365วันของฉันมีแต่เรื่องการเดินทาง
<<
สิงหาคม 2565
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
14 สิงหาคม 2565

บพข.ผนึก TEATA หนุนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์@น่าน


บพข.หนุนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จังหวัดน่าน
TEATA ผนึกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวน่าน จัดเวที Carbon Neutral Tourism Forum พร้อมเชื่อมโยงเครือข่าย จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวในมิติใหม่ สู่ขั้นตอน วัด – ลด – ชดเชย – บอกต่อ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 4 แหล่งปล่อย ทั้งการเดินทาง ที่พัก อาหาร และขยะ พร้อมนำคณะผู้ประกอบการวงการท่องเที่ยวสำรวจแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในเส้นทางน่านเหนือและน่านใต้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า บพข.ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย เพื่อจัดทำโครงการวิจัย “การพัฒนาเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน เครือข่ายนักท่องเที่ยว และเส้นทางท่องเที่ยว เพื่อการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในจังหวัดน่าน” เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบไร้คาร์บอน และบูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อให้เกิดผลงานที่นำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงยังเป็น 1 ใน 8 หน่วยงานที่ทำความตกลงร่วมมือในโครงการคาร์บอนบาลานซ์ (Carbon Balance Scheme) ท่องเที่ยวอย่างสมดุล ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อตอบโจทย์การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดภาวะโลกร้อนและมลภาวะอีกด้วย 

นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงานประชุม Carbon Neutral Tourism Forum แลกเปลี่ยนความคิดเห็นท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ในจังหวัดน่าน หรือ Carbon Neutral Tourism Forum ครั้งที่ 1  จัดโดยสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(สทอ.) หรือ TEATA ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวน่าน โดยมีนายกฤชเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน และภาคีองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวน่าน เข้าร่วมการประชุมด้วย ที่เฮือนฮังต่อ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

นางสาววสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) กล่าวว่า ได้ทำงานกับประชาคมน่านตลอด 1 ปี ได้รับความร่วมมือในการเปลี่ยนเปลี่ยนความคิดเห็นและดำเนินงานตามขั้นตอน วัด – ลด – ชดเชย – บอกต่อ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 4 แหล่งปล่อย คือ การเดินทาง ที่พัก อาหาร และขยะ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ในการพัฒนาวิธีการคำนวณ เพื่อให้การท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
ทั้งนี้โดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นสาเหตุภาวะโลกร้อน ทั้งทางตรงและทางอ้อม การท่องเที่ยวที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ จึงเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ต้องหันมาให้ความสำคัญ เป็นกระบวนการและองค์ความรู้ที่จะเปลี่ยนภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ให้เป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ เตรียมความพร้อมให้กับชุมชนและธุรกิจท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างจุดเด่นและข้อได้เปรียบในตลาดท่องเที่ยวโลก ขณะเดียวกันก็ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างเป้าหมายในการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนในอนาคต

“การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ได้เลือกจังหวัดน่านเป็นเมืองต้นแบบ ที่แปลงงานวิชาการมาสู่การปฎิบัติ ทั้งยังได้พาคณะเอเย่นต์ทัวร์ และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว รวมถึงสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ และสื่อมวลชน สำรวจแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในเส้นทางน่านเหนือและน่านใต้ รวมถึงได้ร่วมทดสอบกิจกรรมสร้างสรรค์ชดเชยคาร์บอน โดยมีการประเมิน ปรับลด และชดเชยจนเป็นกลางทางคาร์บอน เสมือนไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย

โดยมีการนำคณะผู้ประกอบการวงการท่องเที่ยวสำรวจแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในเส้นทางน่านเหนือและน่านใต้ มีอาจารย์ชูวิทย์ สุจฉายา และนางดวงกมล จันสุริยวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ บพข.ร่วมในการสำรวจเส้นทางด้วย โดยอาจารย์ชูวิทย์ สุจฉายากล่าวว่า การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นับเป็น Agenda ที่สำคัญของประเทศไทยและยังเชื่อมโยงกับ BCG อันถือเป็นนโยบายของประเทศไทยที่ให้ความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
โดยมีกรรมการของสมาคม ร่วมเป็นนักวิจัย เช่น ปาริชาต สุนทรารักษ์ , นิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น , บูรณาการ จตุพรไพศาล , ฤกษ์ เชาวนกวี , นันทพล ไข่มุกด์

นายโยธิน ทับทิมทอง ผู้อำนวยการททท.สำนักงานน่าน กล่าวว่า การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นับเป็นการตอบโจทย์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และยกระดับสู่การท่องเที่ยวคุณภาพอย่างรับผิดชอบ ซึ่งนอกจากชุมชนได้ประโยชน์ นักท่องเที่ยวยังสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการท่องเที่ยวแนวนี้ด้วย
นางสาวศุภรดา กานดิศยากุล รองผู้จัดการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)หรือ อพท.สำนักงานพื้นที่พิเศษ 6 กล่าวว่า อพท.ให้ความสำคัญกับ การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งอยู่ใน Global Sustainable Tourism Council หรือ GSTC ด้วย ซึ่งในเขตเมืองที่อยู่ในความรับผิดชอบของอพท.นั้นก็มีแผนงานสนับสนุนในเรื่องนี้ด้วย

นายชาญชัย ลิ้มสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดน่าน กล่าวว่า จังหวัดน่านพร้อมตอบรับการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในมิติต่างๆ และอยากขยายจากตลาดการท่องเที่ยวในประเทศไปสู่ตลาดอินบาวด์และตลาดไมซ์ด้วย

นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า น่านมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติอย่างมาก จากพื้นที่จังหวัด 7.6 ล้านไร่ ยังมีพื้นที่เป็นป่าถึง 6 ล้านไร่ การจะทำให้การท่องเที่ยวน่านยั่งยืนต้องคำถึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการรักษาอัตลักษณ์ไว้ด้วย

นายชัยพฤกษ์ ทองคำ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) กล่าวว่า จากการที่สทน.ซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้ประกอบตลาดตลาดโดเมสติกจำนวนมาก ได้เข้าสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวในครั้งนี้ โดยได้สำรวจเส้นทางน่านเหนือในเชิงคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งจะได้จัดทำเป็นรายการนำเที่ยวต่อไป

นายสมเจตน์ วิมลเกษม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดน่าน กล่าวว่าน่านคือเมืองเก่าที่มีชีวิต มีอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เช่น สถาปัตยกรรมพุทธศิลป์วัดต่างๆ ประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนา  งานประณีตศิลป์บนผืนผ้า อาภรณ์  รวมทั้งดนตรี-นาฏศิลป์เฉพาะถิ่น และการละเล่นที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง

จารุวรรณ จิณเสน เจ้าของ โกโก้ วัลเล่ย์ คาเฟ่ และโกโก้ วัลเล่ย์ รีสอร์ท กล่าวว่า ได้ริเริ่มปลูกสวนโกโก้แบบอินทรีย์ สวนเกษตรพืชพันธุ์ใหม่อย่างโกโก้ จนต่อมาสนับสนุนเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกเป็นล่ำเป็นสัน จนตอนนี้ยกฐานะเป็นหนึ่งในของดีประจำอำเภอปัว ทั้งยังต่อยอดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นช็อกโกแลต อาหาร รวมถึงส่วนประกอบเวชสำอาง และได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้ว 

สันติ หาญสงคราม ประธานชมรมกาแฟจังหวัดน่าน & คลัสเตอร์กาแฟจังหวัดน่าน กล่าวว่า ปัจจุบันร้านกาแฟในจังหวัดน่าน ส่วนใหญ่ได้ปรับใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ทั้งแก้วร้อน (Bio PBS) ที่เป็นแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพย่อยสลายสู่ธรรมชาติได้ 100% แก้วเย็น (Bio PLA) รวมถึงฝาแก้วแบบไม่ใช้หลอดดูด พร้อมมีส่วนลดเมื่อลูกค้านำแก้วมาใส่เอง ลดใช้ถุงหิ้วพลาสติดเป็นถุงผ้า และใช้ถุงกระดาษแทน

อารีย์ เพ็ชรรัตน์ เจ้าของกิจการ บ้านถั่วลิสง กล่าวว่า บ้านถั่วลิสงตั้งมา 45 ปี นับเป็นผู้ส่งออกถั่วลิสงเจ้าเดียวของไทย และมั่นใจในการแปรรูปตามภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่า 25 ผลิตภัณฑ์ และเป็นโอท็อป5ดาวของน่าน โดยที่ผ่านมาได้ติดตั้งแผงโซล่าเซลส์ในศุนย์จำหน่ายทำให้ประหยัดค่าไฟได้จำนวนมาก และยังใช้ผลิตภัณฑ์ที่จับหูหิ้วกระดาษจากเลือกถั่วลิสงแทนการใช้พลาสติกด้วย

เชฟทวน อุปจักร์ แห่งบ่อเกลือ วิว รีสอร์ท กล่าวว่า ใช้แนวทางการดูแลกิจการบริการที่พักและร้านอาหารของรีสอร์ทในระบบ“กรีน” รักษาบรรยากาศธรรมชาติ ชุมชน ธุรกิจ ให้อยู่ด้วยกันได้อย่างกลมกลืน ผลผลิตจากชุมชนที่ถูกนำมาดัดแปลงจนสร้างชื่อเช่น ฟักทอง และทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกฟักทองแทนข้าวโพดเพราะได้เงินดีแถมไม่ต้องใช้สารเคมีซึ่งเป็นอันตราย บนดินแดนอันอุดมไปด้วยแหล่งเกลือโบราณ ร้านอาหาร ปองซาของบ่อเกลือ วิว รีสอร์ท คืออีกหนึ่งจุดหมายที่ผู้มาเยือนจะต้องแวะพักสายตากับวิวหุบเขาสวยเบื้องหน้า ลิ้มรสอาหารพื้นเมืองผสมผสานกับเมนูสากลที่ใช้วัตถุดิบสดใหม่ ซึ่งเชฟทวนเป็นคนแรกๆที่คิดเมนูไก่ทอดมะแขว่น จนทำให้น่านโด่งดัง

พิมพร รุ่งรชตะวาณิช เจ้าของดอยซิลเวอร์ กล่าวว่า ที่นี่คือแหล่งผลิต จัดจำหน่าย และพิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่องราวการเดินทางของเครื่องเงินของบรรพชนคือชาวอิ้วเมี่ยน หรือเมี่ยน หรือเย้า สืบทอด“เงิน” จากบนดอยให้งามวาววับจนเลื่องลือไปทั่วโลก จากสิ่งที่บรรพชนได้ส่งมอบให้ การถัก ทอ สาน เส้นเงินที่เป็นอัตลักษณ์ของน่านคงอยู่ในทุกซอกอณูในเครื่องเงินทุกชิ้น 

ลำไย วงศ์ไทย ประธานศูนย์การเรียนรู้ เฮินลำไยไตลื้อ กล่าวว่า ทางศูนย์เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่จัดแสดงเรื่องราวศิลปวัฒนธรรม การแต่งกาย อาหารการกิน สถาปัตยกรรม รวมทั้งวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ซึ่งทางกลุ่มได้ออกแบบกิจกรรมต่างๆ เช่นกิจกรรมแต้มสีสอนรักษ์ อาหารขันโตก สนับสนุนเที่ยวไทยไร้คาร์บอนอีกด้วย

ทับทิม คงพัฒน์ยืน ร้านริมมางคอฟฟี่ บ่อเกลือ กล่าวว่า มีการนำเกลือจากบ่อเกลือของน่าน มาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องดื่มชาและกาแฟ ทำให้ได้รสชาติแปลกใหม่ มีเอกลักษณ์ คงความอร่อยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย

 
ศรีสุดา โวทาน ผ้าทอไทลื้อและกระเป๋าหนังแบรนด์ “อีนาง” (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศรีดาแฮนด์เมด) ลูกหลานชาวไทลื้อที่ต้องการจะอนุรักษ์ผ้าทอของบรรพบุรุษมิให้สูญหาย กล่าวว่า ผ้าหนึ่งผืนเราไม่ได้ใช้ทุกส่วนไปกับกระเป๋าหนึ่งใบ ใช้วิธีดีไซน์กระเป๋าให้เข้ากับตัวผ้า เพื่อให้ใช้ประโยชน์ผ้าได้มากที่สุด เหลือทิ้งน้อยที่สุด กระเป๋าที่ผลิตขึ้นมาแต่ละใบนอกจากเป็นงานชิ้นเดียวในโลกยังสนับสนุนการรักษ์โลกด้วย
ยังมีผู้ประกอบการหลายคนจากในทริป ซึ่งได้มีส่วนร่วมในการรักษ์โลกของเมืองน่าน เช่น

ร้านข้าวพันผักงอกและพิซซ่า​เตา​ฟืนเจ้าแรกของน่าน เน้นการปรุงอาหารด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่นพิซซ่าจากเตาฟืนที่ให้รสชาติความอร่อยไม่แพ้พิซซ่าร้านดัง และพยายามใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารจากท้องถิ่นให้มากที่สุด แม้ร้านจะเป็นสไตล์บ้านๆแต่คงความอร่อยให้มากที่สุด

สเวนเซ่นส์ กาดน่าน นอกจากจะเป็นร้านไอศกรีมที่สวยงามโดดเด่นแล้ว ยังเป็นอีกแลนด์มาร์คของเมืองน่านที่ชาวน่านและนักท่องเที่ยวนิยมแวะไปถ่ายรูปอีกด้วย สำหรับตัวร้านเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น แบบบ้านไทลื้อ มีทั้งโซนอินดอร์และเอ้าท์ดอร์ ตกแต่งแบบล้านนาร่วมสมัย เน้นการใช้ไม้เป็นส่วนประกอบ และใช้ลายผ้าทอของไทยมาทำเป็นลวดลายของเก้าอี้ 

ร้านสาวิตรีนวดแผนไทย บ่อเกลือ มีสปาเท้าจากน้ำเกลือและเครื่องปรุงพืชสมุนไพรจากท้องถิ่น และเกลือขัดผิว เป็นคนรุ่นใหม่กลับบ้านมาเรียนรู้จากคุณแม่และนำแนวคิดด้าน Bio Diversity จากมาประยุกต์ใช้ สร้างรายได้ให้ชุมชน

แสงทองรีสอร์ท ที่เน้นให้ลูกค้าได้สัมผัสวิถีแห่งธรรมชาติ อาหารแสนอร่อยที่คัดสรรวัตถุดิบ คุณภาพจาก "แสงทองฟาร์ม" ฟาร์มปลอดสารพิษที่ใส่ใจทุกขั้นตอนในการเพาะปลูก และสนุกสนานกับกิจกรรมธรรมชาติ เช่น ปั่นจักรยานยามเช้า เรียนรู้วิถีชุมชน เยี่ยมชมฟาร์มผักออร์แกนิคที่แสงทองฟาร์ม เป็นต้น
#เคลื่อนไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม #บพข #สกสว #หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ #สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
เรื่องและภาพโดย Travelista นักเดินทาง (สาธิตา โสรัสสะ)



Create Date : 14 สิงหาคม 2565
Last Update : 14 สิงหาคม 2565 17:12:20 น. 0 comments
Counter : 781 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelistaนักเดินทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




Travelista นักเดินทาง หรือสาธิตา โสรัสสะ อดีตหัวหน้าข่าวเศรษฐกิจเครือเนชั่น เป็นนักข่าวสายท่องเที่ยวยาวนานเกือบ 40 ปี เดินทางมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก มีผลงานเขียนพ็อคเก็ตบุ๊คท่องเที่ยว 34 เล่ม ปัจจุบันเป็นอุปนายกสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย และประธานมีเดียแอนด์บล็อกเกอร์ คลับ (คลับของบล็อกเกอร์) เคยได้รับรางวัลบล็อกเกอร์ยอดเยี่ยมปี 59 ,ช่างภาพหญิงยอดเยี่ยมจากจีนปี 60 , สื่อมวลชนยอดเยี่ยมปี 64 และผู้บริหารสื่อออนไลน์ยอดเยี่ยมปี 65 ไอดีไลน์ tatravel โทร 081-817-2805
[Add travelistaนักเดินทาง's blog to your web]