นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง

<<
ธันวาคม 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
18 ธันวาคม 2556
 

โรคหลอดเลือดหัวใจและแนวทางการรักษา&โครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้

โรคหลอดเลือดหัวใจและแนวทางการรักษา &โครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
1.ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

อายุ

เพศ

ประวัติครอบครัว

วัยหมดประจำเดือน

2.ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้

สูบบุหรี่

เบาหวาน

ความดันโลหิตสูง

ไขมันในเลือดผิดปกติ

การไม่ออกกำลังกาย

โรคอ้วนลงพุง

ความเครียด


อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ

เจ็บแน่นหน้าอก ร้าวไปที่แขน หรือ กราม

จุกเสียดลิ้นปี่

เหนื่อยเวลาออกกำลังกาย

หัวใจเต้นผิดจังหวะ


การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

การรับประทานอาหารที่ดีกับสุขภาพ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การเลิกสูบบุหรี่

การรักษาโดยการรับประทานยา

การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยการใช้บอลลูนและขดลวด

การผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ หรือการทำบายพาส


การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยใช้บอลลูน(
Balloon Angioplasty)

ขั้นที่สายสวนหัวใจชนิดบอลลูนจะถูกสอดไปยังหลอดเลือดหัวใจตำแหน่งที่ตีบของหลอดเลือด


ขั้นที่
บอลลูนจะถูกขยายให้พองตัวขึ้นโดยขยายตัวแนบไปกับผนังหลอดเลือดและกดทับส่วนที่ตีบ


ขั้นที่
3  บอลลูนจะถูกทำให้แฟบลงและสายสวนจะถูกนำออกไปจากหลอดเลือดหัวใจบริเวณด้านในของหลอดเลือดมีความกว้างขึ้นและการไหลของเลือดสู่กล้ามเนื้อหัวใจก็จะดีขึ้นด้วย

การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยใส่ขดลวด(Coronary Stent Implantation)

ขั้นที่แพทย์ดำเนินการให้สายสวนหัวใจชนิดขดลวดสอดแทรกเข้าไปยังหลอดเลือดที่ตีบและขยายบอลลูนให้พองตัวขึ้น


ขั้นที่
2 ขดลวดขยายตัวขึ้นกดทับผนังหลอดเลือดในขณะที่บอลลูนพองตัวขึ้น



ขั้นที่
เมื่อบอลลูนถูกทำให้แฟบลงและนำออกจากหลอดเลือดแล้วขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจจะยังคงอยู่ ณบริเวณดังกล่าวเป็นการถาวรเพื่อให้หลอดเลือดยังคงเปิดกว้างและทำให้การไหลของเลือดดีขึ้น



ขดลวดชนิดเคลือบยา(Drug Eluting Stent)

ขดลวดชนิดเคลือบยาคือขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจที่เคลือบยา และสารโพลีเมอร์ไว้โดยตัวยาจะค่อยๆถูกปลดปล่อยไปยังบริเวณที่ต้องการรักษาเฉพาะที่ทำให้ช่วยลดการเติบโตของเนื้อเยื่อบริเวณที่ใส่ขดลวดช่วยลดความจำเป็นในการที่ต้องทำการรักษาซ้ำ จากการที่หลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการฝังขดลวดเกิดการตีบซ้ำเมื่อเวาลาผ่านไป



โครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้

  โครงค้ำละลายได้เป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจมีลักษณะเหมือนกับขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบยาแต่สามารถสลายตัวได้ทำให้หลอดเลือดกลับคืนสภาพธรรมชาติโดยปราศจากโครงสร้างค้ำยันโครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้นี้ ทำจากวัสดุโพลีแลคไตล์ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในอุปกรณ์ทางการแพทย์มานานแล้ว (เช่นไหมละลาย)การย่อยสลายเกิดโดยกลายเป็นสารที่มีในร่างกายตามธรรมชาติอยู่แล้วคือคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำซึ่งจะถูกดูดซึมไปทั้งหมดเมื่อเวลาผ่านไป


การใส่โครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้
(Bioresorbable Vascular Scaffold)
โครงค้ำละลายได้มีลักษณะเหมือนกับขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบยาแต่สามารถสลายตัวได้ทำให้หลอดเลือดกลับคืนสภาพธรรมชาติโดยปราศจากโครงสร้างค้ำยัน

ภาพ โครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้



ภาพ
ฝังโครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้ไว้ตรงรอยโรคเช่นเดียวกับขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบยา



ภาพ
โป่งขยายบัลลูนจนโครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้ไปกดทับรอยโรคให้แนบชิดผนังหลอดเลือด



ภาพ จากนั้นยาจะเริ่มละลายออกมารักษาบริเวณรอยโรค


ภาพ เมื่อหลอดเลือดมีความคงตัวของผนังและกล้ามเนื้อของหลอดเลือดโครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้ก็จะเริ่มสลายไป


ภาพ โครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้จะสลายหมดไปในเวลา 2 ปี ทำให้หลอดเลือดกลับคืนสภาพธรรมชาติสามารถทำงานได้ดังเดิม



สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 , 0-2374-0200-16

www.ram-hosp.co.th

www.facebook.com/ramhospital





Create Date : 18 ธันวาคม 2556
Last Update : 18 ธันวาคม 2556 13:23:25 น. 1 comments
Counter : 2230 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:16:37:45 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com