Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
"ธีออส" ดาวเทียม(สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ)ดวงแรกของไทยทะยานฟ้าขึ้นแล้ว

ดาวเสาร์













"ธีออส" ดาวเทียมดวงแรกของไทยทะยานฟ้าขึ้นแล้ว เมื่อบ่ายวันที่ 1 ต.ค. โดย สทอภ.ไม่ประกาศล่วงหน้า ด้วยเกรงหน้าแตกอีกครั้ง ผู้บริหารเตรียมแถลงข่าวใหญ่ 2 ต.ค.นี้




หลังเลื่อนส่งมาหลายครั้งสำหรับ "ธีออส" (Theos) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของไทย และต้องเลื่อนส่งดาวเทียม อย่างกระทันหันเมื่อวันที่ 6 ส.ค.51 ที่ผ่านมา แม้ว่าสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการดาวเทียมธีออส ได้แจ้งล่วงหน้าว่าพร้อมส่งดาวเทียมแล้ว โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลคาซัคสถานไม่ยินยอมให้ชิ้นส่วนจรวดที่นำส่งดาวเทียมตกในพื้นที่




ล่าสุดผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้รับแจ้งจากทีมประชาสัมพันธ์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้นสังกัดสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการดาวเทียมธีออสว่า ดาวเทียมธีออสได้ทะยานขึ้นฟ้าไปเมื่อเวลา 13 นาฬิกา 37 นาที 16 วินาที (13.37.16) ตามเวลาประเทศไทย แต่ไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าเนื่องจากกลัวไม่สำเร็จดังที่ผ่านมา



ข้อมูลจากข่าวแจกของ สทอภ.ซึ่งส่งมายังกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ระบุว่า จรวด "เนปเปอร์" (Dnepr) ได้นำส่งดาวเทียมธีออสจากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี ประเทศรัสเซีย ซึ่ง ดร.ดาราศรี ดาวเรือง รองผูั้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ได้เดินทางไปพร้อมผู้บริหาร สทอภ.เพื่อร่วมกิจกรรมส่งดาวเทียม ขณะที่ผู้บริหารบางส่วนรอรับการรายงานสดทางโทรศัพท์จากเมืองยาสนี ณ สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และระบุว่าไม่สามารถถ่ายทอดสดการส่งดาวเทียมได้เนื่องจากอยู่ในเขตทหาร



ทั้งนี้ สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมที่เมืองคิรูนา ประเทศสวีเดน จะเป็นสถานีแรกที่ติดต่อกับดาวเทียมธีออสได้ในเวลา 15.09 น. จากนั้นดาวเทียมธีออสจะโคจรผ่านประเทศไทยครั้งแรก เวลา 21.16 น. ซึ่งข้อมูลข่าวแจก สทอภ.ที่ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้รับ ระบุว่า ในเวลาที่ธีออสผ่านประเทศนั้น สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จะเริ่มปฏิบัติการควบคุมการโคจรดาวเทียมและตรวจสอบการทำงานต่างๆ





นอกจากนี้ ทาง สทอภ.เตรียมแถลงข่าวการปล่อยดาวเทียมธีออส ในวันที่ 2 ต.ค. เวลา 10.00 น. ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



ก่อนหน้านี้ สทอภ.ประกาศส่งดาวเทียมธีออสมาแล้วหลายครั้ง โดยก่อนสร้างดาวเทียมเสร็จกำหนดส่งในเดือน ก.ค.50 แต่หลังจากสร้างดาวเทียมเสร็จเมื่อต้นปี 2550 ได้กำหนดส่งดาวเทียมในเดือน ต.ค.50 ขณะที่ดาวเทียมถูกส่งไปที่ฐานปล่อยจรวดในปลาย พ.ย.50 จากนั้นก็มีการเลื่อนออกมาเรื่อยๆ





จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 ส.ค.51 ที่ผ่านมา สทอภ.ให้ความมั่นใจในการส่งดาวเทียมธีออสอีกครั้ง โดยระบุว่าได้เติมเชื้อเพลิงให้กับดาวเทียมซึ่งเตรียมพร้อมอยู่ที่ฐานปล่อยจรวดแล้ว และเชิญสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยานในการส่งดาวเทียม ณ ศูนย์ควบคุมและสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แต่ก็ต้องเลื่อนอย่างกะทันหัน








ดาวเทียมธีออส (THEOS) เป็นคำอ่านของคำย่อ THEOS ที่มาจาก Thailand Earth Observation Systems หมายถึงระบบสำรวจพื้นผิวโลกโดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียมของประเทศไทย ส่วนคำว่า Theos เป็นภาษากรีก แปลว่า พระเจ้า





สำหรับดาวเทียมธีออส เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อปี 2547 โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ดำเนินงานรับผิดชอบร่วมกับบริษัทเอียดส์ แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6,440 ล้านบาท






วงโคจรของดาวเทียมธีออส

ประเภทวงโคจร : วงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun-synchronous Orbit)
ซึ่งเป็นวงโคจรที่ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรใช้โดยทั่วไป
วงโคจรของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ต่างจากวงโคจรของดาวเทียมสื่อสาร เช่น ดาวเทียมไทยคม ที่อยู่ใน วงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Orbit)





ความสูงของวงโคจร : 822 กิโลเมตร
หรือประมาณระยะทางจากกรุงเทพฯ - กระบี่ หรือสูงเท่ากับดอยอินทนนท์ซ้อนกัน 320 ลูก นับว่าอยู่ใกล้โลกมาก เมื่อเทียบกับดาวเทียมไทยคม ที่อยู่สูงจากพื้นโลก 36,000 กิโลเมตร




โคจรซ้ำที่เดิม : 26 วัน
ดาวเทียมธีออสใช้เวลา 26 วัน ในการโคจรรอบโลก 369 รอบ เพื่อมาอยู่ตรงตำแหน่งเดิมอีกครั้ง

รอบการโคจร : 14 +5/26 วงโคจร/วัน


คาบการโคจร : 101.4 นาที/วงโคจร





มุมเอียงของวงโคจร : 98.7 องศา
วัดจากแกนนอน ตามเข็มนาฬิกาครับ

เวลาการโคจรผ่านเส้นศูนย์สูตร : 10:00 น. (โคจรลง)

Inter-track Distance : 105 กิโลเมตร




ความเร็วการโคจร
ดาวเทียมธีออส กับลูกกระสุนปืน ที่ยิงจากปืนพก อะไรวิ่งด้วยความเร็วมากกว่า ?
ดาวเทียมธีออส โคจรรอบโลกด้วยความเร็ว ประมาณ 25,000 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 7,000 เมตรต่อวินาที (6,600 เมตร/วินาที) ซึ่งเร็วกว่าลูกกระสุนปืนเสียอีก (ความเร็วของกระสุนปืนพกประมาณ 490 เมตรต่อวินาที ส่วนความเร็วของกระสุนปืนยาวประมาณ 915 เมตรต่อวินาที)




การเลื่อนของวงโคจร ณ กรุงเทพฯ (13.5 องศาเหนือ) : 2738 กิโลเมตร ต่อวงโคจร ไปทางตะวันตก และ 630 กิโลเมตร ต่อวัน ไปทางตะวันออก
Day 1 Orbit 2 จะอยู่ห่าง 2738 กิโลเมตร ไปทางตะวันตก จาก Day 1 Orbit 1
และ Day 2 Orbit 1 จะอยู่ห่าง 630 กิโลเมตร ไปทางตะวันออก จาก Day 1 Orbit 1




ดาวเทียมธีออส

ข้อมูลพื้นฐาน
น้ำหนัก 750 กิโลกรัม
ขนาด 2.1 x 2.1 x 2.4 เมตร
แผงเซลแสงอาทิตย์ 800 วัตต์
อายุการใช้งานออกแบบ 5 ปี
น้ำหนักเชื้อเพลิง (Hydrazine) 80 กิโลกรัม





ส่วนประกอบหลักของดาวเทียมธีออส
กล้องบันทึกภาพแบบช่วงคลื่นเดียว (Panchromatic Telescope)
กล้องบันทึกภาพแบบหลายช่วงคลื่น, กล้องบันทึกภาพสีเชิงคลื่น (Multispectral Camera)
เสาอากาศช่วงคลื่น X-band (X-band Antenna)
เสาอากาศช่วงคลื่น S-band (S-band Antenna)
แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Array)




กล้องบันทึกภาพ

ดาวเทียมธีออส มีกล้องบันทึกภาพ 2 ตัว :

กล้องบันทึกภาพแบบช่วงคลื่นเดียว (Panchromatic Telescope) : บันทึก ภาพขาว-ดำ (Panchromatic) รายละเอียดภาพ 2 เมตร ความกว้างแนวถ่ายภาพ 22 กิโลเมตร

กล้องบันทึกภาพสีเชิงคลื่น (Multispectral Camera) : บันทึก ภาพสี (Multi-Spectral) 4 ช่วงคลื่น รายละเอียดภาพ 15 เมตร ความกว้างแนวถ่ายภาพ 90 กิโลเมตร





ระบบการถ่ายภาพสีของดาวเทียมธีออส ถ่ายภาพในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น 3 ช่วงคลื่น (ช่วงคลื่นแสงสีน้ำเงิน สีเขียว และ สีแดง) และช่วงคลื่นแสงที่ตามองไม่เห็น (คลื่นอินฟราเรดใกล้ - NearIR) อีก 1 ช่วงคลื่น

ถ้าจะเปรียบเทียบกล้องถ่ายภาพขาว-ดำ และกล้องถ่ายภาพสี ของดาวเทียมธีออส กับเลนส์ของกล้องถ่ายภาพ ให้ประมาณดูว่า กล้องแต่ละตัวเปรียบได้กับเลนส์ขนาดเท่าไร ?
กล้องถ่ายภาพสี ของธีออส เปรียบเหมือนกล้องติดเลนส์เทเลโฟโต้ 720 มม. ส่วนกล้องถ่ายภาพขาว-ดำ มีเลนส์ขนาด 2,890 มม.









ประโยชน์ของดาวเทียมธีออส ได้แก่...


1. ภาพจากดาวเทียมสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำ และสามารถนำไปใช้ในการติดตามและประเมินความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


2. ใช้ในการสำรวจศึกษาหาพื้นที่ป่าไม้ หาพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลาย ถูกไฟไหม้ การสำรวจหาพื้นที่สวนป่าและหาชนิดป่า





3. ใช้ในการสำรวจหามลพิษจากคราบน้ำมันในทะเล หาแหล่งน้ำ หาพื้นที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ


4. ใช้เป็นข้อมูลการจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานของประเทศไทย





5. ใช้ในการศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูก การคาดการณ์ผลผลิต ประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติและศัตรูพืช ตลอดจนการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ


6. ใช้ในการสำรวจศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง





7. ใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของชุมชน อีกทั้งสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนพัฒนาการวางผังเมือง และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปการต่างๆ


8. ภาพถ่ายจากดาวเทียมธีออสสามารถนำมาขายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย





9. ภายใต้สัญญาสร้างดาวเทียมธีออส ประเทศฝรั่งเศสจะปรับปรุงสถานีรับสัญญาณดาวเทียมของไทยให้สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียม SPOT ได้ และให้สิทธิ์ในการรับสัญญาณดาวเทียม SPOT-2, 4 และ 5 เพื่อให้หน่วยงานราชการได้ใช้ประโยชน์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้แต่ละหน่วยงาน นำไปใช้ประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงาน


สำหรับการปล่อยดาวเทียมธีออสสู่อวกาศ จะใช้จรวดเน็ปเปอร์ (DNEPR) ของบริษัทคอสโมทราส ประเทศรัสเซีย เป็นจรวดนำส่ง จากฐานปล่อยจรวดศูนย์อวกาศยัชนี ประเทศรัสเซีย และสถานีรับสัญญาณดาวเทียมตั้งอยู่ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร มีสถานีควบคุมดาวเทียมภาคพื้นดินอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี







ชื่อหน่วยงาน จรวด และ สถานที่

EADS Astrium เขียนเป็นภาษาไทยว่า "อีเอดีเอส แอสเตรียม" อ่านว่า "อี-เอ-ดี-เอส แอสเตรียม"(แบบอังกฤษ) และ "เออ-อา-เด-แอส อาส-ตรี-อุม" (แบบฝรั่งเศส)


Dnepr เขียนเป็นภาษาไทยว่า "เนปเปอร์" อ่านว่า "เนบ-เป้อ" , เป็นจรวดนำส่งดาวเทียมธีออส ผลิตในประเทศยูเครน และบริหารจัดการโดย ISC Kosmotras
Y

asny เขียนเป็นภาษาไทยว่า "ยาสนี" อ่านว่า "ยาส-นี่" , เป็นเมืองที่อยู่ตอนใต้ของประเทศรัสเซียเป็นที่ตั้งฐานปล่อย จรวด Dnepr


Yuzhnoye เขียนเป็นภาษาไทยว่า "ยูสนอย" อ่านว่า "ยูส-นอย", เป็นชื่อขององค์การวิจัยพัฒนาจรวดนำส่ง Dnepr อยู่ที่เมือง Dnepropetrovsk สาธารณรัฐยูเครน


Toulouse เขียนเป็นภาษาไทยว่า "ตูลูส" อ่านว่า "ตู-ลูส" , เป็นชื่อเมืองทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ที่วิศวกรไทยทำการฝึกอบรม และเป็นเมืองที่ตั้งของบริษัท EADS Astrium


ISC Kosmotras เขียนเป็นภาษาไทยว่า "ไอเอสซี คอสโมทราส" อ่านว่า "ไอ-เอส-ซี-คอส-โม-ทราส" , เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศ ยูเครน และรัสเซีย





Dnepropetrovsk เขียนเป็นภาษาไทยว่า "เนปโปรเปตตรอฟส์ค" อ่านว่า "เน็บ-โปร-เป็ด-ตรอฟ" , เป็นเมืองที่ตั้งของบริษัท Yuzhnoye เมืองในสาธารณรัฐยูเครน ที่ดำเนินการทำ PDR


Baikonur เขียนเป็นภาษาไทยว่า "ไบโคนอร์" , อ่านว่า "ไบ-โค-นอ" , เป็นฐานปล่อยจรวดแห่งหนึ่งของ ISC Kosmotras อยู่ที่เมือง Kazakhstan


Kazakhstan เขียนเป็นภาษาไทยว่า "คาซัคสถาน", อ่านว่า "คา-ซัก-สถาน", มีชื่อเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Republic of Kazakhstan)" เคยเป็นสาธารณรัฐในอดีตสหภาพโซเวียต


Orsk เขียนเป็นภาษาไทยว่า "ออสค์", อ่านว่า "ออส",


































Create Date : 02 ตุลาคม 2551
Last Update : 2 ตุลาคม 2551 0:19:50 น. 2 comments
Counter : 9926 Pageviews.

 
ขอบคุณมากครับสำหรับเรื่องน่ารู้ที่ทันสมัย และเกิดประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างยิ่ง


โดย: basbas วันที่: 2 ตุลาคม 2551 เวลา:14:20:29 น.  

 
ขอบคุณครับที่ให้ความรู้


โดย: มาย IP: 203.144.144.164 วันที่: 12 มีนาคม 2553 เวลา:11:17:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.