Hi there!
ดีใจจังที่จะมีโอกาสได้แชร์อะไรที่เป็นสาระกับเขาบ้างสักที (วาระแห่งชาติ)
ขอแปลงร่างเป็นผู้มีการศึกษาสักครู่แต่อาจจะดูไก่กาอาราเร่มากขึ้นเพราะพยายามมากไป
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่ควรพิรี้พิไรมากเลยค่ะ(ปกติชอบอินโทรยาว 555)
เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่านะคะ ...เมื่อวันก่อนได้เข้าไปเจอกระทู้หนึ่งในห้องหว้ากอ เกี่ยวกับคนที่มีการเปลี่ยนลักษณะเอกลักษณ์ทางเสียง แล้วไปสะดุดความเห็นหนึ่ง
(ขออนุญาต นิดนึงนะคะ ไม่มี ref กระทู้ ไม่บอกชื่อล็อคอิน)
ซึ่งมีใจความว่า
"คนไทยกับฝรั่งพูดใช้อวัยวะที่สะท้อนเสียงไม่เหมือนกัน
คนไทยจะพูดในลำคอส่วนฝรั่งใช้โพรงกะโหลก ใบหน้า และใช้พลังจากกระบังลมในการพูดมากกว่าคนไทย คือคล้ายๆ ร้องเพลง
คนไปอยู่ต่างประเทศก็อาจปรับวิธีพูดไปตามฝรั่ง เลยดูเหมือนเสียงเปลี่ยนความจริงเส้นเสียงและอวัยวะสะท้อนเสียงในร่างกายเหมือนเดิมทุกอย่าง
แต่ว่าเปลี่ยนวิธีใช้เสียงก็เลยดูเหมือนเสียงเปลี่ยน"
เอิ่ม...นิ่งไป 10วิ พยายามคิดหาวิธีพูดภาษาอังกฤษโดยใช้โพรงสมองใบหน้า อันที่จริงก็รู้อยู่แล้วว่ามันทำไม่ได้ แต่ไม่อยากกรอบตัวเองกับทฤษฎีที่เรียนมาเลยต้องขอทดลองก่อน พยายามส่งลมจากปอดออกไปทางโพรงสมองและใบหน้า
จนตาจะถลนออกจากเบ้าเลยทีเดียว (คิดแล้วก็ละเหี่ยใจกับตัวเอง จะพยายามทำไม มันฮาไปนะ ) สรุปว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด เลยตอบไปเป็นข้อๆไป
แต่ในที่นี้ขอเสริมความรู้ ทางวิชาการเล็กน้อยสัญญาว่าจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายๆเลย
1. มนุษย์ไม่ว่าคนไทยหรือฝรั่ง หากไม่มีภาวะผิดปกติ ร่างกายจะมีส่วนประกอบของอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงเหมือนกันทุกประการ การออกเสียงพูดตามหลัก Airstream mechanism คือการที่ร่างกายปล่อยลมออกจากปอด
เรียกว่า Aggressive หรือ pulmonic air from the lungs ลมจะผ่านvocal cords เส้นเสียง (บางทีอาจเจอคำว่า Vocal folds) และกระบวนการสร้างเสียงที่เรียกว่า
Phonation ที่หมายถึงกระบวนการการสั่นของเส้นเสียงเพื่อสร้างเสียงออกมาซึ่งอวัยวะที่สร้างเสียงเรียกว่า Initiator หรือต้นกำเนิดเสียงนั่นเอง
ซึ่งมนุษย์เรา มี initiator อยู่ 3 จุดคือ กะบังลม(diaphragm)การทำงานร่วมของปอดและการขยายตัวของซี่โครงpulmonic mechanisms) กล่องเสียง (glottis) ( glottalic mechanisms) ลิ้น (tongue) (lingual หรือ"velaric" mechanisms)
มีภาพประกอบ ซึ่งเราจะเรียกนายแบบอวัยวะภายในลำคอหล่อคนนี้ว่า
“Sammy”

ขอบรรยายภาพ Sammy จำลองเป็นการเดินทางของลมจากปอดและกระบังลมไล่มาตั้งแต่หลอดลม(Windpipe) ที่แยกออกจาก หลอดทางเดินอาหารที่ชื่อยากว่า(Esophagus)อย่าไปจำชื่อมันเลยค่ะ อีก 1 อาทิตย์ใครยังจำชื่อมันได้ติดสมอง โดยที่ไม่ได้เรียนแพทย์ หรือภาษาศาสตร์ เราจะมองคุณว่าเป็นโรคจิตคนหนึ่งที่ชอบแบกของหนักที่ไม่ได้ใช้ติดตัว มาดูหลักๆคือ
boxหรือglottisซึ่งภายในกล่องเสียงมี เยื่อที่ทำหน้าที่เหมือนช่องลมที่เปิดปิดๆ เรียกว่า Vocal
cords หรือ Vocal folds ที่เติม s เพราะมันมีสองข้างและการเปิดปิดของทั้งคู่ทำให้เกิดการสั่นของเส้นเสียง (vibration)

ใช่แล้ว ถ้าเป็นเสียง นาสิก(Nasal) ลมก็จะออกทางจมูกด้วยได้แก่ เสียง [m] [n] [ŋ] หรือ ม น ง นั่นเอง
2. เราไม่มีอวัยวะสะท้อนเสียง มีแต่อวัยวะที่ทำหน้าที่กักเสียง(อวัยวะในช่องปาก)
ซึ่งอวัยวะทุกส่วนทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเสียงเพื่อกำหนดเป็น shape
ต่างๆทำให้เสียงที่ออกมามีความต่างกัน ลองทำปากจูแล้วออกเสียงดู
ก็จะได้เสียงอู แบะปากออกก็จะเป็นเสียงเอ อ้าปาก จะได้เสียง อา ... ดูเป็นหลักการที่ไม่ค่อยหน้าชื่อถือเพราะดูว่าเราตั้งใจออกเสียง
งั้นเปลี่ยนมาเป็น ทำปากเป็นรูปต่างๆ แล้วเคาะข้างแก้มให้ลมออกดูค่ะ ทำปากจู๋มากๆ
ยื่นไปข้างหน้าแล้วดีดข้างแก้มดู (บางคนแก้มช้ำเพราะทำตามไปละ 555 ยังมีอวัยวะทั้งเป็นส่วนที่ active คือส่วนที่ขยับและpassive คือส่วนที่คงที่เช่น ลองเสียง[t] [d] [s] [z] [n] (เทอะ-เดอะ-เสอะ-เซอะ-เนอะ) ทุกตัวมี active ที่เดียวกันคือ ปลายลิ้น(Tongue
tip)และมี passive ที่เดียวกันคือปุ่มเหงือกหลังฟัน(Alveoli หรือ Alveolar ridge) อ่าว!... แล้วทำไมเสียงถึงต่างกัน คำตอบที่ได้คือการปล่อยลมเข้ามาในลักษณะที่ต่างกัน
[t][d] เป็นการกักลมไว้แล้วระเบิดลมออกมาอย่างเร็ว เราเรียกวิธีนี้ว่า stop หรือ plosive
[t] จะปล่อยลมออกมา แบบ voiceless
คือ การที่เส้นเสียงในกล่องเสียงเปิด ส่วน [d] จะปล่อยลมออกมา แบบ voiced
คือ การที่การที่เส้นเสียงในกล่องเสียงเปิด ปิด เปิดปิด
จนเกิดการสั่นหรือ vibrate ลองออกเสียงทั้งสองตัวแล้วจับลูกกระเดือกดูก็ได้ค่ะ
เหมือนการปิดกักลมสนิทแล้วแล้วปล่อยออกมาทันที
(Close and immediately open) >----
[s][z] เป็นการ เอาลิ้นแตะที่เดียวกัน แต่ยังมีช่องเล็กๆสำหรับปล่อยลมออกมาเรียกว่า fricative ลองออกเสียง ssssss ดูแล้วเอามือป้องปากจะมีลมกระทบฝ่ามือ
ส่วนความแตกต่างเหมือน กับ [t] [d] คือ voicing นั่นเอง
[n]ก็คือการเอาปลายลิ้นแตะที่ปุ่มเหงือกเช่นเดียวกัน แต่ [n] เป็นเสียง นาสิก (nasal) เพราะฉะนั้น เจ้าลิ้นไก่ของเราก็จะเปิดช่องให้ลมออกทั้งช่องปากและโพรงจมูกนั่นเอง แล้เสียง[n] จะเป็นVoicedเสมอ สังเกตเวลาเราเป็นหวัดหายใจไม่ออก เราจะพูดคำที่มีเสียงนอหนู
เป็นดอดู๋ นั่นเอง อิอิ
3. เสียงไม่สามารถออกจากโพรงกระโหลกได้ค่ะ จากหลักการที่เรียนมา และพยายามทดลองด้วยตัวเองยืนยันเลยว่าไม่ได้ และโพรงสมองอยู่ที่ไหน ลมไปสู่โพรงสมองแล้วไปไหนต่อ
ออกมาทางปากได้ยังไง อันนี้ให้ลองคิดความเป็นไปได้ดูส่วนออกเสียงทางใบหน้านี่แล้วใหญ่เลย เสียงต้องลอดผ่านรูขุมขนเลยทีเดียวใบหน้าสามารถแสดงออกเป็นสีหน้า หรือ Gesture ได้ค่ะ แต่คนออกเสียงผ่านหน้าไม่ได้จริงๆ
ตัวอย่างเปรียบเทียบที่ยกมาจึงผิดโดยสิ้นเชิง และทั้งคนไทยและฝรั่งเสียงต่างออกจากปอด กระบังลมผ่านลำคอ และช่องปากเหมือนกัน แต่เสียงในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่เป็นเสียงพ่นลม หรือการ Aspiration นั่นเองในขณะที่ภาษาไทยมีเสียง ?ที่มองไม่เห็นลองพูดคำว่า ฟ้า ดูสิคะ จบคำว่าฟ้าคุณจะอ้าปากค้างอยู่และกลั้นหายใจช่วงสั้นๆนั่นแหละ เสียงที่มองไม่เห็นในภาษาไทย
ถ้าสนใจเพิ่มเติม ลองศึกษาศาสตร์ ที่เรียกว่า Phonetics ดูค่ะ เราขอเรียกศาสตร์นี้เป็นวิทยาศาสตร์ทางการออกเสียงในภาษาละกันค่ะ
เว็บของuiowa มี flash แสดงให้ดูค่ะรวมไปถึงการออกเสียงแบบไหน อวัยวะไหนทำให้เกิดเสียงบ้าง ลองไปเล่นดูค่ะ
//www.uiowa.edu/~acadtech/phonetics/ ความรู้เรื่อง English
phonetics
//www.uiowa.edu/~acadtech/phonetics/anatomy.htm แสดงผลเป็นแฟลทช์

//www.tuninst.net/Romabama/Human-Voice/HV1/hv1.htm
//en.wikipedia.org/wiki/Airstream_mechanism
สวัสดีค่า

Free TextEditor
- Comment
อ่านแล้ว ถึงรู้ที่มาของสำเนียงแต่ละคน
โดย: wrought