bloggang.com mainmenu search
องค์ประกอบ (factor)สองอย่างของสินค้า : มูลค่าในการใช้สอย และ มูลค่าในการแลกเปลี่ยน(ตัวมูลสาร (substance) แท้ของมูลค่า, ปริมาณมูลค่า)


ความมั่งคั่งของสังคม ในรูปแบบการผลิตของ "ทุนนิยม" ได้ปรากฏออกเป็น "สินค้า" จำนวนที่มีความหลากหลายและมากมายจนกองเป็นภูเขา

สินค้าเฉพาะหน่วยแต่ละหน่วย ได้ปรากฏเป็น "รูปแบบมูลฐาน" (elementary form) ของ "ความมั่งคั่ง" ดังกล่าวนี้





ดังนั้น การศึกษา จึงต้องเริ่มต้นจาก "การวิเคราะห์สินค้า"

"สินค้า" เป็นสิ่งที่มี ลักษณะ หรือ คุณสมบัติ (qualities)ของตน สามารถตอบสนอง"ความต้องการ"บางอย่าง ของบุคคลทั่วไป. ลักษณะธรรมาชาติ (nature) ของความต้องการดังกล่าวนี้ เป็นอย่างไร ดังเช่น เกิดจาก ความหิว หรือ เกิดจากจินตนาการ จะยังไม่กล่าวถึงในที่นี้.
ปัญหาในที่นี้ ไม่ได้อยู่ที่ "สินค้า" จะสนองความต้องการของบุคคลอย่างไร ? แต่ จะเป็นการสอนงความต้องการโดยตรง ในฐานะที่เป็น "ปัจจัยการดำรงชีวิต" (a means of subsistence) นั่นก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภค หรือ จะเป็นการสนองความต้องการโดยทางอ้อม ในฐานะที่เป็น "ปัจจัยการผลิต" (a means of production)

ลักษณะการมีประโยชน์ของสิ่งของ(สินค้า) ทำให้สินค้านั้นมีประโยชน์ในการใช้สอย แต่ ลักษณะการมีประโยชน์ในการใช้สอยดังกล่าวนี้ มิได้แขวนอยู่กลางอากาศแต่ประการใด กล่าวคือ มันขึ้นอยู่กับลักษณะสังกัดของตัวสินค้า ถ้าหลุดพ้นจากสินค้าแล้วลักษณะสังกัดดังกล่าวก็จะดำรงอยู่ไม่ได้.

ดังนั้น ตัวของสินค้า (physical body)ของสินค้า เช่น เหล็ก, ข้าวสาลี, เพชร ฯลฯ ก็คือ มูลค่าในการใช้สอย หรือ ของที่มีประโยชน์ใช้สอย ลักษณะของสินค้าดังกล่าวนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่บุคคลได้ลักษณะสังกัดทางด้านการใช้สอยมานี้ ว่าได้สิ้นเปลืองจำนวน "แรงงาน" ไปเท่าไร

ในขณะที่พิจารณามูลค่าในการใช้สอยนั้น เรามักจะถือเอาว่า สิ่งของเหล่านี้มีปริมาณที่แน่นอนเป็นข้อเสนอแรก ดังเช่น นาฬิกากี่โหล, ผ้ากี่หลา, เหล็กกี่ตัน เป็นต้น. มูลค่าในการใช้สอยของสินค้าให้ข้อมูลทางด้านวิชาสาขาการค้าพิเศษจำเพาะ (*ได้มีข้อสมมุติที่แพร่หลายในสังคมนายทุน โดยถือว่า ผู้ซื้อสินค้าจะมีความรู้ในเรื่องสินค้าเหมือนหนังสือสารานุกรมโดยสิ้นเชิง)

มูลค่าในการใช้สอย จะบังเกิดผลเป็นความจริงได้เฉพาะในการใช้สอย หรือ ในการบริโภคเท่านั้น ไม่ว่ารูปแบบของสังคมอันมั่งคั่งนี้จะป็นอย่างไรก็ตาม แต่ มูลค่าในการใช้สอยยังคงประกอบเป็นเนื้อหาทางวัตถุแห่งความมั่งคั่งอยู่ดีนั้นเอง ในรูปแบบของสังคมที่เราจักต้องพิจารณานั้น มูลค่าในการใช้สอยนี้ ในขณะเดียวกันก็จักเป็นผู้รับภาระทางวัตถุของมูลค่าในการแลกเปลี่ยนอีกด้วย



ภาพประกอบจาก //www.


สิ่งของ (สินค้า) ที่มีประโยชน์ในการใช้สอยแต่ละชนิดนี้ จะสามารถสังเกตได้จาก "ปริมาณและคุณภาพ" สินค้าที่มีความหลากหลายแต่ละอย่างมีประโยชน์ใช้สอยในด้านต่างๆที่ไม่เหมือนกัน



จาก //en.wikipedia.org/wiki/Use_value

Use value or value in use is the utility of consuming a goods; the want-satisfying power of a goods or service in classical political economy.[1] In Marx's critique of political economy, any product has a labor-value and a use-value, and if it is traded as a commodity in markets, it additionally has an exchange value, most often expressed as a money-price.[2] Marx acknowledges that commodities being traded also have a general utility, implied by the fact that people want them, but he argues that this by itself tells us nothing about the specific character of the economy in which they are produced and sold.







Value-in-use and exchange value

SOURCE: //value-basedservicesystem.blogspot.com/2010/07/value-in-use-and-exchange-value.html






What starts for many as a simple value exchange...

Business Model Design for the Masses
Source: //harndenblog.blogspot.com/2011_06_19_archive.html







Why your pricing model might mean you’re losing clients

Source: //newrulesofinvesting.com/why-your-pricing-model-might-mean-youre-losing-customers






Value in use through service experience.


มูลค่าในการแลกเปลี่ยน.

มูลค่าในการแลกเปลี่ยนนี้ ก่อนอื่นจะแสดงออกเป็นความสัมพันธ์ หรือ อัตราส่วนเปรียบเทียบของ ปริมาณมูลค่าในการใช้สอยอย่างหนึ่ง แลกเปลี่ยนกับ ปริมาณมูลค่าในการใช้สอยอีกอย่างหนึ่ง.

อัตราสัดส่วนเปรียบเทียบดังกล่าวนี้ จะเปลียนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้งตามกาลเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน

ดังนั้น มูลค่าในการแลกเปลี่ยนนี้ ดูเหมือนจะป็นสิ่งบังเอิญ เป็นลักษณะสัมพันธ์ (relative) ล้วนๆ นั่นก็คือ มูลค่าในการแลกเปลี่ยนที่มีอยู่ดั้งเดิม และ ซ่อนอยู่ภายในของสินค้านั้น ดูคล้ายจะเป็นความขัดแย้งของคำคุณศัพท์ (** "สิ่งของไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด ต่างไม่สามารถมีมูลค่าภายในตัวของมันเอง" ... "มูลค่าของสิ่งของ จะมีค่าเทียบเท่ากับสิ่งของที่มันแลกมานั่นเอง")

*** ข้อความเดิมของการขัดแย้งของคำคุณศัพท์ ก็คือ "contradictio in adecto" นี้จะหมายถึง "สี่เหลี่ยมทรงกลม" หรือ "เหล็กที่ทำด้วยไม้" นั่นเอง.






มูลค่าในการใช้สอยอย่างหนึ่ง ก็จักเท่ากับมูลค่าในการใช้สอยอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ เหมือนกับที่ Barbon ได้กล่าวไว้ว่า

"ขอเพียงแต่ให้มูลค่าในการแลกเปลี่ยนเท่ากัน สินค้าอย่างหนึ่งก็จักเหมือนกับสินค้าอีกอย่างหนึ่ง สินค้าที่มีมุลค่าแลกเปลี่ยนเท่ากันจะไม่มีความแตกต่าง หรือ คลาดเคลื่อนกันแต่อย่างไร"










"ขอเพียงแต่ให้มูลค่าในการแลกเปลี่ยนเท่ากันเท่านั้นแหละ สินค้าอย่างหนึ่งก็จะเหมือนกับสินค้าอีกอย่างหนึ่ง สิ่งของที่มีมูลค่าในการแลกเปลี่ยนเท่ากันจะไม่มีข้อแตกต่างกันใดๆทั้งสิ้น.... เรือ หรือ เหล็ก มูลค่า 100 ปอนด์ กับ เงิน หรือ ทองคำ มูลค่า 100 ปอนด์ จะมีมูลค่าในการแลกเปลี่ยนเท่ากัน."


Create Date :04 มกราคม 2557 Last Update :4 มกราคม 2557 11:08:31 น. Counter : 5309 Pageviews. Comments :1