ยินดีตอนรับ....................(* *)
Group Blog
 
 
กันยายน 2550
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
29 กันยายน 2550
 
All Blogs
 

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย


ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของจังหวัดชลบุรี เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใดไม่มีหลักฐานปรากฏ เมื่อใกล้กับวันออกพรรษา ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ จะจัดกิจกรรมวิ่งวัว วิ่งควายขึ้น แต่ปัจจุบันวัวพันธุ์ที่ใช้ทำงานเหลือน้อยลงทุกที เกษตรกรจึงนิยมเลี้ยงควายเพื่อใช้งานแทน ปัจจุบันจึงเหลือ แต่ประเพณีวิ่งควาย ปรากฏให้เห็นและถือเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี ที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
ประเพณีวิ่งควาย เป็นกิจกรรมฉลองงานบุญอย่างหนึ่ง เมื่อถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะเตรียมปัจจัยไทยธรรมบรรทุกเกวียนไปวัด เพื่อช่วยกันเตรียมงานที่ศาลาวัด สำหรับการเทศน์มหาชาติในวันรุ่งขึ้น เนื้อเรื่องที่ใช้ในการแสดงเทศน์มหาชาติคือ เวสสันดรชาดก กล่าวถึงพระประวัติในอดีตชาติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มีทั้งหมด 13 ตอน หรือ 11 กัณฑ์ โดยเริ่มตั้งแต่กัณฑ์ทศพร สำหรับเกวียนที่ใช้บรรจุปัจจัยไทยธรรมมี 13 เล่ม ควายที่ใช้เทียมเกวียน 26 ตัว และเมื่อมีผู้คนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก กิจกรรมต่างๆ จึงเกิดขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมนี่จะมีควาย มาชุมนุมกันเป็นจำนวนมากด้วย ประเพณีวิ่งความจึงเกิดขึ้น และถือเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นชลบุรี โดยมีประวัติความเป็นมา ดังนี้
เมื่อประมาณ 100 ปีเศษมาแล้ว ณ วัดใหญ่อินทาราม พระอารามหลวง ซึ่งตั้งอยู่ที่ ถนน เจตน์จำนง เจ้าอาวาส ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกาของวัด ได้ปรึกษาหารือกันและมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดให้มีเทศน์มหาชิเป็นงานประจำ ณ วัดแห่งนี้ โดยกำหนดเอาเวลารุ่งอรุณของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันพระและวันออกพรรษา เป็นเวลาเริ่มการเทศน์มหาชาติกัณฑ์ทศพร โดยในปีแรกนั้น ผู้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์ส่วนมากเป็นชาวนา และชาวสวนซึ่งสมัยนั้นนิยมใช้อาหารพื้นเมืองเป็นเครื่องติดกัณฑ์เทศน์ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร หมาก มะพร้าว กล้วย อ้อย ฟักเขียว ฟักทอง และปลาแห้ง เป็นต้น ดังนั้น การที่ จะนำเครื่องติดกัณฑ์เทศน์มาที่วัด จึงจำเป็นต้องใช้เกวียน โดยใช้พื้นเกวียนส่วนล่างเป็นที่บรรจุของ ส่วนด้านบนใช้ไม้ขัดเป็นรอดวางแคร่ให้คนแก่ ผู้หญิง และเด็กนั่ง ปละมีประทุนครอบกันแดด กันฝนอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งเกวียนของตนให้ดูสวยงาม เมื่อเกวียนมาถึงวัดพร้อมกันแล้ว ตกบ่าย คนขับเกวียนก็จะชวนกันขี่ควายไปยังสระบัว เมื่อมีคนขี่ควายมาชุมนุมพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เช่นนั้น จึงมีคนคิดสนุกท้าประลองฝีเท้ากัน ดูว่าควายของใครจะมีฝีเท้าเร็วกว่ากัน ดังนั้น เมื่อถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของปีต่อๆ มา ควายเทียมเกวียนที่บรรทุกเครื่องกัณฑ์เทศน์มาวัด(เจ้าของกัณฑ์ที่เป็นคนในตลาดก็ตกแต่งเกวียนเข้าร่วมด้วยเช่นกัน) จึงถูกนำออกมาวิ่งในตลาดให้คนชม จนทำให้เจ้าของควายที่อยู่ตำบลใกล้เคียง ต้องกานำควายมาร่วมแข่งด้วย ตลอดจนมีบางคนนำควายของตนมาวิ่งแก้บนในปีต่อๆมา ควายจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นๆ ทุกปี ส่วนคนที่อยู่ตามอำเภอต่างๆ ก็พากันมาดูงานวิ่งควายมากขึ้นจนกลายเป็นประเพณี และภายหลังได้เปลี่ยนเวลาจากตอนบ่ายมาเป็นตอนเช้า และจำนวนควายก็เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ตัว


สำหรับควายที่นำมาวิ่งนั้น เจ้าของจะใช้ด้ายดิบสีขาวสลับแดง หรือใช้ผ้าสีคาดหน้าผากระหว่างเขาทั้งสองข้าง และใช้กระดาษแข็งตัดเป็นรูปใบโพธิ์ปิดทับด้วยแผ่นโลหะฉลุสลับสี เป็นลวดลายห้อยไว้ระหว่างหน้าผาก ส่วนเขาทั้งสองข้างสวมด้วยถุง ซึ่งเย็บด้วยผ้าสีต่างๆ ปลายเขาติดพู่ ถ้ามิได้สวมถุง ก็ใช้น้ำมันทาเขาให้เป็นเงา ที่คอผูกกระดิ่ง เวลาควายวิ่งจะมีเสียงดังสนั่น
ในอดีตสภาพตลาดชลบุรี ยังไม่เจริญเหมือนทุกวันนี้ เกวียนที่บรรทุกสินค้ามาจำหน่ายในเมือง จึงพักเกวียนตามลานวัดใกล้เคียงกับตลาดที่ติดต่อค้าขาย บริเวณข้างวัดใหญ่อินทาราม และข้างวัดต้นสนมรสถานที่ของเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านนิยมใช้เป็นที่พักเกวียนเพื่อขนถ่ายสินค้า ชาวบ้านเรียกกันว่า ตลาดท่าเกวียน ทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 และวันแรม 11 (วันออกพรรษา) จะมีชาวบ้านนำสินค้ามาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก และนำควายมาพักไว้ในบริเวณวัด หรือไม่ก็จูงเข้ามาเที่ยวในตลาด โดยแต่งตัวสวยงามทั้งคน และควาย เพื่อเป็นการทำขวัญควาย การจูงควายเที่ยวตลาด เพื่อจับจ่ายซื้อของ ตลอดจน นำควายวิ่งไปรอบๆ ตลาด ด้วยความสนุกนี้เอง ที่ต่อมาได้กลายเป็นประเพณีวิ่งควายตามลานวัดต่างๆ ในระหว่างปีหากควายเกิดเจ็บป่วย เจ้าของควายก็จะมาบนบานศาลกล่าว ด้วยการนำควายมาแก้บน จนกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
สิ่งที่น่าภูมิใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเพณีวิ่งควายของชาวชลบุรี คือ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประพาสจังหวัดชลบุรี ในวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2455 ขณะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัด คือ พระยาวิเศษฤาไชย ได้จัดวิ่งควายทอดพระเนตรที่หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี




 

Create Date : 29 กันยายน 2550
14 comments
Last Update : 29 กันยายน 2550 13:08:11 น.
Counter : 1932 Pageviews.

 

เจิม๙๙๙๙



มาชวนไปรู้จัก ไก่ฟ้าค่ะ

 

โดย: นกแห้ว 29 กันยายน 2550 13:55:26 น.  

 

อ๊าว....นี่มันประเพณีของบ้านผมนี่คร๊าบบบ

 

โดย: คุณชาย...หูกาง 1 ตุลาคม 2550 0:36:29 น.  

 

สวัสดีครับ ผมแวะเข้ามาเชิญชวนให้ร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมและขอเชิญเยี่ยมชมได้ที่ blog นะครับ(ไม่ได้ไปดูตั้งนานแล้วคิดถึงจังเลย)

 

โดย: veerar 21 ตุลาคม 2550 1:35:10 น.  

 

ประเพณีวิ่งควายสนุกมากคับ

 

โดย: ไพรินทร์ จันทบุตร IP: 202.91.18.206 2 ธันวาคม 2550 14:32:17 น.  

 

รักนะ

 

โดย: พำ IP: 222.123.53.13 19 ธันวาคม 2550 11:30:34 น.  

 

 

โดย: อะไรก็ได้ IP: 125.25.144.233 9 กุมภาพันธ์ 2551 17:09:52 น.  

 

เป็นความรู้ที่ดีมากเลยคะ

 

โดย: ฝ้ายคะ IP: 203.153.166.173 14 กุมภาพันธ์ 2551 11:45:15 น.  

 

ฟาน เชส ฟาเบรกาส รักๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เทียน



 

โดย: ฟาเบรกาส IP: 118.174.196.155 17 พฤษภาคม 2551 15:07:36 น.  

 

........................................

 

โดย: ............... IP: 125.24.5.152 18 มิถุนายน 2551 17:07:01 น.  

 











 

โดย: ................ IP: 125.24.5.152 18 มิถุนายน 2551 17:10:07 น.  

 

แจนเป็นควายดำ

 

โดย: .......... IP: 125.27.25.245 27 สิงหาคม 2551 10:22:13 น.  

 

สยาใสงวสบง

 

โดย: นยขนชขจ IP: 118.172.240.143 29 กันยายน 2551 19:58:49 น.  

 

รัก กานต์

 

โดย: boy IP: 118.172.240.143 29 กันยายน 2551 20:01:24 น.  

 

หนูก็เคยไปดูมาแล้วค่ะสนุกมากนี่ก็บ้านเกิดพ่อหนู

 

โดย: คนดูวิ่งควาย IP: 118.174.216.106 19 ธันวาคม 2551 19:05:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ohnuthong
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ohnuthong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.