"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
20 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
สำนักศิลปินอุตะกะวะ







“เป็ดแมนดาริน” โดยฮิโระชิเงะ




สำนักศิลปินอุตะกะวะ (Utagawa school) คือกลุ่มศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะชาวญี่ปุ่น ที่ก่อตั้งขึ้นโดยโทะโยะฮะรุ โดยมีลูกศิษย์ชื่อโทะโยะคุนิที่ 1 เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อมา หลังจากโทะโยะฮะรุเสียชีวิตไปแล้ว

และยกระดับงานของกลุ่มจนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มศิลปิน ที่มีอำนาจและมีชื่อเสียงมากที่สุดในการสร้างงานภาพพิมพ์แกะไม้ มาจนตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19

ลูกศิษย์ของอุตะกะวะก็ได้แก่ฮิโระชิเงะ, คุนิซะดะ, คุนิโยะชิ และ โยะชิโทะชิ

สำนักศิลปินอุตะกะวะได้รับความสำเร็จและเป็นที่รู้จักจนกระทั่งว่ากว่าครึ่งหนึ่งของภาพอุกิโยะที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากตระกูลการพิมพ์ที่ว่านี้

โทะโยะฮะรุผู้ก่อตั้งตระกูลการพิมพ์ นำเอาวิธีการเขียนแบบทัศนมิติของตะวันตกมาใช้ในงานเขียน ซึ่งเป็นแนวใหม่ในการสร้างงานศิลปะของญี่ปุ่น ผู้ดำเนินตามรอยของโทะโยะฮะรุคนต่อมา

ที่รวมทั้งอุตะกะวะ โทะโยะฮิโระ และ อุตะกะวะ โทะโยะคุนิเขียนในลักษณะที่เป็นการแสดงออกมากขึ้น และยวนอารมณ์ (sensuous style) มากขึ้นกว่างานของโทะโยะฮะรุ และมีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพประเภทต่างๆ— โทะโยะฮิโระในการออกแบบภูมิทัศน์ และโทะโยะคุนิในการออกแบบภาพพิมพ์ของดาราคะบุกิ

ต่อมาจิตรกรของสำนักศิลปินอุตะกะวะ ก็มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพประเภทอื่นๆ เช่นภาพพิมพ์ของนักรบ และ งานล้อเรื่องปริศนา (mythic parodies)


สำนักศิลปินอุตะกะวะ และชื่อศิลปินสืบทอดในวัฒนธรรมญี่ปุ่นผู้ฝึกงานผู้ประสบความสำเร็จ จะได้รับชื่อศิลปิน (“gō” (“โก”)) บางส่วนจากปรมาจารย์ “โก” ของสำนักศิลปินอุตะกะวะมีตั้งแต่อันดับอาวุโสที่สุดไปจนถึงอันดับที่ต่ำที่สุด

เมื่อผู้ที่มีอาวุโสที่สุดเสียชีวิตไป ศิลปินที่ยังมีชีวิตอยู่ต่างก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาตามลำดับ

ผู้เป็นหัวหน้าสำนักศิลปินอุตะกะวะโดยทั่วไปแล้วก็จะใช้ “โก” (และลงชื่อในภาพเขียน) ว่า “โทะโยะคุนิ” เมื่อคุนิซะดะที่ 1 ประกาศตนเป็นหัวหน้าของตระกูลอุตะกะวะราวปี ค.ศ. 1842) ก็เริ่มลงชื่อว่า “โทะโยะคุนิ”

และผู้อาวุโสรองลงมา โคะโชะโระ ซึ่งเป็นชื่อเดิมที่คุนิซะดะที่ 1 ใช้ก็ลงชื่อตนเองว่า “คุนิซะดะ” หรือในกรณีก็เป็นคุนิซะดะที่ 2

ผู้อาวุโสรองลงมาก็เริ่มลงชื่อว่า “คุนิมะซะ” หรือในกรณีก็เป็นคุนิมะซะที่ 4 ซึ่งเป็น “โก” เดิมของโคะโชะโระก่อนที่จะมาใช้ชื่อ “คุนิซะดะที่ 2” (คุนิมะซะเดิมเป็นลูกศิษย์ของโทะโยะคุนิที่ 1)


รายชื่อสมาชิกบางท่านของสำนักศิลปินอุตะกะวะ:

โทะโยะคุนิ (ที่ 1)
โทะโยะชิเงะ -> โทะโยะคุนิ (ที่ 2)
คุนิซะดะ (ที่ 1) -> โทะโยะคุนิ (ที่ 3)
โคะโชะโระ -> คุนิมะซะ (ที่ 3) -> คุนิซะดะ (ที่ 2) -> โทะโยะคุนิ (ที่ 4)
โคะโชะโระ (ที่ 2) -> คุนิมะซะ (ที่ 4) -> คุนิซะดะ (III) -> โทะโยะคุนิ (ที่ 5)

โทะโยะคุนิที่ 2 สองคนปัญหาที่ออกจะซับซ้อนเกิดขึ้นเมื่อมีศิลปินสองคนที่ต่างก็ใช้ชื่อ “โทะโยะคุนิที่ 2” ด้วยกันทั้งสองคน

“โทะโยะคุนิที่ 2” คนแรกคือโทะโยะชิเงะ ลูกศิษย์ผู้มีฝีมือปานกลางและลูกเขยของโทะโยะคุนิที่ 1 ผู้กลายมาเป็นหัวหน้าของสำนักอุตะกะวะหลังจากการเสียชีวิตของโทะโยะคุนิที่ 1

คุนิซะดะที่ 1 (โทะโยะคุนิที่ 3) ผู้ไม่ลงรอยกับโทะโยะชิเงะ จึงไม่ยอมรับโทะโยะชิเงะว่าเป็นหัวหน้าของสำนัก เพราะคุนิซะดะมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นลูกศิษย์เอก

และเป็นผู้ที่สมควรจะได้รับชื่อของอาจารย์หลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปแล้ว และมีความรู้สึกว่าโทะโยะชิเงะ ได้ตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักเพราะความเกี่ยวพันทางครอบครัวมิใช่ด้วยความสามารถ

เมื่อคุนิซะดะที่ 1 ใช้ชื่อ “โทะโยะคุนิ” (ราวปี ค.ศ. 1842) ก็กำจัดชื่อ “โทะโยะคุนิที่ 2” จากประวัติของสำนัก และลงชื่อตนเองว่า “โทะโยะคุนิที่ 2” อยู่ชั่วระยะหนึ่ง แต่ในปัจจุบันคุนิซะดะที่ 1 ถือว่าเป็น “โทะโยะคุนิที่ 3”

การที่คุนิซะดะที่ 1 ลงชื่อว่า “โทะโยะคุนิที่ 2” เป็นผลทำให้โคะโชะโระผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักต่อมาใช้ชื่อ “โทะโยะคุนิที่ 3” ที่ควรจะเป็น “โทะโยะคุนิที่ 4” และ โคะโชะโระที่ 2 ต่อมาก็ลงชื่อว่า “โทะโยะคุนิที่ 4” แต่ในปัจจุบันโคะโชะโระที่ 2 ลำดับใหม่เป็น “โทะโยะคุนิที่ 5”


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ศุกรวาร สิริมานรมณีย์นะคะ



Create Date : 20 พฤษภาคม 2554
Last Update : 20 พฤษภาคม 2554 6:34:12 น. 0 comments
Counter : 1505 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.