bloggang.com mainmenu search
ระบบทําความเย็น หรือ Refrigeration System คือ? มีหลักการทำงานอย่างไร

         คุณเคยสงสัยกันมั้ยว่า ตู้เย็น นั้นเย็นได้อย่างไร ระบบทำความเย็น ภายในตู้เย็น หรือ แอร์ มีระบบเครื่องทําความเย็นอย่างไร ถ้าคุณกำลังสนใจเกี่ยวกับ เครื่องทำความเย็น,เครื่องทําความเย็นและปรับอากาศ,หลักการทำงานของเครื่องทำความเย็น,หลักการทํางานของแอร์,หลักการทํางานของเครื่องปรับอากาศ,หลักการทำงานของเครื่องทำความเย็น,วงจรทําความเย็นแอร์ หรือวัฏจักรการทําความเย็นเครื่องปรับอากาศ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจได้ง่ายขึ้น

          ตู้เย็น แอร์ ที่ใช้กันตามบ้านเรือนนั้น ช่วยทำความเย็น อำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญ ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมม ยกตัวอย่าง ระบบทําความเย็นในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ การสร้างระบบห้องเย็น เพื่อต้องการความเย็นสําหรับเก็บรักษาอาหาร ควบคุมอุณหภูมิ ความชื่น และความสะอาดของอากาศอีกด้วย

          การทําความเย็นหมายถึง กระบวนการถ่ายเทความร้อนออกจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น ยกตัวอย่างเช่น ระบบทำความเย็นและปรับอากาศ คือ การดึงเอาปริมาณความร้อนจากอากาศในห้อง มาปรับอากาศโดยผ่านฟินคอยล์  ดึงเอาปริมาณความร้อนภายในห้องเย็นออกไประบายทิ้งภายนอก ทำให้อากาศภายในมีอุณหภูมิลดต่ำลง กระบวนการทำงานเหล่านี้

 

อุปกรณ์ในระบบทำความเย็น มีอะไรบ้าง

 

    ระบบการทำความเย็นแบบอัดไอหรือระบบคอมเพรสเซอร์อัดไอ  นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เช่น กระบวนการทำงานของแอร์ที่ใช้กันตามบ้าน ตู้เย็น และระบบห้องเย็นในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

อุปกรณ์เครื่องทําความเย็นที่สำคัญ มีดังนี้

1. อีวาพอเรเตอร์หรือคอยล์เย็น ทำหน้าที่ดูดรับปริมาณความร้อนจากบริเวณหรือเนื้อที่ที่ต้องการทำความเย็น2. คอมเพรสเซอร์ หรือเครื่องอัดไอ ทำหน้าที่ในการดูดและอัดน้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊ส3. คอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อน ทำหน้าที่ให้น้ำยาในสถานะที่เป็นแก๊สกันตัวเป็นของเหลวด้วยการระบายความร้อนออกจากน้ำยา4. ท่อพักน้ำยาเหลว น้ำยาเหลวที่มีความดันสูงและอุณหภูมิสูงซึ่งกลั่นตัวมาแล้วจากคอนเดนเซอร์5. เอกซ์แพนชันวาล์ว หรือ วาล์วลดความดัน ควบคุมการไหลของน้ำยาเหลวที่ผ่านเข้าไปยังอีวาพอเรเตอร์ลดความดันของน้ำยา
หลักการทำงานของระบบทำความเย็น



    หลักการทําความเย็นดัง แสดงในรูป เริ่มที่ท่อพักนักยาเหลวท่อพักน้ำยาเหลว น้ำยาในท่อพักมีสถานะเป็นของเหลวที่ อุณหภูมิสูง ความดันสูง ถูกส่งเข้าไปยังเอกซ์แพนชันวาล์ว หรือ วาล์วลดความดัน โดยผ่านท่อนี้ ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำยาเหลวที่ผ่านเข้าไปยัง อีวาพอเรเตอร์หรือคอยล์เย็น เพื่อลดความดันของน้ำยาเหลวให้มีความดันต่ำลงจนสามารถระเหยเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส

    
ขณะที่น้ำยาเหลวภายใน คอยล์เย็นระเหยตัวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส จะดูดรับปริมาณความร้อนจากอากาศโดยรอบ ทำให้อากาศโดยรอบที่ คอยล์เย็นมีอุณหภูมิต่ำลง และถ้ามีฉนวนกันความร้อนกั้นโดยรอบคอยล์เย็นไว้ ความร้อนจากภายนอกไม่สามารถผ่านเข้าไปได้หรือผ่านได้น้อย ก็จะทำให้อุณหภูมิภายในบริเวณที่ต้องการทำความเย็นลดต่ำลง

    แก๊สจะมีอุณหภูมิและความดันต่ำจาก คอยล์เย็น และจะถูกคอมเพรสเซอร์ ดูดผ่านเข้าไปยังท่อ Suction และส่งออกทางท่อ Discharge ลักษณะของแก๊สที่มีอุณหภูมิและความดันสูง เพื่อส่งไปกลั่นตัวเป็นของเหลวในคอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อน โดยมีการระบายความร้อนออก แต่น้ำยาเหลวนี้จะยังคงมีความดันและอุณหภูมิสูงอยู่ และถูกส่งเข้าไปวนต่อไปแบบนี้ ซึ่งคอยล์เย็นและจะวนการทำงานไปแบบนี้เรื่อยๆ เป็นวัฏจักรการทําความเย็นแบบอัดไอ
วัฎจักรของการทำความเย็น Refrigeration Cycle
เครื่องทําความเย็นและปรับอากาศ ซึ่งมีหลักการทำงานหลักๆ คือ การทำให้สารทำความเย็น ไหลวนไปตามระบบ ซึ่งวัฏจักรการทำความเย็น มีวงจรระบบทำความเย็น ดังนี้

1. เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดัน และอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน

2. น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน

3. น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น 

4. จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อน จากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

Create Date :25 กุมภาพันธ์ 2565 Last Update :27 กุมภาพันธ์ 2565 15:53:33 น. Counter : 1636 Pageviews. Comments :1