“..การศึกษาวิชามานุษยวิทยา มีจุดประสงค์ให้มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมนุษยชาติทั้งมวล มนุษย์จะได้เข้าใจตนเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจอันดี และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข...” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ๒๕๓๗

 
มีนาคม 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
23 มีนาคม 2550
 

เปิงสงกรานต์ สงกรานต์มอญแห่งสยามประเทศ

เผลอแป๊บเดียว ก็ป่านพ้นมาหนึ่งปีแล้ว สำหรับสงกรานต์บ้านมอญที่สามโคก

เมื่อปีก่อนผมได้มีโอกาส เข้าไปทำงานกิจกรรมการท่องเที่ยว"เปิงสงกรานต์"ของชาวมอญ ด้วยงบประมาณ CEO ของจังหวัดปทุมธานี

ปีนี้คงจะเงียบเหงา เพราะไม่มีงบ งานเปิงสงกรานต์ปีนี้คงหงอยเหงา น่าเสียดาย

แต่ก็นะ .... ชวนมาเที่ยวเปิงสงกรานต์ที่ผมสัมผัส ถึงจะผ่านมาปีหนึ่งก็ตาม แต่มันเหมือนว่างานเทศกาลนี้กำลังจะมีขึ้นอีกในเดือนหน้า...ตามยถากรรม



เทศกาลสงกรานต์ในปีนี้ ดูท่าจะเงียบเหงาแต่กลับร้อนแรงยิ่งกว่าทุก ๆ ปี ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองที่ร้อนระอุ ยุ่งเหยิงวุ่นวายและไม่รู้ทิศทาง ไม่รู้ว่านาง”มโหธรเทวี”นางสงกรานต์ในปีกุนนี้ ไปรับประทานรังแตนที่ไหนมาหรือเปล่า บ้านเมืองจึงได้ร้อนรุ่มถึงปานฉะนี้ แต่ก็เถอะนะ ก็ขอให้คนที่กำลังร้อนเป็นไฟ ที่กำลังแยกเขี้ยว ที่อวดอิทธิฤทธิ์เข้าใส่กันในตอนนี้ อาศัยน้ำเย็นชุ่มฉ่ำของเทศกาลปีใหม่ไทย เทศกาลสงกรานต์นี้แหละ เป็นเครื่องบรรเทาอารมณ์กันบ้าง บางทีถ้าน้ำเย็น ๆ พาให้ใจเย็น ๆ อารมณ์เย็น ๆ แล้ว หันหลังให้กับทิฐิ ถอยหลังกันคนละหลาย ๆ ก้าว ความสนุกสนานและความสุขก็จะกลับมาพร้อมกับความรักความสามัคคี ที่หายไปนานเสียเหลือเกิน

ในท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนระอุนี้ สายน้ำที่ชุ่มฉ่ำของเทศกาลสงกรานต์คงจะช่วยชโลมกาย ล้างจิตใจให้ใสสะอาด เข้าวัดทำบุญและพาครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนฝูงไปท่องเที่ยวสงกรานต์กันในที่ต่าง ๆ หลาย ๆ คนคงกำลังจะเลือกไปท่องเที่ยวสงกรานต์ในต่างจังหวัด หลายคนเลือกสถานที่ที่สะดวก ที่มีสาว ๆ หนุ่ม ๆ เยอะ ๆ หลายคนคงอยากนอนอาบแดดอยู่กับบ้าน เพราะไม่รู้จะไปทางไหน แต่อย่างไรก็ตาม หากท่านนึกอยากท่องเที่ยวสงกรานต์พร้อมกับได้สัมผัสอารยธรรมแห่งโลกโบราณที่เคยยิ่งใหญ่ในคาบสมุทรอุษาคเนย์เป็นของแถม ก็ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวสงกรานต์ แวะเวียนมาท่องเที่ยวหน้าร้อนที่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ในงานเทศกาล “เปิงสงกรานต์” กินข้าวแช่ ดูทะแย แห่โน่ ซึ่งเป็นงานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชิ้นเอก ที่จังหวัดปทุมธานีภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทยรามัญหรือมอญไว้ โดยมีชาวมอญดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอสามโคกเป็นพระเอกและนางเอกที่สำคัญ ที่ร่วมกันจัดงานเปิงสงกรานต์สืบสานประเพณีชาวมอญมานานหลายปี

หลายคนคงสงสัยว่ามอญเป็นใคร มาจากไหน แล้วมาอยู่ที่สามโคกได้อย่างไร เรามาทำความรู้จักกับชาวไทยรามัญกันสักนิดก่อนที่จะไปท่องเที่ยวในเทศกาลเปิงสงกรานต์กับชาวไทยรามัญที่สามโคกกันในฤดูกาลแห่งความชื่นฉ่ำของปีนี้
ชาวมอญในประเทศไทย เป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากประเทศพม่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ 9 ระลอก ตามสภาพเหตุการณ์บ้านเมืองที่ระส่ำระสายของรัฐมอญและพม่า ในช่วงต้นชาวมอญมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยในสยาม แต่เมื่อเวลาแปรเปลี่ยนไป บ้านเมืองเปลี่ยนแปลง ผู้คนก็เปลี่ยนแปลง ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมอญตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จึงกลายมาเป็นชาวไทยเชื้อสายรามัญ เป็นชนชาติที่ ”สิ้นแผ่นดิน แต่ไม่สิ้นชาติ” ด้วยชาวมอญยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ภาษาและความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของตนสืบต่อมาไม่ขาดสาย ชุมชนชาวไทยรามัญที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ชาวมอญพระประแดงหรือมอญปากลัด จังหวัดสมุทรปราการ ชาวมอญลุ่มแม่น้ำแม่กลอง วัดม่วง จังหวัดราชบุรี ชาวมอญเจ็ดริ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ชาวมอญบางกระดี่ กรุงเทพมหานครและชาวมอญสามโคก จังหวัดปทุมธานี
มอญสามโคก เป็นชุมชนมอญเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่เรียกกันว่า สามโคก นั้นพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ต่อมาชุมชนเริ่มหนาแน่นขึ้นเมื่อชาวมอญอพยพจากรัฐมอญเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องในสมัยกลางกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บริเวณสามโคกจึงเป็นที่ชุมนุมชาวมอญมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ซึ่งชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาคงจะได้รับมอบหมายหน้าที่ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทเนื้อหยาบ ผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อป้อนให้แก่ผู้คนที่อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้ทำให้ชุมชนขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ จึงเกิดการขยับขยายของชาวมอญไปสู่เกาะเกร็ดและพระประแดงในเวลาต่อมา เชื่อกันว่า ชื่อของสามโคกนั้น มาจากโคกเนินขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาสามแห่ง ซึ่งปัจจุบันคงเหลือ ”เตาโอ่งอ่าง” ที่สมบูรณ์เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

ชาวมอญสามโคก มีทั้งหมด 15 หมู่บ้าน (ภาษามอญเรียกว่า "กวาน") ที่มาของชื่อหมู่บ้านเองก็เป็นชื่อเดิมของมอญตามถิ่นที่อยู่เดิมในพม่า เมื่ออพยพเข้ามาก็เอาชื่อบ้านเดิมเมืองเดิมของตนมาตั้งใหม่ จะได้รวมกันอยู่ถูกบ้านถูกบางอย่างสงบสุข ดังเช่น กวานเวียงจาม กวานเมตารางค์ กวานวัดพลับสุธาวาส และกวานศาลาแดง เป็นต้น ในอดีตชาวมอญสามโคกมีอาชีพหลักคือ การเดินทางค้าขายทางเรือตามเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวมอญสามโคกจัดเป็นนักธุรกิจ(ทางน้ำ) ตัวยง โดยมีสินค้าประเภท โอ่ง เครื่องบรรจุภัณฑ์ดินเผา กระบุง ทราย ฯลฯ บรรทุกเรือกระแซงเดินทางค้าขายไปทั่วคุ้งน้ำ ค่ำที่ไหนก็นอนที่นั่น ซึ่งแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ถึงจะล่องเรือกลับบ้าน แต่ก็ด้วยสภาพของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ถนนหนทางที่สะดวกสบายสุด ๆ วิถีชีวิตการค้าตามเส้นทางน้ำของชาวมอญสามโคกจึงได้สาบสูญไป แต่อย่างไรก็ตาม ชุมชนมอญสามโคก ยังคงรวมตัวทางอัตลักษณ์กันอย่างมีพลัง มีความพยายามในการสืบสานประเพณี วัฒนธรรมของชาวมอญอย่างเข้มแข็ง มีการฟื้นฟูปฏิรูปประเพณีเก่าแก่หลาย ๆ ประเพณีขึ้นมาใหม่ ให้เหมาะสมกับยุคสมัย โดยเฉพาะประเพณีในเทศกาลขึ้นปีใหม่อันได้แก่ประเพณี “เปิงสงกรานต์”

เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวมอญสามโคกในเทศกาลเปิงสงกรานต์ คือการจัดขบวนแห่หงส์และแห่ธงตะขาบ ไปถวายวัดเพื่อผลัดเปลี่ยนประดับเสาหงส์อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวัดมอญในวันปีใหม่ เป็นประเพณีที่ชาวมอญจัดขึ้นในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ชาวมอญจะช่วยกันประดิษฐ์หางหงส์ มีความยาวประมาณ 3 – 4 เมตร ด้วยความเชื่อว่าในปีหนึ่งหงส์จะต้องถ่ายขน โดยเฉพาะหางหงส์จะหลุดหมด หางเป็นสิ่งสำคัญ เป็นผู้กำหนดทิศทาง เหมือนหางเสือเรือ ถ้าไม่มีหางเสือ ย่อมไปไม่ตรงทิศทางที่ต้องการ ชาวมอญเรียกประเพณีนี้ว่า แห่ฮะต๊ะโน่ หรือเรียกสั้นๆ ว่า แห่โน่ หมายถึง แห่หงส์ ในภาษามอญ ฮะต๊ะ แปลว่า หาง โน่ แปลว่า หงส์ คนไทยเราเห็นแขวนอยู่ใต้เสาหงส์ จึงเรียกว่า หางหงส์ ถือว่าเป็นการทำบุญหมู่บ้านแต่ละกวานจะจัดให้มีการเลี้ยงพระ สวดมนต์ และแห่หางหงส์ไปตามหมู่บ้าน ระหว่างทางใครมีจิตศรัทธาบริจาคเงินทำบุญก็ใส่ในบาตรที่มีผู้ถืออยู่ในขบวนแห่ ส่วนการแห่ธงตะขาบ มีสถานะเป็นธงทิว หรือธงประดับตามวัดเมื่อมีงานต่าง ๆ มิใช่ธงหลักที่ชาวมอญนำมาแห่แต่อย่างใด ตะขาบในความหมายของชาวมอญคือสัญลักษณ์ของสัตว์ปริศนาธรรมในการสร้างคุณงามความดีและบุญกุศลในหลักพระพุทธศาสนา

ในเทศกาลเปิงสงกรานต์ ชาวมอญสามโคกจะจัดสำรับข้าวแช่ลอยดอกมะลิหอม แล้วรวมตัวกันเป็นขบวนแห่ไปถวายพระภิกษุสงฆ์และนำไปมอบให้กับญาติผู้ใหญ่ อีกทั้งยังมีการจัดขบวนแห่นก แห่ปลา ในวันมหาสงกรานต์ นัยว่าเป็นวันที่ได้รับผลบุญจากการทำทานปลดปล่อยชีวิตมากที่สุดของปี ส่วนในวัดจะมีกิจกรรมก่อพระเจดีย์ทรายที่ตกแต่งด้วยธงทิวหลากสีสัน การสรงน้ำพระผ่านรางไม้ไผ่ที่ประดับประดาด้วยดอกไม้สวยงาม กิจกรรมการเล่นสะบ้า การกวนข้าวเหนียวแดงและกาละแม ทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระตามประเพณีและแจกจ่ายแลกกันกินในชุมชน

ความพยายามในการรื้อฟื้นประเพณีในเทศกาลสงกรานต์ของชาวมอญแต่ละท้องที่ ดำเนินมาได้กว่า 10 ปี โดยชุมชนแต่ละชุมชนต่างก็ดำเนินการตามแนวทางที่เป็นจุดเด่นของตนและได้รับการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ชุมชนมอญพระประแดง ดูจะมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในการท่องเที่ยวมากที่สุด ด้วยกิจกรรมในเทศกาลที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น การแห่รถบุปผชาติ การประกวดนางสงกรานต์ และการโชว์การละเล่นสะบ้าบ่อน






แผ่นพับงานเมื่อปีที่แล้วที่ผมออกแบบพิมพ์แจกเชิญชวนไปเที่ยวงาน




 

Create Date : 23 มีนาคม 2550
10 comments
Last Update : 23 มีนาคม 2550 16:46:04 น.
Counter : 5032 Pageviews.

 
 
 
 
แวะมาเยี่ยมอ่ะค่ะ ใกล้ถึงสงกรานต์แย้ว อิ อิ
 
 

โดย: umi_chan (umi_chan_2 ) วันที่: 24 มีนาคม 2550 เวลา:16:25:29 น.  

 
 
 
มาแอบอ่านประเพณีของบรรพบุรุษสายหนึ่ง อิอิ ไม่ว่ากันนะครับ

ทำดีครับ สั้นๆ อ่านง่าย เลยเข้าใจง่ายด้วย ต้องแอบมาเบิ่งบ่อยๆ

ยังโหลดไม่เห็นภาพหรอก เน็ตธรรมดา อ่านแต่ข้อความ ไว้คราวหน้าว่างๆ ค่อยดูรูป
 
 

โดย: NikcyNick IP: 203.113.80.137 วันที่: 25 มีนาคม 2550 เวลา:21:10:30 น.  

 
 
 
ป่านนี้ คงสนุกกันไปแล้ว ยินดีด้วยว่างใครไปเติม rep ที่ 5
ตรงหน้าสงคราม 2310 ทีครับ
 
 

โดย: บุรุษ 9 ดาบ IP: 125.24.155.31 วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:13:34:16 น.  

 
 
 
ก้อดี
 
 

โดย: นาย IP: 118.173.131.7 วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:31:41 น.  

 
 
 
ดีมาก
 
 

โดย: เเพะ IP: 58.9.101.252 วันที่: 4 เมษายน 2551 เวลา:11:51:56 น.  

 
 
 
ดีมาก
 
 

โดย: เเพะ IP: 58.9.101.252 วันที่: 4 เมษายน 2551 เวลา:11:52:57 น.  

 
 
 
สุดยอดสนุกมาก ๆ 5555555+ คงจะดีมากนะ

เป็นไงบ้างได้รับความรู้มากทีเดียว
 
 

โดย: บอย IP: 61.7.229.50 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:31:44 น.  

 
 
 
ดี
 
 

โดย: นน IP: 118.173.36.232 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:10:23:23 น.  

 
 
 
เปิงสงกรานต์ ของบ้านสามโคก จ.ปทุมธานี หน้าจะจัดอยู่ในปฏิทินท่องเที่ยวไทยเนอะ และควรมีการออกสื่อประชาสัมพันธ์ทุกปี เพราะปทุมธานีมีดีเยอะ5555
 
 

โดย: I3all IP: 115.67.115.247 วันที่: 1 เมษายน 2553 เวลา:9:14:31 น.  

 
 
 
ดีครับ ทำให้เราได้รู้
 
 

โดย: beer nongkaka IP: 192.168.3.14, 182.93.208.95 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2554 เวลา:10:49:19 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

วรณัย
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เวลาผ่านไป หัวใจยังคงเดิม
[Add วรณัย's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com