"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
26 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
นิยามของตรา (Blazon)







ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร
ที่ใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1837
เป็นตราอาร์มที่มีคำนิยามยาวเพราะความซับซ้อนของตรา
ที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มารวมกันเป็นสหราชอาณาจักร





นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง

ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติม และบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต)

“นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยาม ตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป

เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม

นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยาย และการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา

นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge) แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทับ


ไวยากรณ์

การให้ “นิยามของตรา” เป็นไปตามสูตรที่วางไว้เคร่งครัด สิ่งที่บรรยายแรกสุดและสำคัญที่สุดของตราคือโล่ (shield) ที่เริ่มด้วยการบรรยายสีของพื้นตรา

นิยามของตราอาร์มเริ่มโดยการบรรยายสีของพื้นตรา (Field) หรือสีที่ใช้ในฉากหลังของตรา หรือแต่ละส่วนของตราที่บรรยาย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผิวตรา (Tincture) สีเดียว เช่นถ้าบรรยายว่าผิวตราเป็น “เอเซอร์” (Azure) ก็จะทราบว่ามีพื้นสีน้ำเงิน

หรือถ้าใช้ในการทำ “เอเซอร์” แม่พิมพ์ก็จะเป็นแนวขีดนอน ถ้าเป็นพื้นตราที่ซับซ้อน ก็จะใช้หลักการบรรยายพื้นตราซับซ้อน (Variation of the field) ในการให้คำนิยาม ตามด้วยผิวตรา เช่นถ้าบรรยายตราว่า “Chequy gules and argent” ก็จะหมายความว่าเป็นตราที่มีพื้นตราที่เป็นตาหมากรุกขาวสลับแดง

ถ้าเป็นโล่ที่แบ่งออกเป็นช่อง (Division of the field) ก็จะบรรยายส่วนที่ช่องตราแต่ละช่อง ตามด้วยสีของผิวตราของช่องตราย่อยตามลำดับที่เริ่มจาก “dexter” (ช่องซ้าย (ขวาของผู้ถือโล่)) ไปยัง “sinister” (ช่องขวา (ซ้ายของผู้ถือโล่)) ถ้าแบ่งตามแนวตั้ง, “chief” (ตอนบน) และ “base” (ตอนล่าง) ถ้าแบ่งตามแนวนอน

หรือถ้าแบ่งเป็นสี่ส่วนก็อาจจะเริ่มด้วย “first and fourth” (บนซ้ายและล่างขวา) ตามด้วย “second and third” (บนขวาและล่างซ้าย) หลังกจากบรรยายช่องตราส่วนต่างๆ แล้วก็จะตามด้วยโล่ภายในตรา (Escutcheon) “en surtout” หรือ “โล่เล็ก” (ถ้ามี)

ตัวอย่างการบรรยายโล่ที่ประกอบด้วยช่องตราก็ได้แก่ “Party per pale argent and vert” ซึ่งหมายความว่า “แบ่งสองแนวตั้ง ครึ่งซ้ายเงิน ครึ่งขวาเขียว” หรือ “Quarterly argent and gules” ซึ่งหมายความว่า “แบ่งสี่ ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย ขาว, แดง, ขาว, แดง”

องค์ประกอบที่สองที่บรรยายคือเครื่องหมายอิสริยาภรณ์ (Charge) และสีของผิวตราของเครื่องหมายต่างๆ ที่ปรากฏบนผิวตราบนโล่ เช่น “a Bend Or” ก็แปลว่าแถบทแยงซ้ายเป็นสีทอง

จากเครื่องหมายก็เป็นลวดลายอื่นที่ปรากฏบนหรือรอบโล่ ถ้าสัญลักษณ์เป็นนกหรือสัตว์ ก็จะบรรยายลักษณะลักษณะการวางท่า (Attitude) ตามด้วยผิวตรา และต่อด้วยสิ่งต่างๆ ที่ใช้สีต่างจากสีหลักของเครื่องหมาย

เช่น “An eagle displayed gules, armed and wings charged with trefoils Or” ซึ่งแปลว่า “เหยี่ยวสีแดงแผ่, ปลายปีกมีจิกสามแฉกสีทอง” (ดูตราแผ่นดินของบรานเดนบวร์ก)

หลังจากบรรยายโล่แล้วก็จะเป็นการบรรยายเครื่องประดับอื่นๆ ที่รวมทั้งมงกุฎ/จุลมงกุฎ (ถ้ามี), หมวกเกราะ, แพรประดับ (torse), พู่ประดับ (mantling), เครื่องยอด (Crest) และ คำขวัญ (motto) หรือ war cry (ถ้ามี)

จากนั้นก็จะเป็นการบรรยายประคองข้าง (Supporters), ฐานรอง (Compartment) ตามความเหมาะสมเช่นในกรณีของตราของหลวงหรือของรัฐ หรือ ตราของขุนนางสืบตระกูล

ส่วนประกอบแต่ละอย่างก็จะได้รับการบรรยายตามโครงสร้าง ทางไวยากรณ์ตามแบบเดียวกับการบรรยายสัญลักษณ์บนโล่ โดยการกล่าวถึงสิ่งที่ปรากฏ บรรยายลักษณะ/การวางท่า ตามด้วยสี และส่วนอื่นของสิ่งที่บรรยายที่ใช้สีที่ต่างจากสีหลัก

“Azure, a bend Or”
พื้นตราน้ำเงิน
แถบทแยงซ้ายสีทอง”
“Party per pale argent and vert, a tree eradicated counterchanged”
“แบ่งสอง ครึ่งซ้ายเงิน
ครึ่งขวาเขียว
ต้นไม้คาบสองส่วน
แต่กลับ”สี
ตราอาร์มของเบห์นสดอร์ฟ
Quarterly argent and gules
“แบ่งสี่ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย ขาว, แดง,
ขาว, แดง”
Argent, an eagle displayed gules, armed and wings charged with trefoils Or
“พื้นตราขาว, เหยี่ยวสีแดง, ปีกกางแต่งด้วยจิกสามแฉกสีทอง”
ตราแผ่นดินของบรานเดนบวร์ก


ถ้าเป็นโล่ประกอบจากหลายโล่ การบรรยายก็จะทำทีละแผง เริ่มด้วยแถวบน (chief) ลงมาถึงแถวล่าง (base) และภายในแถวก็บรรยายจากขวาของผู้ถือโล่ไปทางซ้าย (สำหรับผู้ดูโล่จากซ้ายไปขวา) โล่ที่มีการแบ่งใช้คำบรรยายว่า “party per” หรือ “แบ่งสอง”

ในอิสริยาภรณ์อังกฤษ (English heraldry) หรือ “parted per [line of division]” ในอิสริยาภรณ์สกอตแลนด์ (Scottish heraldry) แต่คำว่า “party” หรือ “parted” มักจะทิ้งจากคำบรรยาย เช่น “Per pale argent and vert, a tree eradicated counterchanged” (ครึ่งซ้ายเงินและเขียว ต้นไม้คาบสองส่วนกลับสี)

การบรรยายสีบางครั้งก็จะแทนด้วย “of the first” หรือ “of the second” และต่อไป (สีแรก สีที่สอง ...) เพื่อเลี่ยงการเรียกสีที่ซ้ำกัน การบรรยายก็ตามลำดับของรงคตราที่บรรยาย “Counterchanged” หมายความว่าสัญลักษณ์คาบ ระหว่างสองบริเวณหรือสองช่องตรา และใช้สีของสองช่อง ที่แบ่งแต่กลับสีกลับข้างกันเพื่อให้เด่นจากพื้นหลัง

ตราอาร์มเดียวกันอาจจะวาดได้หลายลักษณะ และแต่ละภาพก็ถือว่ามีความหมายเดียวกัน เช่นการเขียนอักษร “ก” อาจจะใช้ฟอนต์ใดก็ได้เช่น “อักษราเมธี” หรือ “นาคราช” แต่ไม่ว่าจะเป็นฟอนต์ใดที่ใช้ต่างก็ยังเป็นอักษร “ก” ด้วยกันทั้งสิ้น

นอกจากนั้นรูปทรงของตราอาร์มก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญ ยกเว้นบางเพียงตราเท่านั้นที่มีระบุรูปทรงอย่างเฉพาะเจาะจง

ตราอิสริยาภรณ์เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น เมื่อเสมียนอังกฤษยังคงพูดภาษาฝรั่งเศส ฉะนั้นศัพท์ที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของตราอิสริยาภรณ์อังกฤษจึงมาจากภาษาฝรั่งเศส และจะใส่คำคำวิเศษณ์หลังจากคำนามแบบภาษาฝรั่งเศส แทนที่จะตั้งไว้ข้างหน้าคำนามเช่นในไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ


นิยามซับซ้อน

คำนิยามสมบูรณ์ของแต่ละตราก็มีระดับความซับซ้อนที่ต่างกันไป ตั้งแต่นิยามที่เป็นคำคำเดียว ไปจนถึงนิยามที่วนเวียนที่บรรยายตราที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบอันซับซ้อน

หมายเหตุ: แปลตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนนิยามของตรา


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร สิริมานปรีดิ์เขษมค่ะ


Create Date : 26 มีนาคม 2553
Last Update : 3 สิงหาคม 2553 16:59:59 น. 0 comments
Counter : 2485 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.