bloggang.com mainmenu search



Lieutenant-General Yamashita, Commander of the Japanese 25th Army

เมืองที่อยู่ถัดไปนั้นคือ Ipoh ฐานที่มั่นสำคัญ ที่อังกฤษต้องรักษาไว้ให้ได้
เพราะมันคือจุดเปิดไปสู่เมืองหลวง Kaula lampur
การบุกถูกต้านทานอย่างหนักด้วยปืนใหญ่และปืนกลของฝ่ายอังกฤษ
นายพล Yamashita จึงต้องหยุดชะงักเป็นครั้งแรก

แต่แล้วเค้าก็ทำให้อังกฤษประหลาดใจ ด้วยการโจมตีลวงตรงหน้า
และส่งทหารอีกส่วนลงเรือเดินทางทะเลอ้อมไปขึ้นบกที่แนวหลัง
เข้าโจมตีเหมือนกับแมงป่องด้วยเหล็กไนปลายหางอันร้ายกาจ
และยึดเมือง Ipoh ได้ก่อนวันปีใหม่เพียงหนึ่งวัน

7 มกราคม 1942 ญี่ปุ่นเข้าล้อมเมือง Kaula lampur
นายพล Percival ของอังกฤษกำลังต้องตัดสินใจอย่างหนัก
เค้าต้องเลือกที่จะทิ้งเมืองเพื่อออมกำลังไว้ป้องกันสิงคโปร์
หรือจะยืนหยัดที่จะต่อสู้ต่อไป โดยที่ยังไม่มีคำสั่งใดๆ มาถึง
เพียง 4 วัน อังกฤษก็สูญเสียเมืองหลวงของมาลายา

11 มกราคม 1942 ด้วยการรบอย่างไม่หยุดพักของกองพลที่ 5
นายพล Yamashita พบว่าทหารของเค้านั้นอ่อนล้า
บางส่วนก็บาดเจ็บ ล้มตาย อาหาร และกระสุนก็เหลือน้อยเต็มที
เค้าก็พบทางเลือกเช่นกัน จะหยุดพักเพื่อรอส่วนเพิ่มเติมกำลัง
หรือบุกไปเพื่อไม่ให้ข้าศึกตั้งตัวแล้วยึดสัมภาระมาเป็นของตน

นายพล Yamashita เสี่ยงที่จะบุกต่อไป 14 มกราคม 1942
พวกเค้าก็มาถึงยะโฮว์ รัฐที่อยุ่ปลายแหลมของคาบสมุทร
นายพล Percival ตัดสินใจที่จะรักษาที่นี่ไว้ให้ได้
มิฉนั้นสิงคโปร์จะตกอยุ่ในความเสี่ยงทันที

แม้ทหารอังกฤษและออสเตรเลียจะทำการรบอย่างห้าวหาญเพียงใด
แต่ก็ไม่สามารถจะหยุดการบุกของทหารญี่ปุ่นได้เลย
ต้องสูญเสียที่มั่นครั้งแล้วครั้งเล่า ในวันสุดท้ายของเดือนมกราคม
ทหารเครือจักรภพกลุ่มสุดท้าย ก็ทำลายสะพานข้ามช่องแคบและถอนตัวออกมา




Lieutenant-General Percival, GOC of Malaya at the time

กองพลที่ 5 บุกผ่านการต้านทานอย่างหนักทางคาบสมุทรฝั่งตะวันตก
ได้มาบรรจบกับการบุกผ่านคาบสมุทรฝั่งตะวันออกของกองพลที่ 18
และเตรียมเข้าโจมตีหัวใจของอาณานิคมอังกฤษ ณ เกาะสิงคโปร์
ด้วยกำลังพลที่อ่อนล้า และกระสุนปืนที่เหลือน้อยเต็มที

แม้นายพล Percival จะเหลือทหารกว่า 50,000 นาย
และสิงคโปร์จะเป็นแหล่งสะสมเสบียงและอาวุธจำนวนมากก็ตาม
แต่จุดอ่อนเดียวของมันคือ ต้องอาศัยน้ำจืดที่ต่อท่อมาจากแผ่นดินใหญ่
ดังนั้นเมื่อถูกตัดท่อน้ำ และโจมตีโรงกลั่นน้ำจืดโดยเครื่องบินทิ้งระเบิด
สิงคโปร์จึงตกอยู่ภะวะคับขัน เพื่อรอวันยอมจำนนเพียงอย่างเดียว

7 กุมภาพันธ์ 1942 นายพล Yamashita ใช้ยุทธวิธีแบบแมงป่องอีกครั้ง
เค้าส่งทหารจำนวนน้อยยกพลขึ้นบกที่ชายหาด ที่มีการป้องกันอย่างเข้มแข็ง
แต่กลับลอบส่งทหารอีกส่วนขึ้นบก ฝ่าความรกชัฏของป่าชายเลน
ซึ่งเป็นส่วนที่มีการเฝ้าระวังอย่างเบาบาง

ทหารญี่ปุ่นและทหารเครือจักรภพได้ต่อสู้กัน ท่ามกลางซากปรักหักพัง
ด้วยการสู้แบบไม่ถอยของทหารญี่ปุ่นและการขาดแคลนน้ำจืด
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1942 นายพล Percival จึงละเมิดคำสั่ง
ของนายกรัฐมนตรีอังกฤษโดยการลงนามยอมจำนนต่อญี่ปุ่น

สงครามที่ใช้เวลาเพียงไม่ถึงสองเดือน ญี่ปุ่นก็บุกจากเหนือจรดใต้ของคาบสมุทร
เป็นระยะทางกว่า 800 กิโลเมตรและปลดอาวุธทหารสัมพันธมิตรกว่าสี่หมื่นคน
ที่ส่วนใหญ่ถูกส่งมาใช้แรงงานในค่ายเชลยศึกเพื่อก่อสร้างทางรถไฟ
ที่ได้รับสมญานามว่า ทางรถไฟสายมรณะ นั่นเอง
Create Date :22 ตุลาคม 2552 Last Update :4 มีนาคม 2553 15:44:12 น. Counter : Pageviews. Comments :6