ตอนที่44 ตกแต่งบ้าน : แก้ปัญหาเครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้า..ใช้ร่วมกับวาล์วผสมน้ำไม่ได้
เสียงโวยวายแฟนผมดังมาเป็นประจำว่า "มันเป็นอีกแล้ว....อะไรกันเนี่ย" มาทุกครั้งหลังการอาบน้ำ.....ผมเองก็...เฮ้อ เหนื่อยใจเหมือนกัน............เหนื่อยใจเรื่องอะไร.....ผมทำอะไรไม่ถูกใจเธอระหว่างอาบน้ำเหรอ .... ฮ่าๆๆๆ....คิดกันไปๆ

กลับมากันก่อน...อย่าคิดกันไปไหนครับ...ฮ่าๆๆ...ขอคุยกันก่อนว่า...สำหรับบ้านใครที่ ใช้พวกเครื่องทำร้อนไฟฟ้า แบบ compact หรือ แบบที่ไม่ใช่หม้อต้มใบใหญ่ๆ...คงจะเจอปัญหาเดียวกันกับผมเลย....นั่นคือ น้ำที่ใช้จะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็นในบางครั้ง.....บางครั้งเปิดปั๊บก็พอร้อนดีแปบเดียวเดียวเครื่องตัดกลับเป็นน้ำเย็น......

โอ้ยแสนจะปวดหัวครับกับเจ้าระบบพวกนี้ เพราะมันคือเครื่องที่ดัดแปลงมาจาก เครื่องทำน้ำอุ่น ดีๆ นี่เอง เพียงแค่มันมีความสามารถสูงขึ้นมาอีกหน่อยเท่านั้นนั่นคือ "สามารถอั้นน้ำได้" ซึ่งพวกเครื่องทำน้ำอุ่นสมัยนี้ จะทำไม่ได้ (แต่มันน่าแปลกที่เครื่องทำน้ำอุ่นที่บ้านเดิมผมใช้มาเกือบจะ 20 ปี...มันอั้นได้ด้วย แค่เอามือบีบงอพับสายไว้....ชอบมากตอนหน้าหนาว น้ำจะร้อนขึ้นอีก..เหอๆๆ)

บ้านใครใช้แบบรุ่นหม้อต้มน้ำใบใหญ่ๆก็ไม่น่าจะเจอปัญหานี้หรอกครับ...

แฟนบ่นประจำว่า เครื่องมันเป็นอะไรเนี่ย...เปิดแป๊บเดียวก็หยุดทำงานอีกละ...ต้องเปิดวาล์วน้ำร้อนจนสุดเครื่องถึงจะทำงาน........ก็อาบแต่น้ำร้อนฉึ่งเลยน่ะซิ.....


เอาล่ะๆ พอมานั่งพินิจพิเคราะห์สรุปปัญหาดู...ก็พอจะเข้าทางอะไรบางอย่าง....นั่นคือ น่าจะมาจาก "แรงดันทางฝั่งขาที่มาเครื่องน้ำร้อนไม่พอที่จะต้านแรงดันฝั่งด้านน้ำเย็น...ทำให้สวิทช์แรงดันภายในตัวเครื่องทำน้ำร้อนมารวนๆไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า ควรจะทำงานดีหรือไม่"

Solution แรกที่วิ่งปรู๊ดเข้ามาในหัว.......ไม่ยากเลย...งั้นก็ตัดการทำงานของสวิทช์แรงดันออกไปซะเลยซิเครื่องทำน้ำร้อนมันก็จะทำงานตลอดแล้ว....พอจะอาบน้ำที...ก็มาบิดเปิดสวิทช์เครื่องทำน้ำร้อนเอา.............แต่พอคิดถึงข้อเสียที่ตามมา ..นั่นคือ....ตำแหน่งเครื่องอยู่ซะสูงลิบ ...เปิดปิดแต่ละครั้งแสนลำบาก......โอ้ยไม่ไหวๆๆ..งั้นปิดไปๆ solution นี้


solution ที่สอง นั้นคือต้อง โมดิฟายเครื่องทำน้ำร้อน โดยต้องทำทุกทางเพื่อให้เพิ่มแรงดันน้ำทางฝั่งขาเข้าเครื่องทำน้ำร้อนให้มากกว่านี้ให้ได้ เพื่อที่จะให้ สวิทช์แรงดันในเครื่องทำน้ำร้อน มันไม่สับสน.....ข้อเสียคือ ต้องโมเครื่องเลย แต่ข้อดีคือ ระบบทุกอย่างยังใช้งานได้ตามปกติ ไม่ต้องปีนไปบิดสวิทช์ใช้งาน.......โอเช งั้นเอาแบบนี้ละกัน....


มาดูหน้าตาเจ้าเครื่องนี้กัน.....นี่งัย เครื่องยอดนิยมซะเหลือเกิน..ยี่ห้อ Panasonic





ก่อนอื่น เพื่อความปลอดภัยของชีวิต....ไปโยกเบรคเกอร์เพื่อตัดไฟเครื่องทำน้ำร้อนก่อน......ที่ตู้คอนโทรล ผมใช้วิธีพิมพ์รูปและตัวหนังสือลงในลาเบลสติกเกอร์ติดเอาไว้เลย.....มอง
ปั๊บรู้เลยว่าตัวไหน ง่ายต่อการ maintenance





คราวนี้เรามาเริ่มต้นการโมดิฟายล่ะนะ (โมแบบไม่สนใจ ประกันศูนย์ ฮ่าๆๆ)
ถอดเอา ชุด filter ตัวเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ ดักกรองเศษขยะชิ้นส่วนต่างๆที่ปะปนมาในน้ำ เพื่อไม่ให้เข้าไปอุดตันในระบบ......แต่ที่บ้านผมเองคงไม่จำเป็นล่ะครับ เพราะมีตัวกรองน้ำที่ดักตั้งแต่ออกจากปั้มน้ำออกมาเลย.....
ซึ่งเจ้านี่ล่ะ ก็เป็นปัจจัยนึงที่ทำให้เกิดความต่างศักดิ์ของแรงดันทางฝั่ง ขาเข้า และขาออกของเครื่องทำน้ำร้อน..........

เอาล่ะเริ่มบทโหด...จัดการ ตัดตัว filter ออกไปซะโดยใช้คีบตัดออกไปแล้วเอาคัตเตอร์ แต่งของให้เรียบร้อย แล้วจับยัดคืนเข้าที่.....






ต่อไปก็ทำการตั้งระยะของการทำงานของสวิทช์แรงดันซธใหม่ เอาให้มัน ทำงานที่ระดับแรงดันขาเข้าน้อยๆ ก็ได้.....เริ่มการแงะฝาเครื่องกันละ....มาดูใส้ในกันว่าจุดไหนมันคืออะไร เอาแค่เท่าที่เราจะไปแตะๆมันเพื่อให้ solution ที่คิดไว้สัมฤทธิผล





จากที่ผมวงๆ เอาไว้ นั่นคือ ระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องที่มีอยู่และคิดว่าแทบจะทุกยี่ห้อควรจะมีนั่นคือ

1. ELB มันคือตัวที่จะทำหน้าที่ตัดไฟหากเกิดไฟฟ้ารั่วขณะกำลังใช้งาน ถือเป็นระบบรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานเลยทีเดียวก็ว่าได้.....อันนี้ผมก็ไม่ต้องไปยุ่งกะมัน..ปล่อยให้มันทำหน้าที่ๆดีของมันต่อไป

2. เซนเซอร์อุณหภูมิ...เจ้าตัวนี้ถ้าลองสังเกตดูมันจะมาเกาะติดกับท่อน้ำทองแดงทางฝั่งน้ำขาออก...เพื่อใช้ตรวจสอบอุณหภูมิน้ำว่า ถ้ามันเกิน 60 องศาเซลเซียส มันก็จะไปสั่งการให้แผงควบคุมทำการตัดไฟ (แต่ไม่ได้หมายถึงว่าตัดแล้วเครื่องหยุดทำงานเลยนะครับ....เพียงแค่ตัดการทำงานของขดลวดความร้อนเท่านั้น).....มันจะทำงานสัมพันธ์กับสวิทช์แรงดันน้ำของทางฝั่งขาเข้า..ถือเป็นตัว safty อีกตัวนึง หากว่ากลไกทางฝั่งสวิทช์แรงดันทำงานผิดพลาด นั่นคือแรงดันน้ำน้อยนิดแล้วดันสั่งการให้เปิดการทำงานของขดลวดความร้อน....เจ้าเซนเซอร์ตัวนี้ก็จะไว้ใช้ปรามทีหลัง เพราะถ้ามันร้อนเกินไปเนื่องจากน้ำเข้ามาน้อย เซนเซอร์ก็จะสั่งตัดการทำงานขดลวดเอง.......ซึ่งตอนนี้เจ้าตัวนี้ผมยังถือว่า ยังไม่ใช่จุดต้นตอที่แท้จริง....แต่ถ้าผมไปโมชุดสวิทช์แรงดันน้ำ...แน่นอน ผลกระทบมีถึงเจ้านี่แน่นอน....แต่!! ก็งั้นๆแหล่ะ เหอๆๆ...ยังมองระดับความสำคัญว่ายังน้อยกว่าเจ้า ELB ซะอีก

3. สวิทช์แรงดันน้ำ....*** นี่ล่ะตัวต้นเหตุ......ต้องเข้าใจว่าตัวนี้มันทำงานด้วยแรงดันของน้ำ...
และการทำงานของมันคือ ถ้าแรงดันน้ำขาออกน้อยกว่าขาเข้า...มันก็จะดันแกนให้ยื่นออกมาแล้วไปผลักไมโครสวิทช์เพื่อเปิดระบบไฟให้ขอลวดความร้อนทำงาน...นั่นคือเครื่องทำน้ำร้อนทำงาน
และถ้าเมื่อใดแรงดันน้ำทางฝั่งขาเข้ามันน้อยกว่าทางฝั่งขาออกหรือดันเท่ากันขึ้นมา....ก็จะทำให้แกนที่ใช้ไปผลักไมโครสวิทช์ มันหดกลับเข้ากระดองของมันไป (เจ้าลูกเต่าเอ้ย...)......นี่ล่ะครับ ปัญหามันอยู่ตรงนี้......





เมื่อเราทำการโยกวาล์วน้ำเพื่อเปิดใช้งานน้ำ แบบ 50/50 หรือ น้ำร้อน น้ำเย็น อย่างละครึ่ง......จะเกิดการผลักกันของน้ำจากตัววาล์วผสมน้ำ...ทำให้เกิดแรงต้านไปถึงเครื่องทำน้ำร้อน.....ใครจะชนะล่ะ......ผลคือ แรงดันน้ำจากทางฝั่งน้ำเย็น ชนะใสๆซิครับ เพราะ ปริมาตรท่อของทางน้ำเย็นนั้นใหญ่กว่าเจ้าขดลวดน้ำร้อน หรือ บรรดาท่อทองแดงที่ลดขนาดลงมาจิ๋วเดียวในเครื่องทำน้ำร้อน......กลายเป็นว่า.....เครื่องทำน้ำร้อนจะยังไม่ทำงาน เมื่อวาล์วผสมน้ำ อยู่ในสถานะ 50/50





เอาล่ะ จัดการตัวต้นตอ กันเลย.....ลองสังเกตุดู จะเห็นว่า การทำงานเปิดปิดเครื่องทำน้ำร้อน อาศัยเพียง แค่การ กดติด - ปล่อยดับ ของ ไมโครสวิทช์ นั่นเอง....จะมีน๊อตและสปริงอยู่ชุดนึงใช้สำหรับขันเพื่อปรับตั้ง ลเือกระดับแรงดันน้ำ ที่ถูด set ค่ามาจากโรงงาน เอาไว้แล้ว........(แต่โทษทีนะคร้าบ.....มันใช้กับบ้านผมไม่ได้เล้ย.....
)


เริ่มบทโหดอีกครั้ง.....จากเท่าที่ดู สปริงก็ถูกบีบจนเกือบจะบี้ติดอยู่แล้ว....อืม.......งั้น ตัดมันออกซะเลยให้เหลืออยู่แค่หน่อยเดียว เพื่อที่จะแค่ไม่ให้ ก้านของไมโครสวิทช์ ไปติดกับก้านของสวิทช์แรงดันน้ำมากเกินไป.....ตัดออกแล้วให้เหลือหน่อยๆ...งานนัี้กะเอาเองนะครับ ค่อยๆ ตัดไปจนได้ระยะที่เหทาะสมนั่นคือ ให้ความห่างมันเหลือแค่ไม่เกิน 1mm.







จากนั่้นก็ประกอบฝาเครื่องกลับเข้าที่ ไปโยกเบรคเกอร์ปล่อยไฟฟ้าเข้าเครื่องทำน้ำร้อนได้......แล้วทดสอบกันเลย.....


จากเดิมที่มันไม่สามารถปรับอัตราส่วนการผสมของน้ำร้อน-น่้ำเย็น ได้เลย





หลังผ่านการโมดิฟายแล้ว......สามารถปรับอัตราส่วนการผสมของน้ำร้อนน้ำเย็นได้บ้างแล้วแต่ก็ยังไม่ถึงขั้น 50/50 คงได้ประมาณ 30/70...เอ้อก็ยังดีกว่าเก่าเน๊าะ....และปัญหาในเรื่องเครื่องติดๆ ดับๆ เด๋ว ร้อน บ้าง เย็น บ้าง ที่เกิดการจากเปิดวาล์วมาทางน้ำร้อนไม่สุด (เพราะกลัวน้ำร้อนเกินไป)...ก็หายเป็นปลิดทิ้ง..........เหอๆๆ...สรุป งานนี้ก็เสร็จโจรอีกจนได้....





Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2555 13:44:06 น.
Counter : 26549 Pageviews.

3 comments
  
เข้ามาชื่นชมคุณพ่อบ้านบ้านนี้ค่ะ เก่งจังเลย แก้ปัญหาสถานการณ์ได้ทุกอย่าง
โดย: S.Nantana วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:14:47:17 น.
  
เข้ามาอ่านวิธีแก้ปัญหาของคุณค่อ ขอบอกว่าเจอปัญหาเหมือนกันเลย เพียงแต่เครื่องทำน้ำร้อนที่ใช้อยู่คนละยี่ห้อ แต่อาการไม่หนักเท่าเครื่องของคุณต่อ

อาการที่เกิดคือ ปรับวาวล์ให้อยุ่ 50/50 เพื่อจะได้อุ่นกำลังดี แต่เครื่องทำน้ำร้อนจะไม่ทำงานต้องปรับไปประมาณ 70% ทางฝั่งน้ำร้อน พอน้ำร้อนเริ่มมาจึงปรับมาที่ 50 % จึงจะอุ่นกำลังดี แต่อาบได้สัก 2-3 นาที พอฟอกสบู่เสร็จ น้ำก็เริ่มเย็นเพราะสวิทซ์น้ำร้อนมันตัดตั้งแต่เราปรับมาที่ 50%แล้ว (ที่ยังหน่วงเวลาไว้ได้เพราะยังมีปริมาณน้ำร้อนค้างอยู่ในท่อนั่นเอง) ทีนี้ก็ต้องปรับวาวล์กลับไปที่ 70% เพื่อให้เครื่องมันทำน้ำร้อนอีก แต่กว่าจะได้น้ำอุ่นก็ต้องทนอาบน้ำเย็นหรือไม่ก็กระถดตัวหนีสายน้ำเอา ทำให้หงุดหงิดเหมือนกัน แต่พยายามคิดในแง่ดีทุกครั้งว่าการอาบน้ำอุ่นสลับเย็นอย่างละ 2-3 นาที เป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดฝาด สวยผุดผาดบาดตา (คุณต่อน่าจะแนะนำแม่บ้านอย่างนี้นะ) แ ต่บางครั้งก็อยากกลับไปอาบน้ำกับเครื่องทำน้ำอุ่นที่เราคุ้นเคยมานานแสนนาน รู้งี้ตูใช้แบบเดิมดีกว่า คิดๆไปแล้วค่าก๊อกผสมเกือบจะซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นได้แล้วอ่ะ

ก็ต้องอาบกันต่อไป คิดบวกเข้าไว้ เพราะไม่มีปัญญามาแก้ไขแบบคุณต่อหรอก แต่ถ้ามาแถวนี้อย่าลืมเอาเครื่องมือและชุดช่างมาด้วยนะ จะเลี้ยงข้าวน่ะ
โดย: รอบรั้ว วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:21:49:39 น.
  
ขอโทษค่ะพิมพ์ชื่อคุณต่อผิด เปลี่ยนชื่อให้ซะงั้น
โดย: รอบรั้ว วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:21:51:55 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Thandagra
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 65 คน [?]




กุมภาพันธ์ 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog