เรื่องไม่เป็นเรื่องของคนครัวจอมวายร้าย!
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 

เตรียมตัวไปเป็นต่างด้าว

เอามาจาเวปอื่นอีกทีเตรียมตัวก่อนไปเป็นกระเหรี่ยง
เรียนมาก็เป็นสิบปียังพูดกับฝรั่งตัวขาวไม่ค่อยจะรู้เรื่อง

มาฝึก pronunciation กันเถอะ...
เนื่องจากว่าได้ไปเรียน pronunciation มาก็เลยอยากแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่นๆ ด้วย... แต่ต้องออกตัวก่อนนะคะว่า เป็นการออกเสียงแบบอเมริกันในแคลิฟอร์เนีย และการเปรียบเทียบเสียงนี้พยายามจะให้ใกล้เคียงกับการออกเสียงภาษาไทยมากที่สุด... อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทยบ้าง แต่เราก็พยายามประยุกต์ระหว่างการใช้ภาษาไทยกับการออกเสียงในภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการออกเสียงภาษาอังกฤษให้ถูกต้องเท่านั้นค่ะ...

ดังนั้นหากฝึกออกเสียงทั้ง consonants และ vowels sound ได้ทั้ง 48 เสียง... ต่อไปนี้คำไหนๆ ก็ออกเสียงได้ถูกต้องหมดค่ะ...

blog นี้สมบูรณ์ได้เพราะความช่วยเหลือของคุณ "เด็กสร้างบ้าน" และข้อมูล phonetic จาก wikipedia ค่ะ ต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย

พร้อมหรือยังคะ... ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย...



International Phonetic Alphabet (IPA)


Consonants

การออกเสียงในภาษาอังกฤษ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ voice กับ voiceless อธิบายง่ายๆ คือ การเปล่งเสียงแล้วมีลมผ่านออกจากปากมากน้อยหรือแทบจะไม่มี ดังนั้นเสียงพยัญชนะต่อไปนี้จะเขียนกำกับให้ทราบตามความแตกต่างของคำ เช่น p กับ b นั้นออกเสียงต่างกันอย่างไร เป็นต้น นอกจากนี้ได้ใส่ key word เพื่อช่วยในการจำเสียงมาให้ด้วย...

1. [p] - voiceless ออกเสียง [เพ่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “พ” เช่น put, pack, happy
2. [b] - voice ออกเสียง [เบ่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “บ” เช่น bad, back, rubber

3. [t] - voiceless ออกเสียง [เท่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ท” เช่น too, tie
4. [d] - voice ออกเสียง [เดอะ] เทียบเสียงกับอักษร “ด” เช่น dead, die

5. [k] - voiceless ออกเสียง [เค่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ค” เช่น cap, key, quick, accept
6. [g] - voice ออกเสียง [เกอะ] เทียบเสียงกับอักษร “ก” เช่น gas, game, guest

7. [s] - voiceless ออกเสียง [ส] เทียบเสียงกับอักษร “ซ,” เช่น sea, city, psychology, sip
8. [z] - voice ออกเสียง [ซึ] เทียบเสียงกับอักษร “ซ” เช่น zoo, zip, zero,

9. [f] - voiceless ออกเสียง [ฟ่ะ] เทียบเสียงกับอักษร “ฟ” เช่น food, fan, phone, few
10. [v] - voice ออกเสียง [วู] เทียบเสียงกับอักษร “ว” เช่น voice, van, view
11. [w] ออกเสียง [ว่ะ] เทียบเสียงกับอักษร “ว” เช่น week, wet, white

เสียง consonant 3 นี้ (12, 13, 14) เรียกว่า nasal consonant คือเวลาเปล่งเสียงให้ลมออกทางจมูก

12. [m] ออกเสียง [อืม] เทียบเสียงกับอักษร “ม” เช่น map, men, some
13. [n] ออกเสียง [อึน] เทียบเสียงกับอักษร “น” เช่น not, sun, know, pneumonia
14. [ŋ] ออกเสียง [อึง] เทียบเสียงกับอักษร “ง” เช่น long, sung, ring

15. [l] - voice ออกเสียง [เล่อะ] (ลิ้นต้องแตะระหว่างฟันหน้ากับเพดานปาก) เทียบเสียงกับอักษร “ล” เช่น light, long
16. [r] ออกเสียง [เรอ] (ลิ้นไม่แตะเพดานปาก) เทียบเสียงกับอักษร เช่น right, wrong

17. [θ] ออกเสียง [ตะ] เทียบเสียงกับอักษร “ต” เช่น think, thing, thank
18. [ð] ออกเสียง [ดะ] เทียบเสียงกับอักษร “ด” เช่น they, then

19. [∫] ออกเสียง [เช่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ช” เช่น she, ship, machine, show, tissue
20. [3] ออกเสียง [เฉ่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ช” เช่น vision, Asian, usual, measure

21. [j] ออกเสียง [เยียะ] เทียบเสียงกับอักษร “ย” เช่น yes, use

22. [h] ออกเสียง [ฮ่ะ] เทียบเสียงกับอักษร “ฮ” เช่น he, hot, who

23. [t∫] ออกเสียง [เช่อะ] เทียบเสียงกับอักษร “ฌ” เช่น cheap, church, nature, watch, check
24. [d3]ออกเสียง [เจอะ] เทียบเสียงกับอักษร “จ” เช่น job, judge, general, joke, major

25. [tr] ออกเสียง [ทระ] เทียบเสียงกับอักษร “ทร” เช่น tree, try, trip
26. [dr] ออกเสียง [ดระ] เทียบเสียงกับอักษร “ดร” เช่น dry, drip, draw

27. [ts] ออกเสียง [สึ] (ใช้ออกเสียงพหูพจน์ที่ลงท้ายด้วย ts) เทียบเสียงกับอักษร “ส” เช่น cats
28. [dz] ออกเสียง [ซึ] (ใช้ออกเสียงพหูพจน์ที่ลงท้ายด้วย ds) เทียบเสียงกับอักษร “ซ” เช่น birds

คำแนะนำ:
1. การฝึกออกเสียง voice และ voiceless นั้นควรถือกระดาษหรือขนนก บริเวณปาก เพื่อสังเกตดูความแตกต่าง เช่น ลองฝึกออกเสียงคำว่า few กับ view จะเห็นความแตกต่างของลมที่ออกมาจากปาก
2. ลองฝึกเสียง consonant ข้างต้นแบบเป็นคู่ เพราะได้จัดเรียงและจับคู่ เช่น ลองฝึก p คู่กับ b, หรือ f คู่กับ v
3. แนะนำว่าเวลาค้นหาคำใน dictionay ให้ดูการออกเสียง phonetic ด้วย เพื่อช่วยในการออกเสียงอย่างถูกต้อง เพราะภาษาอังกฤษไม่มีกฎตายตัวว่าออกเสียงอย่างไรจากการเขียน (คือ ไม่ได้ออกเสียงตามทีเขียน) เพราะฉะนั้น phonetic จะเป็นตัวกำหนดค่ะ

การเทียบเสียงพยัญชนะไทยกับเสียงพยัญชนะอังกฤษ

ก = g [เกอะ]
ข ค ฆ = k [เค่อะ]
ง = ŋ [อึง]
จ = d3 [เจอะ]
ฉ ช = 3 [เฉ่อะ]
ซ = z [ซึ]
ฌ = t∫ [เช่อะ]
ญ ย = j [เยียะ]
ฎ ด = d [เดอะ]
ฎ ต = θ [ตะ]
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ = t [เท่อะ]
ณ น = n [อึน]
บ = b [เบ่อะ]
ป ผ พ ภ = p [เพ่อะ]
ฝ ฟ = f [ฟ่ะ]
ม = m [อืม]
ร ฬ = r [เรอ] (ลิ้นไม่แตะเพดานปาก)
ล = l [เล่อะ] (ลิ้นต้องแตะระหว่างฟันหน้ากับเพดานปาก)
ว = w [ว่ะ] หรือ v ออกเสียง [วู]
ศ ษ ส = s [สึ]
ห ฮ = h [ฮ่ะ]
อ มักจะใช้ออกเสียง vowel

Vowels

1. [i] ออกเสียง [อี] เช่น he, feed, beat
2. [ɪ] ออกเสียง [อิ] เช่น it, bit, did, hit
3. [e] ออกเสียง [เอะ] เช่น pen,
4. [æ] ออกเสียง [แอะ] เช่น map, bad, mad
5. [u:] ออกเสียง [อู] เช่น two, too, boot, food
6. [ʊ] ออกเสียง [อุ] เช่น book, took, look
7. [ɑ:] ออกเสียง [อาร์] เช่น far, car
8. [ə] ออกเสียง [อะล] เช่น ago, available
9. [ʌ] ออกเสียง [อ่ะ] เช่น bus, but, mud, mother
10. [ɜ:] ออกเสียง [เออร์] เช่น bird, first, shirt, murder
11. [eɪ] ออกเสียง [เอ] เช่น date, paid, may
12. [ɔɪ] ออกเสียง [ออย] เช่น boy, toy, voice
13. [ɪə] ออกเสียง [เอียร์] เช่น here
14. [eə] ออกเสียง [แอร์] เช่น hair
15. [əʊ] ออกเสียง [โอ] เช่น no, boat
16. [aɪ] ออกเสียง [ไอ, อาย] เช่น buy, eye, cry
17. [aʊ] ออกเสียง [เอา] เช่น out, how, about
18. [ʊə] ออกเสียง [อัวร์] เช่น sure, tour
19. [ɔ:] ออกเสียง [ออ] เช่น door
20. [ɒ] ออกเสียง [เอาะ] เช่น office


เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยอ่านหนังสืออย่างคร่ำเคร่ง (ไม่ว่าจะภาษาอะไรก็ตาม) แต่ว่าพออ่านจบหน้าแล้ว “ไม่รู้เรื่อง” ว่ากำลังอ่านเรื่องอะไรอยู่ ถ้าเป็นอย่างนั้นลองมาดูวิธีการอ่านแบบ Active Reading กันดีกว่านะคะ วิธีนี้จะช่วยให้การอ่านมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเป็นวิธีที่ใช้ก่อนอ่าน, ขณะอ่าน, และหลังจากอ่าน ทำให้ผู้อ่านสามารถมีสมาธิในการอ่านและเข้าใจในสิ่งที่กำลังอ่านได้ดีขึ้น....

Pre-Reading (ก่อนอ่าน)

- ควรตั้งวัตถุประสงค์ของการอ่าน – อ่านเพื่ออะไร (ความรู้หรือความเพลิดเพลิน)
- preview หนังสือเล่มนั้นก่อนว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร โดยอ่านจากความหมายของชื่อเรื่อง, อ่านบทนำหรือปกหลัง (บทนำจะบอกเรื่องราวย่อๆ ของเรื่องที่กำลังจะอ่าน ส่วนปกหลังมักจะเป็น commentary หรือเรื่องย่อ)
- อ่านบทสรุปของเรื่อง

Reading (ขณะอ่าน)

- ควรขีดเส้นใต้หรือ highlight ข้อความต่อไปนี้:-
1. Thesis statement, main idea, หรือ key points
2. ข้อความหรือข้อมูลที่อ่านแล้วน่าสนใจ
3. คำศัพท์หรือประโยคที่ชอบหรือคิดว่าควรจดจำ
- เขียนข้อความลงใน margin ของหนังสือ (บริเวณพื้นที่ว่างในแต่ละหน้า วิธีนี้เรียกว่า annotate)
- ทำเครื่องหมายที่ thesis statement, main idea, หรือ key points
- เขียนวงกลมรอบๆ คำที่ไม่คุ้นเคย, ผู้คน, หรือเหตุการณ์ต่างๆ
- ตอบโต้ข้อความที่อ่าน เช่น เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเพราะอะไร หรือจะตั้งคำถามหรือจดข้อสงสัยที่เกิดขึ้นขณะอ่าน
- จด note กรณีนี้ใช้เมื่อไม่อยากจดลงในหนังสือ เขียนแนวทางหรือข้อมูลต่างๆ ที่ได้เพื่อค้นคว้าทีหลัง

Post-Reading

- ทบทวนเรื่องที่อ่านจบไปแล้ว
- อ่านใหม่หรืออ่านผ่านๆ บางส่วนถ้าต้องการ
- ลองเขียนว่าเรื่องที่อ่านนั้นมี key points, ตัวอย่าง, หรือเหตุการณ์สำคัญๆ อะไรบ้าง
- หาคำศัพท์และเขียนความหมายกำกับไว้
- ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้คน, สถานที่, หรือเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคยทาง internet
- เขียน thesis statement และ key points ที่ได้อ่านไปแล้ว โดยใช้คำพูดของเราเอง (paraphrase)
- เขียนเรื่องย่อ/สรุปเรื่องที่ได้อ่านไปแล้ว (ดูว่าเราเข้าใจเรื่องที่อ่านมากน้อยแค่ไหน)
- เขียนความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องที่อ่าน (การเขียนลักษณะนี้เรียกว่า journal response)
- ตั้งคำถามและตอบคำถาม




Type of Questions

โดยทั่วไปแล้วการตั้งคำถามมี 4 แบบคือ:-

- Explicit (Right there questions) – เป็นการตั้งถามที่คำตอบมีอยู่ในเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน

- Inferential (Pulling it together questions) – เป็นคำถามที่ต้องใช้ทักษะในการแปลความ (ตีความ) เพราะคำตอบไม่ได้อยู่ในเนื้อหาที่อ่าน แต่ผู้อ่านจะต้องใช้ hints และ clues จากเนื้อหาที่อ่าน อาจจะเป็นข้อมูลจากหลายๆ ตอนมาใช้ในการตอบคำถาม

- Evaluation (Considering the author’s strategy questions) – เป็นคำถามที่ผู้อ่านประเมินเนื้อหาและวิธีการเขียนของผู้แต่ง เป็นเหมือนการอ่านใจผู้แต่งว่าเขาต้องการนำเสนอเรื่องอะไร วิธีการเขียนดีหรือไม่

- Global (How does this apply to me or the real world questions) – เป็นคำถามที่ผู้อ่านจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่าเรื่องที่อ่านนั้นเกี่ยวโยงหรือมีผลกระทบต่อผู้อ่านหรือคนทั่วไปอย่างไร

วิธีอ่านแบบนี้มีประโยชน์และใช้ได้ผลจริงๆ ค่ะ ทำให้เข้าใจเนื้อหาที่อ่านเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเวลาสอบแทบจะนึกออกเป็นหน้าๆ เลย (เหมือน scan แต่ละหน้าแต่ละบทไว้ในสมองเลยค่ะ)...ลองเอาไปใช้ดูนะคะ...







way to say 'said'
ในการเขียน essay หรือ composition หรือ writing ในภาษาอังกฤษนั้น การเลือกใช้คำก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะว่านอกจากจะเป็นการบ่งบอกถึงความรู้ของผู้เขียนแล้ว ยังช่วยดึงดูดคนอ่านอีกด้วย เช่นเดียวกับการเขียนในภาษาไทยที่การใช้ภาษาสละสลวยมักจะทำให้บทความน่าอ่าน

การเขียน writing ภาษาอังกฤษนั้น แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการคิดรูปประโยคเป็นภาษาไทย เพราะว่าจะทำให้ภาษาที่ออกมาจะเป็น Thinglish และพยายามเลือกใช้คำ เช่น คำว่า "say" ในภาษาอังกฤษนั้น สามารถใช้คำอื่นแทนได้และให้ความหมายที่ตรงกับความต้องการของผู้เขียน

สำหรับน้องๆ ที่มักจะเจอปัญหานึกคำศัพท์ไม่ค่อยออก เวลาต้องเขียน วันนี้เอาคำศัพท์ที่สามารถใช้แทนคำว่า "said" มาฝากนะคะ...100 Ways to say 'SAID ลองเอาไปใช้กันดูนะคะ...

ที่มา: Reading and Writing Center, Los Medanos College


การออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษ
การจะพูดภาษาใดนั้นต้องเริ่มต้นด้วยการออกเสียงให้ถูกต้องก่อนแล้วจึงหัดพูดเป็นประโยคเราเรียนภาษาอังกฤษมาเป็นเวลานาน
แต่ไม่ได้เรียนเพื่อการพูด เท่าที่เรียนเกี่ยวกับการออกเสียงก็เพียงให้รู้จักภาษาอังกฤษและก็ได้เรียนกันมาโดยถูกต้องเป็นบางส่วน
เท่านั้น เราจะมาเริ่มต้นการออกเสียงอักษร 26 ตัวให้ถูกต้องดังนี้

A, a ปกติเราจะออกเสียงว่า เอ การออกเสียงที่ถูกต้องออกเสียงว่า เอ+อิ เพื่อไม่ให้ยุ่งยากต่อการออกเสียงให้ทำดังนี้คือ เหยียดริมฝีปากออกให้กว้าง ออกเสียง เอ แล้วเลื่อนขากรรไกรพร้อมกับลิ้นสูงขึ้นเพื่อออกเสียง อิ คำใด ๆ ที่มีอักษร a อยู่ด้วยแล้วอ่านออกเสียงอย่างที่กล่าว เช่นคำว่า day, way, cake ออกเสียง เอ เท่านั้นฝรั่งก็เข้าใจแต่ไม่ได้เป็นเสียง
ที่เขาออกเสียงกัน

B, b ออกเสียง บี ออกเสียงสระ อี ี โดยเหยียดริมฝีปากออกกว้างกว่าเสียง อี ของไทย

C, c ออกเสียง ซี ออกเสียงสระ อี โดยเหยียดริมฝีปากออกเช่นกัน

D, d ออกเสียง ดี ออกเสียงสระ อี โดยเหยียดริมฝีปากออกเช่นกัน

E, e ออกเสียง อี ออกเสียงสระ อี โดยเหยียดริมฝีปากออกเช่นกัน

F, f ออกเสียงว่า เอฟ โดยตอนท้ายออกเสียง ฟ โดยให้ได้ยินเสียงลมเสียดสีระหว่างฟันบนกับริมฝีปากล่าง ส่วนมากคนไทยจะไม่ออกเสียงพยัญชนะท้ายคำ

G, g เราออกเสียงว่า จี โดยออกเสียง จ แบบภาษาไทย ถ้าหากจะออกเสียงให้ถูกต้องแล้วต้องดัดแปลงจากเสียง จ ภาษาไทยให้เป็นเสียงที่ฝรั่งเขาออกกันดังนี้คือ ให้ห่อริมฝีปากเข้ามาเล็กน้อยและทำริมฝีปากให้ยื่นออกไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วออกเสียง จ ให้แรงกว่าการออกเสียง จ ของไทยแล้วจึงออกเสียง อี โดยเหยียดริมฝีปากออก

H, h ปกติเราออกเสียงว่า เอช ออกเสียง a ดังที่กล่าวไปแล้วคือ เอ+อิ แล้วออกเสียง ช เสียง ตอนท้ายต้องออกเสียง ช ให้ชัดเจนแต่ต้องดัดแปลงเสียง ช แบบไทย ๆ เป็นเสียง ch ของฝรั่งคือทำเช่นเดียวกันกับลักษณะการออกเสียง g โดยห่อริมฝีปากนิดหน่อยและทำริมฝีปากให้ยื่นออกไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วจึงออกเสียง ช ออกมาให้ค่อนข้างแรง เพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียงให้ทำอย่างออกเสียง a แบบที่กล่าวไปแล้วและห่อปากเข้ามาเล็กน้อยและให้ยื่นออกไปเล็กน้องแล้วออกเสียง ช แรง ๆ มีบางคนออกเสียงว่า เฮช จะว่าผิดก็ไม่เชิงเพราะชาว Irish ซึ่งพูดภาษาอังกฤษเหมือนกันออกเสียงแบบนั้น เพียงแต่ไม่เป็นที่นิยมของคนทั่วไป

I, i ปกติเราจะออกเสียงว่า ไอ ต้องแก้ไขโดยออกเสียงว่า อาย แบบออกเสียง eye คำต่าง ๆ ที่เราเคยออกเสียงว่า ไอ ให้เปลี่ยนเป็นออกเสียง อาย แทน บางครั้งเสียง อาย นี้ก็สั้นจนฟังแล้วเหมือนเสียง ไอ เสียงจะสั้นหรือยาวเอาไว้เรียนกันทีหลังซึ่งขึ้นกับพยัญชนะที่ตามมา ถ้าออกเสียง I โดด ๆ ก็เป็นเสียง อาย ไม่สั้น ความจริงแล้ว
เสียง ไอ ของฝรั่งไม่มี มีแต่เสียง อาย ยาวหรือสั้น ตัวอย่างการออกเสียงนี้ได้แก่ bicycle, side, direct เสียง อายจะสั้นในคำที่มีเสียงพยัญชนะเสียงหนักตามเช่นคำว่า bite, kite, light, life พยัญชนะเสียงหนักมีอะไรบ้างแล้วจะกล่าวในภายหลัง

J, j ออกเสียงว่า เจ+อิ การออกเสียงตัว จ ให้ออกเสียงแบบที่กล่าวตอนออกเสียง จ ของตัว g ( อย่าลืมเหยียดริมฝีปากออกทันทีเมื่อออกเสียง จ เสร็จเพื่อออกเสียง เอ และ อิ ตามมา)

K, k ออกเสียงว่า เค+อิ เสียง ค ของฝรั่งไม่เหมือน ค ของไทย ออกเสียง ค ของฝรั่งโดยยกโคนลิ้นขึ้นไปให้ยันกับเพดาน ปลายลิ้นอยู่ต่ำ จะแน่ใจว่าโคนลิ้นยันเพดานแล้วโดยทดลองยกโคนลิ้นขึ้นไปแล้วพยายามอัดลมขึ้นมา ถ้าลมออกทางปากไม่ได้ก็แสดงว่าโคนลิ้นยันเพดานแล้ว เมื่อลมโดนอัดขึ้นมาแล้วให้ลดลิ้นลงแล้วออกเสียง ค ก็จะเป็นเสียง k ของฝรั่ง ( ขณะออกเสียงริมฝีปากเหยียดออกตลอดเวลา )

L, l ปกติออกเสียงกันว่า แอล ให้เปลี่ยนเป็นออกเสียง เอล โดยริมฝีปากเหยียดออกมากกว่า เอ ของไทยซึ่งทำให้ฟังแล้วคล้ายเสียงสระ แอ

M, m ออกเสียงว่า เอ็ม ตอนท้ายที่ออกเสียง ม ให้เม้มริมฝีปากให้แน่น

N, n ออกเสียงว่า เอ็น ตอนท้ายที่ออกเสียง น ให้กดปลายลิ้นเข้ากับแนวปุ่มเหงือกหลังฟันบนให้แน่น

O, o ออกเสียงกันว่า โอ เสียงนี้ชาวอังกฤษออกอย่างหนึ่ง ชาวอเมริกันออกอีกอย่างหนึ่ง ชาวอังกฤษจะออกเสียงเป็นสระประสมโดยออกเสียง เออ+อุ อ้าปากเล็กน้อย อย่าเกร็งริมฝีปากและลิ้นแล้วออกเสียง เออ ห่อริมฝีปากและให้ริมฝีปากยื่นออกไปแล้วออกเสียง อุ ส่วนอเมริกันจะออกเสียง โอ+อุ โดยห่อริมฝีปากและให้ริมฝีปากยื่นออกแล้วออกเสียง โอ ต่อด้วยเสียง อุ โดยที่ส่วนหลังของลิ้นเลื่อนขึ้นเล็กน้อย อย่าออกเสียง โอ เฉย ๆ

P, p ออกเสียงว่า พี เม้มริมฝีปากให้แน่นแล้วอัดลมขึ้นมาก่อนแล้วจึงเปิดปาก

Q, q ออกเสียงว่า คิว ตัว ค ออกเสียงให้เหมือนกับที่ออกเสียงตัว ค ของ k

R, r ออกเสียง อา ถ้าเป็น r ที่ประกอบเป็นคำให้ม้วนปลายลิ้นไปทางด้านหลัง อย่าให้ปลายลิ้นติดเพดาน ลิ้นจะไม่รัวเหมือน ร ของภาษาไทย

S, s ออกเสียงว่า เอส ให้มีเสียงลมพ่นออกตอนท้ายด้วย

T, t ออกเสียงว่า ที พ่นลมออกเสียง ท ให้แรงกว่า ท ของไทย

U, u ออกเสียงว่า ยู

V, v ออกเสียงว่า ว ี แต่ ว ของไทยไม่ใช่เสียง V ของฝรั่งให้ออกเสียงโดยนำริมฝีปากล่างเข้าไปใต้ฟันบนแล้วเปล่งเสียงให้เสียงก้องออกจากลำคอ

W, w ให้ออกสียงว่า ดั๊บเบิลยู โดยออกเสียงหนักที่ ดั๊บ และออกเสียงเบาและเร็วที่ เบิลยู อย่าออกเสียง ยู ยาวและหนักเหมือนที่ออกเสียงกัน พยางค์แรกออกเสียงหนักและเสียงจะสูงและยาวกว่าสองพยางค์ต่อไป

X , x ออกเสียงว่า เอคซ ตอนท้ายให้มีเสียงลมเสียดสีระหว่างลิ้นกับเพดานช่วงฟันบนด้วย

Y, y ออกเสียงว่า วาย

Z, z ออกเสียงว่า เซด แบบชาวอังกฤษ ชาวอเมริกันออกเสียงว่า ซี เสียงนี้ไม่มีในภาษาไทย ต้องออกเสียงโดยให้ก้องจากลำคอเป็นเสียงบึ่งจากลำคอ เอามือแตะที่คอหอยแล้วออกเสียง ถ้ารู้สึกว่าที่กล่องเสียงสั่นก็ใช้ได้


หมายเหตุ เสียง อี และ เอ ในภาษาอังกฤษต้องเหยียดริมฝีปากออกให้กว้างกว่าเสียง อี และ เอ ของภาษาไทย
พยัญชนะเสียงระเบิด
พยัญชนะเสียงระเบิดเกิดจากการอัดลมขึ้นมาจากปอด แต่ลมนั้นจะโดนกักด้วยส่วนต่าง ๆ ของปาก เมื่อส่วนที่กักลมเปิดกว้างลมจะระเบิดออกจากปากทันทีทันใด
ริมฝีปาก เป็นส่วนของปากที่กักลมไว้ได้ ก่อนที่ลมจะอัดขึ้นมาถ้าเราเม้มฝีปากไว้แล้วอัดลมขึ้นมา ลมก็จะโดนกักด้วยริมฝีปาก เมื่อเปิดริมฝีปากออก ลมก็จะระเบิดออกจากปาก ลมที่ระเบิดออกโดยที่กล่องเสียงไม่สั่นจะเป็นเสียง /p/ ถ้ากล่องเสียงสั่นจะเป็นเสียง /b/
แนวปุ่มเหงือก ก่อนที่จะอัดลมขึ้นมาถ้าจรดปลายลิ้นให้แน่นกับแนวปุ่มเหงือกหลังฟันบนและด้านช้างลิ้นแนบกับแก้มทั้งสอง ลมที่อัดขึ้นมาจะโดนกักไว้ เมื่อลดลิ้นลงให้เปิดกว้างลมจะระเบิดออกจากปาก ลมที่ระเบิดออกโดยกล่องเสียงไม่สั่นจะเป็นเสียง /t/ ลมที่ระเบิดออกโดยกล่องเสียงสั่นจะเป็นเสียง /d/
เพดานอ่อน ก่อนที่จะอัดลมขึ้นมาหากยกโคนลิ้นขึ้นไปให้ชนกับเพดานอ่อนด้านหลังปาก เมื่ออัดลมขึ้นมาลมจะโดนกักไว้ เมื่อลดโคนลิ้นลงทันทีทันใด ลมก็จะระเบิดออกปาก ถ้ากล่องเสียงไม่สั่นจะเป็นเสียง /k/ หากกล่องเสียงสั่นจะเป็นเสียง /g/

พยัญชนะเสียงกักและเสียดสี
พยัญชนะชนิดนี้ลมจะโดนกักด้วยลิ้นที่จรดแน่นที่หลังแนวปุ่มเหงือกหรือเหนือแนวปุ่มเหงิอกหลังฟันบนเมื่ออัดลมขึ้นมา เมื่อดึงปลายลิ้นออกจากจุดสัมผัสและยังคงให้ปลายลิ้นอยู่บริเวณนั้น ลมจะออกจากปากแบบเสียดสีระหว่างปลายลิ้นกับเพดานด้านหลังแนวปุ่มเหงือก หากการออกเสียงทั้งหมดกล่องเสียงไม่สั่น เสียงนั้นจะเป็นเสียง ch แต่ถ้าหากกล่องเสียงสั่นเสียงนั้นจะเป็นเสียงพยัญชนะ j การห่อริมฝีปากและทำให้ริมฝีปากยื่นออกไปเล็กน้อยจะทำให้ปลายลิ้นอยู่ในตำแหน่งหลังแนวปุ่มเหงือกเมื่อปลายลิ้นขึ้นไปสัมผัสกับแนวหลังปุ่มเหงือกเหนือฟันบน

พยัญชนะลมเสียดสี
ส่วนต่าง ๆ ของปากจะอยู่ในลักษณะที่ทำให้ลมที่อัดขึ้นมาจากปอดออกไม่สะดวกจะเสียดสีกับส่วนต่าง ๆ ของปาก
/f/, /v/ เป็นพยัญชนะที่เสียงเกิดจากลมเสียดสีระหว่างฟันล่างและริมฝีปากบน /f/ เป็นเสียงลมเสียดสีที่กล่องเสียงไม่สั่น ส่วน /v/ เป็นพยัญชนะที่กล่องเสียงสั่น
th เสียงไม่ก้อง และเสียงก้อง เสียงของพยัญชนะทั้งสองเกิดจากการเสียดสีของลมระหว่างฟันบนและปลายลิ้น th เสียงไม่ก้องกล่องเสียงจะไม่สั่นส่วน th เสียงก้อง กล่องเสียงจะสั่น
/s/, /z/ เป็นพยัญชนะที่เสียงเกิดจากลมเสียดสีระหว่างแนวปุ่มเหงือกหลังฟันบนกับปลายลิ้นที่ยกขึ้นเข้าไปใกล้แนวปุ่มเหงือกหลังฟันบนเพื่อให้เกิดข่องแคบให้ลมเสียดสี /s/ เป็นเสียงที่กล่องเสียงไม่สั่น ส่วน /z/ เป็นพยัญชนะที่กล่องเสียงสั่น
sh เสียงไม่ก้องและเสียงก้อง เป็นพยัญชนะที่เกิดจากเสียงลมเสียดสีระหว่างปลายลิ้นกับหลังแนวปุ่มเหงือกหลังฟันบน sh เสียงไม่ก้องกล่องเสียงจะไม่สั่นส่วน sh เสียงก้องกล่องเสียงจะสั่น การห่อริมฝึปากและทำให้ริมฝีปากยื่นออกจะทำให้ปลายลิ้นที่ยกขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งหลังแนวปุ่มเหงือกหลังฟันบน
/h/ เป็นเสียงลมที่เสียดสีระหว่างช่องว่างระหว่างเส้นเอ็นเสียง

พยัญชนะลมขึ้นจมูก
พยัญชนะเหล่านี้ลมจะออกทางปากไม่ได้ ส่วนต่าง ๆ ของปากจะกั้นไม่ให้ลมออกทางปาก ลมจะออกทางจมูก
/m/ ริมฝีปากทำหน้าทีกั้นลมไม่ให้ออกทางปากโดยที่เม้มริมฝีปากไว้ ลมจะขึ้นไปออกทางจมูก
/n/ ปลายลิ้นที่ยกขึ้นไปแตะแนวปุ่มเหงือกหลังฟันบนและลิ้นด้านข้างกันลมออกทางข้างปากทำให้ลมออกทางปากไม่ได้ ลมจะขึ้นไปอออกทางจมูก
ng เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากโคนลิ้นยกขึ้นไปยันเพดานอ่อนทำให้ลมออกทางปากไม่ได้ ลมจะขึ้นไปออกทางจมูก

พยัญชนะลมไหลข้างลิ้น
ปลายลิ้นกั้นไม่ให้ลมออกทางด้านหน้าปากเนื่องจากปลายลิ้นยกขึ้นไปยันแนวปุ่มเหงือกหลังฟันบนแต่ด้านข้างของลิ้นไม่ได้กั้นลมให้ออกทางด้านข้างลิ้น
/l/ เป็นพยัญชนะที่ลมออกทางด้านข้างของลิ้น ไม่ออกทางด้านหน้าปากเนื่องจากปลายลิ้นยกขึ้นไปสัมผัสกับแนวปุ่มเหงือกหลังฟันบน

พยัญชนะกึ่งสระ
พยัญชนะกึ่งสระเป็นพยัญชนะที่เมื่อจะออกเสียงพยัญชนะเหล่านี้จะต้องออกเสียงสระก่อน พยัญชนะเหล่านี้ได้แก่เสียง /w/, /r/, /j/ (ดูการออกเสียงของพยัญชนะกึ่งสระ)

Th เสียงไม่ก้องและเสียงก้องนี้ไม่มีเสียงในภาษาไทย คนไทยส่วนมากจะใช้เสียง ท แทนเสียง th เสียงไม่ก้องและจะใช้เสียง ด
แทนเสียง th เสียงก้อง เช่นคำว่า thirteen และ father คำแรกมีเสียง th แบบเสียงไม่ก้อง th คำหลังเป็น th แบบเสียงก้อง จะออกเสียงให้ถูกต้องปฏิบัติดังนี้


ที่สำคัญคือเสียงนี้ปลายลิ้นต้องอยู่ใกล้หรือใต้ขอบฟันบนหากจะออกเสียงนี้ให้ทดลองส่องกระจกดูเพื่อตรวจสอบให้เห็นปลายลิ้นใต้
ขอบฟันบน หากสังเกตฝรั่งพูดเสียงนี้ก็จะเห็นปลายลิ้นใต้ขอบฟันบน เมื่อปลายลิ้นอยู่ใต้ขอบฟันบนแล้วจะออกเสียง ท ก็ได้
สำหรับเสียง th แบบเสียงไม่ก้องโดยให้มีลมผ่านระหว่างปลายลิ้นและฟันบน อย่าให้กล่องเสียงสั่น สำหรับ th แบบเสียงก้อง
เมื่อปลายลิ้นอยู่ใต้ขอบฟันบนแล้วจะออกเสียง ด ก็ได้ เสียงจะเป็นเสียงแบบกล่องเสียงสั่นเอง


หลักเกณฑ์การออกเสียง

1. คำที่มี th จะออกเสียงได้ดังนี้
- ออกเป็นเสียง th เสียงไม่ก้องเช่นคำว่า thick
- ออกเป็นเสียง th เสียงก้องเช่นคำว่า mother
- ออกเป็นเสียง t เช่นคำว่า Thomas, Thailand, thyme.

2. เมื่อมี th อยู่ต้นคำ จะออกเสียงเป็นเสียง th เสียงไม่ก้องหรือเสียงก้องมีข้อสังเกตดังนี้คือ จะออกเสียงแบบ th เสียงก้อง
ในเมื่อคำนั้นเป็น คำที่เกี่ยวกับไวยากรณ์ในลักษณะที่เป็น คำนำหน้านามที่ระบุแน่นอน สรรพนาม สันธาน กริยาวิเศษณ์ที่ขยาย
กริยา เช่นคำว่า this, they, though, thus ถ้าหากไม่เป็นคำที่เกี่ยวกับไวยากรณ์ดังกล่าวจะออกเสียง th แบบเสียงไม่ก้อง
เช่นคำว่า three, thing, thread คำที่ขึ้นต้นด้วย th และเป็นคำนามหรือกริยาออกเสียง th แบบเสียงไม่ก้องยกเว้นบางคำ
ที่ออกเสียง t ดังกล่าวในข้อ 1

3. เมื่อ th อยู่กลางคำออกเสียงดังนี้
- th เสียงไม่ก้องเมื่อเป็นคำมาจาก กรีกหรือลาติน เช่นคำว่า method, author, ether
- th เสียงก้องเมื่อเป็นคำที่มาจากเยอรมัน เช่นคำว่า father, together, heathen

4. เมื่อ th อยู่ท้ายคำออกเสียงดังนี้
- th เสียงไม่ก้องเช่นคำ breath, truth
- th เสียงก้อง มีไม่กี่คำเช่นคำ smooth
- with ชาวอังกฤษออกเสียง th แบบเสียงก้อง ชาวอเมริกันออกเสียง th แบบเสียงไม่ก้อง
- th เสียงก้อง เมื่อ th อยู่หน้า e ที่ไม่ออกเสียงหรือเป็นคำที่มาจาก th หน้า e ที่ไม่ออกเสียง
เช่นคำว่า breathe, soothing (มาจากคำว่า soothe )

5. มีคำที่ลงท้ายด้วย th หลายคำที่ออกเสียง th แบบเสียงไม่ก้อง แต่จะมีเสียงเปลี่ยนไปเป็น th เสียงก้องเมื่อทำเป็นพหูพจน์
เช่น mouth เป็น mouths ( th คำหลังนี้ออกเสียงแบบ th เสียงก้อง )
- เมื่อเติม -ern และ -erly เช่น north และ south คำทั้งสองออกเสียง th แบบเสียงไม่ก้อง
- เมื่อเติม -ern เป็น northern และ southern th ของคำทั้งสองออกเสียงเป็นเสียงก้อง
สำหรับคำว่า south ซึ่งออกเสียงว่า เซ้าท ( ออกเสียง ท โดยพ่นลมออกจากปากในขณะที่ปลายลิ้นอยู่ใต้ขอบฟันบน ) เมื่อเติม
-ern เข้าไปนอกจากจะออกเสียง th เป็นเสียงก้องแล้ว เสียงสระยังเปลี่ยนไปด้วยเป็นออกเสียงว่า ซัดเดิ่น ( ออกเสียง ด
โดยปลายลิ้นอยู่ ใต้ขอบฟันบน เมื่อเป็นคำ southerly ก็ออกเสียง th เป็นแบบเสียงก้องด้วย

6. th ออกเสียงเป็นเสียง t ในคำเหล่านี้ thyme, Chatham, Streatham, Thames, Thomas

7. ไม่ออกเสียง th ในคำบางคำเช่น asthma, isthmus (จะออกเสียงก็ได้)
อย่าลืมว่าเสียง th ต้องนำปลายลิ้นไปอยู่ในตำแหน่งใต้ขอบฟันบนแล้วค่อยออกเสียง อย่าออกเสียงก่อนแล้วจึงนำปลายลิ้นไปอยู่ใต้ขอบฟันบน ฝึกออกเสียงความแตกต่างของ t และ th เสียงไม่ก้อง, d และ th เสียงก้องในคำข้างล่างนี้


• หลักเกณฑ์การออกเสียง
1. เมื่อคำใด ๆ มีพยัญชนะ w ออกเสียงดังนี้
ออกเสียง w เช่นคำว่า swim, away
เมื่อควบกับ a เป็น aw ออกเสียง ออ เช่นคำว่า law เมื่อควบกับ e เป็น ew ออกเสียง อิ แล้วตามด้วยเสียง อู เช่นคำว่า few เมื่อควบกับ o เป็น ow ออกเสียง อา แล้วตามด้วย อุ เช่นคำว่า cow หรือ เออ แล้วตามด้วย อุ เช่นคำว่า low

2. เมื่อ w มี r ตามในต้นคำไม่ออกเสียง w เช่น write, wreck คำบางคำมี w แต่ไม่ออกเสียง w เช่นคำว่า two, answer

3. คำที่มี u บางคำออกเสียง w เช่นคำว่า persuade, quite

4. เมื่อ w มี h ตามเป็น wh ออกเสียง w หรือ hw แล้วแต่กรณีดังนี้คือ
ชาวอังกฤษและชาวออสเตรเลียออกเสียง wh เป็นเสียง w เช่นคำว่า white
ชาวอเมริกัน ชาวสกอต ชาวไอริช มักออกเสียง wh เป็นเสียง hw( h นำหน้า w ) เช่นคำว่า white

5. wh ในคำบางคำออกเสียง h เช่นในคำว่า who, whole


r แทนด้วยสัญลักษณ์ /r/

ทำท่าออกเสียงสระ อุ แล้วม้วนปลายลิ้นให้ชี้เพดานแข็ง( ห่างจากแนวเหงือกมาก ๆ ) อย่าให้ลิ้นแตะเพดานบนแล้วออกเสียงให้ลมผ่านกล่องเสียงให้สั่น เมื่อมีเสียงตามมาให้ออกเสียงตามทันที เช่นคำว่า right ( อย่าใช้ ร ของภาษาไทยซึ่งเป็นการรัวลิ้นซึ่งไม่เหมือนกัน )


• หลักเกณฑ์การออกเสียง
1. คำที่มี r ออกเสียง r ตามที่กล่าวแล้ว เช่นคำว่า run

2. คำที่มี rr ออกเสียง r ตัวเดียว เช่นคำว่า merry คำนี้ออกเสียงว่า เมริ เน้นเสียงหนักที่ เม ส่วนมากจะออกเสียงผิดเป็น เมอรี่

3. เมื่อมีพยัญชนะตามหลัง r หรือ r อยู่ท้ายคำ มีการออกเสียงต่าง ๆ ดังนี้
ชาวอังกฤษและชาวออสเตรเลีย ไม่ออกเสียง r แต่ถ้า r อยู่ท้ายคำและคำต่อไปขึ้นต้นด้วยสระ จะออกเสียง r ควบกับสระที่ขึ้นต้นของคำต่อไป เช่น คำว่า far away จะออกเสียงว่า ฟาเรอะเว
ชาวอเมริกัน ชาวสกอต และชาวไอริช ออกเสียง r

4. ในตอนกลางคำหรือท้ายคำที่มี r และมีสระนำหน้า r จะทำให้การออกเสียงสระเปลี่ยนไป สระที่ประกอบกับ r เป็นคู่ ๆ ดังนี้ ar, er, ir, or, ur, yr สระสองตัวร่วมกับ r มีดังนี้ air, are, ear, eer, eir, ere, eur, ier, ire, oar, oor, ore, our, ure

5. คำว่า iron ชาวอังกฤษไม่ออกเสียง r ออกเสียงว่า อายเอิ่น แต่ชาวอเมริกันออกเสียง r โดยที่ออกเสียง r ตามหลังสระ เหมือนกับเขียนคำนี้ว่า iorn.

6. คำที่มี rh หรือ rrh ออกเสียง r ตัวเดียว เช่นคำว่า rhythm, rhapsody rrh อยู่ท้ายคำ ชาวอังกฤษไม่ออกเสียง ชาวอเมริกันออกเสียง r ตัวเดียว เช่นคำว่า catarrh


/j/ เป็นสัญลักษณ์ phonetic ซึ่งออกเสียงดังนี้
________________________________________
เริ่มด้วยการออกเสียง อี ถ้าคำนั้นมีสระตามให้ออกเสียงสระนั้นตามหลังจากออกเสียง อี ถ้าเป็นพยัญชนะตามเสียงนี้ให้ลดระดับลิ้นลงเมื่อออกเสียง อิ แล้วออกเสียงพยัญชนะที่ตาม การออกเสียงคำนี้กล่องเสียงสั่น

• You เขียนการออกเสียงแบบ phonetic ว่า ju: ออกเสียงว่า อิ แล้วตามด้วย อู หากมีสัญลักษณ์ /j/ นำหน้าอาจออกเสียง ย แทนได้ แต่ถ้ามีเสียง /j/ อยู่กลางคำควรที่จะออกเสียง อิ แล้วตามด้วยเสียงสระ เช่นคำว่า beauty เขียนการออกเสียงโดยใช้สัญลักษณ์ phonetic จะเขียนว่า bju:ti ออกเสียง ตัว b แล้วออกเสียง อิ ตามด้วยเสียงสระ อู แล้วจึงออกเสียง ti คำว่า few ก็จะเขียนว่า fju: ซึ่งใช้หลักการออกเสียงเช่นเดียวกัน
ชาวอเมริกันจะไม่ออกเสียง /j/ เมื่อเสียง /j/ ตามหลังพยัญชนะ t, d, n, l, s, และ th ทีออกเสียงแบบเสียงไม่ก้องซึ่งชาวอังกฤษจะออกเสียง /j/ ตามหลังพยัญชนะเหล่านั้น เช่นคำว่า tune, due, new, absolute, suit, enthusiasm ชาวอเมริกันจะออกเสียง อู ตามหลัง t, d, n, l, s, th ชาวอังกฤษจะออกเสียง อิ ก่อนแล้วตามด้วยเสียง อู


การเน้นเสียง
คำในภาษาอังกฤษมีตั้งแต่พยางค์เดียวจนถึงหลายพยางค์ คำภาษาอังกฤษที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์ต้องออกเสียงเน้นที่พยางค์ที่กำหนดไว้ ถ้าหากออกเสียงเรียบ ๆ หรือเน้นที่พยางค์ที่ไม่ถูกต้องฝรั่งจะไม่เข้าใจ ดังนั้นการเน้นพยางค์ของคำที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ การเน้นพยางค์ของคำใด ๆ หมายถึงการออกเสียงดัง เสียงสูงและเสียงยาว กว่าพยางค์อื่น ๆ ที่ไม่ได้เน้น ถ้าหากคำมีพยางค์หลายพยางค์ก็จะมีการเน้นหลักและเน้นรองลงไป การออกเสียงอย่ากระตุกกระชากซึ่งไม่ได้เป็นการพูดธรรมดา เป็นการแสดงอารมโกรธหรือไม่พอใจแบบภาษาไทย สิ่งที่ขอแนะนำคือควรมีพจนานุกรมที่เขียนการออกเสียงด้วยสัญลักษณ์ phonetics แบบอังกฤษตามที่ได้อธิบายไว้ พจนานุกรมบางเล่มก็จะอธิบายทั้งการออกเสียงที่แตกต่างกันระหว่างสำเนียงอังกฤษและสำเนียงอเมริกัน ให้นำเอาการออกเสียงที่ได้อธิบายไว้แล้วไปออกเสียงจากที่พจนานุกรมอธิบายการออกเสียงด้วยสัญลักษณ์ดังกล่าว อย่าออกเสียงตามคำไทยที่เขียนไว้เพราะจะออกเสียงได้ไม่เหมือนเนื่องจากเสียงภาษาไทยบางเสียงไม่เหมือนเสียงภาษาอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงสระจะเขียนให้ออกเสียงเหมือนเป็นไปไม่ได้ เช่น ถ้าเปิดพจนานุกรมทีเขียนการออกเสียงด้วยภาษาไทย อักษรแรกคือ A จะเห็นว่าเขียนให้ออกเสียงว่า เอ ซึ่งไม่ใช่เสียงจริง( ออกเสียงอย่างไรให้ไปดู การออกเสียงอักษรภาษาอังกฤษที่อธิบายไว้แล้ว ) ให้สังเกตพยางค์ที่ต้องเน้นเสียง ถ้าหากมีหลายพยางค์ก็จะเห็นพยางค์ที่ต้องเน้นเสียงหลักและเน้นเสียงรอง การเน้นเสียงรองเสียงจะค่อยกว่าพยางค์ที่เน้นเสียงหลักแต่จะดังกว่าพยางค์ที่ไม่ได้เน้นเสียง พยางค์ที่ไม่ได้เน้นเสียงจะออกเสียงเบาและสั้น บางพยางค์ก็หายไปเลย หากมีโอกาสก็ฝึกฟังจากหนังและข่าวก็จะคุ้นไปเอง สำหรับหลักเกณฑ์ในการเน้นเสียงก็มีอยู่บ้างแต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง ส่วนมากก็จะเป็นไปตามที่จะอธิบายดังนี้


คำที่มีสองพยางค์

1. คำนามส่วนมากจะเน้นที่ พยางค์แรก เช่นคำว่า ruler, flower, merchant แต่ก็มีคำนามบางคำที่มีสองพยางค์แต่เน้นเสียงที่พยางค์หลังเช่น Japan

2. กริยาที่มีสองพยางค์ส่วนมากจะออกเน้นเสียงที่พยางค์สุดท้ายเช่น receive, believe, delete แต่ก็มีกริยาบางคำที่มีสองพยางค์แต่ออกเน้นเสียงพยางค์แรกเช่น open

3. คำนามสองคำหรือคำคุณศัพท์กับคำนามรวมกันมักเน้นเสียงที่พยางค์หน้า เช่น letterbox, desktop, post office, greenhouse, blackberry.

4. คำคุณศัพท์กับกริยาช่องที่สามจะเน้นเสียงพยางค์หลังซึ่งเป็นส่วนของกริยาช่องที่สาม เช่น well-done, old-fashioned, hard-boiled ( ต้มให้แข็ง เช่น ไข่ )

5. บุพบทกับกริยาจะเน้นเสียงพยางค์ส่วนหลังซึ่งเป็นส่วนของกริยา เช่น overlook, undercook, outbreak

คำที่เกี่ยวกับคำลงท้าย

1. เมื่อคำนั้นลงท้ายด้วย -ain, -neer, -ese, -ette, -sque, -ique ให้เน้นเสียงที่พยางค์นั้น เช่นคำว่า obtain, engineer, Chainesse, cigarette, picturesque, technique.

2. คำที่ลงท้ายด้วย -tion, -cian, -sion, -ic, -ial, -ual, -ian, -ient, -ous, -eous,-itive, -itude. -meter จะเน้นเสียงที่พยางค์หน้าคำเหล่านี้เช่น
question, electrician, version, electric, artificial, residual, magician, efficient, ambiguous, miscellaneous, sensitive, attitude, thermometer.

3. คำลงท้ายด้วย -phy, - gy, -try, -cy, -fy, -ly, -ty, -ate, -ize, -ary. จะเน้นเสียงที่พยางค์ที่สามนับจากพยางค์ท้ายสุดเช่น e ography, technology, geometry, legacy, identify, immediately, ability, graduate, modernize, temporary.

กฎข้อนี้เพื่อให้จำง่ายให้จำดังนี้คือ คำใดที่มีตั้งแต่ 3 พยางค์ขึ้นไปแล้วลงท้ายด้วย -y ให้เน้นเสียงที่พยางค์ที่สามก่อนพยางค์สุดท้ายที่มี -y


เสียง t ที่หายไป

เสียง t ทีหายไปเป็นเสียงที่นำหน้าด้วย s หรือ f เช่น fast, left และตามด้วยคำที่ขึ้นต้นด้วย พยัญชนะเสียงระเบิด พยัญชนะลมเสียดสี และพยัญชนะลมขึ้นจมูก แต่ถ้าหากเป็นคำเดี่ยว ๆ หรือเป็นคำที่ตามด้วยคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ จะต้องออกเสียง t เช่นคำว่า staffed, lost สำหรับคำว่า staffed เสียง ed ออกเสียง t ดังได้กล่าวในตอน เสียงก้องและเสียงไม่ก้อง เมื่อออกเสียง f แล้วออกเสียง t ตาม (อย่าลืมว่าต้องออกเสียงต่อเนื่องระหว่าง s และ t ตอนต้นและ f และ t ตอนท้าย อย่าใส่สระเข้าไประหว่าง s และ t และระหว่าง f และ t เป็นอันขาด)


การโทรศัพท์
_________________________________
เมื่อหมุนเบอร์โทรศัพท์ไปยังที่ใด ๆ ผู้ที่รับโทรศัพท์เมื่อยกหูแล้วอาจพูดคำต่าง ๆ แล้วแต่ว่าที่โทรฯ ไปจะเป็นสถานที่ใด หากที่ที่โทรฯไปเป็นบ้านก็มักจะได้ยินผู้รับโทรศัพท์พูดว่า hello ถ้าหากเป็นบริษัทห้างร้านก็อาจจะได้ยินการทักทายว่า good morning, good afternoon , good evening แล้วแต่ว่าเวลานั้นเป็นเวลาใด และผู้รับโทรศัพท์ก็จะแจ้งว่าเป็นสถานที่ใดพร้อมกับถามความต้องการของผู้ที่โทรเข้าไปซึ่งเป็นการเริ่มต้น ต่อจากนั้นก็เป็นการแสดงความประสงค์ที่โทรฯ
การโทรศัพท์ไปบ้านคนที่รู้จัก
เมื่อหมุนโทรศัพท์ติดแล้วผู้ที่มารับสายจะกล่าวคำว่า
ผู้รับสาย
หากผู้โทรฯจำเสียงได้ว่าเป็นคนที่ต้องการพูดด้วยก็ทักทาย สมมุติว่า John จะโทรฯหา Helen และ John จำเสียงได้ว่าเป็น Helen ก็ทักทายและแจ้งว่าตัวเองเป็นใครเผื่อ Helen จำไม่ได้ว่าเป็นเสียง John
John
Helen
ต่อจากนั้นก็เป็นการทักทาย (ดูการแนะนำตัวและทักทาย) และพูดความประสงค์ที่โทรฯ
ถ้าหากผู้ที่มารับโทรศัพท์ไม่ใช่คนที่ John ต้องการพูดด้วย John ก็จะถามว่า Helen อยู่บ้านหรือเปล่าดังนี้
John
ผู้รับสายก็จะถามว่าใครโทรมาซึ่งอาจพูดว่า
ผู้รับสาย
อย่าลดระดับเสียงคำว่า please ให้ต่ำ ซึ่งจะเป็นการสั่งให้บอกว่าชื่ออะไร คำถามนี้เป็นคำขอร้อง(ดุเจตนาอารมณ์ตอนที่ 4 ข้อ 19) ขอให้สังเกตการออกเสียง s ทั้งสองตัวเป็นเสียง z.
เมื่อได้รับการถามชื่อ ต้องตอบทั้งนามสกุลด้วยเพราะบอกแต่ชื่ออาจเกิดความสับสน John จึงตอบว่า
John
ผู้รับสายก็จะบอกว่า “ รอสักครู่ ฉันจะไปตามเธอให้ ”
ผู้รับสาย

การโทรศัพท์ไปยังห้างร้าน
เมื่อโทรศัพท์ไปยังห้างร้านที่มี operator ก็จะได้รับการทักทายและบอกชื่อบริษัทแล้วก็จะได้รับการถามว่าจะให้ช่วยยังไงดังตัวอย่างดังนี้
Operator

operator จะพูด Sir หรือ madam แล้วแต่ผู้โทรมาเป็นชายหรือหญิง สมมุติว่า John เป็นผู้โทร operator ก็จะใช้คำว่า Sir. John ก็จะบอกว่าต้องการพูดกับใคร




 

Create Date : 13 ตุลาคม 2549
1 comments
Last Update : 20 มิถุนายน 2550 15:18:24 น.
Counter : 4421 Pageviews.

 

ได้ความรู้ดีจัง แต่ไม่มีภาษาฝรั่งเศสบ้างหรอ

 

โดย: marabout (marabout ) 22 ตุลาคม 2549 0:34:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


noi48
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เรื่องของคนในครัว กับ เจ้าของร้านผู้เสียจริต
Friends' blogs
[Add noi48's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.