Group Blog
 
 
เมษายน 2549
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
27 เมษายน 2549
 
All Blogs
 
Vanilla

พืชเครื่องเทศตระกูลกล้วยไม้ "วานิลลา"

พืชเครื่องเทศตระกูลกล้วยไม้ "วานิลลา"
หลายท่านเคยสั่งไอครีมวานิลารับประทานหลายท่านชื่นชอบในกลิ่นวานิลาแต่หลายท่านไม่รู้จักว่า" วานิลา" คืออะไร
วานิลาหรือที่เราเรียก และ เขียนกันเป็นส่วนใหญ่นั้น มาจากคำภาษาอังกฤษ Vanilla เขียนเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตามพจนานุกรม
ไทยของมานิต มานิตเจริญ พ.ศ. 2537 ว่า "วานิลา" เป็นพืชที่คนไทยไม่คุ้นเคยนักเพราะเป็นพืชพื้นเมืองของแม็กซิโกโน่น แต่กลายเป็นพืชเงิน
พืชทองของอินโดนิเซียเพื่อนบ้านใกล้เคียงของไทยที่สถานีทดลอง และสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตรเพียงไม่กี่แห่งแห่งละไม่กี่ต้น แต ่ ด้วยวานิลาเป็นพืชที่น่าสนใจ ตามที่สถาบันวิจัยพืขสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก จะได้จัดทำเป็นเอกสารวิชาการไว "ผลิใบ" จึงขอแนะนำพืชชนิดนี้
ให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักมากยิ่งขึ้น กว่าการรู้จักเพียง ไอสกรีมวานิลาหรือกลิ่นวานิลาเท่านั้น

ถิ่นกำเนิด
" วานิลา" เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในป่าแถบอเมริกากลาง โดยเฉพาะประเทศเม็กซิโก และ กัวเตมาลาว่ากันว่าชาวสเปนรู้จัก "วานิลา"
มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีชาวสเปนนำฝักวานิลาเข้าไปในประเทศสเปน สำหรับทำช๊อกโกแลตกลิ่นวานิลา เมื่อปี ค.ศ 1681
ในปี ค.ศ. 1733 มีการนำวานิลาเข้าไปปลูกในอังกฤษ จากนั้นก็เงียบหายไปไม่มีใครรู้จักหรือเห็นต้นวานิลาอีก จนกระทั่งต้นศตวรรษ
ที่ 19 มาร์ควิส ออพแบลนฟอร์ด (Marquis of Blandford) ได้นำวานิลาเข้ามาในอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง นำไปไว้ในสวนรวมพันธุ์ไม้ของชาร์ลส์ เกรวิลล์
(Charles Grevilles) ที่เพดดิงตัน (Peddington) ในปี ค.ศ. 1807 เกรวิลล์ ได้ส่งต้นปักชำวานิลาไปยังสวนพฤกษศาสตร์ในปารีส และ อองเวิร์ป
(Antwerp) วานิลา 2 ต้นที่ อองเวิร์ป ถูกส่งไปยัง บุยเตนซอง (Buitenzong) ประเทศอินโดนิเซีย ในปี ค.ศ. 1819 แต่อยูรอดเพียงต้นเดียว และต้น
ที่เหลือรอดอยู่นี้ออกดอกในปี ค.ศ. 1825 แต่ไม่ติดฝัก ต่อมาในปี 1827 มีการส่งวานิลาไปยังมอริเซียส (Mauritius) เป็นหมู่เกาะในอินโดนิเซีย
ปัจจุบันประกาศเอกราชเป็นประเทศแล้ว
ในปี ค.ศ. 1846 เทร์มานน์ (Teysmann) ได้นำเทคโนโลยีการปลูกวานิลาไปใช้ในอินโดนิเซีย ขณะเดียวกันที่ ตาฮิติ มีปัญหาเรื่องการ-
ปลูกอ้อยจึงมีการนำวานิลาเข้าไปส่งเสริมให้ชาวตาฮิติปลูก เมื่อปี ค.ศ.1848 โดยนำพันธุ์วานิลามาจากฟิลิปปินส์หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาการ
ปลูกวานิลาเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ส่วนการปลูกวานิลาในหมู่เกาะโคโมโร ซึ่งเริ่มเมื่อปี ค.ศ.1893 เป็นแหล่งที่ทำให้วานิลาแพร่หลายไป
ยังที่อื่อๆ อย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทสไทย ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครนำผู้นำวานิลามาปลูก และ นำเข้ามาเมื่อไร สันนิษฐานว่าคงจะได้ต้นมาจาก อินโดนิเซีย
มาปลูกไว้ที่สถานีทดลองพืชสวนพลิ้ว จังหวัดจันทบุรีนานมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลูกอยู่ที่คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ
ปี พ.ศ. 2521 แต่ไม่ได้ปลูกบนค้างโดยเฉพาะ แต่อาศัยค้างของเรือนเพาะชำ และปล่อยให้เกาะเป็นร่มเงาในเรือนเพาะชำ
ในปีพ.ศ. 2531 คุณอรุณ เลียววสุต นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรนำต้นพันธุ์วานิลามาจากศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
มาปลูกที่สถาบันพืชสวนชุมพร โดยใช้ค้างเสาซีเมนต์ที่ใช้ปลูกพริกไทย และ ปลูกอยู่ใต้ล่มเงาต้นมะพร้าว จนกระทั่งปี 2534 วานิลาที่ปลูกเริ่ม
ให้ผลผลิต
ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร มีการปลูกวานิลาเพื่อทดสอบในศูนย์วิจัยและสถาบันวิจัยพืชสวนหลายแห่งโดยเฉพาะสถานีทดลองพืชสวน
ดอยมูเซอจังหวัดตาก ศูนย์วิจัยพืชสวนห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
วานิลา (Vanilla) เป็นพืชจัดอยู่ในตระกูลกล้วยไม้ (Orchidaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า vanilla fargrans (Salish) Ames เป็นพืชเครื่อง
เทศที่มีการใช้ประโยชน์โดยการนำผักมาหมักและบ่มให้เกิดกลิ่น จากนั้นนำไปสกัดสารที่ให้กลิ่น และ รสชาตินำมาปรุงแต่งรสอาหารโดยเฉพาะ
ไอกรีมช็อกแลต ขนมหวาน และลูกกวาด นอกจากนี้ ยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยาและน้ำหอมด้วย
วาลิลาเป็นพืชเถาเลื้อยอายุการให้ผลผลิตหลายปีเถาจะเลื้อยพันไปบนค้างหรือไม้ยืนต้นอื่นๆ โดยธรรมชาติจะอาสัยรากเป็นตัวยึดเกาะ
ลำต้น มีลักษณะเป็นเถายาวสีเขียว อวบน้ำขนาดของลำต้นขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของเถาเมื่องโค้งงอจะหักง่าย มีเส้นผ่านศูนย์กลาง
1 - 2 เซนติเมตร ปล้องความยาว 5 - 15 เซนติเมตร
ใบ มีลักษณะแบน อวบน้ำใบกว้าง ปลายใบเรียว ก้านใบสั้น
ราก มีสีเขียว เป็นรากอากาศค่อนข้างยาว รากแตกออกตรงข้ามกับใบรากบริเวณโคนจะแตกออกมาเป็นแขนง
ช่อดอก ออกจากตรงซอกใบ ไม่มีก้านช่อดอกแตกออกไป แต่ละต้นมีประมาณ 4 ช่อ
ดอกแต่ละช่อจะมีดอกเฉลี่ย15 ดอกดอกไม่เป็นที่ดึงดูดของแมลงจึงช่วยผสมเกสรมิเช่นนั้นจะไม่ติฝักดอกจะบานตอนเช้าเวลาที่พร้อม
จะผสมเกสร คือระหว่าง 08.00 - 10.00 ถ้ามีผู้ชำนาญจะผสม ติด 80 - 95 % ภายหลังผสมติดแล้วรังไข่จะเจริญอย่างรวดเร็ว
ดอกวานิลาจะมีสีเหลืองอมเขียวกลีบดอกหนา ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 10 เซนติเมตร ก้านดอกสั้นหรือแทบไม่มี
ีกลีบเลี้ยงมี 3 กลีบรูปร่างยาวรี ขนาดกว้าง 1.3 เซนติเมตรยาว 5.5 เซนติเมตรกลีบดอกมี 3 กลีบ สองกลีบ ด้านบนมีลักษณะคล้ายกลีบเลี้ยง
อีกกลีบหนึ่ง เปลี่ยนเป็นรูปปากแตรจะมีกลีบดอกสั้นกว่ากลีบดอกอื่นปลายปากแตรแยกเป็น 3 ส่วน และขอบหยักไม่สม่ำเสมอ
มีเกสรตัวผู้ 1 อัน ประกอบด้วย อับละอองเกสรตัวผู้อยู่ 2 อัน ส่วนของเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจะแยกออกจากกัน โดยมีเยื่อบางๆ
กั้นอยู่ กั้นอยู่ เยื่อนี้เรียกว่า โรสเทลลั่ม (Rosetellum) เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ละอองเกสรตัวผู้ไม่สามารถถ่ายลงไปผสมกับเกษรตัวเมียได้
ฝัก มีลักษณะคล้ายทรงกระบอกแคบ โป่งตรงปลายฝัก มี 3 มุม ฝักยาว 9.5 - 14.5 เซ็นติเมตร กว้าง 1.2 - 1.4 เซนติเมตร การเจริญ-
เติบโตของฝักวานิลาจะเป็นไปอย่างรวดเร็วภายใน 2 สัปดาห์ หลังการผสมติดจากนั้นการเจริญเติบโตจะค่อนค่างคงที่ ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่
จำนวนมาก

วานิลาที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ
วานิลา แพลนนิโฟเลีย (Vanilla Planifolia) ปลูกแถบแถบตะวันออกเฉียงใต้ของแมกซิโก
วานิลา ปอมโปมา (Vanilla pompoma) หรือ วานิลลอน (Vanillon) ปลูกในอเมริกากลาง
วานิลา ตาฮาเทนซีส (Vanilla Tahatensis) หรือเรียกว่า วานิลาฮิติ ปลูกมากในประเทศตาฮิติ
ในจำนวน 3 พันธุ์ พันธุ์แพลนนิโฟเลียมีคุณภาพฝักดีที่สุด แต่พันธุ์ปอมโปมา จะต้านทานโรคโรคเน่าได้ดีกว่าทุกพันธุ์

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับวานิลา
วานิลา สามารถเจริญเติบโตได้ในเขตร้อนขึ้นระหว่าง 25 องศาเหนือถึง 25 องศาใต้ ของเส้นศูนย์สูตร ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจน ถึงสูง
กว่าระดับน้ำทะเล 2000 ฟุต ปริมาณระหว่าง 850 - 2000 มม./ ปี วานิลาต้องการการกระจะยตัวของฝนอย่างสม่ำเสมอ สำหรับการออกดอกอุณหภูมิ
ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของวานิลา อยู่ที่ 21 - 23 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 80 %
วานิลาต้องการแสงที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตให้ผลผลิต และแสงยังมีผลต่อน้ำหนัก และกลิ่นของวานิลาวานิลาต้องการแสงเพียง
เล็กน้อยโดยเฉพาะในช่วงฤดูการออกดอกและช่วงที่ฝักวานิลาจะเริ่มสุก จากการปลูกทดสอบ พบว่าการเจริญเติบโตของเถา และรากจะดีเมื่อได้
รับแสงเพียง 30 - 50% ถ้าได้รับแสงจัดเกินไปใบวานิลาจะเหลือง และมีแผลไหม้ เถาจะอ่อนแอในช่วงขาดน้ำ และจะอ่อนแอต่อโรครากเน่าใน
ฤดูฝน ในสภาพที่มีร่มเงามากเกินไป ใบจะมีสีเขียวจัด เถาจะเล็ก ใบเล็ก มีการออกดอกติดฝักน้อยวานิลาไม่ทนต่อสภาพลมแรงจัดในการปลูก
วานิลาจึงต้องปลูกพืชทำแนวบังลมด้วย
วานิลาชอบดินที่มีอินทรีย์สูง มีการระบายน้ำดี ความเป็น กรด - ด่าง ของดินครวอยู่ระหว่าง 6 - 7 ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ปลูก
วานิลาได้ แต่ต้องมีการจัดการเรื่องร่มเงาให้เหมาะสมมีความชื้นสม่ำเสมอมีการใช้วัตถุคลุมดินเพื่อช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน พื้นที่ปลูก
วานิลานั้น โครงสร้าง และเนื้อดินมีความสำคัญกว่าความอุดมสมบูรณ์ ของดินเพราะสภาพดินเหนียวจัดจะทำให้วานิลามีปัญหาเรื่องโรครากเน่า
ค่อนข้างสูง

การปลูกวานิลา
หากจะปลูกวานิลาในเชิงการค้าแนะนำให้ขยายพันธุ์โดยการปักชำ โดยใช้เถายาวประมาณ 1 ฟุต จะให้วานิลาเจริญเติบโตออกดอก
ภายใน 3 - 4 ปี แต่ถ้าใช้เถายาวประมาณ 1 เมตร จะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น
การปักชำ ให้ปักชำในถุงจะสะดวกกว่าการปักชำในกระบะ เพราะต้องย้ายถุงอีกครั้ง จะทำให้รากกระทบกระเทือน หลังการปักชำ
1 เดือน จะออกรากใหม่ และแตกยอดใหม่ การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล้ด นิยมใช้เฉพาะการคัดเลือกพันธุ์
การเตรียมพื้นที่ปลูกวานิลา ควรเตรียมไว้ตั้งแต่ช่วงฤดูแล้ง และเตรียมปักชำต้นไม้ที่วานิลาจะเลื้อยเกาะ ในช่วงกลางฟดูฝน หรือปลูก
ไว้ 1 ปี ก่อนที่จะนำวานิลามาปลูก แต่ถ้าจะใช้ค้างแบบพริกไทย ก็สามารถปลูกวานิลาได้เลย แต่การใช้ค้างโดยเฉพาะจะต้องใช้ตาข่ายพรางแสง
50 % ช่วยพรางแสงให้วานิลาด้วย ค้างที่ไม่มีชีวิตนี้อาจเป็นเสาซีเมนสูง 2.5 เมตร ฝังดินลึก 0.5 เมตรเพื่อให้การค้างสูงประมาณ 2 เมตร เพราะ
ถ้าสูงกว่านี้จะมีปัญหาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการดูแลรักษาโดยเฉพาะในช่วงที่วานิลาออกดอก ทางที่ดีและ ที่อนะนำคือ ควรใช้เสาซึ่งเป็น
ไม้ยืนต้นอืนๆ จะดีกว่า เช่น แคฝรั่ง กระถินยักษ์ และยอป่า เป็นต้น
ระยะเวลาที่ปลูกเหมาะสมของวานิลา ควรใช้ระ 1.5 x 2 เมตร ขุดหลุมที่กว้าง ยาว ลึก ประมาณด้านละ 1 ฟุต นำหลุมที่ขุดขึ้นมาผสมกับ
ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15- 5 และ 0-3-0 รวมกับโดโลไมท์ อัตราอย่างละ 100 กรัม ก่อนเตรียมดิน ที่สำคัญคืออย่าลืมทำค้างการเตรียมก่อนดิน
ถ้าเป็นค้างมีชีวิตก็ต้องปลูกล่วงหน้าประมาณ 1 ปี ดังที่กล่าวมาแล้ว
วิธีการปลูก ให้นำกิ่งวานิลาที่ได้จากการปักชำ โดยใช้ความยาวของเถาจำนวน 5-7 ข้อ ปลูกลงหลุมปลูกที่เตรียมไว้หลุมละ 2-3 ก้าน ควร
ยกเป็นโคกให้สูงกว่าพื้นดินเล็กน้อย ปลูกกิ่งวานิลาให้ชิดโคนต้นหลุมละ 2-3 ต้น ส่วนเถาที่เหลือใช้เชือกผูกติดไวกับค้างเพื่อช่วยให้เกาะกับค้าง
เพื่อช่วยให้เกาะกับค้างได้ดีขึ้น เมื่อปลูกให้นำวัสดุ เช่น เศษหญ้า ฟางขุยมะพร้าว มาคลุมรอบ ๆ โคนต้น เพื่อรักษาความชื้นในดิน
สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอยืนยันว่า ถ้าสภาพพื้นดินเหมาะสมและมีการดูแลรักษาที่ดี ต้นวานิลาจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก
ประมาณเดือนละ 20-80 เซนติเมตร และคำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาวานิลามีดังนี้

การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ย ดังนี้

ปุ๋ยสูตร
ปุ๋ยสูตร
ปุ๋ยสูตร
ปุ๋ยสูตร
ปุ๋ยทางใบสูตร
ปุ๋ยทางใบสูตร
ปุ๋ยทางใบสูตร
15-15-15
13-13-21
12-24-12
0-3-0
21-21-21
15-30-15
10-20-30 ใส่ในช่วงเดือน
ใส่ในช่วงเดือน
ใส่ในช่วงเดือน
ใส่ในช่วงเดือน
ใส่ในช่วงเดือน
ใส่ในช่วงเดือน
ใส่ในช่วงเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน
กันยายน - ตุลาคม
ธันวาคม - มกราคม
ธันวาคม - มกราคม
มิถุนายน - สิงหาคม
ธันวาคม - กุมภาพันธ์
กันยายน - ตุลาคม

นอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักเพื่อช่วยระบายน้ำ สำหรับอัตราการใส่ปุ๋ย แต่ละครั้งประมาณต้นละ 50 กรัม

การกำจัดวัชพืช การกำจัดวชพืช รอบ ๆ โคนต้น ไม่ควรกระทำเพราะจะทำให้ระบบรากกระทบกระเทือน ใช้วิธีถนหญ้าออกบางไม่
ควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้น ควรใช้วัสดุครุมดินรอบ ๆ เพื่อรักาาความชื้นในดิน ใช้หญ้าแห้ง ฟางข้าวกาบมะพร้าวคลุมดินบริเวณต้นอย่าง
สม่ำเสมอตลอดปี
การให้น้ำ ในช่วงเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม ไม่ควรให้น้ำวานิลามากเกินไปเพราะวานิลาต้องการสภาพขาดน้ำบ้างในการกระตุ้น
การออกดอก ช่วงเดือน มกราคม - เมษายน
การแต่ทรงพุ่ม การแต่งทรงพุ่มควรทำการตัดเถาที่ไม่สมบูรณ์ เถาที่ไม่ให้ผลผลิตอีกแล้วออกให้หมด เพื่อควบคุมให้ยอดมีความอุดม-
สมบูรณ์แข็งแรง ควรทำการจัดเถาวานิลาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ให้โน้มเถามาแนบค้างขึ้น ๆ ลง ๆ อย่าให้เถาสูงเกินค้าง จะทำให้ไม่สะดวกเวลาจะผสม-
เกสร การตัดแต่งทำโดยวิธีตัดยอดของต้นวานิลาประมาณ10 - 15 เซ็นติเมตรในช่วงและหลังฤดูการออกดอกและหลังการเก็บเกี่ยวฝักแล้ว ต้นแก่
และเถาทที่ไม่แข็งแรงควรตัดทิ้ง และควรตัดแต่งพืชที่เป็นร่มเงาให้วานิลาได้รับแสงแดดเพียง 30 - 50 %
ควรจำหน่ายหน่อของวานิลาไม่ให้แตกมากเกินไป เพื่อช่วยให้หน่อที่รักษาไว้สมบูรณ์แข็งแรง
การดูแลรักษาแปลงวานิลาควรดูอย่างสม่ำเสมออย่าง น้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อการแต่เถาวานิลาให้อยู่านรูปทรงที่สะดวกในการทำงาน
ควรตรวจสังเกตการเกิดโรคและศัตรูพืช รวมทั้งการคลุมโคนต้นในบริเวณรากไปไม่ถึง การดูแลวานิลาบนดินรากถูกรบกวน หรือ กระทบ
กระเทือนจากการดูแลรักษาบนดิน แม้ว่าเถาวานิลาแต่ไต่ขึ้นข้างแล้ว ก็อาจไม่ให้ดอก ถ้ารากถูกกระทบกระเทือน เมื่อวานิลาออกดอกจะต้องเข้า
ไปดูแลเข้าไปดูแลทุก ๆ วัน
ภายหลังจากติดฝักแล้วให้ดู หากช่อใดมีฝักดกเกินไปให้ปลิดออกบ้าง ให้เหลือจำนวนฝักเท่าที่ต้องการเถาวานิลาจะให้ฝักเท่าที่ต้องการ
เถาวานิลาจะให้ผลผลิตสูงสุดในปีที่ 7 - 8 ถ้าหากมีการดูแลที่ดีก็จะออกให้ผลผลิตที่ดีต่อออกไปอีก 2 - 3 ปี
การผสมเกษร วานิลาเป็นพืชตระกูลกล้วยไม้ ที่ไม่สามารถผสมเกสรตัวเองได้ เนื่องจากลักษณะทางพฤกศาสตร์ของดอกวานิลา ทำให้
แม้แต่แมลงก็ไม่มีโอกาสช่วยผสมเกสรได้น้อยมาก สำหรับแหล่งกำเนิดของวานิลาแถบอเมริกากลางนั้น จะมีแมลงตระกูลผึ้งหรือมีนกฮัมมิ่ง ซึ่ง
เป็นนกตัวเล็กที่มีจะงอยปากยาว สามารถช่วยผสมเกสรได้บ้าง แต่การคิดผลอันเนื่องจากธรรมชาติจะต่ำมาก
จากการทดลองนำผึ้งมาเลี้ยงในแปลงปลูกวานิลา ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรปรากฏว่าไม่สามารถช่วยผสมเกษรได้ ดังนั้น
จึงต้องช่วยผสมเกสรด้วยมือ ซึ่งจะทำได้ตั้งแต่เช้า - เที่ยงวัน แต่ถ้าในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิค่อนค่างสูงดอกวานิลา
จะปิดก่อนเที่ยง ถ้าจะให้ดีควรผสมเกสรในช่วงก่อน 10 โมงเช้า

การผสมเกษรด้วยมือ มีวิธีการดังนี้

- ใช้ไม้ไผ่ปลายแหลมเล็ก ๆ เขี่ยละอองเกสรตัวผู้ออกจากอับละอองเกสรตังผู้ทั้ง 2 อันลงไปฝ่ามือ
- ใช้น้ำหยดบนลงละอองเกสรตัวผู้ใช้ปลายไม้เขี่ยให้ละอองเกสรตัวผู้กระจายทั่ว และแตะละอองเกสรให้ติดปลายไม้
- ใช้ไม้อีกอันหนึ่งเขี่ย ผนังโรสเทลลั่ม ให้เปิดออก แล้วเอาไม้ที่มีละอองเกสรอยุ่ตรงปลายแตะบนยอดเกสรตัวเมีย
จากการทดลองผสทเกสรโดยใช้น้ำหยดลงบนละอองเกสร และกระจายละอองให้ทั่วแล้ว พบว่า จะทำให้การผสมดินน้อยลงสำหรับใน
การผสมติดน้องลงสำหรับเวลาในการผสมแต่ละดอกนั้น ถ้าอยู่ในระดับความสูงปกติ โดยไม่ต้องใช้บันไดจะใช้เวลาประมาณ 45 วินาทีถึง 1 นาที
ขึ้นอยู่กับความสูง และตำแหน่งของดอกสำหรับเปอร์เซ็นต์การผสมดินค่อนข้างสูง และอุณหภูมิไม่สูงเกินไป พบว่า การผสมเกสรจะประสพความ
สำเร็จ 52 - 94 %
หลังจากดอกวานิลาได้รับการผสมหากผสมติดดอกจะร่วง รังไข่จะเริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอทั้งด้านความกว้าง และความยาว
การเจริญทางด้านความยาว นั้นจะค่อนค่างคงที่หลังจาก สัปดาห์ที่ 6 หลังการผสมแต่การเจริญทางด้านความกว้างคงที่ต่อไปจนถึงสัปดาห์ที่ 8 หลัง
การผสมแล้วจะคงที่
มีข้อมูลยืนยันว่า ในประเทศเม็กซิโกซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของวานิลา ก็ยังผสมเกสรด้วยธรรมชาติ จะมีเปอร์เซ็นต์การติดฝักน้อยมาก
การบานของดอกวานิลาจะบานเพียง 1 วัน ซึ่งนับเป็นเวลาที่มีความสำคัญในการปฏิบัตงานของเกษตรกรที่ปลูกวานิลาดอกจะบาณตั้งแต่
่เช้าตรู่ถึงตอนบ่ายพอถึงเช้าของวันรุ่งขึ้นดอกจะเหี่ยวเวลาที่ดีที่สุดของการถ่ายละอองเกสรคือ วันที่สว่างและมีฝนวานิลาจะติดฝักมากมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการผสมเกสร สามารถทำได้มากหรือน้อย
ในประเทศเม็กซิโก คนงานจะมีความสามารถผสมเกสรเฉลี่ยคนละ 1000 - 2000 ดอก/วัน ถ้าการถ่ายละอองเกสรหรือการผสมเกสรประสพความสำเร็จ ดอกจะติดอยู่บนก้านช่อ แต่ถ้าไม่ติด ดอกจะร่วงใน 2 - 3 วัน

การติดฝัก
ข้อมูลจากการสำรวจ พบว่า วานิลาที่เกิดจากต้นที่แข็งแรงจะมีช่อดอกต้นละประมาณ 200 ช่อ แต่ละช่อจะมีดอก 15 - 20 ดอก ต้นวนิลา
ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีจะผลิตดอกต้นละ 4000 ดอก จะติดฝัก 10 ฝัก/ช่อ หรือ 2000 ฝัก/ช่อ จะมีฝักที่สมบูรณ์มากกว่า 25 ฝัก ในฤดูหรือในปีใด
วานิลาติดฝักดกมาก ในปี หรือในฤดูถัดไปจะติดฝักน้อย
เมื่อภายหลังการผสมเกสร รังไข่ของดอกวานิลาจะยาวอย่างรวดเร็วจะเจริญเติบโตประมาณ 1 นิ้วในสัปดาห์แรก และจะยาวเต็มที่ 4 - 8
สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นวานิลา ถ้าต้นเจริญเติบโตดี ฝักจะแก่เต็มที่ใน 3 - 4 เดือน ในประเทศแม็กซิโกฝักวานิลาจะเก็บเกี่ยวได้ในเดือน
พฤศจิกายน ถึงปลายกุมภาพันธ์
การสักเกตุฝักวานิลาว่าเก็บเกี่ยวได้หรือยัง ให้สังเกตุวานิลาจะแข็ง หนามีสีเขียงออกเหลือง และฝักไม่มีกลิ่น สิ่งที่แสดงว่าสุก คือ ฝักทั้ง
หมดจะมีสีเหลืองเล็กน้อย ต้องตรวจดูอย่าให้ฝักสุกเกินไป ปกติฝักวานิลาจะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 8 เดือนนับจากดอกบาน

ศัตรูที่สำคัญของวานิลา
โรคที่สำคัญของวนิลา ที่พบอยู่เสมอๆ คือ
โรคเนา ใบและเถาเน่า โดยเชื้อจะเข้าทำลายที่รากบริเวณโคนต้น ต่อมาจะลุกลามไปที่ใบเถาและรากอากาศ ถ้าเป็นเถาให้ตัดเถาส่วน
ที่อยู่ด้านบนทิ้ง วิธีป้องกันกำจัดให้ฉีดพ่นด้วย อาลีเอท อัตรา 30 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10 วัน เมื่อเป็นโรค ถ้าหากจะป้องกันให้พ่นยาป้อง
กันทุก ๆ 15 - 20 วัน โรคนี้จะเริ่มระบาดในช่วงฤดูฝน และฤดุหนาว
โรคแอนแทรกโนส เป็นโรคที่เข้าทำลายที่ยอดใบ ฝัก และรากบริเวณโคนต้นทำให้ผลร่วงภานใน 1 - 3 วัน เชื้อจะระบาดในช่วงฤดูฝน
โดยเฉพาะในแปลงที่ปลูกที่ร่มเงามากเกินไป และดินระบายน้ำไม่ดี
โรคจุดไหม้สีน้ำตาล (Brown spot) บนลำต้นและใบ ต้นวานิลาที่ถูกโรคนี้ทำลายจะต้องตัดทิ้ง และทำลายซากโรคอืน ๆ ที่พบยังมีจุดสีดำ
(Black spot) บนฝักแก่โรคนี้ควบคุมได้โดยใช้สารผสมบอร์โด (Bordeux Mixture) ไดแทน เอ็ม 45 หรือ เอนทราโคล 200 (0.3%) พ่นในระยะ
ห่างกัน 2 สัปดาห์
นอกจากนี้ยังมีศัตรูที่สำคัญที่ต้องควบคุมอีก คือ หอยทาก และเพลี้ยกระโดด โดยจะทำลายส่วนใบ และยอดของต้นวานิลลา หอยทาก
สามารถควบคุมได้โดยการจับทำลาย ส่วนเพลี้ยกระโดดควบคุมโดยการฉีดพ่นสารเคมี
จากการศึกษาเกี่ยวกับโรคและเชื้อสาเหตุของโรควานิลลา ที่ปลูกอยู่ที่สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก กองโรคพืชและจุล
ชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร พบโรคต่างๆ ได้แก่ โรครากเน่า และลำต้นเน่าสีน้ำตาล โรคแอนแทรกโนส โรคสาหร่ายสนิม โรคใบจุดสีน้ำ
ตาล โดยโรคลำต้นเน่าสีน้ำตาล และโรคใบจุดสีน้ำตาล เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium SP) รองลงมาคือ โรคแอนแทรกโนส และโรค-
สาหร่ายสนิม ซึ่งจะระบาดมากในสภาพที่มีความชื้นสูง จากการทดลองในการใช้สารเคมีในการควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคพบว่า สารเคมีที่ได้
ผลดีคือ สคอร์ (Score) หรืออาจใช้เบนเลท (Benlate) ในการควบคุมโรคแอนแทรกโนส และคอปเปอร์ ออซี่คลอไรด์ (Copper Oxychloride)
ในการควบคุมโรคสาหร่ายสนิม ข้อควรระวังคือ อย่าใช้สารเคมีชนิดเดียวติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง เพราะจะทำให้เกิดการดื้อยา หรือใช้วิธีการตัด
ใบ หรือ ตัดกิ่งทิ้งทดแทนการใช้สารเคมี

คุณภาพฝัก..คุณภาพรส และกลิ่น
คุณภาพของฝักวานิลลาที่ดีนั้น เมื่อผ่านการบ่ม และหมักแล้วนั้น ต้องมีกลิ่นและรสชาติดี นอกจากนี้ต้องมีการยืดหยุ่นดี มีความยาว
ตามขนาดและเกรด และปริมาณความชื้นตามวัตถุประสงค์ของการใช้ในแต่ละประเภทของอุตสาหกรรม ขนาดและความยืดหยุ่นของฝักนั้นจะมี
ความสัมพันธ์กับปริมาณสารที่สกัดได้ที่เรียกว่า วานิลลิน และกลิ่น ดังต่อไปนี้
ฝักคุณภาพดี - ฝักยาว อ่อนนิ่ม สีออกดำ มีน้ำมันเยิ้ม มีกลิ่นแรง ไม่มีรอยแผล ความชื้นของฝัก 30 - 40%
ฝักคุณภาพต่ำ - ฝักแข็ง แห้งเกินไป ผอม มีสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลออกแดง มีกลิ่นน้อย ความชื้นของฝัก 40 - 50%
ปริมาณสารกลูโควานิลลา (Glucovanillin) ในฝักวานิลลาจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เมื่อฝักเริ่มแก่ จะมีความสม่ำเสมอตลอดทั้งฝักจะมี
มากบริเวณปลายฝัก และมีน้อยบริเวณขั้วฝัก ผลึกของวานิลลาบนผิวฝักวานิลลา ที่เกิดขึ้นระหว่างการหมักนั้นจะมีตรงปลายฝักมากกว่าตรงขั้วฝัก
เช่นเดียวกัน สารกลูโควานนิลลาจะพบมากบริเวณของฝักวานิลลา
ส่วนปัจจัยที่มีส่วนชักนำในการพัฒนากลิ่น รส และคุณภาพของฝักวานิลลา มีดังนี้
- อายุ และฤดูกาลของการเก็บเกี่ยวฝักวานิลลา
- ขบวนการหมักบ่ม
- ปริมาณออกซิเจนในอากาศซึ่งเป็นตัวทำปฏิกิริยาในระหว่างการหมักบ่ม
- การควบคุมอุณหภูมิระหว่างขั้นตอนการทำให้แห้ง
- ปริมาณความชื้นของฝักระหว่างการทำให้แห้ง

กรรมวิธีในการบ่มฝักวานิลลา และทำให้แห้ง มีหลายวิธีดังนี้
วิธีที่ 1 แช่ฝักวานิลลาในน้ำร้อน 63 - 65 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อ ด้วยผ้าฝ้ายสีดำ แล้วนำมาเก็บไว้
ในกล่อง (Cloth lined Sweeting Box) นาน 2 - 3 วัน จากนั้นนำมาผึ่งแดดบนผ้าสีดำนาน 3 - 4 ชั่วโมง ทุกวัน ทำซ้ำเช่นนี้ 6 - 8 วัน แล้ว
นำมาบ่มในลังไม้ที่ร่มนาน 3 เดือน โดยมัดรวมกัน
วิธีที่ 2 แช่ฝักวานิลลาในน้ำร้อน 63 - 65 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที แล้วผึ่งให้แห้ง ห่อไว้ในผ้าฝ้ายสีดำ แล้วนำมาเก็บไว้ใน-
กล่อง 2 - 3 วัน จากนั้นนำมาอบที่อุณหภูมิ 45 - 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง ทุกวันนาน 8 วัน แล้วนำมาบ่มในลังไม้ที่ร่มนาน
3 เดือน
วิธีที่ 3 แช่ฝักวานิลลาในน้ำร้อน 80 องศาเซลเซียส นาน 10 วินาที ทำ 3 ครั้ง ทุก 30 นาที ผึ่งในแห้งแล้วห่อด้วยผ้าฝ้ายสีดำใส่
ในลังไม้นาน 2 - 3 วัน นำมาตากแดด 2 ชั่วโมงทุกวันนาน 7 วัน จนกระทั่งฝักเริ่มนิ่ม หลังจากนั้นบ่มในร่มจนกระทั่งน้ำหนักลดลงเหลือ 1/3
นาน 3 เดือน
วิธีที่ 4 นึ่งฝักวานิลลาที่อุณหภูมิ 60 - 70 องศาเซลเซียส นาน 36 - 48 ชั่วโมง นำไปม้วนในผ้าฝ้ายสีดำนาน 24 ชั่วโมง แล้วนำมา
ตากแดดวันละ 2 - 3 ชั่วโมง นาน 5 - 6 วัน หลังจากนั้นเก็บไว้ในลังไม้ที่ร่ม ที่มีการระบายอากาศได้ดีนาน 2 - 3 เดือน

การใช้ประโยชน์จากวานิลลา
ผลิตภัณฑ์จากวานิลลาที่จำหน่ายอยู่ในตลาดโลกนั้น มีหลายชนิดแตกต่างกันแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการใช้แต่ละประเทศ ความต้อง-
การผลิตภัณฑ์จากวานิลลาของประเทศผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือ การนำสารสกัดจากวานิลลาไปปรุงแต่งกลิ่น รสอาหาร โดยเฉพาะไอสครีม ช็อค-
โกแลต ขนมหวานต่างๆ รวมทั้ง เครื่องดื่ม โดยแบ่งผลิตภัณฑ์จากวานิลลาออกเป็น
- สารสกัดวานิลลา เป็นสารละลายน้ำผสมแอลกอฮอล์ที่ประกอบด้วยกลิ่นและรสชาติจากฝักวานิลลา อาจมีการเพิ่มความหวานจาก-
น้ำตาล สารประเภทนี้เป็นสารที่มีปริมาณเอทิลแอลกอฮอล์ไม่ต่ำว่า 35%
- วานิลลาทิงเจอร์ วิธีการสกัดคล้ายวานิลลาสกัด แต่แตกต่างกันตรงวานิลลาทิงเจอร์จะมีปริมารเอทิลแอลกอฮอล์มากว่า 38% วานิล
ลาทิงเจอร์นิยมในกันมากในอุตสาหกรรมยา
- วานิลลาโอลีโอเรซิน (Vanilla Oleoresin) เป็นของเหลวข้น ที่ได้จาการสกัดด้วยสารชนิดหนึ่งแทนที่ด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ ผลิต-
ภัณฑ์จากวานิลลาชนิดนี้มีกลิ่นและรสชาติด้วยกว่าสารสกัดวานิลลาผสมกับสารวานิลลาสังเคราะห์นำไปใช้ในการปรุงแต่งกลิ่น
- วานิลลาผง ได้จากการเอาฝักวานิลลาที่ผ่านการหมักและบ่มแล้วมาทำให้แห้ง บดเป็นผงละเอียด ใช้สำหรับผสมลงในอาหารและ
ยา

อนาคตของวานิลลา
ถ้าพูดถึงความต้องการผลิตภัณฑ์จากวานิลลาในตลาดโลกนั้น ยังมีค่อนข้างสูง ประเทศผู้ผลิตวานิลลาที่สำคัญคือ มาดากัสก้า เม็กซิโก
หมู่เกาะโคโมโน และอินโดนีเซีย ส่วนประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน แคนาดา อังกฤษ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
จากสถิติระบุว่า มาดากัสก้า มีส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์จากวานิลลาในตลาดโลกถึง 70% ส่วนอินโดนีเซียมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 15%
ราคาของวานิลลาฝักแห้งที่อินโดนีเซียขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50 - 60 เหรียญสหรัฐ สำหรับเกรด 1 ส่วนราคาที่มาดากัสก้า และโคโมโรส่งออก
สูงถึงกิโลกรัม 70 - 80 เหรียญสหรัฐ
สำหรับราคาฝักวานิลลาที่บ่มแล้วเกรด 1 ของมาดากัสก้า (ราคา FOB) กิโลกรัมละ 70 - 80 เหรียญสหรัฐ
ดูสถานการณ์การผลิตและส่งออกวานิลลา จากประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือ อินโดเนียเซีย แล้ว พบว่าแม้อินโดนีเซียจะผลิตวานิล
ลาน้อยกว่ากาแฟ กานพลู และชา แต่โอกาสด้านการตลาดของวานิลลากลับดีกว่าพืชที่กล่าวมาแล้ว จนกล่าวกันว่า วานิลลา คือ "ทองสีเขียว"
(The Green Gold) ของอินโดนีเซีย ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียให้ความสำคัญในการพัฒนาการผลิตและการส่งออกสินค้าชนิดนี้เป็นอย่างมาก
สำหรับประเทศไทย แม้จะมีการทดลองและทดสอบปลูกวานิลลามานับสิบปี แต่ยังไม่มีใครลงทุนปลูกอย่างจริงจัง ทุกวันนี้จึงรอผู้กล้า-
หาญลงทุนปลูกวานิลลาในเชิงการค้าอยู่
ท่านใดสนใจสอบถามได้ที่ สถานีทดลองพืชสวนดิยมูเซอ โทร. 0-5551-2131, 0-5551-4034 หรือ สถาบันวิจัยพืชสวน โทร. 0-579-7531





พรรณนีย์ วิชชาชู
หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์
ผู้เขียน




















Create Date : 27 เมษายน 2549
Last Update : 27 เมษายน 2549 0:26:39 น. 4 comments
Counter : 4299 Pageviews.

 
ชอบบทความของคุณทุกเรื่องเลย กำลังสนใจวานิลามากๆ


โดย: ชัยบาล IP: 124.121.2.32 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:57:36 น.  

 
ใครมีต้นพันธ์วานิลาขายบ้าง และหาซื้อได้ที่ไหน ครับ











โดย: ปุ่น IP: 125.24.158.94 วันที่: 9 กันยายน 2551 เวลา:12:46:26 น.  

 
ทำไมไม่มีคนกล้าปลูกละ

รออะไรกัน ตั้ง สิบปี แปลกใจๆ


โดย: อย่างนั้นเอง IP: 125.24.32.70 วันที่: 30 มกราคม 2552 เวลา:16:31:57 น.  

 
ขายต้นวนิลาค่ะ สายพันธุ์ Planifolia
มีเป็นจำนวนมาก ทั้งต้นใหญ่และเป็นต้นกล้า

สนใจติดต่อ : 081-8909012


โดย: Touch of Orchid IP: 58.10.12.56 วันที่: 19 ตุลาคม 2553 เวลา:12:04:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ถึงหนีก็ตาม
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ถึงหนีก็ตาม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.