หากมีแต่เพียงท่วงท่าภายนอก ไร้ภายในชักนำ ก็เรียกได้เพียงว่า"รำมวย" ไม่สามารถเรียกว่า "มวยไท่เก็ก"
 
ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
15 ตุลาคม 2549

ความหมายของมวยไท่เก็ก ของอจ.เฮ่อเช่าหลู

ท่านเฮ่อเช่าหลู


ท่านเป็นผู้เผยแพร่
มวยไทจี๋สกุลอู่ ให้รู้จักกันเป็นที่แพร่หลาย
จนในภายหลัง คนจะเรียกมวยสกุล
อู่แบบของท่าน ว่า อู่-เฮ่อ
โชคดีของบ้านเรา ที่ผู้สืบทอดสายตรง
ของมวยสายหายากนี้ ลูกบุญธรรมของท่านเฮ่อ
ท่านมาสอนอยู่ในเมืองไทย นี่เอง พบท่านได้
ที่สวนลุม ลานตะวันยิ้มครับ

บทความนี้ คุณรังไหม เป็นผู้แปลและเรียบเรียงครับ

1. ความหมายของมวยไท่เก๊ก
มวยไท่เก็กเป็นศาสตร์หนึ่งของจีน ผู้ศึกษาควร
ทำความเข้าใจในเบื้องต้นถึงความหมายที่แท้จริง
ซึ่งรวมความถึงวิธีการฝึกฝนเพื่อมิให้เกิดความเข้าใจผิด
และหลีกเลี่ยงทางฝึกฝนที่วกวน

มวยไท่เก็ก เมื่อแยกความหมายออกคือ
  • ไท่เก็ก หมายถึงสิ่งที่เคลื่อนไหว
    จากองค์ประกอบต่างๆที่เป็นภายใน
    มวย คือการเคลื่อนไหวท่วงท่าร่างกาย


ไท่เก็ก และมวยเมื่อรวมกัน
จึงมีความหมายถึงการเคลื่อนไหวท่วงท่าที่เป็นภายใน
และภายนอกร่วมกัน ซึ่งอาศัยการเคลื่อนไหวจาก
ภายในมาแปลเปลี่ยนท่วงท่าภายนอก

นั่นคือการใช้ไท่เก็กมานำมวยให้เคลื่อนไหว
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือมวยไท่เก็ก
ดังนั้นหากมีแต่เพียงท่วงท่าที่เป็นภายนอก
ไม่มีท่วงท่าที่เป็นภายใน(ไท่เก ็ก)นำ

ก็เรียกได้เพียงว่า รำมวย ยังไม่สามารถเรียกว่า
"มวยไท่เก็ก"
ดังนั้นการฝึกฝนมวยไท่เก็กจะต้อง
รวมการเคลื่อนไหวที่เป็นภายใน และภายนอก
เข้าเป็นหนึ่งเดียวจึงจะได้ชื่อว่า เป็นมวยไท่เก็กที่แท้จริง

อันมวยไท่เก็กได้รับการสืบทอดมาแต่โบราณ
ผ่านการค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง
การเรียนมวยนี้นับว่ายากยิ่ง มาแต่โบราณแล้ว
การศึกษามวยไท่เก็กจึงไม่เพียง แต่ต้องศึกษา
ความหมายของคำ ไท่เก็กยังมีความหมายในลักษณะ
ของการเป็นของตรงกันข้ามที่มารวมอยู่เป็นหนึ่งเดียว

การทำความเข้าใจในมวยไท่เก็กจึงต้องเริ่มศึกษา
ตั้งแต่หลักการ หรือเรื่องของสิ่งที่เป็นตรงข้ามกัน
เช่นการเดินหน้า ถอยหลัง หมุนซ้ายหมุนขวา
การนิ่งการเคลื่อนไหว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากท่วงท่า
ของชี่ที่รวมกันเป็นจำนวนเต็มที่อยู่ในภายใน

--------------------------


2. หลักหยินหยางในมวยไท่เก๊ก

  • ( 1 ) อะไรคือความเป็นหยินหยางในมวยไท่เก็ก

ความเป็นหยินหยางแสดงออกโดยรูปลักษณ์
ดวงอาทิตย์ ที่มีด้านหนึ่งเป็นหยาง ด้านหนึ่งเป็นหยิน
ในอดีตมีความหมายถึงทุกสรรพสิ่ง
แบ่งออกเป็นสองด้านตรงข้ามกัน

ในลักษณะที่เป็นปรัชญา หมายถึง ทุกสรรพสิ่ง
แบ่งออกเป็นของคู่ตรงข้าม มวยไท่เก็กนำเอาหลัก
ปรัชญานี้มาเป็นหลักในแนวทางการฝึกฝน
และเพื่อการบรรลุถึง และถือว่าในความแปรเปลี่ยน
ของสรรพสิ่งที่สมบูรณ์พร้อม

เช่นเดียวกับวงกลมไท่เก็ก(หยินหยาง)
ที่ กลมเต็มสมบูรณ์ไม่มี แง่มุมหรือบิดเบี้ยวขรุขระ
โดยความสัมพันธ์ แปรเปลี่ยนจากสิ่งคู่ตรงข้าม

มวยไท่เก็ก นำหลักนี้มาใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกาย
และ รูปลักษณ์ของชี่ (ชี่สื้อ) อย่างสมบูรณ์เต็ม
(เหวียนหมั่น – กลม เต็ม)
ซึ่งนำมาใช้ในมวยไท่เก็กอย่างพิศดาร

ในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าอย่างไร ต่างก็ใช้หลักนี้ทั้งสิ้น
โดยด้านหยาง จะเผชิญกับคู่ต่อสู้ตลอดเวลา
โดยที่คู่ต่อสู้จะไม่ล่วงรู้ถึงฝ่ายหยินของเรา
เรียกว่า เต็มว่าง – (จริง ลวง)

หยินคือเต็ม เต็มก็คือหยิน
หยางก็คือว่าง ว่างก็คือหยาง

ยามใช้ออก คู่ต่อสู้ได้ สัมผัสเพียงด้านว่าง
ไม่ได้สัมผัสด้านเต็ม
เต็มว่าง – จริงลวง จนพิศดาร
เขาจึงไม่รู้เรา หากแต่เรารู้เขา และควบคุมสถานะ
ไม่ปล่อยให้ถูกควบคุม แปรเปลี่ยนไร้ที่สิ้นสุด
ดังนี้ ไม่รู้จักหยินหยาง ก็คือไม่รู้จักไท่เก็กแล.

  • 2.หยินหยางของการแยกและรวม


ศิลปมวยไท่เก็ก มาจากหยินหยางที่หมุนวนแปรเปลี่ยน
ไร้ที่สิ้นสุด จากความสงบนิ่งสู่ความเคลื่อนไหว
(จากบ้อเก็กสู่ไท่เก็ก จีนกลางเรียกจากอู๋จี๋ สู่ไทจี๊)
จากความเคลื่อนไหวสู่ความสงบนิ่ง
(จากไท่เก็กกลับคืนสู่บ้อเก็ก)

มีลักษณะของการเคลื่อนไหว และสงบนิ่งหมุนวนไป
เดี๋ยวเคลื่อนจากบ้อเก็ก กำเนิดไท่เก็ก
คือแบ่งหยินหยางสองพลัง

เดี๋ยวสงบจากไท่เก็กกลับคืนสู่บ้อเก็ก
หยินหยางสองพลังรวมเป็นหนึ่ง

กล่าวได้ว่า เคลื่อนไหวก็คือแบ่งแยก สงบก็คือรวม
การเคลื่อนไหวของมวยไท่เก็กทั้งหมด
ตั้งอยู่บนหลักการนี้

  • ( 3 ) การตั้งอยู่ของคู่ตรงข้าม และ การควบเป็นหนึ่ง( วิถี )ของหยินหยาง

หยินหยางคือลักษณะของการเคลื่อนไหวสองด้าน
คือความสัมพันธ์ของสิ่งคู่ตรงข้าม

หากด้านหนึ่งไม่มีอยู่ อีกด้านหนึ่งก็ไม่อาจมีอยู่ได้
เช่น ความเต็มกับความว่าง
ท่วงท่าภายนอกกับท่วงท่าภายใน
รูปลักษณ์ของชี่กับสัมผัส(จิงเสิน)
อ่อนกับแข็ง เคลื่อนไหวกับสงบนิ่ง
ล้วนแต่อาศัยการตั้งอยู่ของคู่ตรงข้ามทั้งสิ้น
โดยอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างของ
คู่ครงข้ามซึ่งกันและกัน

หากมองอีกด้านหนึ่ง สิ่งเหล่านั้นอาศัยอีกฝ่ายหนึ่ง
เพื่อความมีอยู่ และความมีอยู่นั้น อาศัยความเกี่ยวพัน
ที่ตรงกันข้ามกันมีอยู่

ดังนั้นหยินหยางทั้งสองด้านต่างอาศัยซึ่งกันและกัน
ตั้งอยู่ และควบเป็นหนึ่งในวิถีเดียวกันของการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาของสรรพสิ่ง

การเคลื่อนไหวของมวยไท่เก็กก็มีหยินหยาง
เป็นคู่ตรงข้ามกันควบเป็นหนึ่ง
ในว ิถีของการเปลี่ยนแปลงเดียวกัน

ศิลปมวยไท่เก็กจึงสามารถก่อให้เกิดพละกำลัง
แห่งชีวิตอย่างสุดที่จะคาดคะเนได้



เพื่อทำความเข้าใจกับความเป็นคู่ตรงข้ามกัน
ควบเป็นหนึ่งในวิถีของการเปลี่ยนแปลงเดียวกัน
ของหยินหยาง จึงต้องทำความเข้าใจในเรื่อง
การแบ่งแยก และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่อง


1.การแบ่งแยกหยินหยาง


มวยไท่เก็กนั้นมีท่าร่างภายในเป็นหยิน
ท่าร่างภายนอกเป็นหยาง
สัมผัส(จิงเสิน)เป็นหยิน รูปลักษณ์ของชี่เป็นหยาง
อ่อนเป็นหยิน แข็งเป็นหยาง
สงบนิ่งเป็นหยิน การแคลื่อนไหวเป็นหยาง
(หมายถึงกายและ ใจที่สงบนิ่งไม่ใช่การหยุดคิด)
สิ่งที่อยู่บนเป็นหยาง สิ่งที่อยู่ล่างเป็นหยิน
สิ่งที่อยู่หน้าเป็นหยาง สิ่งที่อยู่หลังเป็นหยิน
ส่วนด้านซ้ายและขวา ด้านใดจะเป็นหยิน
ด้านใดจะเป็นหยางนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพ
และสถานการณ์นั้นๆประกอบกันเป็นหยินหยาง

โดยเหตุที่มวยไท่เก็กมีหยินหยางเป็นสิ่งตรงข้ามกัน
ตั้งอยู่ ดังนั้นภายในและภายนอก นั้นคือความเป็น
ตรงกันข้ามกันของหยินหยาง
ที่ปรากฏเป็นอีกท่วงท่าร่างหนึ่ง
เมื่อมีภายในจึงต้องมีภายนอก

ภายนอกอาศัยผู้อื่น ภายในอาศัยตนเอง
ขณะเคลื่อนไหวพึงมีจิตสงบนิ่ง
ภายในความเคลื่อนไหวมีความสงบนิ่ง
จึงสามารถเคลื่อนไหวโดยไม่ซัดส่าย
เมื่อเคลื่อนไหวคือชี่เคลื่อนไหว
คือการใช้ชี่ผลักดันท่วงท่า

ชี่ แบ่งเป็นหยินหยาง
หยินนั้นมีสัมผัส(จิงเสิน)ตระหนักรู้
หยางคือชี่คอยเตรียมพร้อมอยู่

ชี่ แบ่งเป็นหยินหยาง เมื่อเป็นได้เช่นนี้มวยไท่เก็ก
จึงสามารถใช้ออกได้อย่างไม่รู้หมด
จิ้งแบบไท่เก็ก มีความอ่อน แต่ก็มีความแข็ง
อ่อนแต่ไม่ใช่ไม่มีอะไรอยู่เลย
แข็งก็ไม่ใช่แข็งจนแกร่งเกิน

หากไม่แบ่งแยกหยินหยางให้ดี
ก็จะเกิดการหนักคู่ หนักคู่ก็คือกำลังก่อนกำเหนิด
(เซียนเทียน) ถูกนำมาใช้ในการเคลื่อนไหว
จึงเคลื่อนไหวติดขัดไม่คล่องตัว

หนักคู่ก็คือฝึดชะงักงัน
ในขณะที่แยกแยะความเป็นหยินหยาง
ต้องคำนึงถึงระยะห่างที่ก่อน้ำหนัก
ให้ได้สมดุลย์ของหยินหยาง
เมื่อเข้าใจในเรื่องสมดุลย์
ก็จะสามารถแยกแยะหยินหยางได้

ในขณะที่เคลื่อนไหวให้จัดท่าร่างให้เป็นหนึ่งเดียว
ทุกจุดมีหยินหยาง ทุกจุดมีเต็มว่าง
ทุกขณะ และทุกแห่ง เต็มไปด้วยหยินหยาง
ที่ปรากฏเป็นคู่ตรงข้าม
เมื่อนั้นเรียกว่า ไท่เก็กก็คือการจัดรวมร่าง-
เป็นหนึ่งเดียว (โจวเซิน)

การจัดรวมร่าง (เป็นหนึ่งเดียว )ก็คือไท่เก็ก
(-การจัดระเบียบของท่าร่างทั้งภายใน
และภายนอกให้เป็นหนึ่งเดียว-รังไหม)


2. การเกื้อกูลซึ่งกันและกันของหยินหยาง

เมื่อเราสามารถแยกแยะความเป็นหยินหยางได้
จึงนำทั้งสอง ประการ ควบเป็นวิถีเดียวกัน
มาใช้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นการเกื้อกูลกันของหยินหยาง

ตัวอย่างเช่น ท่วงท่าภายนอกและท่วงท่าภายใน
ทั้งสองต่างเป็นคู่ตรงข้ามกัน และมีความเกี่ยว
เนื่องสัมพันธ์กัน จึงไม่ควรแบ่งแยกจากกัน

โดยนำภายนอกในของท่วงท่าของ การเคลื่อนไหว
มาควบกันเป็นหนึ่งวิถี เต็มว่างที่เป็นภายใน
จึงสามารถเกิดการเต็มว่างของจิ้ง
ทะลุผ่านทุกท่วงท่าการเคลื่อนไหวได้

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ สัมผัส(จิงเสิน)กับรูปลักษณ์ของชี่

สัมผัส(จิงเสิน)กำหนดการแผ่ขยายรูปลักษณ์ของชี่
ออก ในขณะเดียวกัน รูปลักษณ์ของชี่ก็หุ้มห่อสัมผัส
(จิงเสิน) ดังนี้รูปลักษณ์ของชี่ จึงอยู่ในลักษณะที่เตรียมพร้อม

ในขณะที่สัมผัส(จิงเสิน)ก็ไม่ฟุ้งออกไปภายนอก
รับรู้ภายในระมัดระวังภายนอก

สัมผัส(จิงเสิน)แข็ง รูปลักษณ์ชี่อ่อน
อ่อนภายใน มีแข็ง จึงเป็นความอ่อนที่สามารถ
ใช้การได้ แข็งแต่ไม่มากเกิน
ก่อให้เกิดแรงสปริง(ถานซิ่ง)

ดังนั้น หยินหยางจึงต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์
ในลักษณะเกื้อกูล หยินไม่ห่างหยาง
หยางไม่ห่างหยิน หยินหยางเกื้อกูลกัน

  • (4).การหมุนเปลี่ยนของหยินหยาง

กล่าวโดยรวม หยินสามารถเปลี่ยนเป็นหยาง
หยางสมารถเปลี่ยนเป็นหยิน ได้ตามสถานการณ์
เต็มว่างหมุนเปลี่ยนจากภายในมิใช่ภายนอก

----------------------



3. การยึดกุมหลักที่เป็นพื้นฐานของมวยไท่เก็ก

  • (1).การเคลื่อนไหวของมวยไท่เก็กครอบคลุมในวิธีการหรือหลักการที่เป็นเฉพาะ และหลักการที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาของธรรมชาติร่วมกัน
มวยไท่เก็กใช้หลักการตั้งอยู่ของหยินหยาง
ในลักษณะเป็นคู่ตรงข้าม และควบเป็นหนึ่งในวิถีเดียวกัน ซึ่งเป็นหลักเฉพาะของมวยไท่เก็ก
นำไปเชื่อมสัมพันธ์กับหลักธรรมดาที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ

หลักที่เป็นเฉพาะของมวยไท่เก็ก
กับหลักที่เป็นธรรมดาตามธรรมชาติ
จึงแสดงลักษณะออก เป็นคู่ตรงข้ามหยินหยางด้วย

  • (2).การเข้าถึงสภาพความเป็นจริง
ความยากในการฝึกมวยไท่เก็ก ในส่วนหนึ่งอาศัยการฝึกฝนด้วยตวามมานะพยายาม
การฝึกฝนไท่เก็ก ไม่สามารถอาศัยแต่เพียง
ความรู้จากการบอก หรือสอน
หากแต่ ความรู้ความสามารถที่แท้จริง
จะเกิดจากการฝึกฝนเท่านั้น

การศึกษามวยไท่เก็กจึงต้องประกอบด้วยสองสิ่งคือ
ความเข้าใจ และความเข้าถึง

ความเข้าใจจะได้มาจากการเรียนจากผู้รู้
ที่สามารถเข้าถึงแล้วเท่านั้น
จึงสา มารถถ่ายทอดออกมาให้ได้

ความเข้าถึงเกิดจากความวิริยะของผู้ฝึกเอง
ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาสั่งสมยาว นาน.

-----------------------

ด้วยจิตคารวะอย่างสูงต่อท่านเฮ่อซ่าวหลู
รังไหม .. จำมา เล่าให้ฟัง





Create Date : 15 ตุลาคม 2549
Last Update : 26 ตุลาคม 2549 19:20:07 น. 7 comments
Counter : 4327 Pageviews.  

 


โดย: ทวีศักดิ์ IP: 203.150.192.142 วันที่: 7 เมษายน 2550 เวลา:9:44:58 น.  

 
อยากเรียนฟรี


โดย: ทวีศักดิ์ IP: 203.150.192.142 วันที่: 7 เมษายน 2550 เวลา:9:48:05 น.  

 
มาเปิดสาขาแมลาน้อยบ้างนะครับ (แม่ฮ่องสอน)


โดย: ทวีศักดิ์ IP: 203.150.192.142 วันที่: 7 เมษายน 2550 เวลา:9:50:55 น.  

 
ถ้าจะเรียนต้องเริ่มจากอะไรครับ


โดย: วรฤทธิ์ IP: 58.8.35.184 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:21:54:39 น.  

 
ที่หาดใหญ่เรียนของจริงที่ไหนดีคะ ช่วยบอกที


โดย: เหมียว IP: 192.168.0.164, 61.19.24.122 วันที่: 13 มิถุนายน 2553 เวลา:13:48:15 น.  

 
เรียนที่ศรีนคร 6.00น.ค่ะ


โดย: tira IP: 222.123.141.62 วันที่: 28 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:13:51 น.  

 
เรียนที่ศรีนคร 6.00น.ค่ะ


โดย: tira IP: 222.123.141.62 วันที่: 28 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:13:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ramin&Indra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




สำหรับท่าน ที่ไม่ยังไม่รู้จักมวยไท่จี๋นะครับ

มวยไทจี๋ หรือ ไทจี๋ฉวน
มาจากคำว่า ฉวน แปลว่า มวย + กับ ไทจี๋
เป็นวิชา การต่อสู้ชนิดเดียวกับ ที่เราเรียกแบบแต๊จิ๊วว่ามวยไทเก๊ก
หรือ ที่กลุ่มกายบริหารเพื่อสุขภาพ
สมัยใหม่ เอาไปดัดแปลงแล้วเรียก ว่า ไทชิ
รวมทั้งศัพท์ วัยรุ่นที่เรียกว่า "ทิชชี่"
แถมยังมีแบบผสมโยคะ เอาไปเรียกว่า "โยชิ"
หรือ "ไทคะ"อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกแบบสมัยใหม่นั้น
บางครั้ง เป็นเพียงการยืมชื่อมาใช้
เพื่อโฆษณาสรรพคุณ
โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกับมวยไทจี๋เลย
หรือไม่ก็ เป็นการใช้คุณประโยชน์ของมวย
แค่เพียงกระผีกริ้นของมันเท่านั้น

มวยไทจี๋มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล
ในหลากหลายด้าน หากคุณได้ศึกษาจากผู้รู้
และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง เป็นวิชา ที่คุณสามารถ
ใช้เป็นวิชาประจำตัว เรียนรู้จากมันได้ไม่มีที่สิ้นสุดจนตลอดชีวิต

บล๊อกนี้ผมตั้งใจจะ รวบรวม ประวัติ และ
ท่ามวยไทจี๋ของหลากแบบ หลายสายอาจารย์
ของมวยไทจี๋ตระกูลต่างๆเอาไว้ เผื่อผู้สนใจจะได้สามารถเปรียบเทียบได้

จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ปัจจุบัน มวยไทจี๋แบ่งออกเป็นหลายแบบ
หลากตระกูล ที่สำคัญๆก็คือ
มวยไทจี๋ตระกูลเฉิน ตระกูลหยาง
ตระกูลอู๋ ตระกูลอู่ ตระกูลซุน
สายหมู่บ้านเจ้าเป่า สายบู๊ตึ๊ง

แต่ละสาย ยังแตกแขนงออกไปอีกมากมาย
รวมทั้ง สายแปลกๆ สาย ย่อยต่างๆอีก
ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ดูกันครับ

ยังทำไม่เสร็จนะครับ มีหลายหัวข้อยังว่างอยู่
ค่อยๆทำไปเรื่อยแล้วกัน

ตอนนี้ หัวข้อที่มีเนื้อหาอยู่ คือ
** กำเนิดมวยไทเก๊ก
** มวยไทเก๊กตระกูลหยาง
** คำสอนปรมาจารย์
** ตำนานยอดฝีมือครับ
** ประวัติมวยไท่เก๊ก ทั้ง7สาย
** มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน

แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ครบถ้วน
ยังคงอัพเดทเรื่อยๆครับ


บทความส่วนใหญ่ที่ผมเป็นคนแปล
จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องการออกเสียง
ชื่อคน ชื่อสถานที่ภาษาจีน เพราะผมไม่รู้
ภาษาจีน และต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษเสีย
ส่วนใหญ่ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ

อัพเดท สัปดาห์ละครั้งครับ
[Add Ramin&Indra's blog to your web]