"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 

ฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมไทย




เรือนเครื่องสับ มีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ จะมี “ฐานานุศักดิ์” ในตัวของมันเองอยู่ทุกหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะความเป็นผู้พักอาศัย เช่น ในระยะแรกยังมีฐานะไม่ดีนักก็อาจใช้ “ฝากระดานตีเรียบ” ฝีมือช่างไม่สูงนัก

แต่เมื่อฐานะดีขึ้นอาจเปลี่ยนเป็น “ฝาปะกน” ซึ่งมีลูกตั้งและลูกเซ็นประกอบกันขึ้นมาเพื่อความงดงามและคงทนถาวรมากขึ้น หรืออาจทำเป็น “ฝาลูกฟักกระดานดุน” ที่ทำให้ฝามีความหนามากขึ้น

ข้อสังเกตอีกแห่งหนึ่งที่ทำให้ทราบว่าบ้านใดเป็นบ้านพักของเจ้านายหรือผู้มีฐานะสูง คือ บริเวณ “หย่องหน้าต่าง” ของกรอบเช็ดหน้าจะมีลักษณะแตกต่างออกไปตามฐานะของเรือน ถ้าเป็นเรือนธรรมดาอาจเป็นแผ่นกระดานเรียบ ๆ

ถ้าฐานะสูงขึ้นมาก็เป็นลูกฟักกระดานดุน ลูกกรงมะหวด จนสูงที่สุดก็จะแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายก้านแย่ง ลายพฤกษชาติ แต่ไม่ได้แกะสลักทั้งหลังเหมือนอาคารทางพระพุทธศาสนา

ดังนั้น เราจะทราบฐานะของผู้ที่พักอาศัยในเรือนนั้น ๆ ได้จากลักษณะรูปแบบอาคาร ถ้าเป็นเจ้านายระดับสูงอาคารก็จะเริ่มใหญ่ขึ้น คือ จะมีขนาดตั้งแต่ ๖ แปลานขึ้นไป การประดับตกแต่งนอกจากที่หย่องหน้าต่างแล้ว ก็ยังมีในส่วนอื่น ๆ ด้วย

เช่น การทำลูกกรงประดับต่าง ๆ ซึ่งในเรื่องฐานานุศักดิ์ของเรือนเครื่องสับนี้จะเห็นตัวอย่างได้จากเรือนหมู่ในพระที่นั่งวิมานเมฆ เรือนทับขวัญที่จังหวัดนครปฐม วังบ้านหม้อ วังปลายเนิน วังสวนผักกาด เป็นต้น

เรือนเครื่องก่อ แต่เดิมการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยจะใช้ไม้เป็นหลัก แต่เพื่อความคงทนถาวรในการใช้งานจึงมีการพัฒนาวัสดุก่อสร้างใช้เป็นการก่ออิฐถือปูนขึ้นมา

ในสมัยโบราณมักจะสร้างอาคารก่ออิฐถือปูนกับอาคารทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเริ่มมีการนำไปใช้ในการก่อสร้างพระราชวังหลวง วังของเจ้านาย และเรือนของข้าราชบริพารระดับสูง การก่อสร้างอาคารก่ออิฐถือปูนจะทำรากแผ่แล้วก่อผนังขึ้นไป ส่วนโครงสร้างหลังคายังทำเป็นเครื่องสับอยู่เหมือนเดิม

วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างใช้ “ปูนสอ” เชื่อมยึดกับแผ่นอิฐ ปูนสอหรือปูนขาว (lime stone) ได้จากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอย แล้วนำมาผสมกับทรายหยาบและน้ำผึ้ง หากเป็นงานขนาดใหญ่จะใช้น้ำผึ้งที่เคี่ยวจากตาลโตนด แต่ถ้าเป็นงานละเอียดจะใช้น้ำผึ้งจากรวงผึ้งนอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความเหนียวได้โดยการเติม “กาวหนัง” หรือยางไม้บางชนิดลงไปได้ด้วย

รูปแบบของเรือนเครื่องก่อ อาคารเครื่องก่อมักจะเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีความคงทนกว่าเรือนเครื่องสับโดยจะมีส่วนที่เป็น “เดี่ยวล่าง” และ “เดี่ยวบน” ของอาคารเป็นเครื่องก่อและส่วนหลังคาเป็นเครื่องสับก่อนที่จะเป็นเครื่องก่อทั้งหลังก็ยังมีการสร้างส่วนเดี่ยวล่างเป็นเครื่องก่อ ส่วนเดี่ยวบนเป็นเครื่องสับ

เมื่อต้องการสร้างอาคารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงต้องก่อส่วนเดี่ยวบนด้วยอิฐ แล้วฉาบปูนแทนเครื่องสับ บริเวณทางเข้าออกและช่องระบายอากาศที่ผนังจะทำคานทับหลังด้วยไม้ แต่อาคารบางที่มีการก่ออิฐเป็น “ทรงพนม” ก็ไม่ต้องมีคานทับหลังพบในอาคารเครื่องก่อขนาดใหญ่ เช่น พระราชวัง

การวางแผนผังเรือนหมู่เครื่องก่อ มีลักษณะคล้ายกับเรือนหมู่เครื่องสับ คือจะประกอบด้วย
- เรือนเอก ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของเรือนหมู่ หรือวางตามความยาวในทิศทางตามตะวัน เพื่อการรับลมที่มาจากทิศใต้
- เรือนรี ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนอกชาน
- เรือนขวางและเรือนครัว ตั้งอยู่ทางตะวันออกหรือตะวันตก โดยมีนอกชานแล่นกลางเป็นตัวเชื่อมเรือนทุกหลัง
- บริเวณนอกชาน มักจะถมดินสูงขึ้นจากระดับเดิม แล้วปลูกต้นไม้ไว้ตรงกลางนอกชานเพื่อความร่มรื่น
- บันไดขึ้นลงอาคาร จะอยู่ในตำแหน่งด้านทิศเหนือหรือใต้

การสร้างเรือนหมู่เครื่องก่อจะทำฐานรากโดยการขุดหลุมตามขนาดของเรือนหมู่ แล้วก่ออิฐเป็นฐานเพื่อรับน้ำหนักของตัวเรือน ยกเว้นส่วนนอกชานซึ่งจะถมดินขึ้นมาให้สูงให้ได้ระดับและบดอัดดิน (แต่เดิมใช้ดินลูกรัง ดินจอมปลวก) แล้วปูกระเบื้องดินเผายึดแนวด้วยปูนทราย

สถาปัตยกรรมไทยทรงเครื่องลำยอง การออกแบบและก่อสร้างสถาปัตยกรรมไทยในทุกภาค ทุกสมัย การจัดระดับความสำคัญของอาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานภาพของเจ้าของอาคารหรือผู้ที่ไปใช้อาคารนั้น ๆ เช่น เป็นกษัตริย์ ขุนนาง คหบดี หรือประชาชนธรรมดา ดังนั้น อาคารทั้งหลายจึงต้องมีการแสดงออกถึง “ฐานานุศักดิ์”

เช่น อาคารที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชา อาคารที่สร้างเป็นเทวาลัย หรืออาคารที่สร้างขึ้นถวายพระมหากษัตริย์ จะต้องแสดงความสำคัญของอาคารนั้น ๆ โดยการประดับตกแต่งให้มีความสวยงาม และใช้วัสดุที่คงทนถาวรมากกว่าอาคารของประชาชนธรรมดา เช่น การก่ออิฐถือปูน การนำหินมาก่อสร้าง

อาคารที่มีฐานานุศักดิ์สูงจะตกแต่งด้วยความประณีต โดยมีการใช้องค์ประกอบที่มีลวดลายที่เรียกว่า “เครื่องลำยอง” แปลว่า เครื่องประดับที่ทำให้งดงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ส่วนของหลังคา

สถาปัตยกรรมทรงเครื่องลำยองจะไม่นำไปใช้กับประชาชนธรรมดา แต่จะใช้กับอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้า พระมหากษัตริย์ หรือเป็นอุเทสิกเจดีย์เท่านั้น

เครื่องลำยองที่ใช้กับหลังคาหน้าจั่ว ในสมัยโบราณประเทศไทยมีทรัพยากรไม้ที่มีคุณภาพดี เช่น ไม้สัก ไม้ตะเคียนทอง ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้เต็งรัง

ดังนั้น การก่อสร้างส่วนหลังคาจึงนำไม้มาใช้เป็นหลักที่พักอาศัยหรือบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป บริเวณหลังคาก็จะมีปั้นลม จากจุดนี้ช่างได้พัฒนารูปแบบจนเกิดเป็นลวดลายที่งดงาม การใช้เครื่องลำยองประดับตกแต่งส่วนหลังคาและหน้าบันจะมีองค์ประกอบดังนี้

ช่อฟ้า คือ ส่วนขององค์ประกอบที่อยู่บนหลังคาในตำแหน่งที่สูงที่สุดของหลังคา

ใบระกา เป็นองค์ประกอบของ “ตัวลำยอง” ที่สันนิษฐานกันว่านำมาจากลักษณะของขนปีกของครุฑ ซึ่งนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เช่น ใบระกาน่องสิงห์ ใบระกาหอยจับหลัก ใบระกากระหนก ใบระกาใบเทศ

รวยระกา งวงไอยรา นาคสะดุ้ง ในการก่อสร้างโครงสร้างหลังคาทรงจั่วจะมุงด้วยกระเบื้องหางมน หางเหยี่ยวหรือกระเบื้องกาบกล้วย เป็นต้น จะทำให้เกิดช่องว่างของระแนง ซี่งทำให้นกหนูสามารถเข้าไปทำรังภายในได้ จึงได้มีการออกแบบปิดรูระแนง

ฉะนั้น การออกแบบองค์ประกอบหน้าบันทรงเครื่องลำยองจึงได้ออกแบบต่อจากเดิมที่เป็นปั้มลมธรรมดาให้เป็นลวดลายคันลำยอง ใบระกา รวยระกา ขึ้นเพื่อป้องกันสัตว์เข้าไปทำรัง และทำให้จั่วหลังคาเกิดความงดงามอีกด้วย

หางหงส์ การออกแบบรวยระกานาคสะดุ้ง จะทำการติดตั้งบนหัว แปลาน แปหาร แปหัวเสา และอกไก่ แล้วยึดติดต่อโดยการใช้ปูนหลบกระเบื้องอีกชั้นหนึ่ง ส่วนบริเวณปลายของนาคสะดุ้งจะออกแบบเป็นหางหงส์ ซึ่งอาจมีการออกแบบให้แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแต่ละตระกูลช่างในสมัยต่าง ๆ เช่น อาจออกแบบเป็นรูปเศียรนาค กระหนก นาคเบือน

ลานหน้าบัน ความงดงามของเครื่องลำยองในหลังคาทรงจั่วที่เห็นได้เด่นชัด และมีการออกแบบหลากหลายขึ้นอยู่กับฝีมือและความชำนาญของช่างในสมัยก่อนนั้น ส่วนใหญ่เป็นการแกะสลักไม้แล้วปิดทองคำเปลวประดับกระจกสี

การออกแบบลวดลายที่บริเวณหน้าบันขึ้นอยู่กับขนาดของหน้าบันซึ่งอาจออกแบบเป็นลายก้านขด ลายกระหนก หรือลายเปลว แล้วแต่ความเหมาะสมบางแห่งอาจออกเป็นรูปเทพชุมนุมอยู่ที่บริเวณรูปจั่ว และมีพระนารายณ์ทรงครุฑเข้าประดิษฐานกลางหน้าบัน เช่น รูปพระพรหม พระศิวะ

สถาปัตยกรรมไทยเครื่องยอด ในประเภทสถาปัตยกรรมไทยที่นำมาออกแบบกันตั้งแต่สมัยโบราณจะมีความผูกพันกับศาสนาเป็นหลัก ซึ่งจะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา

จึงถึงปัจจุบันสถาปัตยกรรมไทยที่ยังคงทนถาวร ได้รับการออกแบบเป็นศาสนสถาน เช่น ปราสาทหินในสมัยลพบุรีที่พบได้ อาทิ ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินศรีขรภูมิ มีอายุการใช้งานทนทานกว่าศตวรรษ

ซึ่งเป็นการสร้างอาคารเพื่อเป็นพุทธบูชาและเทวบูชา ดังนั้นการออกแบบจึงเน้นรูปทรงไปทางตั้ง เพื่อให้ได้ลักษณะที่สูงเด่นกว่าอาคารอื่น ๆ ทำให้เกิดลักษณะของสถาปัตยกรรมเครื่องยอดชนิดต่าง ๆ ขึ้นมา

เครื่องยอดต่าง ๆ จะนำไปใช้เฉพาะเป็นองค์ประกอบของอาคารที่ออกแบบโดยเน้นส่วนหลังคา เรียกว่า “หลังคาเครื่องยอด” เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น บุษบก มณฑป แต่ก็ยังสามารถนำเครื่องยอดผนวกเข้ากับอาคาร เป็นส่วนของหลังคาเพื่อเน้นความสำคัญ

เช่น การใช้เครื่องยอดประกอบกับตัวอาคารในงานสถาปัตยกรรมไทย หน้าบันทรงเครื่องลำยองที่ออกแบบเป็นจัตุรมุข ชั้นลดต่าง ๆ ตั้งแต่ ๓ ชั้นขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อแสดงความเป็นปราสาทที่ประทับของเทพเจ้าหรือกษัตริย์ ดังนั้นเครื่องยอดจึงได้รับการออกแบบให้อยู่ในรูปแบบที่มีข้อกำหนดทางฉันทลักษณ์หลายชนิด เช่น
๑. เครื่องยอดปล้องไฉน
๒. เครื่องยอดบัวกลุ่ม
๓. เครื่องยอดทรงมงกุฎ (ทรงชฎา ทรงพระเกี้ยว)
๔. เครื่องยอดบันแถลง (ทรงจอมแห)
๕. เครื่องยอดทรงปรางค์
๖. เครื่องยอดเจดีย์เหลี่ยมย่อไม้สิบสอง
๗. เครื่องยอดเบ็ดเตล็ด.


ผู้เขียน : รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต ประเภทสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สำนักศิลปกรรม
ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑๕๙, สิงหาคม ๒๕๔๗ ขอขอบพระคุณค่ะ


สิริสวัสดิ์โสรวาร สิริมารรมเยศค่ะ




 

Create Date : 31 กรกฎาคม 2553
0 comments
Last Update : 2 สิงหาคม 2553 16:34:43 น.
Counter : 2193 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.