<<
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
11 พฤษภาคม 2554

7 Q&A คนอยากมีลูก

Q: ทำไมแต่งงานมาหลายปี แต่ไม่ท้องสักทีคะ
A: หากคู่สามีภรรยามีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอสัปดาห์ละประมาณ 3 ครั้งนานเกิน 1 ปี โดยไม่คุมกำเนิด แล้วไม่ตั้งครรภ์ ถือว่าเข้าข่ายมีบุตรยาก อาจมีความผิดปกติในฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง เช่น ท่อนำไข่อุดตัน ไข่ไม่ตก เป็นซิสท์ที่รังไข่ หรือเชื้ออสุจิน้อย เป็นต้นครับ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมครับ

Q: วิธีการรักษาทำอย่างไรคะ
A: วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากมีหลายวิธีครับ เริ่มจากวิธีง่ายๆ เช่นกำหนดวันไข่ตกให้มีเพศสัมพันธ์เอง หรือทำการคัดเชื้ออสุจิ ไปจนถึงวิธีการทำกิฟท์ ทำอิ๊กซี่ ทำเด็กหลอดแก้ว และวิธีบลาสโตซิสท์คัลเจอร์ ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ภายนอกร่างกายนาน 5 วัน จนตัวอ่อนเติบโตถึงระยะฝังตัว แล้วค่อยใส่ตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูกให้ตั้งครรภ์ การจะเลือกใช้วิธีการใดในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับปัญหาของผู้ป่วย เช่นถ้าท่อนำไข่อุดตัน ก็ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีฉีดเชื้อ หรือกิ๊ฟท์ ได้ครับ ต้องทำเด็กหลอดแก้ว หรือ บลาสโตซิสท์คัลเจอร์

Q: แล้วโอกาสสำเร็จสูงแค่ไหนคะ
A: โอกาสความสำเร็จของผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุของฝ่ายหญิง สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก และวิธีการรักษา เช่นถ้าฝ่ายหญิงอายุมากแล้ว การกระตุ้นไข่ก็จะยากกว่าผู้หญิงอายุน้อย หรือถ้าเชื้ออสุจิน้อยมากแล้วทำการช่วยปฏิสนธิด้วยวิธีอิ๊กซี่โอกาสสำเร็จก็จะสูงขึ้นเป็นต้น

Q: เด็กที่เกิดจากการรักษา มีโอกาสผิดปกติสูงกว่าธรรมชาติใหมคะ
A: จากการศึกษายาวนานกว่า 30 ปี อัตราความผิดปกติหรือพิการแต่กำเนินนั้นไม่
แตกต่างกันกับธรรมชาติครับ แต่การที่เราเพาะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ภายนอกนาน 5 วัน จนตัวอ่อนมีการเติบโตถึงระยะที่มีเซลล์เป็นจำนวน 120-150 เซลล์ (ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์) เราสามารถนำเซลล์ของตัวอ่อนจำนวน 5-10 เซลล์ออกมาตรวจวินิจฉัยโครโมโซมได้ หากเราตรวจพบว่าตัวอ่อนตัวใดเป็นดาวน์ซินโดรม เราก็จะไม่ใส่กลับคืนให้ ดังนั้นเราจึงสามารถคัดเลือกตัวอ่อนสำหรับใส่กลับคืนสู่โพรงมดลูกได้ครับ

Q: ถ้าหากผู้หญิงอายุมากแล้ว ยังไม่แต่งงาน เราสามารถเก็บแช่แข็งเซลล์ไข่ไว้ได้หรือไม่คะ
A: ปัจจุบันเราสามารถเก็บแช่แข็งได้ทั้ง เซลล์ไข่ อสุจิ และตัวอ่อนครับ และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเป็นสิบปี การแช่แข็งไข่สามารถทำได้โดยการกระตุ้นรังไข่ให้มีเซลล์ไข่เกิดขึ้นจำนวนมาก แล้วทำการเจาะเก็บไข่ออกมาเพื่อทำการแช่แข็งไข่เอาไว้ เมื่อต้องการมีบุตรก็สามารถละลายไข่ออกมาปฏิสนธิกับอสุจิเพาะเลี้ยงเป็นตัวอ่อน แล้วใส่ตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูกให้ ก็จะสามารถตั้งครรภ์ได้ครับ เช่นเดียวกันกับคนไข้ที่รักษาภาวะมีบุตรยากแล้วมีตัวอ่อนหลายตัว บางครั้งใส่กลับคืนเพียง 1-2 ตัวอ่อนเท่านั้น ตัวอ่อนที่เหลือสามารถแช่แข็งเก็บไว้ได้ หากตั้งครรภ์และคลอดบุตรไปแล้ว อีก 2-3 ปีต่อมาสามารถละลายตัวอ่อนออกมาใส่กลับคืนให้ตั้งครรภ์ได้อีกครับ

Q: การอุ้มบุญสามารถทำได้ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่คะ
A: การอุ้มบุญสามารถทำได้ครับหากมีข้อบ่งชี้ว่าฝ่ายหญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เอง เช่น ถูกตัดมดลูกไปแล้ว หรือมดลูกมีความผิดปกติ แต่การที่จะหาคนมาอุ้มบุญนั้นต้องไม่เป็นการว่าจ้าง หรือให้ค่าตอบแทน ต้องเป็นญาติพี่น้องที่เต็มใจช่วยเหลือกัน และตามกฏหมายปัจจุบันเด็กที่เกิดมาจะเป็นบุตรของหญิงที่อุ้มท้อง แม่ตามพันธุกรรมต้องทำการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว จนกว่ากฏหมายอุ้มบุญจะบังคับใช้ครับ

Q: มีความเสี่ยงอะไรบ้างคะจากการรักษาภาวะมีบุตรยาก
A: ความเสี่ยงที่พบได้บ่อยคือการเกิดทารกแฝดครับ เพราะมารดาจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆระหว่างตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น และการตั้งครรภ์แฝดยังเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย หากเป็นแฝดมากกว่าสองยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นอีก ดังนั้นปัจจุบันจึงพยายามจำกัดจำนวนตัวอ่อนที่จะใส่กลับคราวละ 1-2 ก็เพียงพอ เพราะตัวอ่อนที่เหลือเรายังสามารถแช่แข็งเก็บเอาไว้ใช้ได้อีกครับ ปัจจุบันการตั้งครรภ์แฝดคราวละมากๆจึงลงลดครับ



Create Date : 11 พฤษภาคม 2554
Last Update : 11 พฤษภาคม 2554 11:18:14 น. 1 comments
Counter : 458 Pageviews.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 วันที่: 30 มีนาคม 2558 เวลา:17:04:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]