"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2558
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
13 พฤษภาคม 2558
 
All Blogs
 
แสตมป์ที่ระลึก ๔๐ ปี วัน ๑๔ ตุลา ประชาธิปไตย - ๒๕๕๖












เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพล ถนอม กิตติขจร นำไปสู่การใช้กำลังของรัฐบาลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก

สาเหตุ

เหตุการณ์เริ่มมาจากการที่จอมพล ถนอม กิตติขจร รัฐประหารตัวเอง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ซึ่งนักศึกษาและประชาชนมองว่า เป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นอกจากนี้ จอมพล ถนอมจะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี แต่กลับต่ออายุราชการตนเองในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกไป

ทั้งพลเอก ประภาส จารุเสถียร บุคคลสำคัญในรัฐบาล ที่มิได้รับการยอมรับเหมือนจอมพล ถนอม กลับจะได้รับยศจอมพล และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตในวงราชการ สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนอย่างมาก

พ.ศ. 2516

29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกกลางทุ่งนาที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีนักแสดงหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ เมตตา รุ่งรัตน์ โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน

ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซากกระทิงล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก

หลังจากนั้น ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" จำหน่ายราคา 5 บาท จำนวน 5,000 เล่ม เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้

ผลการตอบรับออกมาดีมาก จนขายหมดในเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง และได้รับการขยายผล โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงในชมรมคนรุ่นใหม่ออกหนังสือชื่อ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" ที่มีเนื้อหาตอนท้ายเสียดสีนายกรัฐมนตรี

เป็นผลให้ ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดี สั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำ 9 คนซึ่งเป็นผู้จัดทำหนังสือ ออกจากสถานะนักศึกษา ทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมระหว่างวันที่ 21–27 มิถุนายน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ท้ายสุด ศักดิ์ต้องยอมคืนสถานะนักศึกษาทั้ง 9 คน และศักดิ์ได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ

เริ่มต้นเหตุการณ์

6 ตุลาคม มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น

จากนั้น บุคคลเหล่านี้ราว 20 คน นำโดย ธีรยุทธ บุญมี ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เช่น ประตูน้ำ สยามสแควร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยอ้างถึงใจความในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 7 ที่ส่งถึงรัฐบาลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ

แต่ทางตำรวจนครบาลจับได้เพียง 11 คน และจับทั้ง 11 คนนี้ขังไว้ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขน และนำไปขังต่อที่เรือนจำกลางบางเขน พร้อมตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็นคอมมิวนิสต์ โดยห้ามเยี่ยมห้ามประกันเด็ดขาด

จากนั้น ได้มีการประกาศจับก้องเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และตามจับไขแสง สุกใส อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมอีก เป็นผู้ต้องถูกจับทั้งหมด 13 คนโดยกล่าวหาว่า ไขแสงอยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ บุคคลทั้ง 13 นี้ถูกเรียกขานว่าเป็น "13 ขบถรัฐธรรมนูญ"

เหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนอย่างมาก นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งขณะนั้นกำลังสอบกลางภาค แต่ทางองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้ว่า "งดสอบ" พร้อมทั้งยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยบุคคลทั้ง 13 ก่อนเที่ยงวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม แต่เมื่อถึงเวลาแล้ว รัฐบาลก็หาได้ยอมกระทำไม่

ก่อนหน้านั้น มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้เข้าพบ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ณ บ้านพักที่ย่านเอกมัย เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับสถานการณ์
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ได้เสนอว่า หากจะจัดการชุมนุม ควรจะจัดในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เพราะจะตรงกับวันที่มีตลาดนัดที่สนามหลวงด้วย จะทำให้ได้แนวร่วมเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก

การจลาจล

การเดินขบวนครั้งใหญ่จึงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ออกไปตามถนนราชดำเนิน สู่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมาก (คาดการกันว่ามีราว 500,000 คน)

ระหว่างนั้น แกนนำนักศึกษาเข้าพบเจรจากับรัฐบาล และบางส่วนเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จนได้ข้อยุติเพียงพอที่จะสลายตัว แต่ด้วยอุปสรรคทางการสื่อสาร และมวลชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่อาจควบคุมดูแลได้หมด

จึงเกิดการปะทะกัน ระหว่างกำลังตำรวจปราบจลาจลกับผู้ชุมนุม ที่บริเวณถนนราชวิถีตัดกับถนนพระราม 5 ช่วงหน้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งเป็นทางที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะใช้เดินทางกลับ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับไม่ยอมให้ผ่าน เมื่อเวลาประมาณ 06:30 นาฬิกา ของวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม

โดยการปะทะกันดังกล่าว บานปลายเป็นการจลาจล และลุกลามไปยังท้องสนามหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และถนนราชดำเนินตลอดสาย รวมถึงย่านใกล้เคียง

โดยในเวลาบ่าย พบเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง บินวนอยู่เหนือเหตุการณ์ และมีการยิงปืนลงมา เพื่อสลายการชุมนุม ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เชื่อว่า บุคคลที่ยิงปืนลงมานั้นคือ พันเอก ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายของจอมพล ถนอม และบุตรเขยของจอมพล ประภาส ซึ่งคาดหมายว่าจะสืบทอดอำนาจ ต่อจากจอมพล ถนอม และจอมพล ประภาส

ต่อมาในเวลาหัวค่ำ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศว่า จอมพล ถนอม ขอลาออกจากตำแหน่งแล้ว และมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

จากนั้นไม่นาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยด้วยพระองค์เอง แต่เหตุการณ์ยังไม่สงบ กลุ่มทหารเปิดฉากยิงปืนเข้าใส่นักศึกษาและประชาชนอีกครั้ง

หลังจากพระราชดำรัสทางโทรทัศน์เพียงหนึ่งชั่วโมง นักศึกษาพยายามพุ่งรถบัสที่ไม่มีคนขับ เข้าใส่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผู้ชุมนุมนับพันยังไม่วางใจในสถานการณ์ จึงประกาศท้าทายกฎอัยการศึก ในเวลา 22:00 นาฬิกา และประกาศว่าจะปักหลักชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตลอดทั้งคืน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ถูกหลอกอีกครั้ง

จนกระทั่งในเวลาหัวค่ำของวันที่ 15 ตุลาคม ได้มีประกาศว่า จอมพล ถนอม จอมพล ประภาส และพันเอก ณรงค์ เดินทางออกนอกประเทศแล้ว เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง และวันที่ 16 ตุลาคม ผู้ชุมนุมและประชาชน ต่างพากันช่วยทำความสะอาด พื้นถนนและสถานที่ต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหาย

หลังเหตุการณ์

ภายหลังเหตุการณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิต ได้พระราชทานเพลิงศพที่ทิศเหนือท้องสนามหลวง และอัฐินำไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้าง อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ขึ้นที่ สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง โดยกว่าจะผ่านกระบวนต่าง ๆ และสร้างจนแล้วเสร็จนั้น ต้องใช้เวลาถึง 28 ปี

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นที่ร่าง เรียกกันว่า "สภาสนามม้า" นำไปสู่การเลือกตั้งในต้น พ.ศ. 2518 ช่วงนั้นเรียกกันว่าเป็นยุค "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ"

แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบด้านจากการรุกคืบของลัทธิคอมมิวนิสต์ และผลกระทบจากสงครามเวียดนาม แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ นำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2519 คือ เหตุการณ์ 6 ตุลา

นอกจากนี้ เหตุการณ์ 14 ตุลา ยังนับเป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในยุคศตวรรษที่ 20 และยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้น

พ.ศ. 2546 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเอกฉันท์กำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เป็นวันสำคัญของชาติ ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ 30 ปี

ขอบคุณ วิกิพีเดีย

สัจจะวิถี 40 ปี 14 ตุลา

การลุกขึ้นรวมตัวกัน เป็นคลื่นมหาชนเรือนแสนของประชาชน ไม่ใช่โชคชะตา แต่อะไรเล่าคือเหตุที่แท้จริง อะไรเล่าคือผลจากการต่อสู้ การจะพบ “ความรู้” ต้องค้นหาข้อเท็จจริงในหลายมิติ ทั้งระนาบกว้างและเบื้องลึก

ที่สำคัญคือ สถานการณ์แวดล้อม ภูมิหลัง อุดมการณ์ของกลุ่มต่างๆ และความซับซ้อนของเบื้องหลัง การชิงอำนาจทางการเมือง การได้พบภาพต่อที่ขาดหายไป ไม่เพียงเพื่อคำตอบที่จะเติมเต็มประวัติศาสตร์ 14 ตุลา ให้สมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังปูทางไปสู่การเรียนรู้บทเรียนสำหรับอนาคต ในการทำความเข้าใจ สร้างและรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง

ย้อนเวลากลับไปสัมผัสคนไทยและสื่อไทยเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ซึ่งสำหรับประชาชนทั่วไป คำว่าประชาธิปไตยอาจยังไม่ชัดเจนนัก แต่เมื่อความจริงของวิถีชีวิต และข่าวสารที่พบเห็นคือ การสืบทอดอำนาจของกลุ่มนายทหาร การรัฐประหารตัวเองของรัฐบาล ปัญหาเศรษฐกิจ และข่าวในความทรงจำตลอดกาล

แม้ว่าจะผ่านมาถึง 40 ปีแล้ว ก็คือ ข่าวคาราวานทหารตำรวจ พ่อค้า และนักแสดง ใช้พาหนะและอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพ ล่าสัตว์ป่าที่ทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งดูเหมือนจะเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่สื่อมวลชนสมัยนั้น พร้อมใจกันเสนอข่าวบนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับยาวนานถึง 6 เดือน แต่อะไรคือเหตุผลที่ราษฎรก้าวเข้าสู่ถนนราชดำเนิน

ถ้าหากภาพจำของ 14 ตุลาคม 2516 คือ ผู้คนเกินครึ่งล้าน มารวมตัวกันบนนถนนราชดำเนิน เหตุการณ์ครั้งนั้น นักศึกษา คือ แกนนำ ในการเคลื่อนทัพประชาชนจำนวนมหาศาล เพื่อเรียกร้องไม่เอารัฐบาลเผด็จการ ในวันที่นักศึกษาบางกลุ่มถูกนิยามว่ามีชีวิตดั่งเช่นสายลมแสงแดด

ขณะที่บางกลุ่มเริ่มตั้งคำถาม แสวงหาตัวตน ใฝ่ฝันที่จะเห็นชีวิตที่ดีกว่า งานวรรณกรรมวรรณศิลป์ บทกวี บทเพลง บทความงานเขียนวิพากษ์สังคมชั้นเยี่ยม ที่ถูกสั่งห้ามเสพ ห้ามเผยแพร่ในยุคก่อนนั้น กลับมาได้รับความนิยมแบบลับๆ ในวงแคบๆ นี่คือสารกระตุ้นต่อมสำนึกเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาในวันนั้น

เมื่อความทุกข์ยากของประชาชนแปรเปลี่ยนเป็นพลังที่ต้องออกมาเคลื่อนไหว นักศึกษาในฐานะปัญญาชน จึงเป็นแกนนำเพื่อให้ความเคลื่อนไหวได้ปรากฏ ยุทธวิธีการรวมพล เวทีปราศรัยหล่อหลอมจิตวิญญาญของผู้ชุมชนเข้าด้วยกัน การเคลื่อนทัพจากฐานที่มั่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกสู่ท้องถนนราชดำเนิน จนเป็นที่มาของภาพจำ “นักศึกษา...มหาศาล” จากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

“คนชนะ คือผู้ที่เขียนประวัติศาสตร์” ใช่หรือไม่ ? เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีบันทึกรวบรวมหลายรอบหลายหน แต่ยังมีคำถามอีกมากมายที่ดูเหมือนจะไม่มีคำตอบ ท่าทีที่แข็งกร้าวของรัฐบาลเผด็จการเปลี่ยนกลับมาเป็นยอมรับข้อเสนอของแกนนำนักศึกษาอย่างไม่มีเงื่อนไขได้อย่างไร

พลังบริสุทธิ์ของนักศึกษา ประชาชนเพียงฝ่ายเดียวหรือไม่ที่ขับไล่รัฐบาลเผด็จการพ้นอำนาจได้ หรือเพราะความแตกแยกของชนชั้นปกครอง ใครปฏิวัติ ใครรัฐประหาร ? จนมาถึงปริศนาการปะทะกันที่บริเวณหน้าวังสวนจิตรฯ คือ น้ำผึ้งหยดเดียวที่เกิดจากการยั่วยุ
หรือเพราะใครที่ลุแก่อำนาจ ณ เวลา ฟ้าสางกลางเดือนตุลาในวันนั้น ยังไม่มีคำตอบ เพราะความจริงบางเรื่อง แม้ตายก็ไม่สามารถบอกต่อได้...ใช่หรือไม่ ?

40 ปีที่แล้ว เพราะผู้คนถูกกดขี่ ไร้ซึ่งอิสรภาพ ภายใต้การปกครองเผด็จการที่ยาวนาน ความทุกข์ยากของชนชั้นล่างไม่เคยถูกมองเห็น ขณะที่ชนชั้นนำรุ่งเรืองเฟื่องฟู ความเสมอภาค ความเท่าเทียม การมีชีวิตที่ควรได้รับสิทธิขึ้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คือ สิ่งที่ทุกคนโหยหา “ประชาธิปไตย”

ระบอบการปกครองที่เชื่อกันว่า จะเป็นยารักษาโรคความไม่เท่าเทียม ความเหลื่อมล้ำในสังคมนี้ได้ ถนนสายที่ชื่อว่า “ประชาธิปไตย” จึงได้ตัดผ่านประเทศไทย ให้คนไทยได้เริ่มต้นสัญจร แม้ว่าถนนสายนี้อาจจะขรุขระบ้าง ราบเรียบบ้าง แต่นับวันก็ยิ่งมีผู้คนร่วมเดินทางไปด้วยกันมากขึ้น

หากไม่มีวันนั้น เมื่อ 40 ปีที่แล้ว หากไม่มีวันนั้น....14 ตุลาคม 2516 ถนนสายที่เราต้องเดินร่วมกันมา จากวันนั้น จนถึงวันนี้...จะมีชื่อว่าอะไร ?


ขอบคุณ Thai PBS

สิริสวัสดิ์วุธวาร สิริมานรมณีย์นะคะ



Create Date : 13 พฤษภาคม 2558
Last Update : 14 พฤษภาคม 2558 14:28:53 น. 1 comments
Counter : 3977 Pageviews.

 
Top Blog of the Week สาขา Hobby Blog



แผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึก ๑๕๐ ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ๒๕๕๕ sirivinit
(7 พ.ค. 2558 05:08:47 น.)

แผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึก วันอนุรักษ์มรดกไทย 2553 (ชุดวัง) sirivinit
(8 พ.ค. 2558 00:00:04 น.)

ตราประทับสุดเท่ ปีม้า - เกือกม้า วันแรกจำหน่ายของ CANADA & HORSESSHOE BAY BC sirivinit
(9 พ.ค. 2558 00:00:05 น.)

แสตมป์ที่ระลึก ๕๐ ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ sirivinit
(10 พ.ค. 2558 07:23:50 น.)

แสตมป์ที่ระลึก ความร่วมมือไทย - มาเก๊า ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ sirivinit
(11 พ.ค. 2558 06:06:19 น.)

แสตมป์ที่ระลึก ๕๐ ปี การกีฬาแห่งประเทศไทย ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ sirivinit
(12 พ.ค. 2558 03:35:31 น.)

THE HERO CITY OF Odessa - The Opera and Ballet Theatre sirivinit
(12 พ.ค. 2558 10:16:00 น.)

แสตมป์ที่ระลึก ๔๐ ปี วัน ๑๔ ตุลา ประชาธิปไตย - ๒๕๕๖ sirivinit
(13 พ.ค. 2558 02:24:55 น.)

THE HERO CITY OF Sevastopol - The panorama of the battle of Sevastopol sirivinit
(13 พ.ค. 2558 10:48:51 น.)


โดย: sirivinit วันที่: 14 พฤษภาคม 2558 เวลา:14:26:29 น.  

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.