กรรมไม่ยอม นิสัย หรือพฤติกรรมที่ไม่ยอม
    วันทามิ, ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง, สะระณัง คัจฉามิ, สัมมาปัญญา, สัมมาวิริยะ,สัมมาตะบะ, ชีวิตัง เนติ,  อิทธิ กัมมัง, มะหาพะลัง, วิมุตโต สันติ, อิติปิโส ภะคะวา.

    ลูกขอนอบน้อมคารวะสักการะบูชา พระพุทธองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งปวง มหาเทพ มหาเทวี พระแม่อุมามหาเทวี องค์เทพทุกท่าน พระโพธิสัตว์ทุกองค์ เทวดาทั้งหลาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง พระธรรมจักร กงล้อแห่งพุทธธรรม เป็นสรณะมหาพลังของชีวิต ขับเคลื่อนชีวิตไปข้างหน้า นำชีวิตไปสู่สันติสุข

    บัดนี้ เหล่าบรรพบุรุษ พ่อแม่ ลูกหลาน ได้ทำอกุศลกรรม ดังนี้ 

    ๑. กรรมไม่ยอม นิสัย หรือพฤติกรรมที่ "ไม่ยอม" ก่อให้เกิด "ความเห็นแก่ตัว" เหตุเพราะ "กลัวขาดทุน" "กลัวเสียหน้า" ถ้าเราไม่ยอมไม่มีทางแก้วิบากกรรมทุกตัว ตัวที่จะทำให้ยอมได้ จะต้องยอมรับความจริง เพราะมีอุทธาหรณ์ ผลที่จะทำให้เราเดือดร้อนได้ ฉะนั้น จะต้องหมั่นคิดอุทธาหรณ์

    แต่ถ้าหากว่าเรายอมรับความจริง แต่ยังไม่ถึงกับได้รับอุบัติเหตุ เภทภัย แล้วเราจะคิดยังไง? ตอบว่า แม้เรายังไม่ได้รับผลนั้นๆ ก็จริง แต่เราจะต้องคิดถึงอุทธาหรณ์ต่างๆ จากบุคคลอื่น ตัวอย่างจากบุคคลอื่น เขาทำอะไรแล้วเขาไม่ยอมรับความจริงเขาก็จะต้องโดน

    ยอมเพื่อใคร?     

ตอบว่า ยอมเพื่อตนเอง 

    ยอมเพื่อตนเอง เพื่ออะไร?     

ตอบว่า เพื่อพัฒนาตนเอง ยกภูมิปัญญาของตนเอง

    ยกภูมิไปเพื่ออะไร?     

ตอบว่า ยกภูมิเพื่อยังประโยชน์ตนและผู้อื่น

    แล้วทำไมต้องทำเพื่อตนเองและผู้อื่นด้วย?  

   ตอบว่า เพื่อพยุงไม่ให้เราตกภูมิ เพราะถ้าเราไม่ทำเพื่อคนอื่น เราจะหลงตนเองและจะตกภูมิทันที จึงทำให้เรามีจิตใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจริตของสัตว์โลกทั้งหลาย

    จะแก้ไขยังไง ในเมื่อเรากลัวว่าจะ "ขาดทุน"?    

ตอบว่า เราจะต้องคิดว่า เราจะให้ของแก่คนอื่น เราต้องมาถามตัวเองว่า เราให้คนอื่นเพราะเหตุใด? พอเราให้ของแก่คนอื่นแล้ว เราต้องย้อนกลับมาให้เรานี่ แล้วเราขาดทุนตรงไหน ดังในหลวงตรัสว่า "ขาดทุนให้กำไร" แต่ดูแล้วมันขาดทุน แต่ที่จริงแล้วมันกำไร

    ตรงนี้ เวลานี้มันขาดทุน แต่ระยะยาวมันได้กำไร เวลานี้เราจะต้องลงทุน ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ต้องมาขุดบ่อหาน้ำ แต่กลายเป็นว่า กลายเป็นแก้มลิงขึ้นมาได้ เราก็เก็บน้ำได้ เราก็เพาะปลูกได้ นี่แหละกำไร 

    พอย้อนกลับไปมองดูก็จะรู้ว่า ตรงนี้ทำให้เรากำไรเยอะแยะเลย แต่แรกๆ เหมือนกับว่าเราขาดทุน ก็ในหลวงสอนเราอยู่เรื่อยว่า จะต้องมองให้ทะลุ ต้องมีวิสัยทัศน์ มองให้กระจ่าง และถ่องแท้ ถึงจะทำสิ่งที่ขาดทุนเป็นกำไรได้ 

    ทุกวันนี้คนมุ่งแต่จะไปเอากำไรอย่างเดียว แต่เดี๋ยวขาดทุนไม่รู้เรื่อง 

การยอมนั้นมี ๓ อย่าง ได้แก่

    ๑. ยอมด้วยเงื่อนไข เช่น มาช่วยอะไรเราได้ มีผลประโยชน์ต่อเราได้ก็ย่อมด้วยเงื่อนไข

    ๒. ยอมด้วยสมยอม จำนน คือ เพราะเราสู้ไม่ได้ หรือภูมิไม่ถึงเขาจึงยอม แต่ถ้าหากว่าเราสู้ได้เมื่อไหร่ หรือภูมิสูงขึ้นกว่าเขาก็จะไม่ยอมแล้ว

    ๓. ยอมด้วยความศรัทธา นับถือ คือ ยอมด้วยเหตุและผล

    ๒. กรรมถูกทอดทิ้ง เพราะเราเคยทอดทิ้งเด็ก ทอดทิ้งผู้อื่น ตัดโอกาสของคนอื่น เราเกิดมาชาตินี้จึงถูกทอดทิ้ง ถูกตัดโอกาสที่จะได้สิ่งดีๆ

    การทำบุญกับเด็กกำพร้า เราควรตั้งฐานจิต ดังนี้

    ๑. ตั้งจิตเมตตา คือ สงสารเขา เพราะเขามีเคราะห์กรรม วิบากกรรม ผลจึงประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้

    ๒. ตั้งจิตกรุณา คือ เราทุกคนช่วยเหลือหาสิ่งของมาให้

    ๓. ตั้งจิตมุทิตา คือ ปรารถนาดีต่อเขา ให้เขาทุกข์น้อยลง ให้โอกาสที่ดีแก่เขา ให้เขาได้เจริญเติบโตขึ้นมาด้วยดี มีโอกาสไปสู่สิ่งที่ดีๆ

    ทุกคนได้มาร่วมแสดงความเอื้อ-เกื้อ-กัน เพื่อจรรโลงความดีงามของพุทธองค์ และพ่อพรหมที่ได้อบรมสั่งสอนมา

    อานิสงส์เลี้ยงเด็กกำพร้า (คำว่ากำพร้า คือ ยากจน โอกาส ไม่มีพ่อแม่) เรามีเมตตาแก่เด็กกำพร้า อานิสงส์ก็คือ ก็เกี่ยวกับความเมตตา ดังนี้

    ๑) เราก็จะได้รับเมตตามหานิยมทำให้คนอื่นรักเรา นิยมชมชอบเรา มีเมตตาต่อเรา

    ๒) และเราจะได้ไม่เกิดมาเป็นเด็กกำพร้า ไม่เป็นคนเฒ่าแก่ที่เป็นกำพร้าลูกหลาน แก้ลูกหลานไม่สนใจยามแก่

    ๓. กรรมปรารถนาร้ายคนอื่น สิ่งร้ายนั้นจึงทำให้กลับมาหาตัวเองตลอดเลย ถ้าใครดี หรือทำดี ก็จะไม่สาธุด้วย ไม่ดีใจต่อการทำดีของคนอื่น 

    ความปรารถนาดีนั้น บางคนคิดว่าจะต้องไปส่งเสริมคนอื่น หรือปรารถนาร้ายต่อเขา จะต้องไปสาปแช่งเขา ไม่ใช่อย่างนี้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ทว่า แค่เขาทำดี เราไปขัดขวาง บางครั้งเราไม่เห็นด้วย บางครั้งไปวางแต้มทำให้เขาตกหล่น หรือไม่ให้บรรลุตามที่เขาตั้งเจตนาไว้

    บางคนทำดีแล้วจะงก หรืองกต่อการทำดี แล้วจะอ้างว่า "เดี๋ยวเขาจะมาว่าเราอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น" อย่างนี้ไม่ได้ แต่ถ้าเราบอกเขาทำดีแล้ว แล้วเขาไม่ทำ ก็ไม่เป็นไร

    แต่ถ้าเขาเคยมอบสิทธิ์แก่เราว่าเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ยังไงๆ เราจะต้องบอกต่อเขา ถ้าเขาไม่ทำสิ่งนี้ก็เป็นสิทธิของเขา หรืออีกอย่างหนึ่ง เราไปบอกเขาทำดีแต่เขาไม่ทำ เราก็จะไปแสดงความไม่พอใจต่อเขา ขู่เขา อย่างนี้เป็นสิ่งไม่ดี

    แต่ถ้าเราเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน เราชี้แนะเขาแล้ว เขาจะทำหรือไม่ทำก็แล้วแต่เขา แต่ว่าเราอย่าไปล่วงล้ำสิทธิ์ ถ้าเราไปล่วงล้ำสิทธิ์ก็จะโดนต่อต้านกลับมา จะทำให้เราเกิดความน้อยใจได้ วันหลังเราก็จะไม่อยากจะชี้แนะเขาอีก แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีการผิด โยนความผิดไปให้เขา ต่อว่าเขาไม่รู้จัก "ดี" บางครั้งเราพูดผิดไปจริงๆ แต่ว่าเราไม่ยอมรับ แล้วจะมาบอกว่า เดี๋ยวนี้เขาไม่มาทำบุญแล้วนะ    

    แก้ไขด้วย มุทิตา คือ มีความปรารถนาดีต่อกัน ยินดีไม่อิจฉา สาธุต่อผู้ได้ดี ไม่ให้ร้าย กล่าวโทษแก่ผู้อื่น ไม่ซ้ำเติมผู้อื่น ให้โอกาส ให้อภัย ให้อโหสิต่อกัน เคารพซึ่งกันและกัน มีความปรารถนาดีอย่างไม่หวังผลประโยชน์ต่อตนเองอย่างมีเงื่อนไข (ดีก็สรรเสริญ ตกทุกข์ก็เห็นใจ ให้โอกาส ไม่ซ้ำเติม)

    ๑. เขาเดือดร้อน เราก็ยินดีช่วยเหลือ เห็นอกเห็นใจ มีเมตตาต่อเขา

    ๒. เขาได้ดิบได้ดี มียศฐาบรรดาศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่การงานที่เจริญขึ้น เราก็ไม่อิจฉา ริษยา ไม่ขัดขวางทางบุญกุศล และมีความยินดีด้วย สาธุด้วย

    ๓. ถึงแม้ว่าเขาเป็นศัตรูเรา เคยทำร้ายเรา เราก็ต้องให้อโหสิกรรม ให้โอกาสแก่เขาได้ ช่วยเหลือเขาได้

    ตั้งฐานจิตมุทิตาช่วยเหลือบุคคลให้คิดดังนี้

    ๑. ต้องตั้งฐานจิตให้เป็นกลาง อย่าอคติ     

    ๒. เราพร้อมให้โอกาสเขา (เอื้อ-เกื้อ-กัน) และให้มองว่าเขาขาด อย่ามองว่าเขาผิด และการให้ "โอกาส" คนอื่นเป็นความกรุณาชั้นสูง

    ๓. ยอมรับความเป็นธรรมชาติ ของแต่ละฝ่ายได้ หรือแต่ละบุคคลได้ เช่น คนนี้เขาเป็นคนช้า เราต้องยอมรับเขาไม่งั้นเราต้องปวดหัวกับเขา ถ้ายอมรับเราก็สามารถเปลี่ยนแปลงเขาได้

    เหล่าบรรพบุรุษ พ่อแม่ ลูกหลาน และข้าพเจ้าได้ทำกรรมที่กล่าวมานี้ ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ที่ระลึกได้และระลึกไม่ได้ ภาวะธรรมใดภาวะธรรมหนึ่ง ชาตินี้หรืออดีตชาติ 

    กรรมที่ปฏิบัติเป็นอาจิณ กรรมบุพเพ ของเหล่าบรรพบุรุษ ของตระกูลที่เคยทำผิดพลาด ตกทอดสืบมา สู่ลูกสู่หลาน และสิ่งที่ลูกได้กระทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง   เป็นอาจิณบ่อยๆ  สะสมกลายเป็นกรรมใหญ่ กรรมหนัก มหาวิบากกรรม ที่รับผลวิบากกรรมอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ชื่อว่า "กรรมบุพเพ" ด้วยกาย วาจา ใจนี้ ต่อผู้อื่นผู้ใด สัตว์อื่นเหล่าใด ทุกสิ่งที่เป็นบาปกรรมตรงนี้ พฤติกรรมเช่นนี้

    บัดนี้ เหล่าบรรพบุรุษ พ่อแม่ ลูกหลาน และข้าพเจ้าขอสำนึกผิดในพฤติกรรมที่กล่าวมานี้ ขอขมา และขอรับการอโหสิกรรม แก่เหล่าบรรพบุรุษ พ่อแม่ ลูกหลาน และข้าพเจ้าด้วย ขอปฏิญาณตนว่า จะไม่ทำพฤติกรรมเช่นนี้อีกต่อไป จะมีจิตเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่น เอื้อ-เกื้อ-กัน ต่อทุกสรรพสิ่ง 

    ในอดีตหรือปัจจุบันนี้ หากผู้อื่นผู้ใด สัตว์อื่นเหล่าใด มาทำร้ายด้วยวิบากกรรมนี้ ให้ข้าพเจ้าเกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ทั้งร่างกายและจิตใจ กรรมเช่นนี้ เหล่าบรรพบุรุษ พ่อแม่ ลูกหลาน และข้าพเจ้าขอรับการขมาและอโหสิกรรมให้  จะไม่จองเวร อาฆาต พยาบาทอีกต่อไป และขอไถ่ถอนสิ่งที่จองเวร อาฆาต พยาบาทต่างๆ คืนสู่ธรรม

     บัดนี้ ลูกขอไหว้วอน วิงวอน ขอความเมตตา จากพระแม่อุมามหาเทวี และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ลูกขอตัั้งปณิธานทำบุญสร้างกุศล ชดใช้ให้กับกรรมมหาวิบากนี้ ด้วยการเจริญพระศาสนา เจริญพรหมวิหาร ๔ เจริญบุญกุศล เจริญรอยตามพระแม่ฯ จะมีจิตจงรักภักดี ต่อทุกคนในครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และทุกสรรพสิ่ง และสำนึกพระคุณต่อบุพการี ผู้มีคุณทุกท่าน และจะหมั่นกตัญญูกตเวที ตอบแทนบุญคุณความดี และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อพรหมธาดา ด้วยการเจริญพรหมวิหาร ๔ ๑. เมตตา ๒. กรุณา ๓. มุทิตา ๔. อุเบกขา ไม่หวั่นไหว ไม่ว่าสถานการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยจิตหัวใจ ๕ กตัญญู ศรัทธา เชื่อมั่น หนักแน่น มั่นคง ปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันไปมิได้ขาด อย่างจริงจัง จริงใจ เต็มใจ เด็ดขาด พึงปฏิบัติต่อสัตว์โลกด้วยฐานจิต อกเขาอกเรา เอื้อ-เกื้อ-กัน ให้อภัยไม่ถือสา    

    และจะหมั่นทำบุญสร้างกุศลส่งไปให้กับเจ้ากรรมมหาวิบาก ดังนี้ (....... บุญกุศลที่เราจะทำส่งกุศลให้กับเจ้ากรรม.......) ขอพระแม่ฯ ช่วยเจรจา ช่วยบอกกล่าวให้กับเจ้ากรรมนายเวร โปรดเมตตาเอ็นดู อภัยให้กัน รับการสำนึกผิด รับการขอขมา และรับการขออโหสิกรรมให้    

    ขออัญเชิญบารมีพระแม่อุมามหาเทวี พระแม่แห่งการปกครอง ครอบครัว สังคม โลก ให้เกิดสันติสุข เกื้อหนุนคนดี ปราบปรามคนชั่ว ขจัดภัยพาล กำกับดูแลพฤติกรรม

    ขออัญเชิญบารมีพระแม่ธรณี โปรดเสด็จมาเป็นสักขีพยาน ในการทำบุญสร้างกุศล

    ขออัญเชิญบารมีพระพุทธองค์ โปรดบริหารจัดการ แก้ไขวิบากกรรม ขอให้ทุกฝ่ายรับการขมา และเจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน นำไปสู่สันติสุข

ขอให้สัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวง ทุกๆ ฝ่าย ทุกๆ ภูมิ จงหมั่นสร้างบุญกุศล มีจิตมุทิตาต่อกัน เอื้อ-เกื้อ-กัน สามัคคีกัน เคารพซึ่งกันและกัน รับอานิสงส์ร่วมกัน นำไปสู่สันติสุข โอม มะ อะโห ศานติ สันติโอม ๛  





 

 



Create Date : 06 กรกฎาคม 2564
Last Update : 6 กรกฎาคม 2564 16:52:54 น.
Counter : 373 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กรกฏาคม 2564

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
All Blog