คนไทยรักกัน
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
10 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 

อุทยานแห่งชาติน้ำพอง

อุทยานแห่งชาติน้ำพอง เป็นชื่อเรียกตามต้นกำเนิดลำน้ำพองที่ไหลมารวมกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบล รัตน์ (เดิมชื่ออ่างเก็บน้ำน้ำพอง) เป็นอุทยานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของจังหวัดขอนแก่น แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “น้ำพอง-ภูเม็ง” เพราะมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเทือกเขาภูเม็ง อุทยานแห่งชาติน้ำพองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดขอนแก่นติดกับเขื่อน อุบลรัตน์ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโสกแต้ ป่าภูเม็ง ป่าโคกหลวง ป่าโคกหลวงแปลงที่สาม ป่าภูผาดำ ป่าภูผาแดง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ อำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ อำเภอมัญจาคีรี และ กิ่งอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 197 ตารางกิโลเมตร หรือ 123,125 ไร่
จังหวัดขอนแก่น ได้มีหนังสือลงวันที่ 30 มีนาคม 2538 ขอให้กรมป่าไม้พิจารณากำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเม็ง ป่าโคกหลวง ป่าโคกหลวงแปลงที่สาม ในท้องที่จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์และจุดเด่นที่สวยงาม โดยจังหวัดขอนแก่นได้แต่งตั้งคณะกรรมการทำการสำรวจปรับปรุงแนวเขตให้เป็นที่ ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ทุกฝ่ายแล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องแนวเขตและที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่ป่าดังกล่าว
?????? At site

กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าดังกล่าวปรากฏว่า พื้นที่ป่ายังมีความสมบูรณ์ หากพิจารณาตามความหมายของอุทยานแห่งชาติแล้วยังไม่เข้าหลักเกณฑ์ แต่สมควรอนุรักษ์ไว้สำหรับประชาชนจังหวัดขอนแก่น โดยเห็นสมควรกำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ใกล้เคียงเพิ่มเติม ได้แก่ ป่าโคกหลวง ป่าภูผาดำ และป่าภูผาแดง จังหวัดชัยภูมิ และป่าโสกแต้ รวมพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย เนื่องจากยังมีสภาพป่าสมบูรณ์ มีจุดเด่นและจุดชมทิวทัศน์ที่น่าสนใจ
อุทยานแห่งชาติน้ำพองได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าโสกแต้ในท้องที่ตำบล เขื่อนอุบลรัตน์ ตำบลทุ่งโป่ง ตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์ ตำบลนาหว้า ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง ตำบลโคกงาม ตำบลป่าหวายนั่ง ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง และตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ป่าภูเม็ง และป่าโคกหลวง ในท้องที่ตำบลบ้านเม็ง ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ ตำบลคำแคน ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น และตำบลสระพัง ตำบลบ้านเต่า ตำบลหนองคู อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ และป่าโคกหลวง ป่าภูผาดำ ป่าภูผาแดง และป่าโคกหลวง แปลงที่สาม ในท้องที่ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี ตำบลบ้านโคก ตำบลซับสมบูรณ์ กิ่งอำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และตำบลหนองสังข์ ตำบลบ้านแก้ง ตำบลช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 105ก ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2543


ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูกาลของอุทยานแห่งชาติน้ำพองแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนจะตกมากช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศสูงทางตอนใต้ของประเทศจีน

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไป มีลักษณะสัณฐานเป็นเทือกเขาหินทรายสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางคล้ายกับเทือก เขาทั่วๆ ไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเทือกเขาเหล่านี้ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ขนานกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารส่วนหนึ่งของลำน้ำที่สำคัญหลายสาย เช่น ลำน้ำพอง ลำน้ำเชิญ ลำน้ำชี เป็นต้น แบ่งพื้นที่ได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ในเทือกเขาภูพานคำ ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้อยู่ในเทือกเขาภูเม็ง พื้นที่ด้านทิศตะวันตกมีสภาพลาดชันสลับกับหน้าผาในบางช่วงจรดที่ราบอ่างเก็บ น้ำด้านล่าง ส่วนพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบเชิงเขามีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 600 เมตร

พืชพรรณและสัตว์ป่า
พื้นที่ประมาณร้อยละ80 ของอุทยานแห่งชาติน้ำพองปกคลุมไปด้วยป่าเต็งรังโดยมีป่าเบญจพรรณ ป่าทุ่งหญ้า และป่าไผ่ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบางพื้นที่ ลึกเข้าไปบริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ ทั้งในเทือกเขาภูพานคำและเทือกเขาภูเม็งมีสภาพเป็นป่าดิบแล้งที่สมบูรณ์ จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ บริเวณนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและแหล่งสมุนไพรที่สำคัญของอุทยาน อีกด้วย พันธุ์ไม้มีค่าและพบเห็นได้ทั่วไป เช่น เต็ง รัง เหียง กระบก มะพอก ตะเคียนหิน พืชพื้นล่างจำพวกปรงป่า เถาวัลย์ ไม้หนามชนิดต่างๆ รวมทั้งสมุนไพรนานาพันธุ์อีกมากมาย
สำหรับสัตว์ป่าส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งบริเวณเทือกเขาภูเม็ง เพราะเป็นแหล่งหากินที่อุดมสมบูรณ์และถูกรบกวนจากมนุษย์น้อยมาก สัตว์ป่าที่พบเห็นเป็นสัตว์ขนาดกลางและขนาดเล็ก อาทิ หมูป่า เก้ง สุนัขจิ้งจอก เม่น นิ่ม กระต่ายป่า ไก่ป่า งู และนกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น




3.อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เป็นพื้นที่ในบริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนบน ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู พื้นที่ตอนล่างของจังหวัดอุดรธานี และตอนบนของจังหวัดขอนแก่น สภาพธรณีเป็นภูเขาหินทรายซึ่งมีชั้นของของหินทรายอยู่ด้านบนระดับผิวดิน โดยมีชั้นของหินดินดาน หรือหินดินดานปนทรายเป็นฐาน ด้านล่างมีดินประเภทดินลูกรังและดินร่วนปนทรายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า ทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ และสภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีเนื้อที่ประมาณ 201,250 ไร่ หรือ 322 ตารางกิโลเมตร
?????? At site
แต่เดิมกรมป่าไม้ได้พิจารณากำหนดให้ป่าภูเก้าเป็นป่าโครงการไม้กระยาเลย เพื่อใช้สอย ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0703/38 ลงวันที่ 5 มกราคม 2513 ซึ่งต่อมาป่าภูเก้าแห่งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศให้เป็นป่าสงวน แห่งชาติ “ป่าภูเก้า” ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 490 (พ.ศ. 2515) ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2515 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2524 นายสุพรรณ สุปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาจัดป่าสงวนแห่งชาติภูเก้า ท้องที่จังหวัดอุดรธานี เป็นอุทยานแห่งชาติ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงมีหนังสือ ที่ สร 0107(งสส.)/3782 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งนายจำนงค์ โพธิสาโร รองอธิบดีกรมป่าไม้ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ มีบันทึกท้ายหนังสือกองอุทยานแห่งชาติ ที่ กส 0708/1198 ลงวันที่ 8 เมษายน 2524 ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 571/2524 ให้นายวินัย ชลารักษ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น
ผลการสำรวจพบว่าป่าสงวนแห่งชาติภูเก้า ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า จุดเด่นมีทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานการสำรวจเบื้องต้นที่ กส.0708 (ภพ)/257 วันที่ 29 กรกฎาคม 2524 และทางสภาตำบลโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2526 สนับสนุนให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2526 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2526 ให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติได้
ต่อมานายพิชา พิทยขจรวุฒิ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูเก้า ได้มีหนังสือที่ กษ. 0713(ภก)/8 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2527 ขอผนวกพื้นที่เทือกเขาภูพานคำบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขื่อนอุบล รัตน์ ซึ่งมีสภาพป่าเต็งรังค่อนข้างสมบูรณ์และมีทิวทัศน์รอบอ่างเก็บน้ำสวยงามเข้า เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สมบูรณ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้มีการดำเนินการประกาศพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเก้า ในท้องที่ตำบลหัวนา ตำบลนามะเฟือง อำเภอหนองบัวลำภู (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) ตำบลบ้านถิ่น ตำบลโคกม่วง ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลโนนเมือง ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) และที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลกุดดู่ ตำบลโนนสัง ตำบลบ้านค้อ ตำบลหนองเรือ ตำบลโคกใหญ่ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) และป่าโคกสูง ป่าบ้านดง ในท้องที่ตำบลศรีสุขสำราญ ตำบลนาคำ ตำบลบ้านดง ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ และตำบลหว้าทอง ตำบลทุ่งชมพู ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2528 ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 130 ลงวันที่ 20 กันยายน 2528 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 50 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ
ภูเก้า มีสันฐานคล้ายกะทะหงายโดยมีที่ราบอยู่ตอนกลาง พื้นที่เช่นนี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่า พื้นที่ส่วนนี้น่าจะเป็นซากภูเขาไฟโบราณที่ดับสนิทไปแล้วหลายร้อยล้านปี หรือมิฉะนั้นก็เป็นการโก่งตัวของเปลือกโลกในบริเวณนี้ขึ้นมาเป็นขอบเทือกเขา เทือกเขาภูเก้าเป็นเทือกเขาสองชั้น ชั้นนอกเป็นภูเขาสูงและมีความลาดชันมาก ไหล่เขาด้านในมีความลาดชันไม่มากนัก พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ บางแห่งเป็นที่ราบ
ภูพานคำ เป็นแนวทิวเขายาวในเทือกเขาภูพาน เรียงตัวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเทือกเขาเป็นแอ่งที่ราบต่ำลุ่มน้ำพอง ซึ่งเป็นหุบเขาขนาดใหญ่ เมื่อมีการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ พื้นที่ดังกล่าวนี้กลายเป็นทะเลสา[ ซึ่งเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของส่วนภูพานคำ สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณซึ่งขึ้นอยู่ในพื้นดินปนหิน


ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูกาลของอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศสูงทางตอนใต้ของประเทศจีน

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพโดยทั่วไปเป็น ป่าเต็งรัง มีไม้ขึ้นอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เป็นไหล่เขาและสันเขา พันธุ์ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม กระโดน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย ปรงป่า หญ้าเพ็ก เป้ง เถาวัลย์ และไม้หนามหลายชนิด ส่วน ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่มีอยู่ในบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งห้วย หุบเขา และไหล่เขาบางส่วน พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ มะค่าแต้ กระบก ตะคร้อ ตีนนก ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นไผ่ชนิดต่างๆ ป่าดงดิบ มีอยู่เฉพาะบริเวณริมฝั่งห้วยเท่านั้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะแบก ยาง ตะเคียนหิน มะค่าโมง กระบก และชิงชัน เป็นต้น




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2552
2 comments
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2552 16:25:17 น.
Counter : 1053 Pageviews.

 

ได้ความรู้เยอะเลย ดีได้รู้จักประเทศตัวเอง

 

โดย: tuk-tuk@korat 10 กุมภาพันธ์ 2552 17:04:28 น.  

 

ได้ความรู้เยอะเลย

 

โดย: ลันเตา IP: 192.168.212.231, 202.129.54.74 29 กรกฎาคม 2552 11:55:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


prempcc
Location :
ภูเก็ต Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มารวมรวบข้อมูลการท่องเที่ยวกับเราเพี่ยงส่งรวมและคำบรรยายเล็กน้อยมาที่ prempcc@hotmail.com


Friends' blogs
[Add prempcc's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.