bloggang.com mainmenu search


กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญประชาชนร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุ และเทพนพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2559 ในเวลา 09.00-16.00 น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ

 

ประเพณีสงกรานต์  ถือเป็นประเพณีปีใหม่ของไทย โดยกำหนดให้วันแรกของเทศกาลเป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เรียกว่า "วันเถลิงศก"  ปัจจุบันปฏิทินไทยกำหนดให้วันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน  เป็นเทศกาลสงกรานต์  พิธีกรรมเนื่องในเทศกาลสงกรานต์  ใช้น้ำเป็นหลัก  เพื่อผ่อนคลายความร้อน ได้แก่  การรดน้ำให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น  มีการรดน้ำอัฐิเป็นการแสดงความรำลึกถึง บรรพบุรุษ  การสรงน้ำพระพุทธรูป  เจดียสถาน  พระสงฆ์  และรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่  ในพิธีหลวงมีการสรงสนานเป็นสิริมงคลเมื่อ  ย่างเข้าสู่ปีใหม่  ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มีพัฒนาการ  และแนวโน้มคลาดเคลื่อนไป  โดยมุ่งแสดงความหมายเป็นแต่เพียงประเพณีเล่นน้ำ  ทำให้ประเพณีที่ดีงามของไทยเสื่อมคลายความหมายที่ดีงามไป

แต่รากฐานวัฒนธรรมดั้งเดิม ก็จะมีความเชื่อว่าแต่ละคนเมื่อเกิดมาจะมีเทวดานพเคราะห์ประจำวันเกิด และในแต่ละช่วงชีวิตเทวดานพเคราะห์จะหมุนเวียนเข้าเสวยอายุ กำหนดปีการเสวยอายุตามกำลังของเทวดาแต่ละองค์ ซึ่งจะส่งผลร้ายหรือดีต่อมนุษย์ขึ้นอยู่กับประเภทของเทวดานพเคราะห์ว่าเป็นฝ่ายบาปเคราะห์หรือศุภเคราะห์ หรือความเข้ากันได้หรือไม่กับเทวดาประจำวันเกิด

เทพนพเคราะห์ คือ เทพทั้ง ๙ องค์ ผู้ครองเรือนชะตาของมนุษย์

ความเชื่อเรื่องเทพนพเคราะห์  มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ซึ่งให้โทษหรือสร้างอุปสรรคให้กับมนุษย์มากกว่าจะให้คุณ ต่อมาจึงต้องมีผู้ควบคุมเทพนพเคราะห์อีกชั้นหนึ่ง นั่นคือ พระคเณศ เทพผู้เป็นใหญ่เหนืออุปสรรคทั้งมวล เทพนพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ประกอบด้วย

ที่มา thaitribune

Create Date :12 เมษายน 2560 Last Update :12 เมษายน 2560 20:02:23 น. Counter : 255 Pageviews. Comments :0