หากมีแต่เพียงท่วงท่าภายนอก ไร้ภายในชักนำ ก็เรียกได้เพียงว่า"รำมวย" ไม่สามารถเรียกว่า "มวยไท่เก็ก"
<<
พฤศจิกายน 2549
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
25 พฤศจิกายน 2549

หลักการเดินกระบวนยุทธและต่อกร ของท่านหลี่อี้อวี้

บทความนี้ คุณรังไหม แปลจาก ตำราท่าน ท่านหลี่อี้อวี้





มีคำกล่าวแต่โบราณว่า
หากสามารถชักนำให้(เขา)ตกลงในความว่าง
ก็สามารถใช้สี่ตำลึงปัดพันชั่ง
หากไม่สามารถชักนำให้(เขา)ตกลงสู่ความว่าง
ก็ไม่สามารถใช้สี่ตำลึงปัดพันช่าง

คำพูดดังกล่าว พอเป็นแนวทางได้ว่า
ผู้เริ่มเรียนจะไม่สามารถเข้าใจได้โดยตลอด
จึงจะขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้

ทั้งนี้ผู้ที่จะใช้เท็คนิคนี้ จะต้องทำให้เข้าถึง
หากแต่จะต้องใช้เวลาในการฝึกฝน
หากจะใช้วิธีชักนำให้(เขา)ตกลงในความว่าง
ใช้สี่ตำลึงปัดพันชั่ง จะต้องรู้เรารู้เขา ก่อน

หากจะรู้เรารู้เขา จะต้องสละตนเองคล้อยตามผู้อื่นก่อน

หากจะสละตนเองคล้อยตามผู้อื่นได้
จะต้องได้เทคนิคได้กระบวนท่าก่อน

หากจะได้เทคนิคได้กระบวนท่า
จะต้องจัดระเบียบร่างให้เป็นหนึ่งเดียวก่อน

หากจะจัดระเบียบท่าร่างให้เป็นหนึ่งเดียวได้
จะต้องจัดระเบียบท่าร่างให้ไม่ ขาดตกบกพร่อง
(ไม่ขาดตอน)ก่อน

หากจะจัดระเบียบท่าร่างให้ไม่ขาดตกบกพร่อง
(ไม่ขาดตอน)ได้ จะต้องระดม เสิน ชี่ขึ้นมาก่อน

หากจะระดมเสิน ชี่ขึ้นมาได้ จะต้องยกความรู้สึกตัวก่อน

เสินไม่ออกไปภายนอก จะสัมผัส(เสิน)
ไม่ออกไปภายนอกได้ จะต้องจมเสินชี่
ลึกลงไปในกระดูกก่อน

จะจมเสินชี่ลึกลงไปในกระดูกได้
ขาอ่อนสะโพกด้านหน้าจะต้องมีแรงก่อน



หัวไหล่ทั้งสองต้องผ่อนคลาย ชี่จะต้องจมลง
จิ้งขึ้นมาจาก(ราก)ส้นเท้า แปรเปลี่ยนที่ขา
สะสม(อม)ไว้ที่ทรวงอก เคลื่อนไหวจากไหล่ทั้งสอง
ควบคุมโดยเอว

ด้านบน膊 ท่อนแขนส่วนบนใกล้หัวไหล่ทั้งสอง
สัมพันธ์กันตีออกไป
ด้านล่าง ขาทั้งสองสัมพันธ์คล้อยตามกัน
จิ้งเปลี่ยนสลับจากข้างใน จากรับเปลี่ยนเป็นรวม

ปล่อยนั่นคือเปิด สงบก็คือรักษาความนิ่งตาม
สงบคือรวม ในความรวมแฝงความคลาย
เคลื่อนไหวเข้าร่วมเคลื่อนไหวด้วย
เคลื่อนไหวคือเปิด(คลาย) ในเปิดแฝงความปิด(รวม)
รุกรับหมุนเปลี่ยนตามต้องการ ไม่มีที่ใดที่ส่งแรงไม่ถึง
จึงจะสามารถชักนำ(เขา)ให้ล่วงลงสู่ความว่าง
ใช้สี่ตำลึงปัดพันชั่ง

การเดินกระบวนยุทธในแต่ละวัน
คือการรู้จักกังฟูของตนเอง
ในแต่ละกระบวนท่าการจัดระเบียบร่างกาย
มีกี่จุดที่ไม่รวม ในจุดที่ไม่รวมต้องทำการแก้ไข

การฝึกเดินกระบวนยุทธต้องช้าไม่ควรเร็ว
การต่อกรคือการรับรู้กังฟูคนอื่น

เคลื่อนไหวสงบนิ่งก็คือรู้คนอื่น
ก็ยังคงถามตัวเอง จัดการตัวเองให้ดี
เวลาเขาจู่โจมเข้ามา เราไม่เข้าไปแตะเขาแม้แต่น้อย
ใช้จังหวะแล้วเข้า เข้าไปหยุดจิ้งของคู่ต่อสู้ เขาก็จะผงะล้มไปเอง

หากมีจุดใดที่ใช้แรงไม่ถูกต้อง กลายเป็นหนักคู่ที่ยังไม่สลาย
ให้สำรวจดูหยินหยาง และการเปิด ปิด
เรียกว่ารู้เรารู้เขา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งแล...

หลักการเดินกระบวนยุทธและต่อกร

หลี่อี้ยวี๋







Create Date : 25 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2549 0:32:03 น. 2 comments
Counter : 621 Pageviews.  

 


โดย: กัลยา IP: 58.8.161.70 วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:18:40:55 น.  

 
โอ้โห ความเข้าใจ ไป ไม่ถึงครึ่ง เลย มันลึกซึ้งอีกตั้งหลายระดับแน่ะ พยายามต่อไป


โดย: oozing IP: 125.24.135.38 วันที่: 25 เมษายน 2551 เวลา:14:06:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ramin&Indra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




สำหรับท่าน ที่ไม่ยังไม่รู้จักมวยไท่จี๋นะครับ

มวยไทจี๋ หรือ ไทจี๋ฉวน
มาจากคำว่า ฉวน แปลว่า มวย + กับ ไทจี๋
เป็นวิชา การต่อสู้ชนิดเดียวกับ ที่เราเรียกแบบแต๊จิ๊วว่ามวยไทเก๊ก
หรือ ที่กลุ่มกายบริหารเพื่อสุขภาพ
สมัยใหม่ เอาไปดัดแปลงแล้วเรียก ว่า ไทชิ
รวมทั้งศัพท์ วัยรุ่นที่เรียกว่า "ทิชชี่"
แถมยังมีแบบผสมโยคะ เอาไปเรียกว่า "โยชิ"
หรือ "ไทคะ"อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกแบบสมัยใหม่นั้น
บางครั้ง เป็นเพียงการยืมชื่อมาใช้
เพื่อโฆษณาสรรพคุณ
โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกับมวยไทจี๋เลย
หรือไม่ก็ เป็นการใช้คุณประโยชน์ของมวย
แค่เพียงกระผีกริ้นของมันเท่านั้น

มวยไทจี๋มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล
ในหลากหลายด้าน หากคุณได้ศึกษาจากผู้รู้
และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง เป็นวิชา ที่คุณสามารถ
ใช้เป็นวิชาประจำตัว เรียนรู้จากมันได้ไม่มีที่สิ้นสุดจนตลอดชีวิต

บล๊อกนี้ผมตั้งใจจะ รวบรวม ประวัติ และ
ท่ามวยไทจี๋ของหลากแบบ หลายสายอาจารย์
ของมวยไทจี๋ตระกูลต่างๆเอาไว้ เผื่อผู้สนใจจะได้สามารถเปรียบเทียบได้

จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ปัจจุบัน มวยไทจี๋แบ่งออกเป็นหลายแบบ
หลากตระกูล ที่สำคัญๆก็คือ
มวยไทจี๋ตระกูลเฉิน ตระกูลหยาง
ตระกูลอู๋ ตระกูลอู่ ตระกูลซุน
สายหมู่บ้านเจ้าเป่า สายบู๊ตึ๊ง

แต่ละสาย ยังแตกแขนงออกไปอีกมากมาย
รวมทั้ง สายแปลกๆ สาย ย่อยต่างๆอีก
ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ดูกันครับ

ยังทำไม่เสร็จนะครับ มีหลายหัวข้อยังว่างอยู่
ค่อยๆทำไปเรื่อยแล้วกัน

ตอนนี้ หัวข้อที่มีเนื้อหาอยู่ คือ
** กำเนิดมวยไทเก๊ก
** มวยไทเก๊กตระกูลหยาง
** คำสอนปรมาจารย์
** ตำนานยอดฝีมือครับ
** ประวัติมวยไท่เก๊ก ทั้ง7สาย
** มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน

แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ครบถ้วน
ยังคงอัพเดทเรื่อยๆครับ


บทความส่วนใหญ่ที่ผมเป็นคนแปล
จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องการออกเสียง
ชื่อคน ชื่อสถานที่ภาษาจีน เพราะผมไม่รู้
ภาษาจีน และต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษเสีย
ส่วนใหญ่ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ

อัพเดท สัปดาห์ละครั้งครับ
[Add Ramin&Indra's blog to your web]