พฤษภาคม 2559

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
ญี่ปุ่น ใน กำมือจีน และประเทศอื่นๆ


ประเทศจีนกำลังครอบงำเศรษฐกิจโลกในด้านต่างๆ
ทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในไทย

ภาคการเกษตร ในไทยและลาว เช่าที่ใช้ปุ๋ยเคมีปลูกกล้วย อันตรายต่อคนพื้นที่

และพยายามเทคโอเวอร์บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วโลก
-----

นับตั้งแต่ปี 2000 ชื่อของญี่ปุ่นกับผลงานทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เรียกได้ว่ามี “อิมแพ็ค” ต่อกระแสการบริโภคในโลกก็แผ่วไปจากความเคยชินของผู้คน เมื่อผนวกกับเศรษฐกิจที่เดี๋ยวทรงเดี๋ยวทรุดตั้งแต่ปี 1990 จนทำให้ตลาดในประเทศที่เคยแข็งแกร่งจนไม่ต้องง้อว่าโลกจะซื้อสินค้าของญี่ปุ่นหรือไม่กลับอ่อนยวบยาบ ญี่ปุ่นก็กลายสภาพมาเป็น “คนป่วยเรื้อรัง” ไม่อาจเข็นเศรษฐกิจให้เติบโตได้ดังใจ และหลังจากวิกฤติลีแมนช็อค ดูเหมือนญี่ปุ่นยิ่งทรุดหนักจนเกิดปรากฏการณ์บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ใหญ่และอุตสาหกรรมยานยนต์เข้าสู่สภาวะขาดทุนติดๆกัน กลายเป็น “ความพินาศแบบโดมิโน” ที่ทำเอาภาครัฐและเอกชนกุมขมับกันยกใหญ่ ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุและไม่รู้ว่าจะฟื้นฟูตัวเองอย่างไร

fg5

ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและเทคโนโลยีของประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนที่โตเอาๆจากภาวะการระเบิดของชนชั้นกลาง โหมให้กระแสการบริโภคในประเทศแข็งแกร่งขึ้นภายในระยะเวลาไม่ถึงสิบปี บวกกับการสนับสนุนสุดแรงเกิดของรัฐบาล ก็สะสมทุนรอนก้อนใหญ่มากพอจนเข้าซื้อบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่นที่อยู่ในอาการร่อแร่ได้ ไม่น่าเชื่อว่าผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียในสมรภูมิสินค้าเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่น จะถูกเบียดจนบี้จากประเทศที่เคยเป็นเพียง “ฐานการผลิต” ด้วยทักษะและราคาค่าแรงต่ำสุดใจอย่างจีน หรือนี่คือยุคสมัยแห่งการแข่งขันที่ไม่อาจคาดเดาได้อีกแล้ว และแม้แต่ชัยชนะของไก่รองบ่อนก็ไม่ใช่เรื่องปาฏิหาริย์อีกต่อไป?

คิดเองไม่ได้…ก็ใช้เงินซื้อซะ

fg4

เป็นข่าวที่บั่นทอนกำลังใจของคนญี่ปุ่นติดๆกัน เมื่อบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนอย่าง Haier เทคโอเวอร์บริษัทSanyo ของญี่ปุ่นในปี 2011 และในปีเดียวกัน Lenovo ของจีนก็ตกลงซื้อสิทธิบัตรนวัตกรรมโทรศัพท์มือถือของ NEC ทั้งหมดมาไว้ในครอบครอง นอกจากนี้เมื่อต้นปี Sharp ได้ตกเป็นของฮงไฮ่ ฟ็อกซ์คอนของไต้หวัน และ Toshiba ก็ถูกบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนอย่าง Midea Group เข้าซื้อหุ้นกว่า 80% เป็นเหตุให้นวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของโตชิบาตกเป็นของจีน ด้วยเงินในมือมหาศาล กระแสการเข้าซื้อบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนหรือที่เรียกว่า “Corporate Shopping” ทำให้ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วโลกอกสั่นขวัญแขวน ไม่เพียงแต่ผู้ผลิตญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ผู้ผลิตของเกาหลีและอเมริกาก็เกิดความกังวลว่าสักวันคงต้องโดนจีนซื้อไปเช่นกัน

fg7

ว่ากันว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้จีนออกล่าบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นก็คือ โอกาสที่จะได้เข้าถึงและครอบครองเทคโนโลยีของญี่ปุ่นซึ่งจะให้ผลประโยชน์ต่อจีนในระยะยาว อย่างกรณีของโตชิบาผู้เป็นหนึ่งในเจ้าของลิขสิทธิ์ทางปัญญามากที่สุดในโลก แต่ดันผิดพลาดด้านการตลาดและบริหารองค์กรภายใน จึงต้องเสียลิขสิทธิ์นวัตกรรมกว่า 5,000 รายการให้กับมิเดีย กรุ๊ปของจีน ในส่วนของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งของรัฐและเอกชนของจีนนั้นขาดความสามารถที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ แต่อาศัยการผลิตซ้ำและขายในราคาถูกให้กับตลาดในประเทศจนมีทุนมากพอเข้าซื้อเทคโนโลยีของญี่ปุ่นเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ตนขาด นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังสนับสนุนการซื้อเทคโนโลยี เพราะจะส่งผลให้จีนได้เทคโนโลยีจนสามารถผลิตได้ด้วยตัวเอง พึ่งตัวเองได้และไม่ต้องนำเข้าให้เสียสตางค์ แถมยังเป็นการอัพมูลค่าเพิ่มให้สินค้าของจีนไปโดยปริยาย

แน่นอนว่าคนที่เสียหายไม่ใช่ใครนอกจากญี่ปุ่น เพราะเกิดการรั่วไหลของเทคโนโลยีซึ่งไม่อาจตีเป็นมูลค่าได้ และยังเสี่ยงต่อการที่เทคโนโลยี นวัตกรรม และงานฝีมือดั้งเดิมสูญหายไปจากกระแสการผลิตซ้ำเพื่อขายในราคาที่ถูกกว่าโดยจีน

พึ่งบารมีแบรนด์ญี่ปุ่น

fg6

ด้วยภาพลักษณ์คุณภาพต่ำ ไม่ทนทาน ดีไซน์เชยๆ และไม่มีลูกเล่นอะไรใหม่ๆ สินค้าในสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนจึงแทบไม่เป็นที่รู้จักในระดับโลก นอกจากในแง่ของราคาที่ถูกกว่าเจ้าอื่นเท่านั้น ด้วยเหตุดังกล่าว การเข้าเทคโอเวอร์และผลิตสินค้าเพื่อขายในนามบริษัทญี่ปุ่นจึงเป็นการปูทางให้สินค้าของจีนเป็นที่รู้จักในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น ด้วยการพึ่งเครือข่ายทางการค้าและชื่อเสียงที่สั่งสมของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่น จากที่ครองตลาดในประเทศอย่างเดียว บารมีของญี่ปุ่นจะเสริมให้จีนได้เปิดตลาดภายในประเทศญี่ปุ่นที่มีมูลค่ามหาศาล นำสินค้าเข้ามาขายในญี่ปุ่นได้มากขึ้น (นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจีนถึงพยายามซื้อกิจการค้าปลีกในญี่ปุ่นด้วย เรียกว่าเหมาหมดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ) แถมยังมุ่งหวังจะใช้ญี่ปุ่นเป็นตัวผลักสินค้าเข้ามาขายในอาเซียนอีกด้วย และหากสำเร็จ บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนก็จะกลายเป็นผู้ครองตลาดอันดับ 1 ในเอเชีย

ญี่ปุ่น “ปีกหัก”

fg9

ศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจประการหนึ่งของคนญี่ปุ่นก็คือ การเป็นประเทศเอเชียเพียงหนึ่งเดียวที่พัฒนาทัดเทียมกับตะวันตกตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลก มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นประเทศแรกในเอเชียจนเป็นรากฐานของความเจริญทางเทคโนโลยีในทุกวันนี้ บริษัทใหญ่ๆไม่ว่าโตชิบา มิตซูบิชิ หรือชาร์ปต่างก็เป็นเสาหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของญี่ปุ่นให้เติบโตแม้ว่าจะเคยเสียหายยับเยินจากสงครามโลกก็ตาม

ในทศวรรษที่1960 ซึ่งเป็นยุคที่ญี่ปุ่นฟื้นฟูตัวเองจากสงคราม และสยายปีกอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าไปทั่วโลก ทฤษฎี Flying Geese Paradigm โดยนักวิชาการเศรษฐศาสตร์คนสำคัญของญี่ปุ่นอย่างคานาเมะ อากะมัตสึ ซึ่งบรรยายถึงพัฒนาการด้านอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆในเอเชียนั้นเป็นที่นิยมมาก อากะมัตสึเปรียบการเติบโตทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของเอเชียกับลักษณะการบินของห่านป่าในสองแง่ หนึ่งคือวิวัฒนาการของอุตสาหกรรม ที่เริ่มจากการผลิตง่ายๆเช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตเสื้อผ้า และค่อยๆไต่ไปจนถึงอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อีกแง่ก็คือเปรียบญี่ปุ่นเป็น”ห่านจ่าฝูง”ของวิวัฒนาการทางอุตสาหกรรมเอเชีย ส่วนประเทศในเอเชียอื่นๆ เช่นไต้หวันกับสิงคโปร์ เป็นห่านป่าที่บินอยู่แถวสอง ส่วนไทย มาเลเซีย และอาเซียนอื่นๆ บินอยู่แถวที่สาม ในขณะที่แถวถัดไปคาดคะเนไว้ว่าเป็นจีนและอินเดีย

ลักษณะการบินของห่านป่าที่นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ของญี่ปุ่นใช้เพื่อจำลองการเติบโตทางเศรษฐกิจของเชียในชื่อ Flying Geese Paradigm หรือทฤษฎีห่านบิน

ลักษณะการบินของห่านป่าที่นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ของญี่ปุ่นใช้เพื่อจำลองการเติบโตทางเศรษฐกิจของเชียในชื่อ Flying Geese Paradigm หรือทฤษฎีห่านบิน

ประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมเมื่อนำมาเทียบกับ Flying Geese Paradigm โดยญี่ปุ่นเป็นผู้นำตามด้วยประเทศอื่นๆในเอเชียเป็นลำดับ แผนภูมิโดย S. Kumagai

ประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมเมื่อนำมาเทียบกับ Flying Geese Paradigm โดยญี่ปุ่นเป็นผู้นำตามด้วยประเทศอื่นๆในเอเชียเป็นลำดับ แผนภูมิโดย S. Kumagai

หากอากะมัตสึมีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้ เขาอาจจะแปลกใจกับการเติบโตของประเทศจีน ที่นอกจากจะผิดจากที่คาดแล้ว ยังไม่สามารถใช้ทฤษฎีนี้เพื่ออธิบายการเติบโตทางอุตสาหกรรมที่รวดเร็วจนน่าตกใจของจีนด้วย เพราะจีนนั้นจัดได้ว่า “ก้าวกระโดด” ทางเทคโนโลยี ใช้เวลาเพียงไม่ถึงสามทศวรรษก็เริ่มกระโดดจากการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นการผลิตอินฟราสตรัคเจอร์ขนาดใหญ่อย่างรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งด้านไอที อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีทางอวกาศด้วย ในขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งครองตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบครึ่งศตวรรษ กลับเพิ่งมาคิดได้ว่า “เครื่องใช้ไฟฟ้า” นั้นเริ่มเป็นของตกยุคไปแล้วสำหรับญี่ปุ่น และเริ่มขยับขยายขายเทคโนโลยีอินฟราสตรัคเจอร์ในตลาดระหว่างประเทศไม่นานมานี้เมื่อเห็นจีนเร่งทำแข่งกับตน เรียกว่ากว่าจะเริ่ม “ปรับตัว” ก็เกิดความพังพินาศจนหลายคนตั้งคำถามว่า “หรือจะสายไปเสียแล้ว?”

fg10

หากเป็นคนโลกสวยก็จะมองว่า การ “ขาย” บริษัทที่ร่อแร่ให้กับจีนนั้นถือเป็นเรื่องที่ทำกันปกติ ไม่ใช่เพียงญี่ปุ่นแต่ในอเมริกาหรือยุโรปก็เคยเกิดขึ้น เรียกว่าเป็นการขาย “ของเล่นที่เสียแล้ว” ให้จีนไปรับช่วงต่อ และญี่ปุ่นก็ยังมี “อาวุธลับ” ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหนือกว่าจีน ตราบใดที่จีนยังไม่รู้จักพัฒนานวัตกรรมของตนเองและได้แต่ทุ่มเงินซื้อเช่นนี้ แต่หากมองโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว เมื่อพ้นจากนี้ไปสัก10ปี จีนอาจเรียนรู้เทคโนโลยีจากญี่ปุ่นและนำไปต่อยอดจนเป็นของตัวเอง เมื่อนั้นญี่ปุ่นจะยังคงสถานะความเป็น “จ่าฝูง” ได้หรือไม่ หรือจะปีกหักจนถูกจีนแซงขึ้นมาเป็นจ่าฝูงของเอเชียแทน ญี่ปุ่นในวันนี้จึงมีโจทย์ข้อใหญ่ที่ต้องกลับไปขบคิดว่า ตนจะต้องเดินไปทางไหน และจะเปลี่ยนตัวเองไปในทิศทางใด เพราะการขึ้นมาเป็นที่หนึ่งนั้นไม่ยากเท่าการรักษาสถานภาพความเป็นที่หนึ่ง มูลค่าของมันอาจจะต้องแลกมาด้วยบทเรียนจากความผิดพลาดในวันนี้ก็เป็นได้

ที่มา bloomberg koreatimes globaltimes iam-media

copy from //anngle.org/th/news/chinaoverjapan.html




Create Date : 21 พฤษภาคม 2559
Last Update : 21 พฤษภาคม 2559 21:22:56 น.
Counter : 780 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: peepoobakub วันที่: 9 มีนาคม 2560 เวลา:17:50:28 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Kaew123
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]