Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 พฤษภาคม 2551
 
All Blogs
 
เมื่อโทรเลขพ่ายMSN...วันนี้ขออำลา"โทรเลขไทย"...ส่งโทรเลขฟรีได้ที่นี่ครับ (โลว-เทคฯ)











ถ้าได้ฟังเพลง "จดหมายพ่ายอีเมล์" ของ เดวิท อินธี เมื่อ 3-4 ปีก่อน
จะสะท้อนให้เห็น ความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ หมดทางสู้ทุกประการ
ของผู้ส่งสาร และรับสาร อย่างเข้าใจความรู้สึกทีเดียวครับ
เพราะความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว ไฮเทคโนกว่า มีสีสรรกว่า

ดู ดู๊ ดู ...แม้แต่ความรัก ก็ยังพ่าย ถ้าสื่อสารด้วยวิธีที่ต่างกัน !!

นั่นหมายถึง...ไม่ใช่ความพ่ายแพ้ระหว่างคนรับ-ส่งสารเท่านั้นนะครับ
เทคโนโลยีที่เก่ากว่า ก็ย่อม พ่ายให้กับเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า เหมือนกัน


และแล้ววันนี้ก็มาถึง "โทรเลขพ่ายMSN" เข้าให้อีกแล้วครับ


พอรู้ว่าในวันที่ 30 เม.ย. 2551 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะยกเลิกการให้บริการโทรเลขอย่างเป็นทางการทั่วประเทศ ปิดตำนานบริการโทรเลขที่ให้บริการมากว่า 133 ปี (พ.ศ. 2418-พ.ศ. 2551)




หากจะเปรียบกับในยุคนี้การส่งโทรเลขคงคล้ายๆกับการส่งเอสเอ็มเอส ที่มีหลักสำคัญในการส่งข้อความ คือ ข้อความต้องสั้น กระชับ ได้ใจความ ถ้าใครได้เคยส่งนะครับ






ตัวอย่างข้อความที่กระชับในการส่ง โทรเลข

โทรเลขถีงแม่
"ส่งเงินซื้อชุดใหม่ด่วน ชุดเก่าใส่เที่ยวกับแฟนครบทุกชุดแล้ว"





โทรเลขถีงลูก
"หาแฟนใหม่ ใส่ชุดเดิม"












ก่อนอื่นมาอ่านประวัติความเป็นมาของ โทรเลข กันครับ



โทรเลข (telegraph) (หรือที่ชาวบ้านเขาเรียกว่า ตะแล้ปแก๊ป)คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกันและอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (radio telegraph, wireless telegraph หรือ continuous wave ย่อว่า CW)



โทรเลขตามสาย
ระบบโทรเลขตามสายระบบแรกที่เปิดให้บริการทางการค้าสร้างโดย เซอร์ ชาร์ลส์ วีทสโตน (Sir Charles Wheatstone) และ เซอร์ วิลเลียม ฟอเทอร์กิลล์ คุก (Sir William Fothergill Cooke) และวางสายตามรางรถไฟของบริษัท Great Western Railway เป็นระยะทาง 13 ไมล์ จากสถานีแพดดิงตัน (Paddington) ถึง เวสต์เดร์ตัน (West Drayton) ในอังกฤษ เริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2382 ระบบนี้ได้มีการจดสิทธิบัตรเมื่อ พ.ศ. 2380



ชุมสายโทรเลข สมัยก่อน


ระบบโทรเลขนี้พัฒนาและจดสิทธิบัตรพร้อม ๆ กันในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2380 โดย แซมูเอล มอร์ส (Samuel Morse) เขาและผู้ช่วยคือ อัลเฟรด เวล (Alfred Vail) ประดิษฐ์รหัสมอร์ส


Samuel Morse




สายโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2409 ทำให้สามารถส่งโทรเลขข้ามมหาสมุทรระหว่างยุโรปและอเมริกาเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้นมีความพยายามสร้างในปี พ.ศ. 2400 และ 2401 แต่ก็ทำงานได้ไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะเสีย การศึกษาสายโทรเลขใต้น้ำทำให้เกิดความสนใจการวิเคราะห์เรื่อง transmission line ทางคณิตศาสตร์




ในปี พ.ศ. 2410 เดวิด บรูคส์ (David Brooks) ระหว่างที่ทำงานให้กับบริษัทรถไฟ Central Pacific Railroad ได้รับสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาหลายฉบับเกี่ยวกับการปรับปรุงฉนวนสำหรับสายโทรเลข สิทธิบัตรของบรูคส์มีส่วนสำคัญในงานสร้างทางรถไฟข้ามทวีปสายแรกของอเมริกา

ความก้าวหน้าที่สำคัญอีกด้านของเทคโนโลยีโทรเลขเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2435 เมื่อ โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ได้รับสิทธิบัตรสำหรับโทรเลขสองทาง (two-way telegraph)




วิทยุโทรเลข
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) และนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์อื่น ๆ แสดงประโยชน์ของเทคโนโลยีไร้สาย วิทยุ และวิทยุโทรเลข ตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษ 1890 เป็นต้นมา กูกลีเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ส่งและรับสัญญานวิทยุสัญญานแรกในประเทศอิตาลีในปี พ.ศ. 2438 เขาส่งวิทยุข้ามช่องแคบอังกฤษในปี พ.ศ. 2442 และข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในปี พ.ศ. 2445 จากอังกฤษถึงเมืองนิวฟันด์แลนด์

วิทยุโทรเลขพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการกู้ภัยทางทะเล โดยสามารถติดต่อระหว่างเรือ และจากเรือถึงฝั่ง





ส่วนประกอบของเครื่องรับส่งโทรเลข
-แบตเตอรี่
-คันเคาะ หรือ เครื่องส่ง
-เครื่องรับ
-สายไฟ




หลักการทำงานของเครื่องส่งและเครื่องรับโทรเลข
หลักการทำงานของเครื่องส่งและเครื่องรับโทรเลข คือ เมื่อกดคันเคาะของเครื่องส่งให้วงจรไฟฟ้าปิด กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าไปในขดลวดของเครื่องรับ ทำให้ขดลวดของเครื่องรับเกิดสนามแม่เหล็ก จึงดูดแผ่นเหล็กมากระทบแกนเหล็ก ทำให้เกิดเสียงที่มีจังหวะเดียวกับคันเคาะ การปิดเปิดวงจรทำให้เกิดเสียงเป็นสัญญาณโทรเลข แล้วจึงแปลงสัญญาณโทรเลขให้เป็นข้อความ โดยกำหนดรหัสในโทรเลขไว้ 2 ลักษณะ คือ เคาะแล้วกดไว้ (กดยาว) และ เคาะแล้วปล่อย (กดสั้น)ซึ่งแทนด้วย - กับ . ( ขีด กับ จุด ) เรียกรหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขว่ารหัส “มอร์ส”



เนื่องจากโทรเลขประสบปัญหาความไม่สะดวกในการที่ต้องเสียเวลาแปลรหัส จึงทำให้มีการประดิษฐ์โทรพิมพ์ขึ้นมาใช้แทนโทรเลข




ข้อดีและข้อเสียของโทรเลข

ข้อดีของโทรเลข คือ

-สามารถส่งข่าวสารและข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลๆ
-ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถใช้ปริการโทรเลขได้ในราคาถูก


ข้อเสียของโทรเลข คือ

-ต้องแปลรหัสโทรเลขทั้งขณะส่งและขณะรับ ทำให้เสียเวลา
-หากแปลรหัสผิดอาจทำให้ข่าวสารและข้อมูลนั้นๆมีใจความเปลี่ยนไป




ภาพพระเจ้าน้องยาเธอ จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์งวรเดช ซึ่งเป็นผู้ที่พระบาทพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการ(อธิบดี) กรมโทรเลขเป็นะพระองค์แรก นอกจากนี้ท่านยังได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ(อธิบดี) กรมไปรณีษย์ ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งนับว่าท่านทรงเป็น อธิบดี กรมไปรณีษย์ เป็นพระองค์แรกเช่นกัน ซึ่งพระองค์ทรงดำแหน่งดังกล่าวในระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๒๖ ถึง ปี พ.ศ ๒๔๒๙



โทรเลขในประเทศไทย


เริ่มแรกเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2412 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงอนุมัติให้ชาวอังกฤษจัดตั้งบริษัทก่อสร้างและบำรุงรักษาทางโทรเลขตามคำเสนอขอ แต่การดำเนินงานกลับล้มเหลว




เมื่อ พ.ศ. 2418 สมัยรัชกาลที่ 5 กรมกลาโหมดำเนินการสร้างทางสายโทรเลขสายแรกจากกรุงเทพมหานครไปปากน้ำ หรือ จ.สมุทรปราการ ในปัจจุบัน โดยวางสายเคเบิลโทรเลขใต้น้ำต่อออกไปถึงกระโจมไฟนอกสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมระยะทาง 45 กิโลเมตร เพื่อใช้ในการส่งข่าวสารทางราชการเป็นหลัก



จากรูป จะเห็นเสาโทรเลข สมัยนั้น



พ.ศ. 2421 กรมกลาโหมได้สร้างทางโทรเลขสายที่สอง จากกรุงเทพฯ ถึงพระราชวังบางปะอิน และได้ขยายสายออกไปถึงกรุงเก่า (จ.พระนครศรีอยุธยา)



เสาโทรเลข บริเวณสนามหลวง



ต่อมาปี พ.ศ. 2426 เริ่มสร้างทางใช้ลวดเหล็กอาบสังกะสีเป็นสายแรกของกรุงเทพฯ ผ่านปราจีนบุรี กบินทร์บุรี อรัญประเทศ ศรีโสถณ และคลองกำปงปลัก ในจ.พระตะบอง (สมัยนั้นยังเป็นของสยาม) ได้เชื่อมต่อกับสายโทรเลขอินโดจีน ไซง่อนซึ่งเป็นสายแรกที่ติดต่อกับต่างประเทส และในวันที่ 26 ก.ค. 2426 ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้บริการโทรเลข




เมื่อมาถึง พ.ศ. 2440 กรมโทรเลขได้สร้างทางสายกรุงเทพฯ แม่สอด จ.ตาก เพื่อไปต่อกับสายโทรเลขของอังกฤษไปเมืองมะละแหม่ง และย่างกุ้ง และได้สร้ายทางโทรเลขจากกรุงเทพฯ เพชรบุรี ชุมพร ทุ่งสง หาดใหญ่ และสงขลา และในปีพ.ศ.2441 ได้สร้างสายย่อจากสงขลาไปไทรบุรี (ปัจจุบัน คือ รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย) และกัวลามุดา เพื่อเชื่อมต่อกับสายโทรเลขของอังกฤษไปปีนังและสิงคโปร์



ในปีพ.ศ.2496 นายสมาน บุณยรตพันธุ์ นายช่างโทรเลขได้สร้างเครื่องโทรพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จโดยคิดระบบกลไก หรือ Spaceing Control Mechanism ต่อมาได้ประดิษฐ์เพิ่มเติมโดยให้เครื่องทำงานได้ทั่งสองภาษา (ไทยและอังกฤษ) ให้ชื่อว่า เครื่องโทรพิมพ์ไทยแบบ S.P. โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขรับรองเมื่อปี พ.ศ. 2498


ห้องทำงาน ที่กรมโทรเลข สมัยนั้น



1 ก.พ. 2500 กรมไปรษณีย์โทรเลขสั่งสร้างเครื่องโทรพิมพ์ไทยจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาใช้งานเป็นรุ่นแรกระหว่างกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ กรุงเทพฯ-อุตรดิตถ์-เชียงใหม่ หลังจากนั้นได้ใช้เครื่องโทรพิมพ์ออกไปทั่งประเทศ


คนที่นั่งเคาะสัญญาณมอร์ส คนนี้ คือ คุณสงวน สังขชาติ
ครับสมัยนั้นเพิ่งจบจากโรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข
ไปนั่งทำงานอยู่โทรเลขกลาง(บางรัก) ต่ำแหน่งสุดท้าย
เป็น อจ.ใหญ่โรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข สมัยตั้งอยู่
ซอยสายลม ปัจจุบันนี้ท่านไปอยู่ อเมริกา กับธิดาครับ




ปี 2503 ได้มีการปรับปรุงบริการให้ทันสมัยโดยจัดชื้ออุปกรณ์ใหม่ เช่น เครื่องส่งและเครื่องรับวิทยุความถี่สูง เครื่องโทรพิมพ์ที่ใช้งานโทรเลขแบบต่างๆ เปิดการใช้งานรับส่งโทรเลขติดต่อกับต่างประเทศด้วยวงจร HF1 ARQ โดยประเทศแรกที่ติดต่อด้วยวงจรนี้คือประเทศญี่ปุ่น




นับตั้งแต่ปี 2496 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมขึ้นในจังหวัดและอำเภอต่างๆ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 50 สถานี



บุรุษไปรษณีย์ นำโทรเลขไปส่ง



จนกระทั้งพ.ศ. 2520 กรมไปรษณ๊ย์โทรเลขได้โอนส่วนปฏิบัติการให้บริการโทรคมนาคมของประเทศ รวถึงบริการโทรเลขไปอยู่ในความรับผิดชอบของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งภายหลังเปลี่ยนมาเป็น กสท บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท เทเลคอม (CAT Telecom) และยกเลิกบริการโทรเลข ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551




วันที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริการส่งโทรเลข เป็นวันสุดท้าย








ตัวอย่างโทรเลขบอกเล่าที่มาของพระนาม "ภูมิพลอดุลยเดช"

จากข้อความที่ปรากฏในหนังสือ "เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์" หน้า 38-39 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสร าชนครินทร์ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า

... แต่ในไม่ช้า ก็มีเหตุการณ์สำคัญในครอบครัวของเรา คือการเกิดของลูกคน ที่สาม ข้าพเจ้าเคยเขียน ดังที่หลายคนได้เขียนไว้ ว่าพระโอรสองค์ท ี่สองของทูลกระหม่อมฯ* ประสูติวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 เวลา 08:45 น. ที่โรงพยาบาลเมานท์ออเบร์น (Mount Auburn) ในแคมบริดจ์ แต่เมื่อ เร็วๆนี้ (กรกฎาคม 2530) เมื่อข้าพเจ้าเอ่ยชื่อนี้ต่อหน้าแม่ ท่านร ับสั่งว่า "โรงพยาบาลนี้คงเปลี่ยนชื่อ แม่มีความรู้สึกว่าแต่ก่อนนี้ชื่อ โรงพ ยาบาลเคมบริดจ์ (Cambridge Hospital)" ด้วยเหตุที่ว่าแม่มีความจำที่แม่นมาก ข้าพเจ้าจึงคิดว่าท่านคงไม่ผิ ดและได้ค้นคว้าต่อไป จริงของท่าน ข้าพเจ้าได้พบสำเนาสูติบัตรที่แสดง ว่า "ภูมิพลอดุลยเดช สงขลา (Bhumibal Aduldej Songkla) เกิดวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 ที่โรงพยาบาลเคมบริดจ์ (Camb ridge Hospital) " ...



ในหลวงของเราประสูติท่ามกลางความตื่นเต้นดีใจ ไม่เว้นแม้แต่สมเด็จพ ระพันวัสสาฯ ที่ได้ขอพระราชทานพระนามของพระองค์อย่างเร่งด่วน ดังท ี่กล่าวไว้หนังสือเรื่องเจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์

... สมเด็จพระพันวัสสาฯ เสด็จไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล ะทรงมีลายพระหัตถ์ ลงวันที่ 14 ธันวาคมถึงหม่อมเจ้าดำรัสฯ ซึ่งได้ย้ ายกลับมากรุงเทพฯแล้ว...




โทรเลขภาษาอังกฤษที่หม่อมเจ้าดำรัศฯ ทรงส่งไปคือ "Your son's name is Bhumibala Aduladeja" แม่บอกว่าเมื่อได้รับโทรเลขแล้วไม่ทราบว่าลูกชื่ออะไรแน่ในภาษาไทย คิดว่าชื่อ"ภูมิบาล" จึงได้สะกดภาษาอังกฤษในสูติบัตรว่า "Bhumibal" ...



เป็นอันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ได้รับพระราชทานพระนามม าจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัว ทรงพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอพร ะองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช

หมายเหตุ:
สมเด็จพระพันวัสสาฯ-สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า
พระราชมารดาในสมเด็จพระมหิลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก
ทูลกระหม่อม-สมเด็จพระบรมราชชนก
ลูกแดง-สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
หม่อมเจ้าดำรัศดำรงค์-อัครราชทูตไทยประจำประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้น

ที่มา..หนังสือวันเด็กแห่งชาติ 2542








อ่านโดยสรุปแล้ว...การส่งโทรเลขก็คือการส่ง รหัสมอร์สนั่นเอง
แล้วปลายทางของสาขากรมโทรเลขที่ใกล้บ้านของผู้รับ จะแปลงเป็นตัวอักษร
จากนั้น..พอแปลงเป็นตัวอักษร ก็พิมพ์ และส่งไปหาผู้รับต่อไป

มาเรียนรู้เรื่องรหัสมอร์สกันอีกซักนิดคับ





Morse Code หรือ รหัสมอร์ส คือ รหัสสัญญาณสั้นยาวใช้แทนตัวอักษร ในการส่งข้อความหากัน แต่เดิมนั้นใช้กับเครื่องส่งโทรเลข ของ Samuel Finley Breese Morse ซึ่งคิดค้นขึ้นมาในปี ค.ศ.1832



ตัวอักษร ภาษาอังกฤษ เมื่อแปลงเป็นรหัสมอร์ส



การส่งรหัสมอร์สในยุคแรก ๆ นั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การส่งข้อความถึงกันในระยะทางไกล ๆ นั้นทำได้โดยรวดเร็วและง่ายขึ้นกว่าการส่งจดหมาย โดยพนักงานส่งก็แค่ กดแป้นบนเครื่องส่งโทรเลขตามรหัสมอร์สเท่านั้น ทางฝ่ายรับเมื่อได้รหัสข้อความก็นำมาถอดรหัสอีกที นับว่าวิธีการนี้ เป็นการปฏิวัติการส่งข้อความหากันเลยทีเดียว เพราะสามารถส่งข้อความถึงกันในระยะทางไกล ๆ ได้โดยใช้เวลาแค่ไม่ถึงนาที (แล้วแต่ความยาวของข้อความ)



ที่มาของการคิดเป็นรหัสมอร์ส


แต่ในปัจจุบันนี้ รหัสมอร์สนั้นก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อเข้ารหัสข้อความอย่างง่าย ๆ ซึ่งถึงแม้รหัสมอร์สจะถูกดักจับและแปลความหมายได้ง่าย แต่ก็จัดว่ายาก เพราะผู้คนส่วนใหญ่จะหลงลืมกันไปเกือบหมดแล้ว และในการรับส่งข้อความนั้น ต้องอาศัยการฝึกเพื่อให้เกิดความชำนาญ เพราะเวลารับส่งกันจริง ๆ นั้น จะส่งกันเร็วมาก ๆ ถ้าไม่ชำนาญล่ะก้อรับรองว่ารับไม่ทัน เพราะเวลารับนั้นจะต้องแปลรหัสนั้นออกมาเป็นตัวอักษรเลย


รหัสมอร์สและรหัสโทรเลขของไทย


ในการท่องจำรหัสมอร์สให้ขึ้นใจนั้น ทหารเรือไทยจะจำว่า จุด หรือ "." นั้นอ่านว่า "วับ" และ dash หรือ "-" ก็จะอ่านว่า "วาบ" ดังนั้น ตัวอักษร A ก็จะอ่านรหัสมอร์สว่า "วับ วาบ" , B อ่านว่า "วาบ วับ วับ วับ" เป็นต้น สาเหตุที่ใช้คำว่า "วับ วาบ" นั้น ก็เพราะว่าในการส่งรหัสมอร์สส่วนใหญ่นั้น ทหารเรือจะส่งในเวลากลางคืน เพราะในเวลากลางวันสามารถส่งข้อความโดยใช้ธงประมวล และธงสองมือ (คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังต่อครับ) ซึ่งในเวลากลางคืน ไม่สามารถส่งข้อความทางธงได้ เพราะความมืด เราก็จะส่งสัญญาณโดยใช้โคมไฟสัญญาณของเรือ ในการส่งสัญญาณสั้น นั้นก็จะใช้การเปิดแผงกั้นโคมไฟแค่เสี้ยววินาที ซึ่งก็จะเหมือนไฟกระพริบ วับ ๆ แวม ๆ ซึ่งตามหลักภาษาไทยก็จะเรียกว่า "วับ" อยู่แล้ว ส่วนในการส่งสัญญาณยาวนั้น ก็จะเปิดแผงกั้นโคมไฟให้นานขึ้น ซึ่งภาษาไทยก็จะเรียกว่า "วาบ"

ส่วนตัวอักษรแต่ละตัวนั้น ใช้รหัสมอร์สอะไร ดูได้จากตารางด้านล่างนี้เลยครับ




รหัสมอร์ส พยัญชนะไทย

ก - - . ป . - - .
ข , ฃ - . - . ผ - - . -
ค , ฅ , ฆ - . - ฝ - . - . -
ง - . - - . พ, ภ . - - . .
จ - . . - . ฟ . . - .
ฉ - - - - ม - -
ช , ฌ - . . - ย - . - -
ซ - - . . ร . - .
ญ . - - - ล , ฬ . - . .
ด, ฎ - . . ว . - -
ต, ฏ - ส, ศ, ษ . . .
ถ, ฐ - . - . . ห . . . .
ท, ธ, ฑ, ฒ - . . - - อ - . . . -
น, ณ - . ฮ - - . - -
บ - . . . ฤ, ฤา . - . - -


รหัสมอร์ส สระไทย

อะ - . . . อู - - - .
อา . - เอ .
อิ . . - . . แอ . - . -
อี . . โอ - - -
อึ . . - - . ไอ , ใอ . - . . -
อื . . - - อำ . . . - .
อุ . . - . -


รหัสมอร์ส วรรณยุกต์ไทย และเครื่องหมาย

ไม้เอก (จ่า) . . - ไม้ไต้คู้ (ก็) - - - . .
ไม้โท (กล้า) . . . - การันต์ (วงศ์) . - - - .
ไม้ตรี (ก๊าก) - - . . . ไม้ทั้ง (ตั้ง) - - . . -
ไม้จัตวา (ก๋า) . - . - . ไปยาลน้อย (ฯ) - - . - .
ไม้หันอากาศ (หัน) . - - . - ไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) - - - . -







เกล็ด ความหมายของ SOS

เวลาชมภาพยนต์ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ จะทำตัวอักษร SOS ลงบนที่ต่างๆ บนพื้น หรือเวลาติดในป่า พวกเขาก็จะเอากิ่งไม้มาวางเป็นรูปตัวอักษรนี้

คำว่า SOS เกิดมาจากในกลุ่มชาวเรือ หมายความง่ายๆ ว่า Save Our Ship (ช่วยเรือของเราด้วย)

ทว่าในหลักสากล มีหลายคนเชื่อว่าคำๆ นี้ไม่ได้แทนคำพูดใดๆ แต่เป็นสัญลักษณ์ทางการใช้โทรเลขต่างหาก

โดยในปี ค.ศ. 1912 ในการประชุมวิทยุสากลนั้น ได้มีการตกลงว่า สัญลักษณ์ของการขอความช่วยเหลือ



จะใช้ว่า...- - -... และในระบบโทรเลขได้กำหนดไว้พอดีว่า ... ใช้ตัวแทนคือตัว S

ส่วน – ตัวที่ใช้แทนก็คือตัว O

ดังนั้น เวลาเราโทรเลขขอความช่วยเหลือ เราก็จะใช้รหัสว่า SOS นั่นเอง และปัจจุบัน แม้จะไม่มีการใช้โทรเลขเท่าไหร่แล้ว แต่คำว่า SOS ก็ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายอยู่ดี





เอางี้ครับ...
ผมมีเวปที่จะส่งรหัสมอร์ส หรือ ขอเรียกว่าเป็นการส่ง โทรเลข แบบสากลแล้วกัน มาฝากเพื่อนๆสมาชิกครับ






ส่งโทรเลข กดที่นี่






ขั้นตอนแรก ให้เพื่อนสมาชิกเข้าไปที่เวป

ขั้นตอนที่สอง พิมพ์ข้อความที่เราจะส่ง (เวปนี้ใช้เป็นภาษาอังกฤษ)...
พิมพ์ข้อความเสร็จ กด Submit คับ

ขั้นตอนที่สาม จากนั้น เวปก็จะมาที่หน้าแปลเป็นรหัสมอร์ส ให้กดที่ "Play Morse" กดเซฟไฟล์ไว้...แล้วส่งแนบไฟล์ไปให้ผู้รับ

ตามอี-เมล์ของผู้รับ





T T ฮือๆๆ ไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดี...ในที่สุดเราก็ต้องอาศัยคอมฯอยู่ดี
เพราะการส่งโทรเลขจริงๆ...มันไม่มีอีกแล้วคับ ฮือๆๆๆ





อย่างไรก็ตาม...ผมได้ส่งข้อความนี้ไปให้ผู้รับปลายทางแล้วคับ
ตามเสียงที่นำมาแปะไว้ ดังนี้
































ข้อความที่ส่ง...แปลได้ว่า

"Oley , I miss you mak mak kub" คับ อิอิ





เสาโทรเลข


สำหรับคนที่เรียนสายคอมพิวเตอร์มา คุณคงรู้ดีถึงความแพร่หลายของเลขฐาน 2 ดี.. และก็คงจะแปลกใจเหมือนกับผม ที่ได้รู้ว่า การจัดเรียงรหัสมอร์สแบบนี้ มันก็เหมือนกับรหัสเลขฐานสองนั่นเอง

และถ้าเรามากว่า จุด และ ขีด มันก็คือ สัญลักษณ์แทนถึง ‘ของ 2 สิ่ง ซึ่งไม่เหมือนกัน’ เช่นเดียวกับ 0 และ 1 ของเลขฐานสองแล้วละก็.. รหัสมอร์ส ก็มีรากฐานเดียวกับเลขฐานสองนั่นเอง

จากนั้นเราก็จะนึกได้ว่า ไอ้จำนวนรหัสพวกนี้ มันก็คือ possiblility (ความน่าจะเป็น) ทั้งหมดของการสลับ จุด และ ขึด ที่มีจำนวนดังกล่าวนั้นเอง

จากความสัมพันธ์แบบนี้ จะเห็นได้ว่า โทรเลข และ รหัสมอร์ส ได้มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน่าอัศจรรย์ จาก จุดและขีด ไปสู่เลขฐานสอง สู่ความเป็นดิจิตอล และสุดท้ายก็คอมพิวเตอร์




ตัวอย่าง โทรเลข




ที่เขียนและหาข้อมูลมาซะยืดยาววันนี้...
เรื่องของเรื่องคือ..ผมแค่อยากจะไว้อาลัย...ให้กับ "โทรเลข" ของไทย
ที่สามารถอยู่มาได้ยืนยาวนานนับศตวรรษ

ซึ่งคุณๆจะทราบหรือไม่ก็ตาม...
ว่าคอมพิวเตอร์ที่คุณนั่งอยู่ตรงหน้าเขานี้...

พัฒนามาจากเลขฐาน2 ของโทรเลขนั่นเอง























Create Date : 01 พฤษภาคม 2551
Last Update : 1 พฤษภาคม 2551 14:28:01 น. 6 comments
Counter : 10323 Pageviews.

 
เคยส่งโทรเลขค่ะ....


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 1 พฤษภาคม 2551 เวลา:0:23:55 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ นะครับ... วันนี้ผมก็ไปส่งโทรเลขมาแล้วหล่ะครับ.... ว่าไปนั่น ผมใจหายยังไงก็ไม่รู้ คิดถึงพี่โทรเลขจังครับ


โดย: Silent_Control (augmentin ) วันที่: 1 พฤษภาคม 2551 เวลา:0:44:42 น.  

 
สุดยอดของข้อมูลเลยค่ะลุงวันนี้ ขอปรบมือให้ลุงดังๆเลยค่ะ


โดย: Picike วันที่: 1 พฤษภาคม 2551 เวลา:1:10:32 น.  

 
ไม่เคยส่งโทรเลขเลยค่ะ
เสียดายจัง ไม่มีโอกาสได้ส่งแล้ว


โดย: แมวเอิง วันที่: 1 พฤษภาคม 2551 เวลา:1:24:16 น.  

 
ได้ความรู้ดี ๆ กลับไปอีกแล้ว บล๊อคนี้


โดย: dj booboo วันที่: 1 พฤษภาคม 2551 เวลา:1:44:40 น.  

 
ขอบคุณนะครับ สำหรับบทตวามดีๆๆ

ซ฿่งจังกับโทรเลขไทย

เสียดายที่ไม่เคยส่ง

ขอบคุณมากๆๆนะครับ


โดย: ก้อง IP: 117.47.200.143 วันที่: 10 กรกฎาคม 2552 เวลา:7:56:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.