พี่น้องแย่งของกันจะจัดการได้อย่างไร





    เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับกรณีที่ น้องแย่งพี่ พี่แย่งน้อง ผู้ปกครองหลายท่านคงปวดหัวกับเหตุการณ์แบบนี้และยังหาวิธีแก้ปัญหาไม่ได้ สุดท้ายลงท้ายด้วยคำว่า พี่ก็ยอมน้องไปสิ คนเป็นพี่จึงต้องจำยอมเป็นฝ่ายเสียสละในทุกครั้งไป ก่อให้เกิดปัญหาการอิจฉาน้องตามมาด้วย น้องก็จะได้ใจที่เมื่อไรที่งอแง น้ำตาไหล กระทืบเท้า เป็นอันต้องชนะพี่แน่นอน  ส่งผลให้ผู้ปกครองต้องครุ่นคิดอย่างหนักในการซื้อ จะเลือกซื้อสองชิ้นหรือชิ้นเดียวดี จะเลือกซื้อสีเดียวหรือสองสีดี

สาเหตุการของแย่งของ

-    ความอิจฉา ซึ่งเกิดได้ในวัยเด็ก ที่ไม่อยากให้ใครได้ดีไปกว่าใคร ต้องเป็นของฉันคนเดียวเท่านั้น

-    ความน้อยเนื้อต่ำใจ เมื่อเด็กไม่เคยได้สิ่งที่อยากได้ แต่ผู้ปกครองสามารถสรรหามาให้คนอื่นที่ไม่ใช่ลูกได้

-    ความอยากได้ อยากมี เด็กทุกคนอยากมีสมบัติเป็นของตัวเองและไม่อยากแบ่งปันให้ใครเล่น อยากมีทุกอย่างเหมือนที่เด็กคนอื่นมีกัน

-    การเลี้ยงดูที่ไม่เท่ากัน เช่น พ่อรักน้อง แม่รักพี่ ใครรักใครก็จะสรรหามาให้แต่คนที่ตัวเองรักโดยไม่มองถึงลูกคนอื่นๆที่ก็อยากได้เช่นกัน

เมื่อเราพอทราบปัญหาการแย่งของกันแล้ว เราก็จะสามารถกำจัดปัญหาเหล่านี้ได้ทีละขั้นตอน ดังนี้

-    ส่งเสริมให้ลูกรักกัน     เริ่มจากการที่เริ่มมีน้องคนที่สอง การให้พี่มีส่วนร่วมในการเลี้ยงน้อง ช่วยคุณแม่หยิบจับของให้น้อง ดูแลน้องแทนแม่เวลาที่แม่ไม่สามารถอยู่ได้ด้วยในระยะสั้น ก็จะทำให้คนเป็นพี่มีความรู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยผู้ปกครองและอยากที่จะเป็นพี่ที่ดี เด็กจะรู้ความหมายด้วยตัวเองเองว่า การเป็นพี่ที่ดีต้องทำอย่างไรเพื่อให้น้องรักและแม่ก็ภูมิใจ

-    การซื้อของโดยการเดินดูก่อนทั้งพี่ทั้งน้อง  หมายถึง เมื่อเราอยากให้อะไรกับลูกอย่าเพิ่งซื้อโดยทันที ให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยที่อยู่ในการควบคุมของผู้ปกครองในเรื่องราคาและประโยชน์ ผู้ปกครองสามารถให้คำแนะนำในระหว่างการเลือกสิ่งของนั้นๆ ให้เดินดูก่อนและยังไม่ตัดสินใจ เมื่อมีโอกาสแล้วจึงถามความต้องการที่แน่ชัด ให้เด็กอธิบายว่าทำไมถึงอยากได้สิ่งของชิ้นนี้ เด็กจะรู้สึกว่าเค้าได้ตัดสินใจเองในการเลือก เค้าจะเข้าใจวิธีการเล่น /ใช้ เมื่อน้องมาขอเล่น เค้าจะรู้สึกว่า อยากที่จะสอนให้น้องเล่นเป็น เหมือนที่ผู้ปกครองให้คำแนะนำก่อนการตัดสินใจซื้อ เด็กจะเข้าใจกันเองว่า สิ่งไหนของใคร สิ่งไหนไม่ใช่ของเรา

-    การสอนให้เด็กเคารพซึ่งกันและกัน ซื่อสัตย์ต่อกันและตนเอง เช่น กรณีที่น้องอยากเล่นของพี่แต่พี่ไม่อยู่ ผู้ปกครองต้องสอนให้เด็กรู้จักคำว่าซื่อสัตย์ต่อตนเอง  สิทธิ์ของตัวเอง   ไม่ก้าวก่ายสิ่งของของคนอื่น ไม่หยิบจับเอามาเล่นเป็นของตัวเองต้องรอให้พี่กลับมาก่อนแล้วจึงขออนุญาต ข้อนี้สำคัญมากเพราะหากเด็กไม่รู้จัก การเคารพในสิทธิ์ของตนและคนอื่นแล้วเมื่อโตขึ้นอาจเป็นปัญหาสังคมตามมาในเรื่องของ ขโมยหรือการที่จะทำทุกอย่างมาเป็นของเรา ทำทุกอย่างให้คนอื่นมายอมรับโดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไร ไม่รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ดังนั้นผู้ปกครองต้องตระหนักให้ดีในเรื่องนี้

-    การสอนให้เด็กรู้จักระเบียบ วินัยในการอยู่ร่วมกัน  ผู้ปกครองต้องสอนให้เด็กรู้จักการนำของเล่นของใช้มาใช้ด้วยกัน ไม่มีใครเป็นเจ้าของทุกอย่างเป็นของส่วนรวมที่ทุกคนสามารถเล่นได้ ใช้ได้ ให้รู้จักการเก็บเข้าที่ ช่วยกันเก็บ แยกแยะหน้าที่ในการเก็บ ข้อนี้จะส่งผลให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนเองในสังคมและการรักษากฎของสังคม

-    การสอนให้เด็กรู้จักแบ่งปันและรู้จักรอด้วยความอดทน การแบ่งปันจะทำให้เด็กมีความภาคภูมิใจเมื่อได้ให้ ก่อให้เกิดความสุข การยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุข และอีกฝ่ายที่เป็นฝ่ายรับต้องรู้จักรอ เก็บอาการความอยากและอยู่ในความสงบ ใจเย็นและรู้จักการอดทน ยอมรับเมื่อมีตัวแปรอื่นเข้ามาที่บางครั้งอาจก่อให้เกิดความผิดหวัง ในกรณีที่รอแล้วอาจจะไม่ได้ตามที่ตัวเองอยากได้อยากมี

-    การสอนให้เด็กรู้จักใช้คำว่า ขอบคุณและไม่เป็นไร ผู้ปกครองต้องสอนให้เด็กรู้จักบุญคุณคน รู้จักการขอบคุณเมื่อได้รับ รู้จักกล่าวตอบเพื่อแสดงถึงความยินดีที่จะให้ด้วยใจจริงด้วยคำว่า ไม่เป็นไร
หากผู้ปกครองสามารถทำได้ในทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อาจจะต้องใช้เวลาและความอดทนมาก แต่นั่นถือว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามาก เพราะเราไม่สามารถอยู่กับลูกได้ไปตลอด แต่ในความเป็นพี่น้องกันเมื่อไม่มีเรานั้นมีความหมายมาก เด็กจะรู้สึกยังไม่ขาด ยังมีอยู่ และเป็นสิ่งที่ต้องดูแล ห่วงใยกันไปตลอดชีวิตนอกจากพ่อแม่แล้ว เพราะเมื่อในอนาคตเด็กต้องมีครอบครัวแยกจากกันไป ความผูกพัน ความห่วงใยนั้นจะเป็นสิ่งเดียวที่มีค่า ดังกาวที่ติดอยู่ที่ใจระหว่างพี่ระหว่างน้องตลอดไป


เก้าอี้หัดนั่ง พัดลม USB สบู่อาหรับขิง





Create Date : 25 พฤษภาคม 2559
Last Update : 25 พฤษภาคม 2559 13:51:00 น.
Counter : 1146 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

บนบน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤษภาคม 2559

1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog