Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
11 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 

ทัศนะวิจารณ์ : ก้าวต่อไป..ที่เราจะถามเขา ไม่สำคัญเท่าเขาจะถามเรา

ดอกเตอร์วีรพงษ์ “โกร่ง” รามางกูร บอกว่าจะขอให้ท่านเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

เซอิจิ โคจิมะ ช่วยจัดให้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อสอบถามนักธุรกิจญี่ปุ่นว่าจะให้ประเทศไทยทำอะไรเพื่อให้ฟื้นความมั่นใจของนักลงทุนต่างประเทศ

เท่าที่ผมได้พูดคุยกับนักลงทุนญี่ปุ่นที่โดนกระทบหนักจากวิกฤติน้ำท่วมใหญ่คราวนี้ เขาต้องการความมั่นใจว่าเรื่องอย่างนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก ซึ่งแปลว่าเขาต้องการจะเห็นแผนงานที่แน่นอนของฝ่ายไทยที่จะสามารถรับมือกับภัยพิบัติธรรมชาติในทุกรูปแบบ เพื่อเขาจะได้รู้ว่า “ระดับความเสี่ยง” ทางธุรกิจของเขานั้นอยู่ในเกณฑ์ที่เขาสามารถจะประเมินได้ล่วงหน้าและในกรณีภาพเลวร้ายที่สุด (“worst-case scenario”) เขาจะต้องสามารถรับมือได้โดยไม่กระทบต่อธุรกิจของเขาเกินเลยระดับที่เขาจะรับกันมันได้

ดังนั้น หาก ดร.โกร่ง ไปญี่ปุ่น และตั้งคำถามว่า “ท่านจะให้เราทำอะไร?” ก็คงจะได้รับคำตอบที่เป็นคำถามย้อนมาว่า “ท่านจะทำอะไรบ้างเพื่อให้เรามั่นใจ?”

สิ่งที่นักลงทุนต่างชาติต้องการก็คงไม่ต่างอะไรกับที่คนไทยทั้งหลายต้องการเห็น นั่นคือ รัฐบาลจะทำอะไรอย่างไรจากนี้ไป...จากการเยียวยา การระบายน้ำออกไปให้หมดโดยเร็ว การประสานงานระหว่างหน่วยราชการและการเมืองที่เกี่ยวข้อง และแผนระยะกลางระยะยาวว่าจะไม่ให้เรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นได้อีก?

เพราะท้ายที่สุดคนที่ตอบไม่ใช่คุณวีรพงษ์หรือกรรมการคนใด หากแต่คือรัฐบาลที่มีคุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ
คณะกรรมการมีหน้าที่เพียง “ศึกษาและนำเสนอ” ความเห็นและข้อเสนอแนะ แต่ในความเป็นจริงแล้วคนไทยหรือต่างชาติจะเชื่อหรือไม่เชื่อ อยู่ที่ว่าจะมองว่ารัฐบาลจะทำได้หรือไม่ได้ต่างหาก

เช่น เขาก็จะถามว่า กยอ. ที่ ดร.วีรพงษ์ เป็นประธาน กับ กยน. (คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ) ที่มี นายกฯ เป็นประธาน (และ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นที่ปรึกษา) ที่แต่งตั้งมาพร้อมๆ กันนั้น มีความเกี่ยวโยงกันอย่างไร?

ถ้าเขาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ก็จะมีคำถามตามมา เช่นว่า รองประธานสองคนของคณะกรรมการคุณวีรพงษ์นั้นคือ รองนายกฯ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ และ กิตติรัตน์ ณ ระนอง และยังมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอยู่ในนี้ด้วยนั้น มีความหมายในทางปฏิบัติอย่างไร?

เขาคงจะยินดีที่เห็นตัวแทนภาคเอกชนมาช่วย เช่น ประธานของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, หอการค้าแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย แต่เมื่อญี่ปุ่นเองมีประสบการณ์ทำนองนี้มาก่อน และองค์การธุรกิจเอกชนที่รวมตัวกันอย่างแข็งขันในรูปแบบ “เคดันเรน” เขาก็คงจะมีคำถามว่าข้อเสนอของเอกชนของไทยมีน้ำหนักเพียงใด? และนักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านอยู่ในกรอบการช่วยผลักดันให้ข้อเสนอเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด?

เพราะเขาก็คงจะรู้ดีว่าไทยเราก็มีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนที่เรียกว่า “กกร.” อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว ไฉนกลไกนี้จึงทำงานไม่ได้ และกลไกใหม่อย่างนี้จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าองค์กรต่างๆ ที่มีอยู่เดิมอย่างไร?

อาจารย์โกร่ง บอกว่า นี่เป็นภารกิจสุดท้ายของชีวิต และที่ตัดสินใจรับปากทันทีที่นายกฯ ทาบทามนั้น ก็เพราะว่า “ถ้าไม่รับก็จะใจดำมาก ผมจะนอนไม่หลับ” อีกทั้งยังถือว่านี่เป็นการทำงานให้กับประเทศ ไม่ใช่ให้กับรัฐบาล

ถือว่าเป็นเจตนารมณ์ที่น่าชื่นชม เพราะผู้คนเบื่อหน่ายเอือมระอากับความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน และระหว่างคนที่มุ่งหาประโยชน์กับวิกฤติกับคนที่ต้องการจะทุ่มเทเพื่อให้ประเทศพ้นจากวังวนของการยื้อแย่งเครดิตในการทำงานคราวนี้

ดังนั้น คณะกรรมการที่ว่านี้จึงควรจะต้องแสดงความเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง เพื่อจะไม่มีภาพของการเป็นเพียง “ยาสามัญประจำบ้าน” ของรัฐบาลที่ต้องการ “ภาพ” แต่ไม่ได้ต้องการ “เนื้อหา” ด้วยการระดมความคิดความอ่านของคนจากวงการต่างๆ อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดเฉพาะคนที่ถูกมองว่าเป็นฝ่ายผู้มีอำนาจทางการเมืองเท่านั้น

หากนี่คือ “ภารกิจเพื่อชาติ” ที่แท้จริง ก็จะต้องสร้างบรรยากาศของการร่วมกันคิดร่วมกันอ่าน ไม่มองว่าใครวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลแล้วจะเป็นศัตรูของผู้มีอำนาจ หรือสรุปเอาเองแบบนักการเมืองว่าใครวิจารณ์รัฐบาล คือ คนที่พยายามจะ “โค่นรัฐบาล” ซึ่งทำให้การระดมความคิดเห็นเพื่อชาติเพื่อบ้านเมืองนั้นเกิดขึ้นไม่ได้เลย

ภัยพิบัติครั้งนี้ร้ายแรงเกินกว่าที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะคิดว่าตนเองจะสามารถฝ่าข้ามไปได้ด้วยตนเอง โดยไม่ขอความร่วมมือและช่วยเหลือจากทุกคนในประเทศไทย ไม่ว่าเขาจะมีแนวคิดต่อประเด็นการเมืองและสังคมอย่างไรก็ตาม

อยู่ที่ฝีมือของคณะกรรมการสองชุดใหญ่นี้ จะสามารถโน้มน้าวให้ผู้มีอำนาจทางการเมือง ยื่นมือถึงทุกคนทุกกลุ่มในสังคมได้หรือไม่?




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2554
0 comments
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2554 18:03:23 น.
Counter : 505 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Wanlay_kukkuk
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add Wanlay_kukkuk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.