Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
25 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
บทสวดมนต์จากพระสูตรสำคัญ - อนัตตลักขณสูตร

อนัตตลักขณะอันใด อันสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ได้โดยยาก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงประกาศ อนัตตลักขณะนั้น
เป็นธรรมอันปลดเปลื้องอัตตวาทุปาทาน การถือมั่นด้วยอันกล่าวว่าตน
และอัตตสัญญา ความสำคัญว่าตนโดยชอบแท้
แก่เหล่าพระโยคี คือพระปัญจวัคคีย์ ผู้มีสัจจะอันเห็นแล้ว
เพื่อให้เจริญญาณอันอุดม เพื่อตรัสรู้ธรรมอันยิ่ง
จิตของพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ผู้มีธรรมอันได้เห็นแล้ว
ใคร่ครวญแล้วด้วยญาณ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งปวงโดยไม่เหลือ
ด้วยพระสูตรอันใด เราทั้งหลาย จงสวดพระสูตรอันนั้น
เพื่อสำเร็จประโยชน์แก่สาธุชนทั้งหลายผู้ปรารถนาจะทำคำสอน
โดยระลึกตามญาณอย่างนั้น เทอญ




บทความต่อไปนี้พระคุณเจ้าสาธยายอนัตตลักขณสูตรไว้ให้สาธุชนเข้าใจง่าย
จึงขอโอกาสเผยแพร่บทความนี้ในบล๊อกนี้ด้วย

คัดมาจาก ธรรมลีลา กรกฎาคม ๒๕๔๖


เรื่องจากพระไตรปิฎก : อนัตตลักขณสูตร
โดย พระพจนาถ ปภาโส

เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) ทรงพรรณนา
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ได้เป็นพุทธสาวก
ไว้ในคำนำสวดมนต์แบบมคธอนัตตลักขณสูตร เมื่อวันพระที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ ความว่า

เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ขอบรรพชา
พระศาสดาทรงอนุญาตด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา (คือวิธีอุปสมบทครั้งแรก
ซึ่งพระศาสดาทรงเองด้วยการตรัสอนุญาตเท่านั้น ก็สำเร็จเป็นการบวช)
ทรงสั่งสอนท่านทั้งสี่ ด้วยเทศนาเบ็ดเตล็ด จนท่านวัปปะ ท่านภัททิยะ ได้สำเร็จ
เป็นพระโสดาบัน รับการอุปสมบทแล้ว ต่อมาท่านมหานามะ ท่านอัสสชิจึงได้
สำเร็จและได้รับอุปสมบทอย่างเดียวกัน

เมื่อท่านปัญจวัคคีย์มีภูมิความรู้ในพระธรรมเบื้องต้นเท่าเทียมกันแล้ว
สมควรรับอบรมเพื่อคุณธรรมเบื้องสูงสุดต่อไป พระบรมศาสดาจึงได้ตรัส
อนัตตลักขณะสอนพระปัญจวัคคีย์ มีใจความย่อว่า

รูปคือร่างกาย เวทนาคือความรู้สุขทุกข์ สัญญาคือความจำ สังขาร
คือสภาพที่เกิดกับใจ ปรุงใจให้ดีบ้าง ชั่วบ้าง วิญญาณคือใจ รวมเรียกว่า
ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตน ถ้าเป็นตนจริงแล้ว ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่อความลำบาก
ผู้เป็นเจ้าของก็จะปรารถนาได้ตามใจหวัง แต่ความจริงขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา
ไม่ใช่ตน ผู้ที่ถือว่าเป็นเจ้าของจึงปรารถนาให้เป็นไปตามใจหวังไม่ได้

แล้วทรงถามความเห็นของท่านปัญจวัคคีย์ให้ตอบด้วยความจริงใจว่า
ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ เมื่อเป็นทุกข์ก็มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าของเรา เป็นของเรา เป็นตนของเรา แล้ว
ทรงสอนให้ละความยึดถือว่า ขันธ์ ๕ ที่ล่วงไปแล้ว หรือยังไม่มาก็ดี เกิดขึ้น
จำเพาะบัดนี้ก็ดี หยาบหรือละเอียด เลวหรืองาม อยู่ใกล้หรือไกลก็ดี ทั้งหมด
ก็สักแต่ว่าเป็นขันธ์ ๕ พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงว่าไม่ใช่ของเรา
ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา เห็นประจักษ์ใจเช่นนี้ ย่อมเบื่อหน่ายคลายกำหนัด
จิตก็พ้นจากความถือมั่น

เมื่อพระศาสดาตรัสสอนอยู่ดังนี้ พระปัญจวัคคีย์น้อมใจพิจารณาไป
ตามพระธรรมเทศนา จิตก็พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่น ด้วยอุปาทาน

เจ้าพระคุณ สมเด็จฯ ทรงตรัสว่า อนัตตลักขณสูตรนี้นับว่าเป็นสูตร
สำคัญเหมือนกัน คือเป็นพระธรรมเทศนาที่พระบรมศาสดา ตรัสสอนภิกษุ
ปัญจวัคคีย์เป็นกัณฑ์ที่ ๒ ณ สถานที่แห่งเดียวกับปฐมเทศนา
ที่สำคัญกว่านี้
ก็ได้แก่ เมื่อจบพระธรรมเทศนานี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พร้อมกันทั้ง ๕ รูป เพิ่มจำนวนพระอรหันต์ขึ้นในโลกเป็น ๖ รูป


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม
สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เพียงรูปเดียว แต่อนัตตลักขณสูตรสามารถทำให้
ท่านทั้ง ๕ สำเร็จภูมิธรรมชั้นสูงสุด เป็นพระอรหันต์ได้ ตึงนับว่าเป็นสูตรสำคัญ

อนัตตลักขณสูตรนี้พรรณนาด้วยภูมิธรรมชั้นละเอียด พุทธศาสนิกชนควร
น้อมนำมาปฏิบัติตนตามเยี่ยงอย่างได้บ้างเหมือนกัน อย่าถือเสียว่าท่านสอนชั้น
พระโสดาบัน เรายังไม่บรรลุพระโสดา ก็ไม่ควรอาจเอื้อม ดังนี้จะเป็นการหมิ่น
ตนเองเกินไป
อันที่จริงหลักของท่านก็สอนเพื่อให้รู้จักยับยั้งชั่งใจด้วยเหตุผล
ตรวจตราดูความจริงของอารมณ์ ที่ปรารถนาและไม่ปรารถนา เพราะไม่อยู่
ในอำนาจของใครๆ ทั้งนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนตลอดไป
ที่ท่านเรียกว่า อนัตตา ไม่ใช่ตน เราจึงบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้
ย่อมไม่ควรยึดมั่นเป็นจริงจังจนเกินไป เมื่อหัดฝึกฝนพิจารณาตรวจตราดู
ตนเองตามหลักนี้ ก็จะคลายความหลงยึดปรารถนา หลงในสิ่งที่ไม่เป็นจริง
อัธยาศัยก็จักสงบ ไม่วุ่นวายเดือดร้อนตนเองและคนอื่นจนเกินควร





สวดอนัตตลักขณสูตร (13:48 min.)


Download คลิกขวา save target as...

หรือ ไปฟังที่ eSnips


สดับเพื่อสติปัญญาตามสมควร ผิดพลาดประการใด ขอได้โปรดอภัยด้วย

อนัตตลักขณสูตร


เอวมฺเม สุตํ
อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้

เอกํ สมยํ ภควา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พาราณสิยํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู อามนฺเตสิ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคีย์
(ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า)

รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)

รูป ฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว

นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)

ลพฺเภถ จ รูเป
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในรูปตามใจหวัง

เอวํ เม รูปํ โหตุ เอวํ เม รูปํ มา อโหสีติ
ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ยสฺมา จ โข ภิกขเว รูปํ อนตฺตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่รูปนั้นเป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)

ตสฺมา รูปํ อาพาธาย สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

น จ ลพฺภติ รูเป
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปตามใจหวัง

เอวํ เม รูปํ โหตุ เอวํ เม รูปํ มา อโหสีติ
ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

เวทนา อนตฺตา
เวทนา(คือความรู้สึกอารมณ์) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)

เวทนา จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว

นยิทํ เวทนา อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
เวทนานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)

ลพฺเภถ จ เวทนาย
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในเวทนาตามใจหวัง

เอวํ เม เวทนา โหตุ เอวํ เม เวทนา มา อโหสีติ
ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ยสฺมา จ โข ภิกขเว เวทนา อนตฺตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่เวทนานั้นมิใช่ตัวตนของเรา

ตสฺมา เวทนา อาพาธาย สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

น จ ลพฺภติ เวทนาย
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาตามใจหวัง

เอวํ เม เวทนา โหตุ เอวํ เม เวทนา มา อโหสีติ
ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ส ฺ า อนตฺตา
สัญญา(คือความจำ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)

ส ฺ า จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว

นยิทํ ส ฺ า อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)

ลพฺเภถ จ ส ฺ าย
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสัญญาตามใจหวัง

เอวํ เม ส ฺ า โหตุ เอวํ เม ส ฺ า มา อโหสีติ
ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ยสฺมา จ โข ภิกขเว ส ฺ า อนตฺตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัญญานั้นมิใช่ตัวตนของเรา

ตสฺมา ส ฺ า อาพาธาย สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

น จ ลพฺภติ ส ฺ าย
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาตามใจหวัง

เอวํ เม ส ฺ า โหตุ เอวํ เม ส ฺ า มา อโหสีติ
ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

สงฺขารา อนตฺตา
สังขารทั้งหลาย(คือสภาพที่เกิดกับใจ ปรุงใจให้ดีบ้าง ชั่วบ้าง)
เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)

สงฺขารา จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺสํสุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว

นยิทํ สงฺขารา อาพาธาย สํวตฺเตยฺยุ
สังขารทั้งหลายนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

ลพฺเภถ จ สงฺขาเรสุ
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง

เอวํ เม สงฺขารา โหนฺตุ เอวํ เม สงฺขารา มา อเหสุนฺติ
ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด
สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ยสฺมา จ โข ภิกขเว สงฺขารา อนตฺตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายนั้นมิใช่ตัวตนของเรา

ตสฺมา สงฺขารา อาพาธาย สํวตฺตนฺติ
เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

น จ ลพฺภติ สงฺขาราสุ
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง

เอวํ เม สงฺขารา โหนฺตุ เอวํ เม สงฺขารา มา อเหสุนฺติ
ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด
สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

วิ ฺ าณํ อนตฺตา
วิญญาณ(คือใจ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)

วิ ฺ าณ ฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว

นยิทํ วิ ฺ าณํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

ลพฺเภถ จ วิ ฺ าเณ
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในวิญญาณตามใจหวัง

เอวํ เม วิ ฺ าณํ โหตุ เอวํ เม วิ ฺ าณํ มา อโหสีติ
ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว วิ ฺ าณํ อนตฺตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่วิญญาณนั้นมิใช่ตัวตนของเรา

ตสฺมา วิ ฺ าณํ อาพาธาย สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

น จ ลพฺภติ วิ ฺ าเณ
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณตามใจหวัง

เอวํ เม วิ ฺ าณํ โหตุ เอวํ เม วิ ฺ าณํ มา อโหสีติ
ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย

รูปํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วาติ
รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง

อนิจฺจํ ภนฺเต
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ วา ตํ สุขํ วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

ทุกฺขํ ภนฺเต
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์

วิปริณามธมฺมํ
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุ
ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น

เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา

โน เหตํ ภนฺเต
หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย

เวทนา นิจฺจา วา อนิจฺจา วาติ
เวทนาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง

อนิจฺจา ภนฺเต
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ วา ตํ สุขํ วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

ทุกฺขํ ภนฺเต
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์

วิปริณามธมฺมํ
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุ
ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น

เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา

โน เหตํ ภนฺเต
หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย

ส ฺ า นิจฺจํ วา อนิจฺจา วาติ
สัญญาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง

อนิจฺจา ภนฺเต
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ วา ตํ สุขํ วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

ทุกฺขํ ภนฺเต
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์

วิปริณามธมฺมํ
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุ
ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น

เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา

โน เหตํ ภนฺเต
หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย

สงฺขารา นิจฺจา วา อนิจฺจา วาติ
สังขารทั้งหลายเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง

อนิจฺจา ภนฺเต
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ วา ตํ สุขํ วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

ทุกฺขํ ภนฺเต
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์

วิปริณามธมฺมํ
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุ
ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น

เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา

โน เหตํ ภนฺเต
หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย

วิ ฺ าณํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วาติ
วิญญาณเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง

อนิจฺจํ ภนฺเต
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ วา ตํ สุขํ วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

ทุกขํ ภนเต
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

ยมฺปนานิจฺจํ ทุกขํ
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์

วิปริณามธมฺมํ
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุ
ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น


เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา

โน เหตํ ภนฺเต
หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

ตสฺมาติห ภิกฺขเว
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย

ยงฺกิ ฺจิ รูปํ
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง

อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี

อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี

โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี

หีนํ วา ปณีตํ วา
เลวก็ดี ประณีตก็ดี

ยนฺทูเร สนฺติเก วา
อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

สพฺพํ รูเป
รูปทั้งหมด ก็เป็นสักว่ารูป

เนตํ มม
นั่นไม่ใช่ของเรา

เนโสหมสฺมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่

น เมโส อตฺตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺป ฺ าย ทฏฺ พฺพํ
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้

ยากาจิ เวทนา
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี

อชฺฌตฺตา วา พหิทฺธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี

โอฬาริกา วา สุขุมา วา
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี

หีนา วา ปณีตา วา
เลวก็ดี ประณีตก็ดี

ยา ทูเร สนฺติเก วา
อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

สพฺพา เวทนา
เวทนาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าเวทนา

เนตํ มม
นั่นไม่ใช่ของเรา

เนโสหมสฺมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่

น เมโส อตฺตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺป ฺ าย ทฏฺ พฺพํ
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้

ยากาจิ ส ฺ า
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง

อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี

อชฺฌตฺตา วา พหิทฺธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี

โอฬาริกา วา สุขุมา วา
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี

หีนา วา ปณีตา วา
เลวก็ดี ประณีตก็ดี

ยา ทูเร สนฺติเก วา
อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

สพฺพา ส ฺ า
สัญญาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสัญญา

เนตํ มม
นั่นไม่ใช่ของเรา

เนโสหมสฺมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่

น เมโส อตฺตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺป ฺ าย ทฏฺ พฺพํ
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น

เยเกจิ สงฺขารา
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง

อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี

อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี

โอฬาริกา วา สุขุมา วา
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี

หีนา วา ปณีตา วา
เลวก็ดี ประณีตก็ดี

เย ทูเร สนฺติเก วา
อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

สพฺเพ สงฺขารา
สังขารทั้งหลายทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสังขาร

เนตํ มม
นั่นไม่ใช่ของเรา

เนโสหมสฺมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่

น เมโส อตฺตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺป ฺ าย ทฏฺ พฺพํ
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น

ยงฺกิ ฺจิ วิ ฺ าณํ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง

อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี

อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี

โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี

หีนํ วา ปณีตํ วา
เลวก็ดี ประณีตก็ดี

ยนฺทูเร สนฺติเก วา
อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

สพฺพํ วิ ฺ าณํ
วิญญาณทั้งหมด ก็เป็นสักว่าวิญญาณ

เนตํ มม
นั่นไม่ใช่ของเรา

เนโสหมสฺมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่

น เมโส อตฺตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้


เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺป ฺ าย ทฏฺ พฺพํ
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้นดังนี้

เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้

รุปสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป

เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเวทนา

ส ฺ ายปิ นิพฺพินฺทติ
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัญญา

สงฺขาเรสุปิ นิพฺพินฺทติ
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสังขารทั้งหลาย

วิ าณสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ

นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายความติด

วิราคา วิมุจฺจติ
เพราะคลายความติด จิตก็พ้น

วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ าณํ โหติ
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว ดั่งนี้

ขีณา ชาติ วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ กตํ กรณียํ นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาตีติ
อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

อิทมโวจ ภควา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระสูตรนี้จบลง

อตฺตมนา ป ฺจวคฺคิยา ภิกฺขู
พระภิกษุปัญจวัคคีก็มีใจยินดี

ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ
เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจัา

อิมสฺมิ ฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภ ฺ มาเน
ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่

ป ฺจวคฺคิยานํ ภิกฺขูนํ อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ
จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล

จบ อนัตตลักขณสูตร



เสียงสวดอนัตตลักขณสูตร (แปล) สวดโดย : หลวงพ่อสุวัฒน์ สุวัฑฒโน


Download





ความรู้ทั่วไปเรื่องทำนองสวดมนต์

นันธิดา จันทรางศุ เขียนบทความเรื่อง ตามหาทำนองสวดในพุทธศาสนา

หมายเหตุของบทความปิดท้ายไว้ว่า
...คราวหน้าถ้าจะไปวัดฟังเทศน์ ฟังธรรม ถึงจะฟังไม่ออกว่าพระท่านสวดอะไร
ขอให้ระวัง อย่า หลับใหล ใจลอย ฝอยมาก
รับรองได้บุญอีกโข ๓ ข้อนี้ พระท่านฝากบอกมา...

*คุณสามารถคลิกชื่อบทความเพื่ออ่านฉบับเต็ม*



Create Date : 25 กันยายน 2550
Last Update : 26 กันยายน 2550 3:53:46 น. 8 comments
Counter : 2804 Pageviews.

 
มาเห็นบล๊อคทำให้นึกถึงการใส่บาตรค่ะ ปีนี้ยังไม่ได้ใส่บาตรเลย


โดย: จูหน่านพ วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:7:23:16 น.  

 


อนุโมทนาค่ะ


โดย: kampanon วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:7:52:19 น.  

 
พี่ปรีเคอะ
ดาวโหลดไม่ได้ค่ะ


โดย: เฉลียงหน้าบ้าน วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:9:07:53 น.  

 


เมื่อไหร่วันพระจ๊ะ....


โดย: ป้าหนู (PaNu na Normal ) วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:9:58:17 น.  

 
โอม มณี ปัทเม หุม..


โดย: katoy วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:19:12:14 น.  

 
ย้ายบ้านใหม่ ก็ตามมาแอดใหม่จ้า...


โดย: canx (canx ) วันที่: 26 กันยายน 2550 เวลา:4:13:48 น.  

 
อนุโมทนาค่ะ ขออนุญาตแอดบลอกด้วยนะคะ


โดย: ลูกแม่ดอกบัว วันที่: 1 ตุลาคม 2550 เวลา:5:04:55 น.  

 
อนุโมทนาด้วยครับ และขอบคุณเป็นอย่างยิ่งเพราะผมกำลังหาบทสวดที่จะเอาไปสวดอยู่พอดีครับ
ขอให้มีความสุขและเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปครับ


โดย: ณวบุตร IP: 124.120.156.223 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:23:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

woodchippath
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add woodchippath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.