พฤษภาคม 2559

2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
รายได้จากงานบริการวิชาการ






ถ้าไม่นับงานขายตรง อาจารย์ไปเปิดบริษัทเอง ฯลฯ

อาจารย์มหาวิทยาลัยเขาทำงานอะไรอื่นอีกที่สร้างรายได้นอกจากการสอน การวิจัย และงานบริหาร ?

งาน 3 งานนี้เป็นงานหลักที่ถูกบังคับโดยผู้บังคับบัญชา (ผู้บังคับบัญชาของอาจารย์ได้แก่ มหาวิทยาลัย และ สกอ. นะ คณบดีก็ต้องทำตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเหมือนกัน) มหาวิทยาลัยเราไม่ได้บังคับเรื่องงานบริหารนะ แค่อาจารยมีส่วนช่วยงานบริหารคณะบ้าง เช่น เป็นกรรมการช่วยงานคณะ เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร ก็ใช้ได้ละ นับเป็นภาระงานได้

งานส่วนที่ 4 ที่ปรากฎว่าเป็นภาระงานของอาจารย์เรียกว่า งานบริการวิชาการ ส่วนนี้แหล่ะที่สร้างรายได้ให้กับอาจารย์
งานส่วนนี้ได้แก่ งานวิทยากร งานที่ปรึกษาบริษัท งานวิจัยให้กับหน่วยงานภายนอก อาจารย์ไปทำงานข้างนอกในเวลางานได้โดยต้องแจ้งกับผู้บังคับบัญชา (บางแห่งเรียกว่า outside work) ผู้บังคับบัญชาจะอนุญาตถ้าเวลาที่ออกไปไม่ตรงกับเวลาสอนหรือประชุมภายในคณะ บางงานอาจารย์ก็ทำอยู่ที่คณะนั่นแหล่ะ ไม่ต้องออกไปไหน บางทีงานแบบนี้ก็พ่วงอยู่กับงานวิจัยของอาจารย์นั่นเอง 

การที่อาจารย์ไปรับทำงานข้างนอกในเวลางานปกติ รายได้จากงานนั้นบางส่วนจะถูกหักออกมา 10-20% เข้าคณะหรือมหาวิทยาลัย เงินส่วนหนึ่งที่หักไป คณะก็นำไปบริหารจ้างเจ้าหน้าที่ทำบัญชีด้วยเพราะการตรวจสอบเรื่องเงินเข้มงวดมาก รายได้ของอาจารย์ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่าอาจารย์ได้ไปตกลงกับหน่วยงานภายนอกไว้เป็นเงินเท่าใด งานใหญ่ก็เงินมาก งานเล็กก็ได้เงินน้อย มูลค่าสูงสุดที่เคยได้ยินมาเป็นงานสายคอม ฯ 60 ล้าน ด้านพลังงาน 10 ล้าน งานที่ปรึกษา+ออกแบบ 2-4 ล้าน งานผลิตภัณฑ์ทำสูตรอาหาร 50,000-100,000 บาท 

เอาล่ะ อาจารย์ทั้งหลายที่ต้องรับผิดชอบงานภาคบังคับเอาเวลาที่ไหนไปทำงานบริการวิชาการ ? คำตอบคือ อาจารย์ไม่ได้สอนทุกวัน (แต่บางมหาวิทยาลัยก็สอนเกือบทุกวันนะ Smiley แบบพักแค่วันเดียว/สัปดาห์ แล้วสอนเสาร์-อาทิตย์หาเงินจากโครงการพิเศษ โดยไม่เหลือเวลามาทำบริการวิชาการ) บางคนสอนครึ่งวันเช้า ตกบ่ายก็ไปทำบริการวิชาการข้างนอก  บางคนสอนเทอมที่ 1 แค่ 2 วิชามีเวลาว่างในเทอมที่ 1 ไปทำงานบริการวิชาการ แล้วพอเทอม 2 ก็มาสอนเยอะขึ้นช่วง
ปิดเทอมก็ทำได้เต็มที่ วันลาก็เยอะแยะ ใช้ไม่เคยหมด Smiley

ข้อดีของบริการวิชาการ
1. ได้เงินเพิ่ม ไม่ได้เป็นหัวหน้าแต่เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจค์อาจจะได้ 2-3 แสนบาท
2. ได้ connection ทำให้มีงานเรื่อย ๆ แต่บางทีก็ต้องไปสู้กับหน่วยงานหรือบริษัทอื่นนะ แล้วอาจจะสู้ไม่ได้
3. นับเป็นผลงานได้ เป็นภาระงานด้านการบริการวิชาการได้

ข้อสังเกต
1. งานวิจัยที่ไปรับทำให้หน่วยงานอื่น ไม่ค่อยเห็นทำออกมาเป็นงานตีพิมพ์ทางวิชาการ ซึ่งอาจเกิดจากลิขสิทธิ์เป็นของผู้ว่าจ้าง ความลับทางการค้า ไม่ใช่งานวิชาการที่ลึกซึ้งมากพอ เอกสารที่ส่งให้หน่วยงานผู้ว่าจ้างถูกประเมินโดยผู้ว่าจ้าง ไม่ใช่ academic peer เป็นต้น ทำให้ส่งเป็นผลงานทางวิขาการไม่ได้

2. ใช้เวลามาก ถ้าเลือกทำบริการวิชาการ อาจจะไม่ได้ทำงานวิจัยเชิงลึกซึ่งนำไปสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่เป็นข้อบังคับ

ประสบการณ์ของเรา
ตอนจบใหม่ ๆ มีกลุ่มลูกพี่ใหญ่พาไปช่วยทำงานที่ปรึกษาให้กับส่วนราชการแห่งหนึ่ง ทำงานที่คณะ แต่ต้องออกไปประชุมเป็นครั้งคราว ปิดงานปุ๊บเราก็ได้เงินไปดาวน์รถได้คันนึง ให้คุณแฟนขับไปทำงาน Smiley ผลงานส่วนใหญ่ลูกพี่นำไปเขียนเป็นหนังสือวิชาการขอตำแหน่ง ส่วนงานวิจัยที่เราไปช่วยไม่สามารถไปเขียนตีพิมพ์อะไรได้เพราะมันไม่ลึกซึ้งพอ หลังจากนั้นลูกพี่ก็มาชวนอีก แต่เราก็ปฏิเสธไป เนื่องจากไม่ชอบงานแบบนี้ อยากมีเวลาทำวิจัยเชิงลึกได้ค้นพบอะไร ๆ ตามที่เราฝัน แล้วก็ไม่ได้รับงานบริการวิชาการอีกเลย




Create Date : 01 พฤษภาคม 2559
Last Update : 12 พฤษภาคม 2559 9:29:29 น.
Counter : 1342 Pageviews.

0 comments

Suomi
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]