8 ธันวา 2484 ...ตอน 1 ความทรงจำ วันที่ 7 ธันวา 2/2
บทภาพยนตร์ (Screenplay) ชุดนี้ จัดทำขึ้นเป็นกรณีศึกษารูปแบบการจัดทำบทและการลำดับภาพ มิได้มีความประสงค์ในเชิงธุรกิจแต่อย่างใด


8 ธันวา 2484
เรื่องราวความพลิกผันของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่ผลักให้คนทั้งชาติ
ก้าวสู่สงครามและการต่อสู้


ตอนที่ 1 ความทรงจำ วันที่ 7 ธันวา หรือ รบจนสุดใจขาดดิ้น (ชื่อเดิม) 2/2

Screen 8
EXT. อาคารทำเนียบรัฐบาล ข้าราชการคนหนึ่งกำลังรีบวิ่งขึ้นอาคารไป -- เวลาเช้า
Insert text : ทำเนียบรัฐบาล
INT. บริเวณโต๊ะยาวในห้องประชุม – รัฐมนตรีกำลังสนทนากัน
LS. รัฐมนตรีกำลังสนทนาอย่างเคร่งเครียด ไกลออกไปหัวโต๊ะรองนายกฯ กำลังเดินวนไปมา
Cut.

Screen 9
INT. ห้องโทรเลขประจำทำเนียบรัฐบาล---เครื่องรับโทรเลข
MCU. เจ้าหน้าที่ กำลังรับสารที่ทยอยเข้ามาจากภาคใต้ทุกจังหวัด เรื่องการบุกของทหารญี่ปุ่น
Ms. เจ้าหน้าที่คนหนึ่งรับสารที่แปลแล้ววิ่งออกไป

Continue Screen 8
Screen 10
INT.ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี
MCU. สีหน้าร้อนรนของรองนายกฯ เจ้าหน้าที่รีบเข้ามารายงานสารจากโทรเลข

(Dialogue)
เจ้าหน้าที่---ท่านครับ ทางพระตะบอง กองทัพญี่ปุ่นได้รุดเข้ามา โดยปราศจาการต้านทาน
จากฝ่ายเรา ครับ

MS. สายตาทุกคู่ที่โต๊ะประชุม จับจ้องไปที่เจ้าหน้าที่แจ้งข่าวอย่างจดจ่อ ก่อนเสียงวิพากษ์
จะอื้ออึงขึ้นอีกครั้ง
MS. เจ้าหน้าที่คนที่สอง กึ่งเดินวิ่งเข้ามาแจ้งข่าว

(Dialogue)
เจ้าหน้าที่คนที่สอง --- ท่านครับ เครื่องบินของเราถูกยิงตกหนึ่งลำครับ ขณะกำลังบินขึ้นจาก
สนามวัฒนา ส่วนทางบางปูตอนนี้ ทหารญี่ปุ่นได้ขึ้นบุกเต็มพื้นที่แล้ว ครับท่าน

MS. คณะรัฐมนตรี ต่างหันกลับมามองหน้ากันและวิจารณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
MCU. T/D รองนายกฯ ยืนนิ่งสีหน้าวิตก หยิบผ้าเช็ดหน้าปาดเหงื่อที่ไหลลงใบหน้า ท่ามกลางเสียงวิพากย์อันอื้ออึง

Screen 11
EXT. อาคารทำเนียบรัฐบาล
Insert text : เวลาบ่ายของวันที่ 7 ธันวาคม 2484 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีประกาศ ยินยอมให้ ญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านประเทศ โดยมีเงื่อนไขที่ฝ่ายไทยของเป็นคำมั่นว่า กองทัพญี่ปุ่นจะต้องเคารพในอธิปไตยของไทย
Fade Out

Screen 12
Fade In
EXT. ริมถนนราชดำเนิน---ทหารญี่ปุ่นเดินแถวเข้าพระนคร --ประมาณ 10.00 น.
MS.-LS. ชาวบ้านต่างพากันอุ้มลูกจูงหลานหลบเข้าบ้านอย่างโกลาหลด้วยความตกใจ ขณะ
ทหารญี่ปุ่นหัวโล้น ก้มหน้าเดินแถวเต็มท้องถนนในพระนคร
Wide Shot กองทหารญี่ปุ่น ทั้งพลเดินเท้า พลจักรยานและรถสงคราม กำลังเดินทัพอันยาวเหยียดบนถนนราชดำเนิน
Cut.

Screen 13
EXT. ริมถนนรอบพระนคร---ผู้คนสัญจรไป-มา
LS. รถสงครามสีน้ำตาลไหม้ของกองทัพซามูไรกำลังวิ่งโขยกตรวจการณ์ ขณะทหารหัวโล้น กำลังขุดหลุมเพาะ ผู้คนสัญจรไปมาต่างหยุดมอง
MS. หัวหน้าหมู่ซามูไรร่างอ้วนเตี้ย กำลังเดินตรวจงานพร้อมตะโกนสั่งเสียงดังลั่น
MCU. ผู้คนสัญจรหยุดมองตาและจับกลุ่มวิพากย์วิจารณ์สิ่งที่เกิดขึ้น
Cut.

Screen 14
EXT. อาคารสภาผู้แทนราษฎร---บรรยากาศวังเวง
Insert text : วันลงนามสัญญาร่วมรุกร่วมรบไทย-ญี่ปุ่น
INT. Top View / T/D ห้องประชุมใหญ่สภาผู้แทนราษฎร---ทุกคนในที่ประชุมยืนนิ่ง
LS. บรรยากาศห้องประชุมเงียบเหมือนสุสานและวังเวงเหมือนป่าสน
CU. สมาชิกสภายืนตัวนิ่งน้ำตาครอ
MS. รัฐมนตรีต่างประเทศปล่อยโฮออกมาดังลั่น
MCU. รัฐมนตรีมหาดไทยโอบกอดปลอบขวัญสมาชิกสภาด้วยนัยน์ตาแดงกล่ำ
MS. เลขาธิการสภาเป็นลมล้มพับคาเก้าอี้ เจ้าหน้าที่กำลังช่วยกันอย่างโกลาหล
MCU. ประธานสภายืนกล่าวประโยคสุดท้ายด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ

(Dialogue)
ประธานสภา---กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดีดอกท่านสมาชิก ขอให้ท่านทั้งหลายจงยืนหยัด ยึดมั่นในปณิธานที่จะรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของชาติให้สุดกำลังเถิด ข้าพเจ้าขอปิดประชุมลง ณ บัดนี้

LS. สมาชิกสภาหลายท่านต่างทรุดตัวลงร่ำไห้ บ้างนั่งกัดกรามแน่น
กมล (VO)
- แล้วที่ประชุมนั้น ก็ปิดลงอย่างเศร้าสลดเป็นประวัติการณ์
Cut.

Screen 15
EXT. Bird Eye View บริเวณหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม---บรรยากาศวังเวง
LS. ท้องฟ้าเมฆดำทะมึน ราชอนุสาวรีย์พระปิยมหาราชยืนตระหง่านในความมืด รายรอบด้วยความสลัวของไฟพรางแสง
MS. เหล่าสมาชิกสภาก้มถวายความเคารพราชอนุสาวรีย์ ด้วยน้ำตานองหน้า พลางอธิฐานของพรคุ้มครอง

(Dialogue)
สมาชิกสภา---ขอพรองค์สมเด็จฯ ท่าน ช่วยคุ้มครองลูกหลานไทยของเราด้วยเถิด...คุ้มครองลูกหลานไทยด้วย

Wide Shot. สมาชิกสภาต่างพากันเดินออกจากบริเวณราชอนุสาวรีย์ ท่ามกลางบรรยากาศอึมครึม
Fade Out.

Screen 16
EXT. แยกราชประสงค์---แออัดด้วยยวดยานและผู้คนขนสัมภาระออกนอกเมือง
LS. ผู้คนกระเตงสัมภาระเดินวิ่งขวักไขว่ รถราหลากชนิดจอแจแออัด ต่างบรรทุกชาวพระนครจากชุมชนต่าง ๆ อพยพสู่บางกะปิ ด้วยความหวาดกลัวภัยจากลูกบอมบ์
MS. ชายหนุ่มพร้อมกระเป๋าเสื้อผ้า พยายามเบียดขึ้นรถโดยสารที่แน่นเอียด
CU. / LS. เด็กเล็ก ๆ กำลังร้องไห้ในอ้อมแขนแม่ที่กำลังปลอบขวัญ ข้างกายวางกระเป๋าสัมภาระอีกมือพยายามโบกรถโดยสาร
Over View บรรยากาศความจอแจของผู้คนที่ต่างพากันหนีออกนอกเมือง
Fade Out.

Screen 17
EXT. ถนนย่านกรุงเกษม---กมลขับรถไปสำนักงาน—บรรยากาศวังเวง
MS. เงาไม้ริมทางทอดผ่านหน้ากระจกรถที่กำลังวิ่งไปอย่างช้า ๆ
MS. / Side Shoot กมล นั่งหลังพวงมาลัยมองเหมอไปตามทาง พลันสายตาสวนเข้ากับชายคนหนึ่งที่เขารู้จัก
LS. (Fg.) ชายคนหนึ่งก้มหน้าเดินช้า ๆ ริมถนน
(Bg.) รถของกมลค่อย ๆ ชะลอความเร็วเพื่อหยุด
Continue
LS. กมล จอดรถเรียกรีบลงรถแล้ววิ่งรีเข้าไปหาชายผู้นั้น

(Dialogue)
กมล --- จำกัด...จำกัด!
MCU. ชายขาวร่างเล็ก สวมแว่นหนา ผมสั้นขาดการตัดแต่ง ท่าทีเงียบขรึม หยุดเดินแล้วหันไปตามเสียงเรียก

Insert text : จำกัด พลางกูร

กมล (VO)
- ดูเหมือนนี่...จะเป็นครั้งสุดท้ายที่ข้าพเจ้าได้พบกับจำกัด ผมเผ้ายาวรุงรัง แว่นตาหนาเทอะทะ ซึ่งเป็นเช่นนี้มาแต่ไหนแต่ไร

CU. จำกัด ใบหน้าเงียบขรึม ไม่แสดงอารมณ์

(Dialogue)
จำกัด --- มีข่าวคืบหน้าอะไรอีกบ้างมั๊ย?
กมล --- เห็นที เราต้องยอมสิ้นแล้ว สำหรบการรับใช้ประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ ตามสัญญาที่ได้มี ประกาศออกมา

MS. กมล ซักถามเรื่องราวต่าง ๆ จากจำกัด แต่จำกัดยืนฟังมากกว่าที่จะกล่าวอะไร

กมล (VO)
- จำกัดฟังข้าพเจ้าด้วยจิตใจที่ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ดูเลื่อนลอย บางครั้งก็สะดุดอะไรในใจขึ้นมาบางอย่าง เขามองเขม็งทะลุแว่นที่หนาเตอะออกมาด้วยสายตาอันแข็งกร้าว

LS. จำกัดและกมล ยืนสนทนากันริมถนน รถของกมลจอดอยู่ห่าง ๆ
Fade Out.

Continue.
Screen 18
MS. / Side Shoot กมล ขับรถไปอย่างช้า ๆ เหลือบมองกระจกส่องหลัง ดูเพื่อนคู่สนทนาที่เพิ่งลาจากกัน ก่อนเบือนหน้ากลับมองบรรยายกาศรายรอบที่วังเวงด้วยความเหมอลอย

กมล (VO)
- ข้าพเจ้าสนทนากับจำกัดจนหมดเรื่อง ก่อนจะอำลาจากกันไป แต่ข้าพเจ้า...ก็อดที่จะคิดต่อไม่ได้ว่า...จำกัด กำลังคิดอะไรอยู่ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้
นับจากนั้น...ข้าพเจ้าก็ไม่พบจำกัดอีก ไม่มีใครรู้ว่า...เขาไปอยู่ที่ไหน ทำอะไร จนกระทั่งฉากของสงครามได้เลื่อนปิดเข้าหากัน และประเทศไทยได้รับนับถือว่าเป็นประเทศที่ได้มีการต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

Bird Eye View : รถของกมล ค่อย ๆ แล่นไปบนถนนที่เงียบและวังเวง
Fade Out.

Screen 19
INT. ในร้านกาแฟ---ลูกค้าจอแจ—กมลนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ที่โต๊ะหินอ่อนกลม
MS. กมล ค่อย ๆ หย่อนหนังสือพิมพ์ที่บังหน้าลง เพื่อเปลี่ยนหน้าและอ่านต่อ ขณะรอกาแฟและปาท่องโก๋ที่สั่งอาแปะเจ้าของร้านไว้
P.O.V. / T/D : รายละเอียดใน นสพ. ถึงกรอบภาพของจำกัด

กมล (VO)
- ข้าพเจ้าได้พบกับจำกัดอีกครั้ง หลังจากที่เราไม่ได้พบกันมากว่า 4 ปี ตอนนี้...เขาเป็นวีระบุรุษแห่งคณะต่อต้านเพื่ออิสรภาพของประเทศ โดยมีภารกิจอยู่ที่ประเทศจีน แต่การพบกันในครั้งนี้...ข้าพเจ้า ไม่ได้พบดวงหน้าที่ดำคล้ำและแววตาที่เคร่งเครียดในกรอบแว่นขาวนั้น และข้าพเจ้า...ก็ไม่ได้พบดวงหน้าที่สดชื่นแจ่มใสเพราะประเทศได้คงคืนเอกราชดังเดิม

Zoom In. ภาพจำกัดและเนื้อความใน นสพ.

กมล (VO)
- แต่ข้าพเจ้าพบ “จำกัด พลางกูร” ที่เป็นภาพและตัวอักษรในกรอบดำในทุกหนแห่ง
จำกัด พลางกูร วันนี้ ไม่มีร่างและวิญญาณอย่างเช่นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว มีเพียงชื่อที่เหลือไว้เพียงอัฐิของเขาเท่านั้น!

CU. สีหน้าและดวงตาของกมล ทอดอาลัยกับเนื้อความใน นสพ.
Ship Focus MS. กมล นั่งอ่าน นสพ. ขณะที่อาแปะ ส่งเสียงเรียกกมล ให้รับของที่สั่งไว้

(Dialogue)
อาแปะ---กาแฟกะปาท่องโก๋ ไล่แล้วเฮีย และนี่ก็น้ำตาลทราบครึ่งโล แฮะ...แฮะ
MS. / LS. กมล หันไปตามคำเรียก วาง นสพ.ลงที่โต๊ะ แล้วเดินไปรับของที่สั่ง จ่ายเงินแล้วเดินออกจากร้านไป
Continue.
LS. อาปะ รับรายการลูกค้าคนต่อไป
(Dialogue)
อาแปะ--- รับอารายลีครับเฮีย
Cut.

Screen 20
EXT. / Wide Shot ริมถนนย่านกรุงเกษม
MCU. กมล เดินทอดสายตาเดินไปตามท้องถนน

กมล (VO)
- ข้าพเจ้าได้บันทึกเหตุการณ์ในครั้งนั้นเอาไว้ว่า

Insert text :
“อาทิตย์ที่เคยสาดแสงสว่างจ้า โชติช่วงเหนือแผ่นดินไทยมาตลอด 159 ปี ในยุคแห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ได้ดับวูบสิ้นแสงไปเสียแล้ว จะเหลือไว้ก็แต่เพียงเสียงพิลาปร่ำไห้ และสภาพบ้านแตกสาแหรกขาดเป็นปริโยสานเท่านั้น”

MCU. To LS. กมล เดินผ่านไป ทิ้งไว้แต่แปะขายโจ๊ก กำลังยืนเคาะไม้เรียกลูกค้าในบรรยากาศซบเซา

(Dialogue)
แปะขายโจ๊ก --- โจ๊ก มายอา...ก๊อก ก๊อก ก๊อก โจ๊ก มายอา...
Fade Out.

End. 2/2


เพียงเห็นหน้า
ขับร้องโดย นันทา ปิตะนีละผลิน_ชุดเพลงเก่า พ.ศ. 2479



Create Date : 23 มีนาคม 2554
Last Update : 23 มกราคม 2555 0:48:27 น.
Counter : 729 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pine studio
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 30 คน [?]



First link Second link Third link
New Comments
มีนาคม 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog