ดูกันครับ

ยังทำไม่เสร็จนะครับ มีหลายหัวข้อยังว่างอยู่
ค่อยๆทำไปเรื่อยแล้วกัน

ตอนนี้ หัวข้อที่มีเนื้อหาอยู่ คือ
** กำเนิดมวยไทเก๊ก
** มวยไทเก๊กตระกูลหยาง
** คำสอนปรมาจารย์
** ตำนานยอดฝีมือครับ
** ประวัติมวยไท่เก๊ก ทั้ง7สาย
** มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน

แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ครบถ้วน
ยังคงอัพเดทเรื่อยๆครับ


บทความส่วนใหญ่ที่ผมเป็นคนแปล
จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องการออกเสียง
ชื่อคน ชื่อสถานที่ภาษาจีน เพราะผมไม่รู้
ภาษาจีน และต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษเสีย
ส่วนใหญ่ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ

อัพเดท สัปดาห์ละครั้งครับ
[Add Ramin&Indra's blog to your web]