ชีวิต คือ การเดินทาง -- เรียนรู้ -- ค้นพบ
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
11 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
กลไกป้องกันตน

กลไกป้องกันตน (Defense Mechanism) เป็นหนึ่งในหัวข้อการศึกษาของ จิตวิทยา กลไกป้องกันตน เป็นเครื่องมือในการบิดเบือนหรือหนีจากความจริงที่สร้างความไม่สบายใจหรือทุกข์ใจ กลไกป้องกันตนนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด นอกจากว่าเราใช้มันมากไปและบ่อย จนทำให้ขาดความรู้สึกที่แท้จริงไปหรือใช้จนกระทั่งชีวิตประจำวันต้องผันแปรไปจากปกติ หากเป็นอย่างนี้ ก็เรียกได้ว่า เราเกิดพยาธิสภาพทางจิตขึ้นแล้ว เราแยกชนิดของกลไกป้องกันตน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ


1. กลไกป้องกันตนประเภทถอยหนี (Escape techniques) ใช้เพื่อหนีหรือหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล

การเก็บกด (Repression) ซึ่ง Freud เป็นคนเริ่มแนะนำคำๆนี้ โดยอธิบายว่าหมายถึง วิธีการที่บุคคลพยายามฝังความคิดที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลให้อยู่แต่ในจิตใต้สำนึก และรบกวนชีวิตประจำวันได้ ซึ่งการเก็บกดไม่เหมือนความพยายามไม่นึกถึง การไม่นึกถึงเป็นการเก็บกักความคิดหรือความรู้สึกโดยรู้ตัวว่าตัวเองพยายามเก็บอะไร ซึ่งความคิดหรือความรู้สึกนั้นยังฝังอยู่ในจิตสำนึกอยู่ แต่การเก็บกดนั้นเป็นการลบให้มันหายไปจากความรู้สึกและความทรงจำ ซึ่งความจริงแล้วมักไม่หายไปแต่จะเข้าไปฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนๆนั้น บางคนไม่ได้พยายามลบเฉพาะเหตุการณ์นั้นๆเท่านั้น แต่จะลบทุกอย่างที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆด้วย การเก็บกดที่มีลักษณะเด่นชัดและมีความรุนแรงที่สุดนั้นอยู่ในรูปของโรคลืม (amnesia) ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากความผิดปกติทางกาย เช่น เกิดจากความเสียหายของเนื้อเยื่อในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ ซึ่งอาการของโรคนี้ที่มีสาเหตุจากทั้ง 2 ชนิด มีลักษณะคล้ายกัน จึงทำให้ยากต่อการแยกแยะว่าเกิดจากชนิดใด จึงต้องมีการตรวจหาสาเหตุควบคู่กันไป
การสร้างจินตนาการ (fantasy) ซึ่งมีหลายระดับ หลายรูปแบบที่พบบ่อย คือ การฝันกลางวัน (day dreaming) มักเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในระยะที่บุคคลเข้าสู่วัยรุ่น อันเป็นวัยที่เขาไม่แน่ใจในบทบาทและเกิดความคับข้องใจจากความไม่แน่ใจนั้น และจากปัญหาอื่นๆซึ่งมักเกิดในวัยนี้ หากไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับความจริงได้ เขาอาจหนีเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการ จนในที่สุดอาจไม่สามารถแยกความจริงกับจินตนาการออกจากกันได้ และเกิดพยาธิสภาพทางพฤติกรรมขึ้น
การถอยกลับ (regression) นักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่า การแสดงตนว่าป่วยไข้ของคนบางคน อาจเกิดจากการต้องการความสนใจจากคนอื่นๆ (hypochondriac) เหมือนเด็กๆที่ต้องการพึงพาพ่อแม่ การจะพึ่งพาคนอื่นจะทำได้ง่ายขึ้นเมื่อเราแสดงตัวว่าป่วย หากเป็นพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ จะเกิดขึ้นจากความคับข้องใจที่รุนแรง และการคงอยู่ของพฤติกรรมนั้นทำให้บุคคลแก้ไขความคับข้องใจได้ลำบากขึ้น

2. กลไกป้องกันตนประเภทประนีประนอม (Compromise techniques) เราใช้มันเพื่อลดความเครียดอันเกิดจากความผิดพลาดหรือความล้มเหลวของตนเอง แต่การใช้ในปริมาณที่มากและบ่อยเกินไป ก็เป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของพฤติกรรมที่รุนแรงได้

การซัดโทษ (projection) เป็นการเก็บกดและปิดลักษณะที่ไม่เหมาะสมของตนเอง และขณะเดียวกันก็ป้ายลักษณะที่ไม่เหมาะสมนั้นไปให้คนอื่น ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว จากการที่เราไม่ชอบ ไม่อยากเห็น ตัวเราเองไม่ดี จึงกล่าวหาว่าคนอื่นมีลักษณะนั้นๆแทนเสีย
การทดแทน (sublimation) ซิกมุนด์ ฟรอยด์กล่าวว่า การทดแทนเป็นการที่คนสร้างจุดมุ่งหมายที่ 2 ขึ้นมาแทนจุดมุ่งหมายที่พลาด จะใช้เมื่อเรากลัวการไม่ยอมรับจากสังคม โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งคนเราไม่สามารถที่จะสนองตอบความต้องการทางเพศของเราได้เสมอไป จึงต้องมีกิจกรรมอื่นเข้ามาเพื่อทดแทน เช่น การออกกำลังกาย วาดเขียนและเขียนหนังสือ เป็นต้น หากการทดแทนมีมากเกินไป อาจทำให้บุคคลสูญเสียความนับถือในตนเองได้
การกลบเกลื่อนโดยแสดงออกในทางตรงกันข้าม (reaction formation) การกลบเกลื่อนโดยแสดงออกในทางลบ เกิดจากการที่บุคคลมีแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็มีความโกรธโดยไม่รู้ตัว ว่าจะมีคนอื่นรู้และตำหนิเขาที่มีแรงจูงใจที่น่าละอายนั้น กลัวว่าคนอื่นจะมองว่าคุณค่าของตนเองลดลง ส่วนการกลบเกลื่อนโดยแสดงออกในทางบวก เป็นการพยายามแสดงความดีหรือแสดงพฤติกรรมที่สังคมยอมรับมากเกินขอบเขต
การชดเชย (compensation) เกิดจากการที่บุคคลเกิดความคับข้องใจในเป้าหมายที่ไม่สามารถบรรลุได้ จึงตั้งเป้าหมายใหม่ที่สามารถเป็นไปได้และใกล้เคียงกับเป้าหมายเดิม ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายการทดแทน แต่การทดแทน เกิดจากความคิดหรือความรู้สึกไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ส่วนการเบนเป้าหมาย เกิดจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม หากการเบนเป้าหมายมีมากเกินไปอาจทำให้คนอื่นรำคาญ และไม่ยอมรับในตัวบุคคลคนนั้นได้เช่นกัน



Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2550 1:41:39 น. 1 comments
Counter : 305 Pageviews.

 
อืม น่ากลัวดีนะครับ


โดย: telefono วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:18:35:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

waterity++NM++
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ⓦ ⓐ ⓣ ⓔ ⓡ ⓘ ⓣ ⓨ
สวัสดีค่ะ
รู้สึกดีทุกครั้งที่เมื่อเปิด Blog
แล้วมีคนเข้ามาดู Blog ของเรา
ไม่ว่าคุณจะเพียงแค่เปิดอ่านเท่านั้น
หรือจะมีความเห็นหรือไม่ก็ตาม
......สำหรับ Blog นี้.......
อาจจะเป็นเพียง Blog แสดงความคิดเห็น
ความรู้สึกของเราเอง แต่ก็หวังว่า
ข้อคิด บทความ และธรรมะ ฯลฯ
บางส่วนที่หยิบยกมา
จะเป็นประโยชน์กับผู้แวะเข้ามาบ้าง
ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะคะ
Code
Friends' blogs
[Add waterity++NM++'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.