Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2550
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
26 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 

Blog รับวันเกิด กับเรื่องราวของ Walmart ภาค#1

อะแฮ่ม ขอมี Blog ในวันเกิดบ้างละกันครับ พอดีกับที่ก่อนหน้านี้ เกือบสัปดาห์ละ ได้อ่านบทความเรื่องของ Walmart ซึ่งเป็นกิจการคล้าย ๆ กับพวก Lotus นี่แหละครับ เรียกได้ว่าเป็น Retailer Store ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเลยก็ได้ ทั้ง ๆ ที่มีจุดเริ่มต้นจากร้านค้าปลีกเล็ก ๆ เอง โดยอาศัยนโนบายหลักขับดันมาตลอดสี่ทศวรรษดังนี้ คือ การผลักดันระบบ Supply Chain อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้าง Supercenter ทั่วประเทศ และการลดราคากระหน่ำซัมเมอร์เซลล์ มาวันนี้ Walmart เริ่มหยุดนิ่งแล้ว เรามาดูรายละเอียดกันเลยครับ

บทความนี้ นำมาจากบทความหลาย ๆ บทความที่เขียนต่อเนื่องกันนะครับ ดังนั้น เราก็จะเริ่มต้นกันที่บทความแรก "Why Wal-Mart Needs Help" จาก BNet.com โดย Joseph De Avila

เริ่มต้นจากการประกาศความสำเร็จของ Wal-Mart ว่า ในปี 2006 ได้กำไรไป 8.4 หมื่นล้านเหรียญ จากผลประกอบการ 3.49 แสนล้านเหรียญ ในปี 2006 แต่ราคาหุ้นคงที่มาตั้งกะปี 2000 เกิดอะไรขึ้น ไม่เพียงแต่ Domestic เท่านั้น ในต่างประเทศก็แย่ไม่ต่างกัน ปัญหาบริการแย่ ๆ ยังรุมเร้าบริษัท การขาดประสิทธิภาพในระบบ Distribution Center ก็ยังไม่หมดไป อีกทั้งที่แย่ที่สุดคือ ทั้งหมดนี้เกี่ยวโยงกันหมด แล้วยังคู่แข่งอย่าง Target หรือ Costco ที่กำลังมาแรง ลองมาดูรายละเอียดทีละจุดกันดีกว่า

1. การอิ่มตัวของตลาด Domestic

ความจริงข้อหนึ่งก็คือ กว่าครึ่งของชาวอเมริกัน สามารถเดินทางไป Wal-Mart สาขาใกล้บ้านได้ด้วยการเดินทางเพียงไม่เกิน 10 นาที

หลักการทำธุรกิจของ Wal-Mart คือ หากมีโอกาสขยาย จงทำ และการขยายของ Wal-Mart เป็นไปในรูปแบบร้านค้าขนาดใหญ่ และมีรูปแบบที่จะทำกำไรได้สูงสุด (นึกภาพรูปแบบการจัดร้านของ 7-11 หรือพวก Lotus เข้าไว้สิครับ ว่า มันดูมีรูปแบบตายตัวพอสมควร) ซึ่งมีอยู่กว่า 2,200 ร้าน ทำให้ยากต่อการหาจุดที่จะขยับขยายได้อีก และโดยทั่วไปเมื่อธุรกิจกำลังอยู่ในสถานะได้เปรียบ ก็ต้องหาโอกาสขยับขยาย แต่โชคร้ายที่ โอกาสของ Wal-Mart ในตอนนี้อยู่ที่เขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ดังนั้น เป็นไปได้ยากที่จะขยายธุรกิจในลักษณะร้านค้าขนาดใหญ่ได้ ถึงแม้จะหาได้ ก็มักจะได้รับการต่อต้านจากประชาชน เนื่องจากประสบปัญหาความเดือดร้อนเรื่องการจราจร ตลอดจนร้านค้าปลีกรายย่อย (เออ บ้านเราก่อนหน้านี้ก็ไม่ค่อยต่อต้านนะ เดี๋ยวนี้ก็เริ่มต่อต้านกันบ้างละ)

ดังนั้น ทางออก คงเหลือแต่เพียงการขยายธุรกิจในเขตเมืองให้ได้ โดยปราศจากการต่อต้านจากชุมชน

** comment นิดนึง จขบ. คิดว่า ในบ้านเรา โลตัสเอง ก็ประสบปัญหาคล้าย ๆ กันนะ การเปิด Lotus ในลักษณะ Supper Store มักได้รับการต่อต้านจากชุมชน และองค์กรอิสระยิบย่อยมากมาย ถึงกับขนาดจะมีการออกกฏหมายคุมกำเนิด (ว่าไปนั่น) แต่สิ่งที่ Lotus ทำ นอกเหนือไปจาก Super Store คือ Lotus Express ร้านค้าเล็ก ๆ คล้าย ๆกับ 7-11 แต่ยังคงนโยบาย "โคตรถูก" ไว้อยู่ ดูเหมือนจะได้รับการตอบรับดีกว่า (อย่างน้อยก็ต่อต้านน้อยกว่า)

ถ้าจะโยงมั่ว ๆ จขบ. คิดว่า มันก็ดูเหมือนระบบ Production system ทั่ว ๆ ไปนะ ที่ถ้าทำแบบ Mass Production ใหญ่ ๆ โต ๆ มันก็ราคาถูกจริง ๆ แหละ แต่ไม่ยืดหยุ่น ดังนั้น พวก Lean เลยอาศัยหลักการของ Small Batch Size เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมไปถึงการทำ Level-Scheduling หรือ Hei Jung Ka นั่นเอง (ลากมาด้ายยยย มั่วมาก ๆ)

2. ยอดขายซบเซา

เรื่องของเรื่องก็คือ เนื่องจากไม่สามารถขยายฐานการค้าเข้าไปในเมือง (จากข้อ 1) ดังนั้น สิ่งที่ทำได้คือ รีดเอายอดขายจากสาขาที่มีอยู่ ซึ่งโดยมากลูกค้าจะเป็นผู้มีฐานะปานกลาง ถึงยากจน ที่ในสภาวะเศรษฐกินฝืดเคือง อีกทั้งค่าน้ำมันก็แพงซ้า มันก็คงไม่ต่างอะไรไปจากการรีดเลือดจากปู ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Target หรือ Costco กลับประสบความสำเร็จจากการใช้กลยุทธเพิ่มยอดขายจากลูกค้าที่มีฐานะค่อนข้างดี

ความพยายามครั้งล่าสุด ก็คือ การพยายามบุกเข้าไปในสินค้าจำพวกเครื่องแต่งกาย พวกแฟชั่น ในคริสต์มาสปี 2006 แต่ที่แย่คือ เนื่องจากฐานลูกค้าเป็นคนกลุ่มที่ไม่เน้นแฟชั่น และด้วยความล้มเหลวนี้เอง ทำให้ Claire Watt ซึ่งเป็น Top Excecutive ด้านเครื่องแต่งกายต้องออกจากบริษัทไปในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา

อีกความเห็นของ Patricia Edward MD และ Portfolio manager แห่ง Seattle-Based Wentworth, Hauser and Violich บอกว่า เคยเดินเข้าไปดู และพบว่า แผนกแฟชั่น นั้น ตกแต่งได้น่าเกลียด และให้ความเห็นว่า Wal-Mart เก่งในด้านวิทยาศาสตร์การค้า แต่ไม่มีศิลป์เลยสักนิด และโชคร้ายที่ โครงสร้างองค์กรของ Wal-Mart นั้น ค่อนข้างรัดตัว ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะจ้างพนักงานเข้ามาดูแลในส่วน Sale เพิ่มขึ้น

ทางแก้ปัญหาคงอยู่ที่การพยายามเพิ่มยอดขายจากกลุ่มลูกค้าที่มีฐานะดีให้ได้มากกว่านี้

3. ผลประกอบการจากสาขาต่างประเทศที่ไม่ค่อยดีนัก

อีกทางเลือก หลังจากการอิ่มตัวของตลาดในประเทศก็คือ การขยายตลาดไปยังต่างประเทศ ซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 1991 ในประเทศเม็กซิโก จนในปี 2005 มีสาขากว่า 6,200 สาขา ในกว่า 15 ประเทศ ซึ่งฟังดูน่าสนใจ แต่โชคไม่ดีที่ความสำเร็จ อยู่เพียงแค่ อังกฤษ เม็กซิโก และ แคนาดาเท่านั้น ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ที่เหลือ มีผลประกอบการคละเคล้ากันไป ทั้งสำเร็จ และ ล้มเหลว

ปัญหาก็คือ การเข้าไปขยายฐานในประเทศที่มีเจ้าถิ่นอยู่แล้ว ทำได้ยากทีเดียว เพราะบ่อยครั้งที่ เจ้าถิ่นมักจะทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีอยู่แล้ว

ยกตัวอย่างเช่น ในเยอรมัน ที่ Wal-Mart เข้าไปฮุบกิจการของร้านค้ากว่า 21 สาขา ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จนัก เพราะร้านค้าเหล่านั้น อยู่ในทำเลที่ไม่ค่อยดีอยู่แล้ว บ้างก็อยู่ในสภาพย่ำแย่ ต้องการการปรับปรุง (แบบที่เรียกว่า บูรณะปฏิสังขรณ์น่าจะดีกว่า)

ที่สำคัญที่สุดคือ หลักการพื้นฐาน ของ Wal-Mart ขัดกับวิถีชีวิตของคนเยอรมัน อาทิเช่น ความพยายามในการช่วยเหลือลูกค้า ซึ่งเป็นหลักการที่ Wal-Mart พยายามฝังเข้าไปในพนักงาน และโฆษณาเหลือเกินนั้น ขัดกับสไตล์ของคนเยอรมันที่เป็นปัจเจกชน ทำทุกอย่างด้วยตัวเองมากกว่า

หรือว่า หลักการ "Always Low Prices" หรือ โคตรถูก(เสมอ) ก็ไม่อาจเอาชนะเจ้าถิ่นที่ก็เสนอหลักการนี้เช่นกัน บ่อยครั้งที่สินค้าของเจ้าถิ่นจะดีกว่าเสียด้วย ในที่สุด Wal-Mart ต้องถอนตัวจากเยอรมัน ในปี 2006

ความย่ำแย่ ไม่ได้จำเพาะเจาะจงที่เยอรมันเท่านั้น ที่ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นก็เช่นกัน ในขณะที่ Brand อย่าง โลตัส (จากอังกฤษ) หรือ คาร์ฟูร์(จากฝรั่งเศส) กลับทำได้ดีกว่า ด้วยการพยายามปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น และคนท้องถิ่นได้ดีกว่า

4. ปัญหาด้านภาพลักษณ์

สรุปได้สั้น ๆ ว่า คนอเมริกัน คิดว่า Wal-Mart นั้น "เลวร้าย" (เค้าใช้คำว่า Evil เลยนะ)

Wal-Mart นับเป็นธุรกิจของอเมริกา ที่ประสบปัญหา และ โดนโจมตี ทำให้มีภาพลักษณ์ที่เลวร้ายตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นข้อกล่าวหาที่ทำให้ร้านค้ารายย่อยปิดตัวไป หรือการไล่ออก ผู้บริหาร หลายคน ด้วยข้อกล่าวหาว่า รับของขวัญจาก Supplier อันเป้นการขัดต่อกฏเหล็กของบริษัท อีกทั้งยังมีรายงานต่าง ๆ ที่ต่างก็ระบุว่าความน่าเชื่อถือของบริษัทมีแนวโน้มลดลง ยิ่งสนับสนุนการต่อต้านที่ชุมชนเมือง มีต่อ Wal-Mart เข้าไปอีก ยิ่งทำให้การขยายกิจการเข้าไปเขตเมืองทำได้ยากขึ้น

5. ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ

ด้วยหลักการ "Always Low Prices" ทำให้ Wal-Mart ต้องบีบรัดระบบ Supply Chain เป็นอย่างมาก ความเป็นจริงที่ว่า ที่ผ่านมา Wal-Mart ก็ทำเรื่อง Cost Reduction มาตลอดจนแทบจะไม่เหลือที่ให้ทำอีกแล้ว อีกทั้งความล้มเหลวในการนำระบบ RFID - Radio Frequency Identification (คล้าย ๆ Barcode แหละ แต่เป็นขดลวดส่งสัญญาณวิทยุแทน จะเห็นได้ตามร้านขาย CD,DVD ใหญ่ ๆ ) มาใช้เพื่อการลด Cost แต่ด้วยปัญหาด้าน Technical, Implementation Cost ทำให้ปัจจุบัน ทำได้เพียง 1,000 สาขา จากกว่า 6,500 สาขาในประเทศ

เดี๋ยวต่อกันที่ภาค 2 นะครับ




 

Create Date : 26 สิงหาคม 2550
3 comments
Last Update : 26 สิงหาคม 2550 7:44:51 น.
Counter : 2947 Pageviews.

 

สุขสันต์วันเกิดคับ
HBD ขอให้มีความสุขกับวันนี้และทุก ๆ วันนะคับ
มีความสุขกับทุก ๆ สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ขอให้กายและใจเข้มแข็งคับ


 

โดย: หัวใจขนนก (F_lifetruth ) 26 สิงหาคม 2550 8:01:02 น.  

 

มีความสุขมากๆน๊ะจร้าๆๆๆๆๆๆ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆน๊ะค่ะ

 

โดย: 33 IP: 202.28.68.202 31 พฤษภาคม 2552 23:35:15 น.  

 

ขอบคุณนะค่ะสำหรับบทความดีๆ
รออ่านภาค 2 อยู่นะค่ะ

 

โดย: parakiss IP: 202.12.97.100 1 กันยายน 2552 13:30:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ECie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




หลังไมค์ของผมค๊าบ !!
Friends' blogs
[Add ECie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.