bloggang.com mainmenu search

"ตราพระมหามงกุฎ" รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นเกียรติยศการรักชาติของทีมชาติสยาม เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2458


การลงสนามนัดแรกของทีมชาติไทย


 วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2458 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม (ทีมชาติไทย) ชนะ สปอร์ตคลับ ๒ - ๑.


นักฟุตบอลทีมชาติชุดแรกของทีมชาติไทย

จำนวน 11 คน คือ
ตำแหน่งแนวหน้า หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร, นายชอบ หังสสูต, นายโชติ ยูปานนท์, นายศรีนวล มโนหรทัต, นายจรูญ รัตโนดม
ตำแหน่งแนวหนุน นายตาด เสตะกสิกร, นายกิมฮวด วณิชยจินดา
ตำแหน่งแนวหลัง นายแถม ประภาสะวัต, นายต๋อ ศุกระศร, นายภูหิน สถาวรวณิช
ตำแหน่งคนรักษาประตู นายอิน สถิตยวณิช


นักฟุตบอลผู้ยิงประตูแรกของทีมชาติไทย

คือ นายศรีนวล (วัฒน์) มโนหรทัต (สโมสรราชแพทยาลัย) ตำแหน่งกองหน้า ติดทีมชาติสยามระหว่าง พ.ศ. 2458 - 2460 ยิงประตูแรกในชัยชนะนัดแรกของทีมชาติสยาม (23 พฤศจิกายน 2458).



สโมสรแรกที่มีนักฟุตบอลติดทีมชาติมากที่สุดของทีมชาติไทย

สโมสรราชแพทยาลัย "มหาอำนาจฟุตบอลทีมแรกของสยาม" มีนักฟุตบอลติดทีมชาติสยาม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2458 จำนวน 4 คน คือ
- นายแถม ประภาสะวัต
- นายต๋อ  ศุกระศร
- นายกิมฮวด วณิชยจินดา
- นายศรีนวล  มโนหรทัต.


หัวหน้าทีมคนแรกของทีมชาติไทบ

มจ.สิทธิพร กฤดากร ตำแหน่งกองหน้า ติดทีมชาติสยามระหว่าง พ.ศ. 2458 - 2460 อดีตนักศึกษาวิศวชลประทานจากประเทศอังกฤษ


สนามฝึกซ้อมและคัดเลือกนักฟุตบอลทีมชาติแรกของทีมชาติไทย

สนามสามัคยาจารย์สมาคม ภายในบริเวณโรงเรียนสวนกุหลายวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2458 - 2475



สนามเหย้าแห่งแรกของทีมชาติไทย
สนามเสือป่า สวนดุสิต (ปัจจุบัน สนามหน้าสำนักพระราชวัง) กรุงเทพฯ ระหว่าง พ.ศ. 2458 - 2475



สีประจำทีมแรกของทีมชาติไทย

 สีขาวแดง (สีแดง คือชาติ สีขาว คือ ศาสนา) โดยนำมาจากสีของธงชาติสยาม (ช่วงทดลองใช้) ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6



รายการระดับโลกครั้งแรกของทีมชาติไทย
 รายการฟุตบอลโอลิมปิก ครั้งที่ 16 ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2499) เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย รอบ 16 ทีมสุดท้าย (12 พฤศจิกายน ถึง 8 ธันวาคม 1986) ทีมชาติไทยเป็น 1 ใน 6 ทีมตัวแทนของทวีปเอเชีย (ญี่ปุ่น, เวียดนามใต้, อินเดีย, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย)



แมตช์ชนะมากที่สุดของทีมชาติไทย

คือ วันที่ 24 พฤษภาคม 2514 รายการฟุตบอลเอเชี่ยนคัพ รอบแรก ทีมชาติไทย ชนะ ทีมชาติบรูไน 10 - 0.



แมตช์แพ้มากที่สุดของทีมชาติไทย

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2499 รายการฟุตบอลโอลิมปิก รอบ 16 ทีมสุดท้าย ทีมชาติไทย แพ้ สหราชอาณาจักร 0 - 9.



นักฟุตบอลดาราเอเชียคนแรกของทีมชาติไทย

อัศวิน ธงอินเนตร (สโมสรธนาคารกรุงเทพ) ตำแหน่งผู้รักษาประตู ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2506 - 2508 ดาราเอเชียคนแรกของทวีปเอเชียในตำแหน่งผู้รักษาประตู  ประจำปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2508).



นักฟุตบอลผู้ทำประตูแรกในเกมระดับโลกของทีมชาติไทย

อุดมศิลป์  สอนบุตรนาค (สโมสรธนาคารกรุงเทพ) ตำแหน่งกองหน้า ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2509 - 2511 ทำได้ในฟุตบอลโอลิมปิก ครั้งที่ 19 (ค.ศ. 1968) ประเทศเม็กซิโก เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2511 ณ สนามกัวดาฮาร่า รอบแรก ทีมชาติกัวเตมาลานำทีมชาติไทย 1 - 0 จนถึง น. 44 อุดมศิลป์  สอนบุตรนาค ยิงตีเสมอให้กับทีมชาติไทยเป็น 1 - 1 ก่อนจบเกมจะแพ้ทีมชาติกัวเตมาลา 1 - 4



นักฟุตบอลที่ทำประตูเร็วที่สุดของทีมชาติไทย

นิวัฒน์  ศรีสวัสดิ์ (สโมสรการท่าเรือ) ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2522 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2511 รายการฟุตบอลปรี-โอลิมปิก ณ สนามศุภชลาศัยฯ ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติอินโดนีเซีย (2 - 1) ภายหลังเขี่ยลูกไม่ถึง 1 นาที ผู้เล่นไทยโยนยาวไปหน้าประตูทีมอินโดนีเซีย นิวัฒน์  ศรีสวัสดิ์ ขึ้นโหม่งเป็นประตูแรกให้กับทีมไทย



นักฟุตบอลที่ทำแฮตทริกแรกในนัดชิงชนะเลิศของทีมชาติไทย

 อนุรักษ์ ศรีเกิด  (สโมสรบีอีซีเทโรศาสน) ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2540 - 2545 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2543 รายการฟุตบอลคิงส์คัพ ครั้งที่ 31 ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติฟินแลนด์ (5 - 1) โดยยิงได้ใน น. 22, น. 44 และน. 74 นับเป็นการทำแฮตทริกครั้งแรกของตนเองและทีมชาติไทยในเกมนัดชิงชนะเลิศ.

การลงสนามนัดแรก ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ของทีมชาติไทย

วันที่ 13 ธันวาคม 2502 รายการฟุตบอลกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 รอบแรก ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติเวียดนามใต้ (0 - 4).อนึ่ง ระหว่าง พ.ศ. 2495 - 2515 นั้น จะใช้ชื่อทีมว่า "กรุงเทพผสม" หรือ "กรุงเทพ 11" ในการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการหรือนัดพิเศษ เท่านั้น.




การลงสนามนัดแรก ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน ของทีมชาติไทย

วันที่ 27 มิถุนายน 2541 การแข่งขันฟุตบอลทดสอบสนามราชมังคลากีฬาสถาน คู่พิเศษระหว่าง ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติจีน (0 - 3).




นักฟุตบอลคนแรกที่ทำประตู ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ของทีมชาติไทย

ประเทศ สูตะบุตร ตำแหน่งกองหน้า ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2500 - 2505 เป็นคนแรกที่ทำประตูอย่างเป็นทางการให้ทีมชาติไทย ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2502 รายการฟุตบอลกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 รอบแรก ทีมชาติไทย ชนะ ทีมชาติมาเลเซีย 3 - 1 (ยิง 2 ประตู).




นักฟุตบอลคนแรกที่ประกาศเลินเล่นทีมชาติอย่างเป็นทางการของทีมชาติไทย

นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์  (สโมสรการท่าเรือ) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2522 รายการฟุตบอลคิงส์คัพ ครั้งที่ 22 ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติเกาหลีใต้ (1 - 0) ภายหลังจบการแข่งขัน "สิงห์สนามศุภ" ตำนานหมายเลข 13 ของทีมชาติไทย จึงประกาศเลิกเล่นทีมชาติกลางสนามศุภฯ นอกจากประสบความสำเร็จชนะเลิศเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของตนเองในนามทีมชาติไทย.




นักฟุตบอลอาชีพคนแรกของทีมชาติไทย

เอกไชย สนธิขันธ์ (สโมสรราชวิถึ) ตำแหน่งกองกลาง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2512 - 2516 เป็นนักฟุตบอลคนแรกของไทยที่ได้ทำสัญญาเล่นฟุตบอลอาชีพสังกัดสโมสรแรงเยอร์ (ฮ่องกง) ประมาณ พ.ศ. 2515 เป็นเวลา 2 ฤดูกาล.




นักฟุตบอลอาชีพคนแรกในทวีปยุโรปของทีมชาติไทย

 วิทยา เลาหกุล (สโมสราชประชานุเคราะห์) ตำแหน่งกองกลาง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2530 สังกัดสโมสรเฮอธ่า เบอร์ลิน (บุนเดสลีกา) และสโมสรซาบรุ๊คเค่น (ลีกา 2) ในประเทศเยอรมัน ระหว่าง พ.ศ. 2522 - 2528. 




การชนะเลิศรายการแรกของทีมชาติไทย

คือ กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2508 ณ ประเทศมาเลเซีย รอบชิงชนะเลิศ ทีมชาติไทย เสมอ ทีมชาติพม่า 2 - 2 (2 - 0).




ผู้ฝึกสอนที่ประสบความสำเร็จคนแรกของทีมชาติไทย

พลเอก ประเทียบ เทศวิศาล (ยศขณะนั้น พันเอก) ผู้ฝึกสอนทีมชาติไทยชุดชนะเลิศฟุตบอลกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๓ (พ.ศ. 2508) ณ ประเทศมาเลเซีย ความสำเร็จครั้งแรกของทีมชาติไทย.




นักฟุตบอลคนแรกที่ทำประตูเกิน 100 ลูกในนามทีมชาติไทย

คือ ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน (สโมสรทหารอากาศ) ตำแหน่งกองหน้า ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2524 - 2540 ยิงประตูให้ทีมชาติไทย จำนวน 103 ประตู.




นักฟุตบอลลูกครึ่งคนแรกของทีมชาติไทย

เฉลิม โยนส์ (สโมสรธนาคารกรุงเทพ) ตำแหน่งกองหลัง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2501 - 2512 มีบิดาเป็นชาวอังกฤษและมารดาเป็นคนไทย.




ตระกูลแรกสุดที่ติดทีมชาติมากที่สุดของทีมชาติไทย

 พี่น้องตระกูล "ไชยยงค์" จากจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งหมด 6 คน ดังนี้
- สำรวย (สำเริง) ไชยยงค์ (สโมสรพลศึกษา) ตำแหน่งกองหน้า ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2499 - 2506
- สนอง ไชยยงค์ (สโมสรราชวิถี) ตำแหน่งกองหลัง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2515
- สุพจน์ ไชยยงค์ (สโมสรราชวิถี) ตำแหน่งกองหลัง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2509 - 2511
- สุพัฒน์ ไชยยงค์ (สโมสรราชวิถี) ตำแหน่งกองหลัง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2512 - 2514
- สนุก ไชยยงค์ (สโมสรราชวิถึ) ตำแหน่งกองกลาง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2513 - 2514
- เสนอ ไชยยงค์ (สโมสราชวิถี) ตำแหน่งกองกลาง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2512 - 2513. 




รัฐมนตรีคนแรกที่เคยเป็นนักฟุตบอลของทีมชาติไทย

มจ.สิทธิพร กฤดากร (สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดประจวบคีรีขันฑ์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ (พฤศจิกายน 2490 - เมษายน 2491).



นักฟุตบอลคนแรกที่มีอนุสาวรีย์ของทีมชาติไทย

อัศวิน ธงอินเนตร อดีตผู้รักษาประตูดาราเอเชีย ซึ่งเสียชีวิตระหว่างการฝึกซ้อมให้ทีมชาติไทยเมื่อ พ.ศ. 2508 ณ สนามฟุตบอลสโมสรธนาคารกรุงเทพ บางนา จึงทำให้มีการสร้างอนุสาวรีย์ครึ่งตัวไว้ ณ สนามดังกล่าว.




ผู้ 

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งแรกของทีมชาติไทย

คือ "พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม" ณ พระตำหนักทับแก้ว พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยสำนักพระราชวัง อนุญาตให้สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดแสดงเพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถาน "๑๐๐ ปี ทีมชาติไทย" ในปี พ.ศ. 2558.

"ฉายา" ของนักฟุตบอลทีมชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2458

แถม ประภาสะวัต "กำแพงเมืองจีน"

อิน สถิตยวณิช "คนรักษาประตูตาเดียว"

ศรีนวล มโนหรทัต "รถไฟสายใต้"

จรูญ รัตโนดม "รถไฟสายเหนือ"

ศักดิ์ คุปตะวาณิช "อ้ายฮก"

พ.ศ. 2480 - 2499

วิวัฒน์ มิลินทจินดา "ปืนใหญ่"

สำรวย ไชยยงค์ "ปรมาจารย์ฟุตบอลเมืองไทย"

พ.ศ. 2500 - 2510

อัศวิน ธงอินเนตร "จอมเหินหาว"

ณรงค์ สังขสุวรรณ "กองหลังดาราเอเชีย"

ยรรยง ณ หนองคาย "เจ้าตีนระเบิด"

อัษฎางค์ ปาณิกบุตร "จิ้งเหลนไฟ"

เฉลิม โยนส์ "สุภาพบุรุษอังกฤษ"

พ.ศ. 2511 - 2520

นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ "สิงห์สนามศุภ"

สราวุธ ประทีปากรชัย "ไอ้แมวป่า"

อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค "รถด่วนเมืองละโว้"

บุญเลิศ นิลภิรมย์ "ปีกปีศาจ"

ชัชชัย พหลแพทย์ "นักเตะจอมฟิต"

สุชิน กสิวัตร "แบ็คยุโรป"

ศุภกิจ มีลาภกิจ "สำลีเม็ดใน"

สิทธิพร ผ่องศรี "จอมเบสิก"

เกษตรชัย สุวรรณธาดา "หนูถีบจักร"

สุทธา สุดสะอาด "จอมโหม่งพสุธา"

อำนาจ เฉลิมชวลิต "นายพันกระดูกเหล็ก"

ประพนธ์ ตันตริยานนท์ "ยอร์จ เบสต์ เมืองไทย"

โกวิท เพ็งลี "เจ้ารถถัง"

ศุภฤกษ์ ชีวะบุตร "แบ็คซ้ายตีนทอง"

สมพร จรรยาวิสูตร "แมททริว เมืองไทย"

เชิดศักดิ์ ชัยบุตร "ปีกซ้ายมหาภัย"

ดาวยศ ดารา "เพชรฆาตหน้าติดหนวด"

ไชยวัฒน์ พรหมมัญ "เจ้าปลาหมึก"

เจษฎาภรณ์ ณ พัทลุง "สุภาพบุรุษนักเตะ"

วีระยุทธ สวัสดี "ไข่มุกดำ"

วิทยา เลาหกุล "ฮาล์ฟอังกฤษ"

ดนัย มงคลศิริ "ศูนย์หน้าจอมเหินหาว"

พ.ศ. 2521 - 2530

ประพันธ์ เปรมศรี "มนุษย์ไม้"

วรวรรณ ชิตะวณิช "มิดฟิลด์อัจฉริยะ"

สุทิน ไชยกิตติ "แบ็คหนวดหิน"

ชัยยุทธ ผิวบัวเผื่อน "รถด่วนอันตราย"

มาด๊าด ทองท้วม "เจ้าบังตีนเมา"

ชลอ หงษ์ขจร "เจ้าหนูถึบจักร"

สมพงษ์ วัฒนา "เจ้าแรดหิน"

พิชัย คงศรี "หลอหัวเรดาห์"

เฉลิมวุฒิ สง่าพล "มิดฟิลเท้าชั่งทอง"

ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน "เพชรฆาตหน้าหยก"

ศิริศักดิ์ แย้มแสง "จอมตีลังกา"

อภินันท์ ผุลละศิริ "มิลฟิลด์จากซาอุ"

สมปอง นันทประภาศิลป์ "เสือใหญ่"

วิลาศ น้อมเจริญ "เสือลาศ"

ศักดริน ทองมี "คีแกนเมืองไทย"

ประดับพันธ์ จรัญญา "อ้ายท่อ"

บรรหาร สมประสงค์ "เจ้ารถถัง"

ประทีป ปานขาว "จรวดใบ้"

พ.ศ. 2531 - 2540

วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ "สิงห์โตเผือกจากปากน้ำโพ"

นที ทองสุขแก้ว "เจ้าดำอุตรดิตถ์"

อนัน พันแสง "มิดฟิลด์ร้อยล้าน"

สมศักดิ์ คำมณี "จอมโหด"

รณชัย สยมชัย "จอมล้นลาน"

นพดล วิจารณรงค์ "โซเครติส เมืองไทย"

ประเสริฐ ช้างมูล "เหน่อเสน่ห์"

กฤษดา เพี้ยนดิษฐ์ "ดำเล็ก"

สมชาย ทรัพย์เพิ่ม "มาราโดน่า กล้วยน้ำไท"

เสนาะ โล่งสว่าง "เจ้ารถถังปากน้ำโพ"

อรรถพร หิรัญสถิตย์ "ศูนย์หน้าหมอผี"

สาธิต จึงสำราญ "อ้วนซ่า"

ประสงค์ พันธ์สวัสดิ์ "เสือเตี้ย"

อุดม สุวรรณเลขา "ปีกกระดูกยุง"

วรวุฒิ ศรีมะฆะ "เจ้าโย่ง"

เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง "ศูนย์หน้าจอมตีลังกา"

สุชิน พันธ์ประภาส "ไรอันกุ้ง"

สมาน ดีสันเทียะ "ปีกปลาร้า"

โกวิทย์ ฝอยทอง "ซิกล้วย"

โชคทวี พรหมรัตน์ "เจ้านกกระยางดำ"

ตะวัน ศรีปาน "สุภาพบุรุษลูกหนัง"

เศกสรรค์ ปิตุรัตน์ "โรนัลโด เมืองไทย"

ชายชาญ เขียวเสน "แบดบอย"

ขวัญชัย เฟื่องประกอบ "โรมาริโอ เมืองไทย"

ที่มา สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย

Create Date :24 มีนาคม 2556 Last Update :24 มีนาคม 2556 23:19:06 น. Counter : 4612 Pageviews. Comments :0