<<
กรกฏาคม 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
8 กรกฏาคม 2555
 

พิธีสืบชะตา

โบราณมีคำสอนและพิธีกรรมหลากหลาย เพื่อให้ผู้คนรุ่นปู่-ย่า รวมถึงลูกหลาน ได้อยู่ดีมีสุขกันถ้วนหน้า แต่หลายคนยังอาจไม่เข้าใจกับคำว่า 'สืบชะตาคน' การสืบชะตามีสืบทอดพิธีกรรมกันมายาวนานแล้ว และมักกระทำในวันสำคัญของบุคคล เช่น วันคล้ายวันเกิด วันได้รับยศหรือศักดิ์ วันขึ้นบ้านใหม่ หรือไม่ก็กระทำเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีเคราะห์ร้าย การสืบชะตาจึงไม่มีช่วงเวลาที่อิงกับเทศกาล หรือฤดูกาลใดๆ

ความหมายของการสืบชะตาคือ การต่ออายุ เป็นพิธีกรรมที่กระทำตามความเชื่อว่า ถ้าทำแล้วอาการป่วย หรือเคราะห์ร้ายจะบรรเทาลง และจะมีสุขภาพดีขึ้น มีความสุขความเจริญยิ่งขึ้น

การสืบชะตา มักทำในห้องโถง ถ้าทำกับกลุ่มคนจำนวนมาก จะใช้สถานที่กว้างขึ้น เช่น ภายในวิหารวัด หรือสร้างปะรำพิธีขึ้นเป็นพิเศษ ส่วนประกอบสำคัญมีซุ้มที่ทำจากไม้ยาวสามท่อนที่ผูกปลายบนรวมกันเป็นรูปกระโจม บนท่อนไม้มีกล้วยอ้อยผูกติดไว้บนยอดกระโจมมีดอกไม้ธูปเทียน และอื่นๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันบ้างตามท้องถิ่นและตามตำราของผู้ประกอบพิธี นอกจากนี้มีสะตวงประจำตัวผู้เข้าพิธีด้วย เจ้าพิธีเป็นผู้ดำเนินขั้นตอนด้วยการว่าคาถาหลายบท และบางครั้งให้ผู้เข้าพิธีทำตามคำสั่งด้วย เช่น นำด้ายสายสิญจน์ที่แขวนลงมาจากกระโจมเคียนรอบศีรษะ เป็นต้น ถ้าทำกับคนจำนวนมาก จะมีด้ายสายสิญจน์โยงไปทั่วบริเวณและแขวนด้ายลงให้ผู้เข้าพิธีนำไปวนรอบศีรษะของตนเป็นคนๆ ผู้ประกอบพิธีมีทั้งที่เป็นพระภิกษุ และคฤหัสถ์ที่เคยบวชเป็นภิกษุแล้ว


พิธีสืบชะตาเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวล้านนา เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุบ้านเมืองหรือต่อชีวิตคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ขจัดภัยอันตรายต่างๆ ที่จะบังเกิดขึ้น แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1.สืบชะตาคน นิยมทำเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ได้ตำแหน่งใหม่ วันเกิดที่ครบรอบ 12 ปี ฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีผู้ทักทายว่าชะตาไม่ดีจำเป็นต้องสะเดาะเคราะห์ และสืบชะตา


2.สืบชะตาบ้าน นิยมทำเมื่อคนในหมู่บ้านประสบความเดือดร้อน เจ็บไข้ได้ป่วยหรือตายติดต่อกันเกิน 3 คนขึ้นไป คนในหมู่บ้านพร้อมใจกันจัดในวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล


3.สืบชะตาเมือง จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อน จะด้วยตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ หรือเพราะเหตุปั่นป่วนวุ่นวาย การจลาจล เกิดโรคภัยแก่ประชาชนในเมือง ฯลฯ เจ้านายท้าวพระยาบ้านเมืองจึงจัดพิธีให้อายุของเมืองดำเนินต่อเนื่องสืบไป


การได้ทำพิธีกรรมตามความเชื่อ ทำให้ผู้เข้าพิธีมีความรู้สึกดีขึ้น มีกำลังใจ และความเชื่อมั่นว่าตนจะสามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้ต่อไป .. ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมอะไรที่เป็นความเชื่อของคนโบราณ .. ก็มักทำให้มีผลทางจิตใจเป็นไปในทางที่ดีขึ้น .. 'ไม่เชื่อ อย่าลบลู่' ยังเป็นสุภาษิตที่ใช้ได้ตลอดไป..


สนับสนุนบทความดีๆ โดย //thaiorc.com/

โบราณมีคำสอนและพิธีกรรมหลากหลาย เพื่อให้ผู้คนรุ่นปู่-ย่า รวมถึงลูกหลาน ได้อยู่ดีมีสุขกันถ้วนหน้า แต่หลายคนยังอาจไม่เข้าใจกับคำว่า 'สืบชะตาคน' การสืบชะตามีสืบทอดพิธีกรรมกันมายาวนานแล้ว และมักกระทำในวันสำคัญของบุคคล เช่น วันคล้ายวันเกิด วันได้รับยศหรือศักดิ์ วันขึ้นบ้านใหม่ หรือไม่ก็กระทำเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีเคราะห์ร้าย การสืบชะตาจึงไม่มีช่วงเวลาที่อิงกับเทศกาล หรือฤดูกาลใดๆ

ความหมายของการสืบชะตาคือ การต่ออายุ เป็นพิธีกรรมที่กระทำตามความเชื่อว่า ถ้าทำแล้วอาการป่วย หรือเคราะห์ร้ายจะบรรเทาลง และจะมีสุขภาพดีขึ้น มีความสุขความเจริญยิ่งขึ้น

การสืบชะตา มักทำในห้องโถง ถ้าทำกับกลุ่มคนจำนวนมาก จะใช้สถานที่กว้างขึ้น เช่น ภายในวิหารวัด หรือสร้างปะรำพิธีขึ้นเป็นพิเศษ ส่วนประกอบสำคัญมีซุ้มที่ทำจากไม้ยาวสามท่อนที่ผูกปลายบนรวมกันเป็นรูปกระโจม บนท่อนไม้มีกล้วยอ้อยผูกติดไว้บนยอดกระโจมมีดอกไม้ธูปเทียน และอื่นๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันบ้างตามท้องถิ่นและตามตำราของผู้ประกอบพิธี นอกจากนี้มีสะตวงประจำตัวผู้เข้าพิธีด้วย เจ้าพิธีเป็นผู้ดำเนินขั้นตอนด้วยการว่าคาถาหลายบท และบางครั้งให้ผู้เข้าพิธีทำตามคำสั่งด้วย เช่น นำด้ายสายสิญจน์ที่แขวนลงมาจากกระโจมเคียนรอบศีรษะ เป็นต้น ถ้าทำกับคนจำนวนมาก จะมีด้ายสายสิญจน์โยงไปทั่วบริเวณและแขวนด้ายลงให้ผู้เข้าพิธีนำไปวนรอบศีรษะของตนเป็นคนๆ ผู้ประกอบพิธีมีทั้งที่เป็นพระภิกษุ และคฤหัสถ์ที่เคยบวชเป็นภิกษุแล้ว


พิธีสืบชะตาเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวล้านนา เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุบ้านเมืองหรือต่อชีวิตคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ขจัดภัยอันตรายต่างๆ ที่จะบังเกิดขึ้น แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1.สืบชะตาคน นิยมทำเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ได้ตำแหน่งใหม่ วันเกิดที่ครบรอบ 12 ปี ฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีผู้ทักทายว่าชะตาไม่ดีจำเป็นต้องสะเดาะเคราะห์ และสืบชะตา


2.สืบชะตาบ้าน นิยมทำเมื่อคนในหมู่บ้านประสบความเดือดร้อน เจ็บไข้ได้ป่วยหรือตายติดต่อกันเกิน 3 คนขึ้นไป คนในหมู่บ้านพร้อมใจกันจัดในวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล


3.สืบชะตาเมือง จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อน จะด้วยตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ หรือเพราะเหตุปั่นป่วนวุ่นวาย การจลาจล เกิดโรคภัยแก่ประชาชนในเมือง ฯลฯ เจ้านายท้าวพระยาบ้านเมืองจึงจัดพิธีให้อายุของเมืองดำเนินต่อเนื่องสืบไป


การได้ทำพิธีกรรมตามความเชื่อ ทำให้ผู้เข้าพิธีมีความรู้สึกดีขึ้น มีกำลังใจ และความเชื่อมั่นว่าตนจะสามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้ต่อไป .. ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมอะไรที่เป็นความเชื่อของคนโบราณ .. ก็มักทำให้มีผลทางจิตใจเป็นไปในทางที่ดีขึ้น .. 'ไม่เชื่อ อย่าลบลู่' ยังเป็นสุภาษิตที่ใช้ได้ตลอดไป..


สนับสนุนบทความดีๆ โดย //thaiorc.com/




Create Date : 08 กรกฎาคม 2555
Last Update : 8 กรกฎาคม 2555 11:09:47 น. 0 comments
Counter : 603 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

bubble ORC
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add bubble ORC's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com