Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
26 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 

Rapid Prototype - SLA

SLA
SLA ย่อมาจาก Stereolithograph Apparatus หรือ3D Layering หรือ 3D Printing[0] ถูกพัฒนามาจากบริษัท 3D System ในปี ค.ศ. 1986 โดยมีส่วนประกอบหลักคือ ถาดใส่สารเคมีไวแสง หรือ Photosensitive resin โดยข้างในมีฐานใส่ชิ้นงานที่สามารถเคลื่อนที่ได้ในแนวดิ่ง และมีแท่นยิงแสงเลเซอร์ฉายมากระทบพื้นผิวสารไวแสงนี้ให้แข็งตัวเป็นชิ้นงานทีละชั้นบาง ๆ จากนั้น ฐานจะเลื่อนตัวลงเพื่อสร้างชิ้นงานในชั้นถัดไป จนกระทั่งเสร็จเป็นชิ้นงาน 1 ชิ้น


รูปแสดงโครงสร้างเครื่อง SLA อ้างอิงจาก [1]





รูปเครื่อง SLA อ้างอิงจาก [2]






รูปภายในเครื่อง SLA แสดงให้เห็นฐานเครื่องที่เคลื่อนที่แนวดิ่งได้ อ้างอิงจาก [3]


หลักการทำ SLA

ขั้นเตรียมการ เริ่มต้นจากการสร้าง CAD ของชิ้นงานที่ต้องการสร้าง SLA แล้ว upload เข้าไปยังเครื่อง SLA จากนั้นเป็นขั้นตอนการสร้าง Model



รูปแสดงขั้นตอนการยิงแสงเลเซอร์เพื่อให้พื้นผิวของ Photosensitive resin แข็งตัว อ้างอิงจาก [1]


ขั้นตอนที่ 1 เครื่องจะทำการยิงแสงเลเซอร์กระทบพื้นผิวของ Photosensitive resin ซึ่งเป็น Resin ที่มีความไวต่อแสงเป็นพิเศษ เมื่อโดนแสงเลเซอร์ตกกระทบจะแข็งตัว โดยในขั้นตอนนี้ จะทำให้ชิ้นงานแข็งตัวเป็นผิวบาง ๆ ตามข้อมูลขนาดชิ้นงานที่ใส่เข้าไปในเครื่องตอนขั้นเตรียมงาน





รูปแสดงชิ้นงานหลังจากฉายแสงเสร็จหนึ่งชั้น บริเวณที่โดนแสงเลเซอร์ฉายไปตกกระทบจะแข็งตัว อ้างอิงจาก [1]






รูปแสดงขั้นตอนที่ 2 ฐานวางชิ้นงานจะเคลื่อนตัวลงตามความหนาของ Layer ต่อไป อ้างอิงจาก[1]


ในขั้นตอนนี้ ฐานวางชิ้นงานจะเลื่อนตัวลงตามความหนาของ Layer ถัดไป โดยพื้นผิวของ Layer ที่เพิ่งแข็งตัวยังมีพลังงานตกค้างอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้ Layer ถัดไปแข็งตัวก่อนที่จะฉายแสงกระทบครั้งต่อไป







รูปแสดงขั้นตอนที่ 3 ตัวกวาด (Sweeper) จะกวาดสาร Photosensitive Resin และเกลี่ย Resin ให้คลุมพื้นผิวชั้นบนทั้งหมด เพื่อเตรียมพร้อมขั้นตอนต่อไป อ้างอิงจาก [1]


เมื่อได้ชิ้นงานครบทุก Layer แล้ว อาจจะต้องมีการทำ Surface finishing อีกครั้ง เพราะสังเกตได้จากการสร้างชิ้นงานเป็นชั้น ๆ ทีละชั้นมาประกอบกัน ทำให้ชิ้นงานสุดท้ายอาจมีรูปร่างพื้นผิวเป็นขั้นบันได อาจจะแก้ไขด้วยการขัดผิวอีกครั้ง

ข้อสังเกตใน SLA
- เป็น RP ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์แบบแรก และยังคงใช้กันอยู่อย่างกว้างขวาง
- ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับ RP อื่น ๆ
- สร้างชิ้นงานจาก Polymer เหลวที่ไวแสง
- ต้องการการอบเพิ่มเติม เพราะพลังงานจาก Laser ในขั้นตอนการฉายแสง ไม่เพียงพอสำหรับการอบชิ้นงานให้สมบูรณ์
- การอบนานเกินไป ทำให้ชิ้นงานเสียรูปได้
- ชิ้นงานเปราะ และพื้นผิวอาจเหนียว
- สารที่ยังไม่ได้อบ อาจมีพิษ จึงต้องการการระบายอากาศ
- กระบวนการสร้าง SLA ง่าย ไม่ต้องการกระบวนการอื่นเพิ่ม
- บ่อยครั้งที่ต้องมีตัว Support สำหรับสร้างชิ้นงาน


รูปแสดงชิ้นงานที่ต้องการตัว Support อ้างอิงจาก[1]



รูปแสดงการใช้งานตัว Support ในขณะสร้างชิ้นงานด้วย SLA อ้างอิงจาก[1]


** อ้างอิงมาจาก
[0] //computer.howstuffworks.com/stereolith.htm
[1] //www.efunda.com/processes/rapid_prototyping/sla.cfm
[2] //computer.howstuffworks.com/stereolith1.htm
[3] //computer.howstuffworks.com/stereolith2.htm




 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2549
1 comments
Last Update : 18 ธันวาคม 2549 21:53:16 น.
Counter : 1053 Pageviews.

 

 

โดย: ต่อตระกูล 8 ธันวาคม 2549 19:16:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ECie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




หลังไมค์ของผมค๊าบ !!
Friends' blogs
[Add ECie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.