+++ ความล้มเหลว เป็นก้าวแรกของชัยชนะ+++ศรีกรม
<<
กรกฏาคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 กรกฏาคม 2559
 
 

การจัดทำตัวชี้วัด



สำนักงานฯได้เริ่มดำเนินการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการ (ตัวชี้วัด)
มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 254๗โดยระยะเริ่มแรกได้ดำเนินการอยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุม และดูแลของสำนักงาน ก.พ.ร.ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 เรื่องการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร โดยไม่นับรวมสำนักงานฯ ซึ่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550ไม่นับเป็นหน่วยงานของรัฐ ในกำกับของฝ่ายบริหาร ส่งผลให้ต้องมาดำเนินการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการด้วยตนเอง

ปัญหามีว่า ส่วนราชการจำเป็นต้องมีการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการ (ตัวชี้วัด) หรือไม่ ?

สาเหตุที่จำเป็นจะต้องมีการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการ โดยมีเหตุผลและความจำเป็นดังนี้

1. มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำมีกฎหมายหลายฉบับบังคับให้หน่วยงานราชการต้องมีการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการพอสรุปได้ ดังนี้

1.1ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550ได้เน้นถึงความสำคัญและบัญญัติสาระที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาลไว้ใน มาตรา 78 ของส่วนที่ 3 และนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ไว้ว่า มาตรา 78รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน พัฒนาระบบงานภาครัฐโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงานเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ

1.2 ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 3/1 บัญญัติ...ไว้ว่า
“ การบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ และการตอบสนองความต้องการของประชาชน...”

วรรคสอง“…ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานการมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย..”

1.3 พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6กำหนดให้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อ....เป้าหมายให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐไม่มีขั้นตอนของการปฏิบัติงานมากเกินความจำเป็น ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองตามที่ต้องการและให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

2. มีนโยบายให้ต้องทำ

2.1นโยบายของรัฐบาล เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีนโยบาย ข้อ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐด้านการส่งเสริมการบริหารข้อ 10.1 และ ข้อ 10.3มุ่งเน้นในด้านการปรับปรุงระบบราชการในด้านองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐ ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีการบริหารจัดการภาครัฐแบบใหม่การตอบสนองความต้องการของประชาชนในฐานะที่เป็นศูนย์กลางและยกระดับสมรรถนะของหน่วยงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพ

2.2 นโยบายของผู้บริหารหน่วยงาน โดยมีนโยบายเพื่อพัฒนาองค์กรอัยการในการเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพของพนักงานอัยการในการสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ และกฎหมายพัฒนาองค์กรอัยการให้สอดคล้องกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมรวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุดให้สอดคล้องกับการปฏิรูปดังกล่าว

๓. มีแผนให้ต้องจัดทำ

๓.๑ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ กาหนดยุทธศาสตร์ไว้ทั้งหมด กลุ่มยุทธศาสตร์ ซึ่งจะนาเสนอไว้ในที่นี้ เพียงกลุ่มยุทธศาสตร์เดียว ที่เกี่ยวข้องได้แก่ กลุ่มยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องได้แก่....(4) การสานสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้มีคุณค่าร่วมและตระหนักถึงผลประโยชน์ของสังคม และเสริมสร้างการบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีระบบตรวจสอบและการรับผิดชอบที่รัดกุม

๓.๒ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยพ.. ๒๕๕๖ - .. ๒๕๖๑

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยพ.. ๒๕๕๖- .. ๒๕๖๑ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาระบบราชการไว้ กล่าวคือ

“ระบบราชการไทย มุ่งเน้นพัฒนาการทางานเพื่อประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยกระดับขีดสมรรถนะไปสู่ความเป็นเลิศ บูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพงานของภาครัฐ ประสานการทางานกับทุกภาคส่วน สร้างความโปร่งใสต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้เป็นที่น่าเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน”

๓.๓ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.. 2558 - 2561

แผนแม่บทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการประสานการบริหารงานยุติธรรมของชาติให้เป็นไปโดยสอดคล้องกันและมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทาให้การอานวยความยุติธรรมมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมตามพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๙ โดยหลักการสาคัญของแผนแม่บทนี้เป็นการนำสภาพความเป็นจริงความต้องการของประชาชนเป็นตัวตั้ง และหลักการสากลนามาเป็นหลักสาคัญในการกาหนด โดยมีเป้าหมาย4 ประการ คือ 1) การบริการประชาชนจะต้องมีความสะดวกรวดเร็วมีค่าใช้จ่ายเหมาะสม 2) ให้ประชาชนเข้าถึงการบริการในด้านความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน3) การบังคับใช้กฎหมายต้องมีความเสมอภาคและเป็นธรรม 4) ปริมาณคดีที่จะเข้าสู่ศาลจะต้องลดลง โดยมีวิสัยทัศน์ดังนี้ “การบริหารงานยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลสร้างความเป็นธรรมและประชาชนพึงพอใจ”

๓.๔ แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี  พ.. ๒๕๕๙- ๒๕๖๒ ได้จัดทาขึ้นภายใต้กรอบการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างบรรลุเป้าหมายและตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้อานาจหน้าที่และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.. 2546

โดยวางเป้าหมายให้หน่วยงานมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการยุติธรรมซึ่งอยู่บนพื้นฐานของแนวความคิดขององค์การแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization-HPO) ที่องค์กรจะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาให้หน่วยงานสามารถบรรลุพันธกิจที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องการมีการจัดทำคำรับรองและลงนามตามคำรับรองการการปฏิบัติราชการ(ตัวชี้วัด)ประจำปีเพื่อตรวจติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการประจำปีดังกล่าว

๔. จะทำให้ตกยุค จากรายงานประจำ พ.ศ.๒๕๕๗ ของสำนักงานพัฒนาระบบราชการ(กพร.)มีหน่วยงานที่จะต้องลงนามตามคำรับรองการปฏิบัติราชการภายใต้การกำกับควบคุมและดูแลของสำนักงานกพร. มีจำนวน ๑๘ กระทรวง ๑๕๕ กรม จังหวัด ๗๖ จังหวัด สถาบันอุดมศึกษาจำนวน ๖๘ แห่งและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอีกจำนวน ๓๕ แห่ง นอกจากนี้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานอิสระอื่น ๆก็ล้วนมีการจัดทำคำรับรองและลงนามตามคำรับรองการปฏิบัติงานประจำปี ทั้งสิ้นหากสำนักงานฯซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ดำเนินการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ก็น่าเป็นห่วงว่า...สำนักงานฯจะอยู่ในสถานะภาพเช่นไร...น่าคิด!!!




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2559
0 comments
Last Update : 26 กรกฎาคม 2559 15:49:27 น.
Counter : 466 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

สมาชิกหมายเลข 3206122
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 3206122's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com