พฤศจิกายน 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
19 พฤศจิกายน 2559
จิตดับ








จิตรับกิเลส ไม่ได้ดับพร้อมกัน  กิเลสดับก่อน จิตเกิดกิเลส อื่นไปเรื่อยๆ  
 เมื่อจิตเกิดวิปัสสนา เกิดฌาณที่หนึ่ง จิตจะรู้จักดู รู้จักคิด 
 แต่ยังไม่ฉลาดพอที่จะเห็นกิเลส  เมื่อจิตพัฒนา ไปถึงฌาณที่สี่ 
 จิตจะฉลาดขึ้น จิตจะแจ่มใสขึ้น  เมื่อจิตเกิดการสงสัยในธรรม 
จิตจะลงมาที่ฌาณหนึ่ง จิตก็จะดู กิเลสที่เกิดที่จิต จนเห็นชัด 
กิเลสอย่างหยาบจะหลุดไป โดยที่เราไม่ได้นึกละ 
ที่กิเลสหลุดไปเพราะ จิตรู้ กิเลสนั้นแล้ว กิเลสนั้นก็มาครอบงำจิตไม่ได้อีก 
วิถีจิตก็จะไปสู่ฌาณที่สองเกิดปีติ ที่กิเลส นั้นไม่สามารถมาครอบงำจิตได้ 
 และจิตจะเคลื่อนไปสู่ ฌาณที่สาม จิตจะเป็นสุข
 รู้สึก กาย เบา ใจ เบา เพราะจิตดื่มดำกับธรรมะที่ได็รู้ได้เห็นและที่ 
จิตหลุดพ้นจากกิเลสนั้น ๆ จิตก็เคลื่อนสู่อุเปกขา  กิเลสนั้นๆจะมาชักช่วน
 โดยการเห็นผิด โดยการไม่เห็นผิด จิตก็เป็นอุเปกขา 
ที่เป็น วิจิกิจฉา ก็อ่อนลง  จิตที่เป็นอุเปกขาที่เป็น อุธัจจะก็อ่อนลง จิตก็ยังอยู่เพื่อที่จะรับกิเลสตต่อไปจิตมีอารมณ์เป็น เลิศในอารมณ์วางเฉย
  อารมณ์เป็นเลิศ เมื่อจิตมุ่งมั่นอยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ไม่สนใจในอารมณ์อื่นๆ   ถึงแม้ว่าจิตยังรับรู้อารมณ์อื่นๆได้ แต่จิตไม่สนใจ สิ่งนี้เรียกว่า เอกคตารมณ์  แปลว่า อารมณ์ที่เป็นเลิศ




Create Date : 19 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2559 17:30:16 น.
Counter : 703 Pageviews.

1 comments
  
เกิดวิญญาณเกิดสฬายตนะเกิดผัสสะ ธรรม3อย่างประกอบก้นเกิดผัสสะ
จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือรู้รูปด้วยตา หรือการเห็น
โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู คือรู้เสียงด้วยหู หรือการได้ยิน
ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือรู้กลิ่นด้วยจมูก หรือการได้กลิ่น
ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือรู้รสด้วยลิ้น หรือการรู้รส
กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย คือรู้โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือการรู้สึกกายสัมผัส
มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ หรือการนึกคิด
วิญญาณกิจ คำว่าวิญญาณยังถือเป็นคำไวพจน์ของคำว่าจิตแต่ในที่นี้ไม่ใช่จิต
ทัสสนะ เห็นรูป (ตรงกับจักขุวิญญาณ)
สวนะ ได้ยินเสียง (ตรงกับโสตวิญญาณ)
ฆายนะ ได้กลิ่น (ตรงกับฆานวิญญาณ)
สายนะ รู้รส (ตรงกับชิวหาวิญญาณ)
ผุสนะ ถูกต้องโผฏฐัพพะ (ตรงกับกายวิญญาณ)
สัมปฏิจฉนะ รับอารมณ์
วิญญาณทางตาไม่ใช่จิต มโนทวารรับรู้วิญญาณที่ตา
จิตไม่ได้ไปอยู่ที่ตา ไม่ได้ไปอยู่ที่หู ไม่ได้ไปอยู่ที่ลิ้น ไม่ได้ไปอยู่ที่จมูก
การรับรู้อารมณ์ ของรูปของนามก็คือวิญญาณ รับรู้มาที่มโนทวารเป็นส่วนของจิต
ต้องแยก ผู้รับกับตัวรับรู้ให้ออก ก็จะเห็นรูป นาม แยกจากกัน ถ้าแยกไม่ออกก็ไม่เห็นรูปนามที่แยกจากกัน เพราะไม่รู้จักผู้รับ กับตัวรับ รูป รับนาม
จิตเป็นผู้ยึด อาการยึดคืออุปาทาน จิตยึดขันธ์5 ตัวยึดคืออุปาทานขันธ์5
ถ้าไม่มีผู้ยึดก็ไม่มีตัวยึด เพราะตัวยึดต้องมีผู้ยึด จิตจึงเป็นประธาน ในการกำหนดทุกข์ จิตเป็นผู้กำหนด จิตเป็นผู้เห็น จิตเป็นผู้รู้ จิตเป็นผู้ละ จิตเป็นผู้คลายกำหนัด จิตเป็นผู้เห็นนิพพาน
ถ้าไม่มีจิตก็ไม่มีตน แล้วจะเอาอะไรไปรู้ ไปรับ ไปละ ไปเห็น ไม่มีจิต เจตสิคก็ไม่มี
ธรรมทั้งหลายมีที่จิต ธรรมารมณ์ไม่ใช่จิต มโนวิญญาณไม่ใช่จิต แต่เป็นจิตที่มีการรับรู้อารมณ์
ตีความผิดๆๆ ก็เลยไม่เห็นรูปนามตามความเป็นจริง
ที่ยกกรณี องค์3 เปรียบเทียบสมมุติ ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องมีผู้กระทำ การกระทำ ผู้ถูกกระทำเพื่อให้เข้าใจง่าย ไม่มีผู้กระทำก็ไม่มีผู้ถูกกระทำ ไม่ได้หมาบความถึงธรรมะ3อย่างของ ผัสสะ
ที่ต้องมีอนายตะภายนอก กระทบอนายตนะภายใน มีวิญญาณไปรับรู้ส่งไปยังมโนทวาร ให้จิตรู้
เรียกว่าผัสสะ อันนี้ไม่ต้องสาธยายใครๆๆก็รู้ได้อยู่แล้ว
จิตคือผู้รับรู้อารมณ์ธรรมชาติ เป็นผู้สะสมอารมณ์ธรรมชขาติ
เป็นผู้มีเจตนาคิด เป็นผู้มีความจำ เป็นผู้มีความรู้สึก เป็นผู้มีความรับรู้ธรรมารมณ์
จิตจึงเป็นประธาน เจตสิคเป็น กริยา ตัวไปกระทำให้มีอารมณ์ในจิต ไปรับรู้ ธรรมทั้งหลาย อกุศลธรรม กุศลธรรม สังขตธรรม อสังขตธรรม เป็นผู้ที่ถูกกระทำ เป็นสิ่งที่ถูกจิตหรือผู้รู้ ไปรับรู้โดยวิญญาณ ไปปรุงแต่งโดยสังขาร ไปรู้สึกว่าสุข ทุกข์ โดยเวทนา ไปจำโดยสัญญา
ผู้ที่มีจิต ที่ไม่มีอุปาทานคือพระอรหันต์ ปุถุชนทุกคนทุกตัวตนจะต้องถูกอุปาทานหลอกทุกคน
ผู้ที่บอกว่าไม่โดนอุปาทานหลอกแสดงว่าท่านถึงอรหันต์ อุปาทานจะหลอกให้จิตไปยึดขันธ์5ทุกคน ปุถุชนไม่มีใครที่ไม่ยึดขันธ์5 ผู้ที่ไม่มีจิตเป็นตัวนำในขันธ์5 ก็หลงขัยธ์ 5 คือแยกไม่ออกว่าอะไรเป็นตน และไม่รู้ว่าจะเอาอะไรไปกำหนดทุกข์ ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรไป ละสาเหตุของทุกข์ ไม่รู้จะเอาอะไรไปรู้นิโรธ ไม่รู้ว่าจะเอาอะไร ไปเห็นมรรค
เพราะไม่มีผู้รู้อารมณ์ ไม่มีผู้ดูอารมณ์ ไม่มีผู้จำอารมณ์ ไม่มีผู้คิดอารมณ์ ไม่มีผู้รับความรู้สึกอารมณ์
ฉนั้นผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ทัน ไม่ให้อุปาทานหลอกได้ ก็ต้องปฏิบัติเองรู้เองบอกกันไม่ได้
เป็นปัจจัตตัง แต่บอกเล่าแนวทางที่ปฏิบัติได้เป็นส่วนบุคคลห้ามลอกเลียนแบบ เพราะแนวปฏิบัติไม่เหมือนกัน ทุกข์ไม่เหมือนกัน การกำหนดทุกข์ต่างกัน ความเห็นธรรมะต่างกัน
โดย: ผู้รู้ ผู้ดู (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:13:50:40 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
MY VIP Friends