It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2561
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
4 ตุลาคม 2561
 
All Blogs
 
❃❃ระฆัง...คุณค่าทางวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา ?



❃❃ระฆัง...คุณค่าทางวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา ?

ผมว่าเมื่อเอ่ยถึงศาสนาทุกศาสนาแหละไม่จำกัดว่าเป็นเพียงศาสนาใดศาสนาหนึ่งจำค้องมีลัญลักษณ์ ซึ่งสัญลักษณ์บางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องมีในเนื้อหาของคัมภีร์หลักของศาสนา แต่เป็นเรื่องที่มีการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นองค์ประกอบของศาสนา เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายบ่งบอกในการทำหรือไม่ทำอะไรบางอย่างในศาสนา

ระฆัง : สัญลักษณ์ของการบอกเหตุและการประชุมสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรม ?

ผมพยายามที่จะค้นหาแหล่งที่มาของการใช้ระฆังที่ปรากฏในพระไตรปิฎกซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่เป็นหลักฐานแรกเริ่มของพระพุทธศาสนา แต่ก็ไม่เจอ แต่ก็ไปเจอเรื่องของ ระฆังในหลักฐานระดับ "อรรถกถา"ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายเนื้อความในพระไตรปิฎก

ซึ่งอรรถกถานี้เขียนหรือจารจารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ.๙๖๕ โดย พระพุทธโฆสาจารย์และคณะ ปรากฏเรื่องราวของการใช้ระฆังใน "ธรรมบท"หลายเรื่องระบุว่าภิกษุสมัยพุทธกาลนั้น ใช้ระฆังเป็นสัญญาณเพื่อบ่งบอกถึง "เวลาในการเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม" ดังปรากฏในเรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งว่า

ในสมัยพุทธกาลมีบ้านตำบลหนึ่ง ชื่อมาติกคาม ใกล้เชิงเขา ใน
แว่นแคว้นของพระเจ้าโกศล ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป
ได้มาเรียนกรรมฐานกับพระพุทธองค์ จากนั้นได้กราบทูลลาไปที่หมู่บ้านมาติกคามนั้น พอถึงตอนเช้าก็พากันเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ผ่านไปบ้านของผู้ใหญ่บ้านมาติกคามนั้น

แม่ของผู้ใหญ่บ้านได้นิมนต์ฉันภัตตาหารที่แล้วถามพระภิกษุทั้งหมดว่าพวกท่านจะเดินทางไปจำพรรษาที่ไหน พระภิกษุทั้งหมดเลยตอบว่า กำลังหาที่จำพรรษา นางจึงนิมนต์ให้ท่านทั้งหมดไปจำพรรษาที่พื้นที่ของตนเองเพื่อว่าตนเองจะได้มีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมด้วย

เมื่อภิกษุไปจำพรรษาที่นั่นแล้วได้ทำกติกาต่อกันว่า พวกเราไม่ควรยืน ไม่ควรนั่งในที่แห่งเดียวกัน ๒ รูป แต่ว่าในกาลเป็นที่บำรุงพระเถระในเวลาเย็นแล และในกาลเป็นที่ภิกษาจารในเวลาเช้าเท่านั้นพวกเราจักรวมกัน,

(แต่) ในกาลที่เหลือจักไม่อยู่รวมกัน ๒ รูป และที่สุดก็ได้บอกกันว่า เมื่อภิกษุผู้ไม่มีความผาสุกมาตีระฆังในท่ามกลางวิหารขึ้นแล้ว พวกเราจึงจักมาตามสัญญาแห่งระฆังแล้ว ทำยาให้แก่ภิกษุนั้น หรือมีเหตุจำเป็นที่จะต้องมาเจอกันก็ขอให้ตีระฆังให้สัญญาณ

วันหนึ่ง อุบาสิกาได้มาพบพระภิกษุในวัดนั้น พอไปถึงวัดก็ไม่เจอพระเลยสักรูปก็เลยถามพระที่ทำหน้าที่ต้อนรับท่านเลยบอกว่าถ้าอยากเจอพระให้ตีระฆังเพราะท่านได้ทำกติกากันไว้แล้วว่าหากมีใครป่วยหรือมีเหตุให้ตีระฆัง

ดังนั้น พระรูปนั้นเลยตีระฆังก็ปรากฎว่าพระทั้งหมดก็ออกมาจากที่ปฏิบัติธรรมเพื่อมาประชุมกันตามเสียงสัญญาณระฆัง(ขุ.ธ.อ.(ไทย)๑/๒/๑/๓๙๔-๗) การใช้ระฆังเป็นสัญญาณเพื่อการออกจากสถานที่ปฏฺบัติธรรมเพื่อมาช่วยเหลือภิกษุที่ป่วยหรือมีกิจธุระก็ปรากฎในเรื่องสังกิจจสามเณรก็เช่นเดียวกัน (ขุ.ธ.อ.(ไทย)๑/๒/๒/๔๖๙)

แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาใช้ "ระฆัง" เป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณเตือนเพื่อให้พระที่จำพรรษาในอาวาสนั้นออกมาดูแลกันและกันหรือเวลาที่เจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นต่างๆ ซึ่งนี่ก็คือวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา และถือว่าระฆังคือสัญญาณสำหรับการออกมาจากที่พักเพื่อประชุมหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในวัดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ดังนั้นะฆังจึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเคียงคู่กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน

การตีระฆัง : สัญญาณแห่งการปฏิบัติธรรม

ในปัจจุบันพระพุทธศาสนาใช้ระฆังเพื่ออะไร คือตอบก็คือเพื่อเป็นสัญญาณปลุกให้พระออกมาจากที่พักเพื่อมาทำวัตรปฏิบัติธรรมตั้งแต่เวลาดึกเช้าตรู่ หรือมาทำวัตร สัญญาณระฆังดังขึ้นนั่นหมายถึงว่า "การปฏิบัติธรรม"ได้เริ่มขึ้นแล้วนั่นเอง

ระฆังกับสังคม : ความเปลี่ยนแปลงที่ต้องเลือก ?

ผมว่าวัดเกิดมาก่อนสิ่งปลูกสร้าง ข้อนี้เป็นบทตั้งต้น เมื่อพระ วัด มีระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว ดังนั้น สังคมที่เกิดมาใหม่ (๑) จะต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจ สังคมจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองตามวัด (๒) ไม่ใช่ให้วัดเปลี่ยนแปลงตามสังคม หากวัดเปลี่ยนแปลงตามสังคมเมื่อไหร่สิ่งที่จะต้องสูญเสียไปก็คือ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพระสงฆ์ของวัด"จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามด้วย ที่นี้แหละที่วัฒนธรรมของชาวพุทธที่สืบทอดมาแต่ดั้งเดิมจะถูกทำลายไป
ผมเองไม่เห็นด้วยกับ เรื่องของการให้วัดต้องยกเลิกการตีระฆัง เพราะความที่เสียงระฆังดังรบกวนชาวบ้าน ผมว่าตัวคอนโดหหรือผู้บริหารคอนโดเองจะต้องศึกษาบริบทของการก่อร้างคอนโดก่อนว่าที่นั่นมีอุปสรรคอย่างไรบ้าง และต้องแจ้งให้กับสมาชิกหรือลูกค้าของคอนโด ตัวคอนโดต้องศึกษาและเรียนรู้เรื่องนี้มาก่อนการตัดสินใจขายคอนโดหรือห้องชุด
ไม่ใช่มาให้เป็นความผิดของพระและวัด เพราะพระและวัดท่านอยู่มานานท่านทำมานานเป็นวัตรปฏิบัติอันงดงามมานาน ดังนั้น เรื่องนี้ผมจึงถือว่า วัดต้องยืนยันใน "ระบบความเชื่อและวัฒนธรรมของวัด"เอาไว้ เพราะหากวัดเปลี่ยนแปลง คือหยุดีระฆังเพียงเพราะการร้องเรียนของคนในคอนโด
อีกหลายหมื่นวัดก็จะมีรูปแบบของการถูกเบียดบังเช่นนี้ไปเรื่อยๆที่สุดวัดเองจะไม่เหลือองค์ประกอบของความเป็นเอกลักษณ์ของวัดให้เหลืออยู่เลย ซึ่งนั่นผมว่ามันอันตรายมากสำหรับชาวพุทธและวัดในทุกวันนี้ครับ
ขอบคุณครับ
เครดิตบทความ เพจ Naga King



Create Date : 04 ตุลาคม 2561
Last Update : 4 ตุลาคม 2561 20:17:02 น. 1 comments
Counter : 488 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณSweet_pills, คุณโอพีย์


 
เอนทรี่นี้อินเทร็นด์มากนะคะ



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 4 ตุลาคม 2561 เวลา:20:54:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.