space
space
space
<<
เมษายน 2561
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
21 เมษายน 2561
space
space
space

มาดืมชาใบมะรุมกันเถอะ (จำหน่ายชาใบมะรุม)


  สำหรับใครที่สนใจอยากมาลองดืมชามะรุมซึ่งค้นพบแล้วว่ามีประโยชน์มากมายทางกลุ่มสมุนไพรไทยป่าแขมได้จำหน่ายชาใบมะรุม ชาชงสมุนไพร สูตรลดไขมัน ลดความอ้วน ลดความดัน ล้างสารพิษตกค้างในร่างการ บำรุงสายตาสนใจสอบถาม ทักมาได้ค่ะ สั่งซื้อ – สอบถาม ไลน์ ID : @kommyshop (ใส่ @ จ้า) เปิดรับสมัครตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศด้วยค่ะ

บรรจุ : 20 ซอง/ถุง : 1.5 กรัม/ซอง
วิธีการเก็บรักษา : เก็บในที่แห้งและหลีกเลี่ยงแสงแดด
วิธีชง : ใส่ถุงชาลงถ้วยชา>>เติมน้ำร้อนเดือด>>ทิ้งไว้ 3-5 นาที>>พร้อมดื่ม

ซื้อ 3 ซอง แถม 1 ซอง
ด่วนมีจำนวนจำกัด ส่งทั่วประเทศ

มะรุมถือว่าเป็นสมุนไพรไทยสารพัสประโยชน์ มีสรรพคุณทางยามากมาย น้ำมันมะรุมยังเหมาะกับผู้หญิงที่ต้องการให้หน้าดูอ่อนกว่าวัย
ผิวอ่อนนุ่ม ไม่หยาบกร้าน สามารถฆ่าเชื้อราและแบคที่เรียบางชนิดได้
จึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการเป็นเชื้อราที่หนังศรีษะ มีอาการคันศีรษะ
และลดอาการผมร่วง นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ
หรือผู้ที่เป็นโรคเก๊าได้

ข้อมูลทั่วไป

มะรุม เป็นผัก สมุนไพรพื้นบ้านของเรา มีประโยชน์มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร, ยา และด้านอุตสาหกรรม
โดยธรรมชาติแล้วมะรุมเป็นไม้ยืนต้นที่เติบโตได้เร็ว ทนความแห้งแล้ง
สามารถปลูกได้ในเขตร้อน
เนื่องจากการเจริญเติบโตจะดีในแถบเอเชียซึ่งมีอาการร้อน
การเติบโตอาจสูงได้ถึง 4 m. และสามารถออกดอกในระยะเวลาปีแรกหลังจากที่ปลูก

มะรุมในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Moringa และมะรุม ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Moringa oleifera Lam มะรุมจะมีการเรียกต่างกันตามแต่ภูมิภาค เช่น ชาวอีสานเรียกกันอยู่สองอย่างคือ “ผักอีฮุม” และ “บักฮุ้ม” ชาวเหนือเรียกกันว่า “บะค้อนก้อม”

ถิ่นกำเนิด

มะรุมมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบางประเทศ
เช่น ศรีลังกา และอินเดีย นอกจากนี้ยังมีในทวีปแอฟริกา สามารถปลูกได้ง่าย
เจริญเติบโตดี ได้ในดินทุกๆประเภท มีความต้องการน้ำ ความชื้นปานกลาง
เราสามารถขยายพันธุ์มะรุมด้วยวิธีเพาะการเมล็ด และวิธีการปักชำ เวลาประมาณ 2
สัปดาห์หลังการปลูก ต้นมะรุมจะมีความสูงประมาณ 10-20 cm.

รูปแบบใบ ผล ดอก และเมล็ดของมะรุม

ลักษณะต่างๆของมะรุม ที่เว็บไซต์ SiamHerbs สรุปได้มีดังนี้
  • ใบมะรุมนั้นจะเป็นใบประกอบเหมือนขนนก ลักษณะใบจะแตกใบย่อยเป็น 3
    ชั้น มีความยาว 20 – 40 cm. เรียงกันแบบสลับ ใบย่อยมีความยาวประมาณ 1 – 3
    cm. ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายและฐานของใบ มีลักษณะมน ผิวใบบริเวณด้านล่าง
    จะมีสีอ่อนกว่าด้านบน ขณะที่ใบยังอ่อน จะมีขนเล็กน้อย
    รสชาติใบจะมีรสหวานและมัน
  • ผลมีลักษณะเป็นฝักยาว มีเปลือกเป็นสีเขียว และมีส่วนคอด
    ส่วนมนเป็นช่วงๆ ตามความยาวฝัก ฝักปกติจะยาวประมาณ 20 – 50 ซม.
    ฝักจะมีรสชาติหวาน
  • ดอกจะออกในช่วงฤดูหนาว บางพันธุ์จะมีลักษณะเด่นคือ
    สามารถออกดอกได้หลายๆครั้งต่อรอบปี ดอกมีลักษณะเป็นช่อขาว
    มีกลีบเรียงกันทั้งหมด 5 กลีบแยกกัน รสชาติดอกมีความขม มันเล็กน้อย
    และความหวาน
  • เมล็ดเป็นรูปเรขาคณิต 3 เหลี่ยม มีปีกซึ่งมีความบางหุ้มอยู่ 3 ปีก เส้นผ่านศูนย์กลางเมล็ด มีความยาวประมาณ 1 cm.

มะรุม สรรพคุณทางยาจากตำรา

เนื่องจากสรรพคุณที่มีมากมายและหลากหลายของมะรุม ดังนั้น SiamHerbs จึงได้จัดหมวดหมู่สรรพคุณให้ดูง่ายขึ้นดังนี้
  • การฆ่าเชื้อ
    • สารสกัดเอทานอลจากมะรุม สามารถฆ่าเชื้อราบางชนิดได้ เช่น
      • Trichophyton rubrum
      • Trichophyton mentagrophytes
      • Epidermophyton floccosum
      • Microsporum canis
    • สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
    • สามารถฆ่าเชื้อจุลลินทรีย์ได้
  • การรักษาโรคและบรรเทาอาการ
    • โรคขาดสารอาหารในเด็กที่มีอายุระหว่าง แรกเกิดถึง 10 ขวบ
    • ช่วยลดระดับน้ำตาลได้ จึงช่วยบรรเทาอาการผู้เป็นโรคเบาหวาน
    • เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลง
      จึงมีส่วนช่วยให้ความดันเลือดลดลงเช่นกัน ดังนั้นจึงช่วยรักษาโรคความดันได้
    • ช่วยรักษาโรคหวัด แก้ไอ และบรรเทาอาการไอเรื้อรัง
    • ช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น
      • โรคภูมิแพ้
      • โรคหอบหืด
      • โรคโพรงจมูกอักเสบ
    • ใช้บรรเทาโรคตาได้ทุกโรค
    • น้ำมันมะรุมสามารถฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ ลดอาการคันหนังศีรษะ และลดอาการผมร่วงได้
    • ช่วยบรรเทาโรคไขข้อ ปวดตามข้อ และกระดูกอักเสบ
  • การบำรุง
    • บำรุงผิวบรรณให้อ่อนนุ่ม ผิวไม่กร้าน เนื่องจากมะรุมมีสารต้านอนุมูลอิสระ

ผลการวิจัยมะรุมโดยมหาวิทยาลัยมหิดล

ผลการวิจัยนี้มาจาก คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดลในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งส่วนใหญ่จะทดลองระดับเซลล์และสัตว์ พบว่า มะรุม(Moringa)นั้นมีฤทธิ์
ที่น่าสนใจซึ่งออกฤทธิ์ในทางบวกกับร่างกายของสิ่งมีชีวิต เช่น
ลดความดันเลือด ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดคอเลสเตอรอล
ต้านการอักเสบ ป้องกันตับอักเสบ ลดระดับน้ำตาล ต้านออกซิเดชัน
ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการเกิดเนื้องอก และต้านมะเร็ง

ฤทธิ์ของมะรุมจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง

สรรพคุณมะรุมที่ได้จากการทดลองกับหนู 9 อย่าง มีดังนี้
  • ลดความดันเลือด – จากการทดลองสามารถลดความดันเลือดของหนูแรทและสุนัข
  • ต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง – สารสกัดจากมะรุมสามารถลดจำนวนหนูที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้
  • ลดระดับคอเลสเตอรอล – สามารถลดระดับคอเลสเตอร์รรอลในหลอดเลือดได้ หลังจากป้อนอาหารที่มีไขมันสูงแก่หนูทดลอง
  • ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร – หลังจากให้ยาแอสไพรินแก่หนูทดลองเพื่อกระตุ้นให้เกิดแผลภายในกระเพาะอาหาร
    พบว่าสารสกัดจากมะรุมสามารถต้านและป้องกันการเกิดแผลกระเพาะอาหารได้
  • ป้องกันการอักเสบของตับ – หลังจากให้ยาพาราเซตามอล
    และยาไรแฟมพิซินแก่หนูทดลองเพื่อกระตุ้นการอักเสบของตับ
    พบว่าหลังจากป้อนสารสะกัดจากใบ และดอก
    สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
  • ต้านออกซิเดชัน – สารสะกัดจากใบ ดอก และราก สามารถต้านอนุมูลอิสระและสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้
  • ต้านเชื้อแบคทีเรีย – จากการทดลอง สารสกัดจากใบ ดอก เมล็ด เปลือกต้น และเปลือกราก สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลายชนิด
  • ลดระดับน้ำตาล – สารสกัดจากใบและเปลือกลำต้นสามารถลดระดับน้ำตาลในหนูที่เป็นโรคเบาหวานได้
  • ต้านการอักเสบ – ผลการวิจัยพบว่า การอักเสบภายในทางเดินหายใจของหนูตะเภาลดลง เพื่อได้รับสารสกัดจากมะรุม
นอกจากมะรุมจะมีผลดีกับร่างกายแล้ว ยังมีผลการทดลองที่แสดงถึงผลค้างเคียงของมะรุมอีกด้วย

ผลค้างเคียงของมะรุม

มะรุมมีผลค้างเคียงเป็นพิษระดับเซลล์และสัตว์ทดลองดังนี้
  • เมื่อป้อนสารสกัดจากเมล็ดให้กนูทดลองที่มีการผสมพันธุ์แล้ว พบว่าทำให้หนูทดลองเกิดอาการแท้งได้
  • เมื่อป้อนสารสกัดจากรากมะรุมให้หนูทดลอง จะมีผลทำให้ทารกฝ่อ ในช่วงเวลาตั้งครรภ์ระยะสุดท้าย
  • เมื่อป้อนสารสกัดจากเมล็ดให้กระต่าย มีผลให้เม็ดเลือดแดงของกระต่ายทดลองเกิดการรวมตัวกัน
  • เมื่อป้อนมะรุมดิบให้แก่หนูทดลองเป็นเวลาทั้งหมด 5 วัน พบว่า
    มีผลทำให้ความอยากอาหาร การใช้โปรตีน และการเจริญเติบโตของหนูลดลง
    ต่อมไทมัส และม้ามฝ่อลง แต่กระเพาะอาหาร หัวใจ ไต ลำไส้ ปอด ตับอ่อน
    และตับมีขนาดใหญ่มากขึ้น
ทั้งนี้การรับประทานมะรุม นอกจากจะได้ประโยชน์จากมะรุมแล้ว
ยังต้องระวังเรื่องการแท้งลูกในสตรีที่มีครรภ์ด้วย
จากการทดลองที่พบการแท้งลูกของหนูทดลอง

มะรุม คุณค่าทางโชนาการและคุณค่าทางอาหาร

สำหรับคุณค่าของมะรุม เราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คุณค่าทางโภชนาการ
และคุณค่าทางอาหาร ซึ่งสาเหตุที่ต้องแบ่งออกเป็นสองประเภทเนื่องจาก
การแบ่งประเภททางอาหารเราจะนำคุณค่าทางอาหารของมะรุมมาเทียบกับคุณค่าทางอาหารของนมและผักผลไม้ชนิดอื่นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
ส่วนการแบ่งตามคุณค่าทางโภชนาการนั้น เราจะแจกแจงรายละเอียดของมะรุมว่า
มีส่วนประกอบของโปรตีน ไขมัน ใยอาหาร วิตามิน เท่าไหร่บ้าง
ดังรายการด้านล่างครับ

คุณค่าทางโภชนาการ

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุมปริมาณ 100 g. ซึ่งสำรวจโดยอินเดียในปีพ.ศ.๒๕๓๗ มีดังนี้
  • พลังงาน(Energy) 26 cal.
  • โปรตีน(Protein) 6.7 g.
  • ใยอาหาร(Dietary Fiber) 0.1 g.
  • ไขมัน(Lipids) 4.8 g.
  • คาร์โบไฮเดรต(Carbohydrate) 3.7 g.
  • วิตามินเอ(Vitamin A) 6,780 μg.
  • วิตามินซี(Vitamin C) 220 mg.
  • แคโรทีน(Carotene) 110 μg.
  • แคลเซียม(Calcium) 400 mg
  • ฟอสฟอรัส(Phosphorus) 110 mg.
  • เหล็ก(Ferrum) 0.18 mg
  • แมกนีเซียม(Magnesium) 28 mg.
  • โพแทสเซียม(Potassium) 259 mg.

คุณค่าทางอาหาร

  • วิตามินเอ(Vitamin A)ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตามากกว่าแครอตถึง 4 เท่า
  • วิตามินซี(Vitamin C)ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหวัด มากกว่าส้มถึง 7 เท่า
  • แคลเซียม(Calcium)ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟัน มากกว่านมสด 4 เท่า
  • โพแทสเซียม(Potassium)ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทมากกว่ากล้วยถึง 3 เท่า
  • โปรตีน(Protein) ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย มากกว่าโยเกิร์ต 2 เท่า

สนใจสอบถามได้นะค่ะ ใบชามะรุม




Create Date : 21 เมษายน 2561
Last Update : 21 เมษายน 2561 16:40:00 น. 0 comments
Counter : 1209 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 3417233
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3417233's blog to your web]
space
space
space
space
space