"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
26 มีนาคม 2559
 
All Blogs
 
แสตมป์ที่ระลึก ๑๐๐ ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประวัติ













จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442

พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (นับแบบเก่า) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย

และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีมาแล้ว 16 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รับรองมาตรฐานการศึกษาในระดับดีมาก เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) และสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (APRU)

นอกจากนี้ ในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พบว่า มีผู้สมัครสอบที่ทำคะแนนรวมสูงสุดเลือกเข้าศึกษาต่อในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกปีการศึกษา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้เข้าศึกษาในสังกัดของสถาบัน เพราะเมื่อแรกก่อตั้งที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือว่าอยู่ห่างไกลจากเขตพระนครซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญในสมัยนั้นอย่างมาก ทำให้การเดินทางมาศึกษาเป็นไปอย่างยากลำบาก

จึงมีการสร้างหอพักเพื่อให้ผู้เข้าศึกษาสามารถพักอาศัยในบริเวณมหาวิทยาลัยได้ และใช้คำว่า "นิสิต" ที่แปลว่า "ผู้อาศัย" เรียกผู้เข้าศึกษา ซึ่งมีความเป็นมาคือ ในอดีตนั้นนักเรียนจะเรียนวิชาใด ต้องไปฝากตัวเป็นศิษย์ในสำนักอาจารย์ต่าง ๆ

เช่น ในยุโรปไปฝากตัวที่สำนักของบาทหลวง ในประเทศไทยไปฝากตัวที่วัดเป็นศิษย์ของพระและอาศัยวัดเป็นสถานที่ศึกษา ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษจึงใช้คำว่า "matriculated student" ที่แปลว่า "นักศึกษาที่ได้รับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว" เรียกผู้เข้าศึกษา เช่นเดียวกับคำว่า "นิสิต"

ทั้งนี้ ในอดีต โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้จบการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายและเรียนเพื่อสอบวิชาเป็นบัณฑิต และแม้ว่าในปัจจุบันการเดินทางจะสะดวกขึ้นเป็นอันมาก

เขตปทุมวันซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงไปเป็นย่านธุรกิจการค้าใจกลางเมือง นิสิตไม่มีความจำเป็นจะต้องพักในหอพักนิสิตทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้เข้าศึกษา เพื่อเป็นที่รำลึกถึงความเป็นมาของสถาบัน

เมื่อกล่าวถึงคำว่า "สามย่าน" สามารถอนุมานถึงจุฬาลงมหาวิทยาลัยได้ เพราะอาณาเขตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดต่อกับสี่แยก 2 แห่ง คือแยกสามย่านและแยกปทุมวัน ทั้งสองแห่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพมหานครและประเทศไทย เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ สถาบันการเงิน หอศิลป์และห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง

จนกลายเป็นภาพลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและถูกนำไปใช้ในการแปรอักษรของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ที่จัดขึ้นทุกปีระหว่างสองมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ

ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบไปด้วย 19 คณะวิชา 1 สำนักวิชา ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และมีหน่วยงานประเภท วิทยาลัย 3 แห่ง

บัณฑิตวิทยาลัย 1 แห่ง สถาบัน 14 แห่ง และสถาบันสมทบอีก 2 สถาบัน จำนวนหลักสูตรรวมทั้งสิ้น 506 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี 113 หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา 393 หลักสูตร ในจำนวนนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ 87 หลักสูตร

ประวัติ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 (นับวันขึ้นปีใหม่แบบไทยคือ พ.ศ. 2441) ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง

ด้วยมีพระราชปรารภที่จะทรงจัดการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันกาลสมัย จึงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิดพระองค์

และด้วยประเพณีโบราณที่ข้าราชการจะถวายตัวเข้าศึกษางานในกรมมหาดเล็ก ก่อนที่จะออกไปรับตำแหน่งในกรมอื่น ๆ ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445

เพื่อเป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาขั้นสูงต่อไปในอนาคต ดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแก่พระราชวงศ์ และข้าราชการซึ่งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในงานของโรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง ความตอนหนึ่งดังนี้

...เมื่อได้กล่าวถึงโรงเรียนนี้ ว่าจะเปนการสงเคราะห์แต่ตระกูลเจ้านายดังนี้ ใช่ว่าจะลืมตระกูลข้าราชการและราษฎรเสียเมื่อไร โรงเรียนที่มีอยู่แล้วแลที่จะตั้งขึ้นต่อไปภายน่า โดยมากได้คิดจัดการโดยอุส่าห์เต็มกำลังที่จะให้เป็นการเรียบร้อย พร้อมเพรียงเหมือนอย่างโรงเรียนนี้ แลคิดจะให้แพร่หลายกว้างขวาง เปนคนที่ได้เรียนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ทั้งจะมีโรงเรียนวิชาอย่างสูงขึ้นไปอีกซึ่งกำลังคิดจัดอยู่บัดนี้ เจ้านายตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้าว่าขุนนางว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึ่งขอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุส่าห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้

— พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะขยายการจัดการศึกษา เพื่อผลิตนักเรียนไปรับราชการในกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ ไม่เฉพาะกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน

โดยใช้วังวินด์เซอร์เป็นสถานที่ประกอบการเรียนการสอน และสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 พร้อมทั้ง พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริจัดตั้งขึ้น และได้ใช้เงินคงเหลือจากการที่ราษฎรเรี่ยรายกันเพื่อสร้างพระบรมรูปทรงม้า เป็นเงินจำนวน 982,672 บาท 47 สตางค์ มากกว่ามูลค่าการก่อสร้างพระบรมรูปทรงม้าถึงห้าเท่าตัว มาใช้เป็นทุนของโรงเรียนแห่งนี้

นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 1,309 ไร่เป็นเขตโรงเรียน โดยมีการจัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) ได้แก่ โรงเรียนรัฎฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา (โรงเรียนฝึกหัดครู) โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา (โรงเรียนกฎหมาย) และโรงเรียนยันตรศึกษา

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่ผู้ใดที่มีความประสงค์จะศึกษาขั้นสูงก็สามารถเข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459

พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้สังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการ

ซึ่งเป็นไปตามพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่ผู้มาร่วมงานพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน) เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ดังนี้

วันนี้เรายินดีที่ได้รับอัญเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้ว ในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม

แต่ในรัชสมัยของพระองค์ ยังมีเหตุติดขัด ซึ่งการจะยังดำเนินไม่ได้ตลอดปลอดโปร่ง ตัวเราเป็นรัชทายาทจึ่งรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่ง ที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์โดยรู้ว่าเมื่อทำได้สำเร็จแล้ว จะเป็นเครื่องเพิ่มพูนพระเกียรติยศ เป็นราชานุสาวรีย์เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของชาติไทยเรา

เป็นการสมควรยิ่งนักที่จะสร้างพระราชานุสาวรีย์อันใหญ่และถาวรเช่นนี้ ทั้งจะได้เป็นเครื่องที่จะทำให้บังเกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญด้วย เรามีความยินดีที่ได้เห็นการดำเนินล่วงมาได้มากแล้ว ในบัดนี้เราจะได้วางศิลาฤกษ์ด้วยความหวังที่แลเห็นความดีงามในอนาคตกาลแห่งมหาวิทยาลัยนี้

ส่วนการที่ดำเนินไปได้จนเป็นรูปถึงเพียงนี้แล้ว ก็ต้องอาศัยความอุตสาหะของกรรมการผู้ได้รับมอบเป็นหน้าที่ผู้อำนวยการ ประกอบกับความอุตสาหะแห่งบรรดาผู้มีหน้าที่เป็นครู อาจารย์สั่งสอนในโรงเรียนนี้ ของกรรมการที่ได้รับมอบหน้าที่ไปจากเราให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจงได้รับความขอบใจของเราแล้ว

และขอให้แสดงความขอบใจของเรานี้แก่ครู อาจารย์ทั้งหลายที่พยายามทำการตามหน้าที่อย่างสามารถด้วย ขอจงมีความเจริญสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคลทั่วกัน ความมุ่งหมายและกิจการซึ่งต่างก็ตั้งหน้าพยายาม เพื่อจะให้เป็นความดีความงามแก่มหาวิทยาลัยในเบื้องหน้านั้น ก็ขอให้ได้ผลสำเร็จ สมปรารถนาโดยเร็วเทอญฯ

— พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในระยะแรกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยอยู่เพียงระดับประกาศนียบัตรพร้อมกับเตรียมการเรียนการสอนในระดับปริญญา โดยจัดการศึกษาออกเป็น 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตปทุมวันและวิทยาเขตโรงพยาบาลศิริราช จัดการเรียนการสอนออกเป็น 4 คณะ

ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ส่วนโรงเรียนฝึกหัดครูย้ายกลับไปสังกัดกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ และโรงเรียนกฎหมายย้ายกลับไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)

ทรงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการติดต่อขอความร่วมมือจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผลให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษาในระดับปริญญาได้

หลังจากนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขยายการจัดการศึกษาโดยจัดตั้งคณะและแผนกอิสระเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ (โดยการรวมโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมและแผนกวิชาข้าราชการพลเรือน (คณะรัฐประศาสนศาสตร์เดิม) เข้าไว้ด้วยกัน)

แผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ แผนกอิสระสถาปัตยกรรมศาสตร์ และแผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังเริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจัดตั้งโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในปัจจุบัน)

ระหว่างปี พ.ศ. 2476–2486 การจัดการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยมีการโอนย้ายส่วนราชการออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางส่วนเพื่อจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ขึ้น

กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 2476 มีการโอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ไปขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน)และ พ.ศ. 2486 มีการโอนย้ายคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ และแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ เพื่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)

อย่างไรก็ตาม คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ยังคงใช้สถานที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อจัดการศึกษาอยู่ ดังนั้น ทั้ง 3 คณะจึงถูกโอนกลับมาเป็นคณะวิชาในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งในระยะต่อมา

เมื่อจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านภาษาและหนังสือหลายประการ เช่น ยกเลิกการใช้อักษร "ฬ" ให้ใช้ "ร, ล" แทน และ ยกเลิกการใช้ "ณ" ให้ใช้ "น" แทน

ดังนั้น จึงได้ปรากฏการเขียนชื่อมหาวิทยาลัยในรูปแบบอื่นอีก ได้แก่ "จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ ในปี พ.ศ. 2487 ก็มีการประกาศยกเลิกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และให้กลับไปใช้การเขียนภาษาในรูปแบบเดิม

การเขียนชื่อมหาวิทยาลัยจึงกลับเป็นแบบเดิม หลังจากนั้น ในช่วง พ.ศ. 2497–พ.ศ. 2514 ยังสามารถพบการเขียนนามมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ซึ่งไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่ "ณ" เช่น พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 4, 5 และ 6

ระหว่างปี พ.ศ. 2486–2503 มหาวิทยาลัยก็ได้ขยายการศึกษาไปยังสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้นโดยเน้นการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก โดยมีการจัดตั้งคณะขึ้นใหม่หลายสาขา

และตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างกว้างขว้าง พร้อมกับพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และก่อตั้งหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและงานบริการทางวิชาการแก่สังคม

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนมหาดเล็กซึ่งเป็นต้นกำเนิดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจนกระทั่งโรงเรียนได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 พระราชทานให้เป็นเพลงประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสื้อครุยพระราชทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ใช้เสื้อครุยได้ โดยสีพื้นของสำรด นั้นแบ่งออกเป็น 3 สี ได้แก่

พื้นสำรด "สีเหลือง" สำหรับฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์

พื้นสำรด "สีดำ" สำหรับระดับบัณฑิตและมหาบัณฑิต เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันเสาร์

พื้นสำรด "สีแดงชาด" สำหรับระดับดุษฎีบัณฑิต เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคาร

จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมพระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น

ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากวังไกลกังวล ทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในครั้งนั้น พระองค์ท่านได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ

ทรงเล่าว่าทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล จามจุรีงอกขึ้นที่บริเวณต้นไม้ซึ่งทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที สถานที่เรียนนั้นไม่มีที่ใดเหมาะเท่าจุฬาฯ จึงทรงนำมาปลูกไว้ที่จุฬาฯ และจบกระแสพระราชดำรัสว่า

...จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล

— พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สีชมพู เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ได้เสนอว่าชื่อของมหาวิทยาลัย คือ พระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคาร

และโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สีชมพูเป็นสีประจำพระองค์ จึงสมควรอัญเชิญสีประจำพระองค์เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคล



ขอบคุณ วิกิพีเดีย

สิริสวัสดิ์โสรวารค่ะ



Create Date : 26 มีนาคม 2559
Last Update : 26 มีนาคม 2559 16:32:34 น. 0 comments
Counter : 1143 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.