พระพิมพ์วงเขน กรุวัดนาสนธิ์

พระพิมพ์วงเขน กรุวัดนาสนธิ์



วัดนาสนธิ์ นับเป็นวัดเก่าแก่และสำคัญควบคู่กับวัดท่าเรือ
ได้รับการสถาปนามาจากพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
เมื่อครั้งสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ทรงศรีวิชัยยุคแรก
หรือเมื่อคราวสร้างเมืองพระเวียงเป็นเมืองหลวงที่สองของอาณาจักรตามพรลิงค์บนหาดทรายแก้วในระหว่าง
พ.ศ.
1089-1300
วัดนาสนธิ์อยู่ติดกับวัดเตาปูน
ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งเตาเผาเปลือกหอยเพื่อทำปูนขาวผสมยางไม้และข้าวเหนียวสำหรับก่อ
สร้างพระธาตุเจดีย์ สันนิษฐานว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชคงเสด็จมาตรวจเตาปูน
และทรงเห็นว่าเป็นสถานที่ที่สงบวิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี
ครั้นเมื่อสร้างพระธาตุเจดีย์แล้วเสร็จ จึงได้สถาปนาที่ตั้งเตาปูนเป็น
"วัดเตาปูน" และที่ประทับชั่วคราวเมื่อเสด็จมาตรวจดูเตาปูนเป็น
"วัดนาสนธิ์" จากนั้นโปรดฯ ให้สร้างพระพิมพ์บรรจุกรุไว้เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาที่วัดนาสนธิ์ด้วย


สมัยเมื่อ 20-30 ปีมาแล้ว "พระไตรภาคี"
นับเป็นพระเครื่องยอดนิยมและมีชื่อเสียงเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรม ราช
มีด้วยกัน
3 พิมพ์ คือ พระพิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่นิยม
กรุวัดท่าเรือ (วัดท่าโพธิ์) พระพิมพ์นาคปรกใหญ่ กรุวัดนางตรา
และพระพิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล กรุวัดนาสนธิ์
หรือที่เรียกขานกันในวงการพระยุคนั้นว่า "ท่าเรือ นางตรา นาสนธิ์"
ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่นิยมสูงและเป็นที่เสาะแสวงหากันอยู่
แต่ค่อนข้างจะหาดูได้ยากมาก สำหรับพระพิมพ์วงเขน กรุวัดนาสนธิ์
ก็เป็นอีกหนึ่งพิมพ์ของกรุวัด นาสนธิ์ ที่น่าสนใจสะสม นอกเหนือจากพระพิมพ์ใบพุทราอันเลื่องชื่อแล้วครับผม



ไม่ว่าจะเป็น พระเครื่อง พระพิมพ์ใดใน
3 พิมพ์ ถ้าขึ้นชื่อว่า "พระกรุวัดนาสนธิ์" แล้ว
การันตีเรื่องพุทธคุณที่เรียกได้ว่า "ครอบจักรวาล" ทั้งอำนาจ วาสนา
บารมี โชคลาภ คงกระพัน ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า "ผู้มีพระพิมพ์ศรีวิชัยติดตัว
ย่อมมีชัยชนะอย่างสง่างามในทุกด้าน"



พระเครื่อง
พระกรุวัดนาสนธิ์
เท่าที่พบมี
3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล
ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นพระยอดนิยมอันดับหนึ่ง
เป็นพระศิลปะศรีวิชัยยุคต้นบริสุทธิ์ ประมาณปี พ.ศ.
1100-1300 พุทธศิลป์จะเป็นแนวอินเดียสกุลช่างปาละเสนะ อันเป็นต้นแบบพุทธศิลป์ที่เรียกว่า
"ขนมต้ม" ของเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยต่อมา พิมพ์ที่
2 คือ พิมพ์ผานไถ ส่วนพิมพ์สุดท้ายที่จะได้กล่าวถึงคือ พิมพ์วงเขน
หรือพิมพ์พระจันทร์เต็มดวง


พระพิมพ์วงเขน
หรือพิมพ์พระจันทร์เต็มดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
9.5 เซนติเมตร เนื้อมวลสารค่อนข้างละเอียด สีผิวขององค์พระออกสีเหลืองนวล
ปรากฏแร่ลูกรัง ชิ้นส่วนเปลือกหอยกาบ และแร่ว่านดอกมะขามผุดประปรายอยู่ทั่วองค์พระ
มีเม็ดทรายแก้วขนาดเขื่องสีขุ่นขาวมีอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระแต่ไม่มากนัก
จุดสังเกตที่น่าจดจำคือ พระทุกๆ องค์จะต้องมีเส้นอย่างน้อยหนึ่งเส้นปรากฏลึกคมชัดอยู่ด้านหลังองค์พระ
และมีรารักดำจับแน่นอยู่ตามซอกหรือด้านหลังขององค์พระด้วย


พระพิมพ์นี้ได้รับความนิยมรองๆ
ลงมาจากพิมพ์ใบพุทรา ปัจจุบันก็หาดูหาเช่ายากพอๆ กัน
และนอกจากพบที่กรุวัดนาสนธิ์แล้ว ยังมีปรากฏที่กรุวัดท่าเรือเช่นกัน
แต่จะมีจุดสังเกตความแตกต่างง่ายๆ คือ ถ้าเนื้อหยาบ มีเม็ดทรายมาก เป็นของ
"กรุวัดท่าเรือ" ถ้าเนื้อละเอียด หนึกนุ่ม เป็นของ
"กรุวัดนาสนธิ์"

ที่มา: ข่าวสด


เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง:ศูนย์พระเครื่อง

Free TextEditor



Create Date : 17 เมษายน 2554
Last Update : 17 เมษายน 2554 20:18:43 น.
Counter : 2256 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

piyakoko
Location :
พิจิตร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เมษายน 2554

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
10
12
13
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
 
All Blog