...ความรู้สามารถเรียนทันกันได้...
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2559
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
16 มิถุนายน 2559
 
All Blogs
 
โมะริกะวะ “ชายผู้อยู่เบื้องหลัง Line แอฟฯ” ผู้ขีดเขียนตำราธุรกิจสมัยใหม่



โมะริกะวะ “ชายผู้อยู่เบื้องหลัง Line แอฟฯ” ผู้ขีดเขียนตำราธุรกิจสมัยใหม่


ถ้ากระแสน้ำเปรียบได้ดั่งกระแสธุรกิจ คลื่นที่ชื่อว่าอินเตอร์เน็ต คงเปรียบได้กับคลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ ที่ซัดไปที่ไหน ได้ซัดพาความเปลี่ยนแปลง ไปทุกหย่อมหญ้า และไม่ใช่พฤติกรรมผู้บริโภค เท่านั้นที่เปลี่ยน มันยังส่งระลอกคลื่นกระทบไปยังโครงสร้างการบริหาร วิถี และแนวทาง การบริหารองค์กรธุรกิจรูปแบบเดิม

เพราะธุรกิจรูปแบบเดิม ต้องมีเป้าหมาย และแผนระยะยาวให้ชัดเจน เพื่อทุ่มเททรัพยากร ลงไปให้ตามแผนที่วางไว้ แต่โลกยุคใหม่ กระแสน้ำที่ชื่ออินเตอร์เน็ต ทำให้โลกหมุนไว

ธุรกิจที่อิงกับแผนระยะยาวอาจหมายถึงปรับตัวไม่ทัน

อย่างเมื่อหลายปีก่อน หลายบริษัท ถ้าตั้งเป้าว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ โน้ตบุ๊ก จะโต แต่พอมีสมาร์ตโฟนเข้ามา หลายบริษัทดำเนินกิจการเพื่ออิงกับแผนการการเติบโตของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ กับโน้ตบุ๊ก ถ้าปรับตัวไม่ทัน อาจหมายถึงขั้น ถูกคลื่นซัดหายไปในที่สุด

ไหนจะรวมถึงเรื่องความเร็ว

เมื่อก่อนเราออกผลิตภัณฑ์มาตัวหนึ่ง คือเน้นให้ความสำคัญกับ ‘คุณภาพ’ถึงจะเปิดตัวทีหลัง แต่เราก็มีโอกาสแซงหน้าได้ คล้ายๆ กับการวิ่งมาราธอน

แต่โลกปัจจุบันเหมือนวิ่ง 100 เมตร ระยะทางสั้น ถ้าออกจากจุดสตาร์ททีหลัง ก็ยากจะตามได้ทัน

โลกในกระแสคลื่นยุคใหม่ จึงต้องให้ความสำคัญกับ

“การตอบสนองความความพึงพอใจ ของผู้บริโภค อย่างทันท่วงที”

ซึ่งมีแนวโน้มเปลี่ยนรวดเร็วขึ้นทุกที บริษัทที่มีโครงสร้างการบริษัทไม่ยืดหยุ่น หรือไม่สามารถปรับตัวได้รวดเร็ว

อาจถูกคลื่นซัดพาหายไปในมหาสมุทรไปในที่สุด

เมื่อหลายปีก่อน หนังสือของ ‘John Maxwell’ ที่บอกให้ความสำคัญกับผู้บริหารระดับกลางของบริษัท จะเป็นคนสำคัญในการเปลี่ยนแปลง และความสำเร็จของบริษัท

ขณะที่หนังสือเล่มที่วางอยู่ข้างกัน ๆ ที่บอกเล่าความสำเร็จของ ‘Jack Welch’ ในการบริหารบริษัท ‘GE’

โดยปรัชญาของ Jack Welch คือ

“คุณต้องเป็นอันดับหนึ่ง หรืออันดับสองในอุตสาหกรรมให้ได้ ไม่อย่างนั้นก็ควรออกไปจากอุตสาหกรรมนี้เสีย”

โดยเบื้องหลังการทำตามปรัชญาดังกล่าวก็คือ

การที่บริษัทต้องพยายามเอาชนะคู่แข่งโดยการขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น จนสามารถเป็นผู้นำทั้งส่วนแบ่งการตลาดและยอดขายให้ได้ ซึ่งผลดีตามมาเมื่อบริษัทขนาดใหญ่ก็จะได้ประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด(Economies of Scale) และได้เปรียบด้านอื่น ๆ ตามมา (โดยมีปรัชญาพื้นฐานมาจากมองคู่แข่งเป็นหลัก)

แต่อีกด้านหนึ่งขนาดที่ใหญ่ของบริษัทก็ส่งผลต่อความอุ้ยอ้ายปรับตัวยากของบริษัท และเมื่อถึงจุดหนึ่ง กำไรก็อาจไม่ได้เพิ่มขึ้นตามยอดขายเพิ่มขึ้นเสมอ

เพราะถ้ายอดขายเพิ่มขึ้นเกิดขึ้นจากลดราคาสินค้า เพื่อชนะคู่แข่งขัน หรือให้ขายสินค้าได้เยอะเพื่อครองยอดขายอันดับหนึ่ง ก็อาจทำให้กำไรลดลงไปด้วย (เพราะปริมาณขายไม่มากพอจะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น)

ขณะเดียวกันการจัดการพนักงานในองค์กรของ Welch จะแบ่งพนักงานออกเป็นเกรด A, B, C และ D ตามการปฏิบัติตามหน้าที่ได้ดี โดยเขาจะคัดพนักงานงานที่มีเกรดต่ำ ๆ ออก ซึ่งสะท้อนแนวคิดว่าพนักงานต้องทำงานตามระบบตามคู่มือหรือกรอบบริษัทกำหนด

เริ่มถูกตั้งคำถามในกระแสน้ำธุรกิจโลกสมัยใหม่ ในโลกที่คนบอกว่า

“ไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่เป็นปลาไว กินปลาใหญ่”

แนวคิดธุรกิจแบบนี้จะสามารถรับมือได้ดีแค่ไหน ในกระแสน้ำที่ชื่ออินเตอร์เน็ต ที่กระแสน้ำค่อนเชี่ยวกราดและไหลเร็ว ที่ทะลุทะลวงทำลายทะนบกั้นน้ำที่สมัยอดีตเคยเปรียบเหมือนตัวกั้น ไม่ให้น้ำเคลื่อนไหวเชื่ยวกราดเกินไป ได้มากขึ้นทุกที

เราจึงเห็นองค์กรสมัยใหม่บางแห่ง ปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร เพื่อต้องการสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีและไวขึ้น โดยให้พนักงานทุกระดับ เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและกำหนดนโยบายมากขึ้น

เพราะอย่างพนักงานที่เผชิญหน้ากับลูกค้าย่อมรับรู้ความต้องการและความเปลี่ยนไป ของพฤติกรรมลูกค้าได้ดีกว่า แต่บางครั้งไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้เพราะติดนโยบายบริษัท

ขณะที่พนักงานที่อยู่ในส่วนไม่ได้ทำงานเผชิญหน้ากับลูกค้าโดยตรง อาจเสนอวิธีการลดต้นทุนบริษัท เพราะเขาย่อมรู้ดีว่า ส่วนไหนคือต้นทุนส่วนเกินที่ควรลด เพราะมองเห็นปัญหานั้นโดยตรง ดีกว่าให้ฝ่ายบริหารเป็นคนกำหนด

เพราะธรรมชาติผู้บริหารมักอยากลดในส่วนที่ตนอยากลด ขณะที่การบริหารพนักงานเริ่มจับแยกพนักงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ กับพนักงานที่ทำหน้าดีได้ตามปกติ เพราะธรรมชาติของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักไม่อยู่ในกรอบ และไม่ชอบทำตามคู่มือบริษัท

โมะริกะวะ อะกิระ ผู้บริหารผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จบริษัท LINE เคยกล่าวไว้ว่า

“สิ่งสำคัญที่สุดของบริษัท ไม่ใช่ผลกำไร ความสุขพนักงาน แบรนด์ หรือโมเดลธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ก็สำคัญ แต่ไม่ใช่ที่สุด”

“การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมออกมาให้ได้ต่อเนื่อง ต่างหากสำคัญที่สุด”

ถ้าบริษัทสร้างผลิตภัณฑ์ยอดนิยมได้ ผลกำไร กับ ความสุขของพนักงาน และแบรนด์ จะตามมาเอง แต่ถ้าสร้างไม่ได้ ทั้งกลยุทธ์ และ โมเดลธุรกิจก็เป็นเพียงแค่เศษกระดาษและอาจหมายถึงต้องปิดตัวไปในที่สุด

นี่คือกฎเรียบง่ายของการทำธุรกิจ ไม่ว่ายุคสมัยใด เพราะแก่นของการทำธุรกิจก็คือ

“การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างต่อเนื่อง”

โมะริกะวะ อะกิระ ยังเล่าถึงวิธีคุมบังเหียนที่ LINE ว่าการจะสนองต่อความต้องการของลูกค้า ให้ได้อย่างต่อเนื่อง การจะคิดนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จะต้องทำละทิ้งสิ่งเดิม ๆ สิ่งที่เคยทำประสบความสำเร็จ

ที่เรียกว่าทิ้งความสำเร็จไว้เบื้องหลัง (ทิ้งไปเรื่อย ๆ)

เขายังทำสิ่งที่รวมถึงการละทิ้งกฎระเบียบ ทุกอย่างที่อุปสรรคต่อความรวดเร็ว เพราะความรวดเร็วเป็นตัวชี้เป็นชี้ตายในธุรกิจอินเตอร์เน็ต หรือการกำจัดแนวคิดที่ยึดถือกันมาตลอดว่า “การบริหารคือการควบคุม” ทิ้งไป

เพราะเชื่อว่าความอิสระ คือบ่อเกิดของนวัตกรรม เขาย้ำว่า “อย่าลืมว่านวัตกรรมเกิดขึ้นได้เพราะมนุษย์ ไม่ใช่ระบบ”

ไหนยังรวมถึงการละทิ้งคู่มือการทำงานทิ้ง และพยายามสร้างบรรยากาศการทำงานให้เอื้ออำนวย ที่ส่งผลให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่สุด แถมยังประกาศกับสื่อมวลชนและพนักงานอยู่บ่อย ๆ ว่า

“ผมไม่มีวิสัยทัศน์อะไรพิเศษหรอก”

เพราะเขาให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากกว่าคาดการณ์อนาคต และที่สำคัญตัวเขาไม่อยากให้วิสัยทัศน์ (การคาดการณ์อนาคต) มาเป็นเหมือนกรอบ ที่อาจเป็นเหมือนเส้นแบ่ง ที่หากมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็จจนไม่สามารถออกจากกรอบนั้นได้

จริง ๆ เคล็ดลับอย่างหนึ่งของ ‘Zara’ แบรนด์เสื้อผ้ายักษ์ใหญ่ของโลก ถ้าไปถามว่าเคล็ดลับที่ทำให้ Zara ประสบความสำเร็จ คืออะไร ก็คงเป็นความยืดหยุ่นและความฉับไว ในการสนองตอบความต้องการลูกค้า คือ

Zara พร้อมที่ยกเลิกการผลิตเสื้อผ้าเซทนั้นทันทีถ้าดูแล้วไม่เป็นที่ต้องการของตลาด!

ขณะเดียวกับที่สามารถออกแบบ ตัดเย็บ และวางจำหน่ายเสื้อผ้าในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ ในขณะที่เสื้อผ้าแบรนด์อื่นต้องใช้ระยะเวลาถึง 2-3 เดือน ในการออกแบบผลิต จำหน่ายเสื้อผ้า ตามที่โชว์บนรันเวย์ คือ บริษัทสามารถออกคอลเล็กชันใหม่ได้ถึง 100 ครั้งต่อปี

โลกธุรกิจยุคใหม่ไม่ว่าจะทั้ง Zara หรือ Line การบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น และสามารถตอบสนองความพึ่งพอใจของผู้บริโภคอย่างทันท่วงที จึงเป็นเหมือนคัมภีร์ความสำเร็จยุคใหม่ที่ให้เราต้องศึกษา

โมะริกะวะ ยังบอกกับเราอีกว่า อย่ามองเรื่อง ‘เงิน’ เป็นหลัก กำไรอาจเป็นสิ่งสำคัญ แต่สนใจกำไรเพียงอย่างเดียวเป็นการมองที่ผลลัพธ์ ถ้าเราเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าให้กับสังคมได้ กำไรจะมาหาเราเอง (คงเหมือนกับกีฬากอล์ฟถ้าวงสวิงถูก เดี๋ยวระยะและทิศทางก็จะถูกตาม)

เช่นกันกับที่เขาบอกว่า “ธุรกิจไม่ใช่การแข่งขัน“

โดยเปรียบเทียบบริษัทกับวงดนตรี คือคนฟังเพลงเขาไม่สนใจหรอกว่า คุณจะแข่งขันกับคู่แข่งอย่างไร คนฟังดนตรี พวกเขาแค่อยากฟัง ‘เพลงเพราะ ๆ’

แค่นั้น..

สิ่งที่เราควรจดจ่อ คือการการสร้างสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้จริง

“จับจ้องผู้ใช้บริการ ไม่ใช่คู่แข่ง”

และนี่คือการแข่งขันในโลกยุคใหม่

ถ้านักเดินเรือไม่จับจ้อง หรือรับมือปรับตัวกับคลื่นลูกใหญ่ ลูกใหม่ ๆ ที่เข้ามาให้ดี กิจการหรือเรือต่อให้ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งแค่ไหน อาจล้มหายตายจาก ไปกับคลื่นยักษ์ลูกนั้น เพราะธรรมชาติของกระแสน้ำก็เป็นแบบนี้ บางขณะก็ยืดหยุ่น ปรับตัวทะลุทะลวงไปได้ทุกที่

แต่บางขณะเมื่อรวมตัวเป็นมวลน้ำใหญ่ ๆ คลื่นน้ำใหญ่ ๆ ก็พร้อมซัดทุกสิ่งที่ขวางหน้าให้พังทลาย ย่อยยับ ในชั่วพริบตา

*สามารถหาอ่านหนังสือ ที่โมะริกะวะ อะกิระ เขียน

โดยมีผู้แปลเป็นภาษาไทย ในชื่อ ‘คิดแบบ LINE’

มาดูเส้นทางของ Line  ผ่าน Info-graphic ของเว็บไซต์ www.techinasia.com ได้นำเสนอเอาไว้

//www.leaderwings.co/business/line-app/






Create Date : 16 มิถุนายน 2559
Last Update : 16 มิถุนายน 2559 9:56:11 น. 0 comments
Counter : 931 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Querist
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add Querist's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.