สำรวจลุ่มแม่น้ำโขง ตะลึงพบ 163 "สิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่"
กองทุนสัตว์ป่าโลก หรือ "WWF" กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแถวหน้า เปิดเผยรายงานและภาพถ่าย "สัตว์และพืชสายพันธุ์ใหม่" 163 ชนิด ที่ค้นพบในประเทศกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งอนาคตอันใกล้เสี่ยง "สูญพันธุ์" ล้มหายตายจากไปจากพื้นที่ เพราะผลกระทบจากวิกฤตการณ์ "โลกร้อน!"

การค้นพบสัตว์และพืชพันธุ์ใหม่ 163 ชนิด เกิดขึ้นหลังจากคณะนักวิทยาศาสตร์ของ WWF ลงพื้นที่ศึกษาระบบนิเวศวิทยาของประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เมื่อปีพ.ศ.2551 อันประกอบไปด้วยไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และพื้นที่มณฑลยูนนาน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

โดย "สิ่งมีชีวิต" ที่พบใหม่ทั้งหมดนั้น แยกเป็น...

พืช 100 ชนิด

ปลา 28 ชนิด

สัตว์เลื้อยคลาน 18 ชนิด

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 14 ชนิด

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 2 ชนิด

และนกอีก 1 ชนิด

กองทุนสัตว์ป่าโลกสาขาประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า รายละเอียด พร้อมกับรูปภาพสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่หายากและมีความโดดเด่นเฉพาะตัวดังกล่าวปรากฏอยู่ในรายงานเรื่อง "Close Encounters" ซึ่งเขียนและเผย แพร่หลังจากคณะทำงาน WWF บุกเข้าไปค้นพบพวกมันภายในพื้นที่ป่าและแม่น้ำสายต่าง ๆ ของประเทศภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

เช่น กบในตระกูลมีเขี้ยวที่กินนกเป็นอาหาร (bird eating fanged frog) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มหนูผี 1 ชนิด (musk shrew) จากทั้งหมด 4 ชนิดที่กำลังได้รับ การจำแนกเป็นชนิดพันธุ์ใหม่ และตุ๊กแกลายเสือดาว (leopard gecko) ด้วยดวงตาสีส้ม ขายาวชะลูด และลำตัวที่เต็มไปด้วยสีสัน




1. "Oligodon Deuvei" งูพันธุ์ใหม่รูปโฉมดุเอาการ ตัวยาวราวฟุตครึ่ง มีลายยาวสีส้มด้านบน พบในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ชอบอยู่ตามสวนผัก

2. งูลายเสือ หรือ Tiger-Striped Pitviper พบบนเกาะหอนซอน จ.เกียนยาง เวียดนาม

3. นกน่งกั่ง

4. กบโคราช (Korat Big-Mouthed Frog)

5.กบตัวเป็นตะปุ่มตะป่ำ สายพันธุ์ใหม่ "Rough Coated Tree Frog" หรือ "Philautus Quyeti" เจอในเวียดนาม

6. ปลาโอเดซซา บาร์บ (Odessa Barb) เคยเจอในตลาดค้าปลาสวยงามเมืองโอเดซซา ประเทศยูเครน แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พบในแม่น้ำโขงของพม่า ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ

7."Cnemaspis Biocellata" ตุ๊กแกสีสดใส พบตรงชายแดนไทย-มาเลเซีย มีจุดสีเหลืองตามลำตัว

"การค้นพบครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศในภูมิภาค เรากำลังจดจ่ออยู่กับการพยายามจะจับตุ๊กแกชนิดใหม่ตัวหนึ่ง ทันใดนั้นเจ้าลูกชายของผมก็ร้องบอกว่า มีหัวของงูตัวหนึ่งอยู่ห่างจากมือผมที่วางอยู่บนหินเพียงไม่กี่นิ้ว เราเลยจับมาทั้งตุ๊กแกและงู และทั้ง 2 ตัวเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก" ดร.ลี กริสเมอร์ แห่งมหาวิทยาลัยลาเซียร่า แคลิฟอร์เนีย หนึ่งในทีมงาน WWF กล่าว

ด้าน สจ๊วร์ต แชปแมน ผู้อำนวยการฝ่ายอนุรักษ์ WWF แห่งลุ่มน้ำโขง แถลงที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียา กรุงเทพฯ ว่า สำหรับนกพันธุ์ใหม่ที่พบ มีนกกลุ่มกินแมลงป่าฝนชนิดใหม่รวมอยู่ด้วย มีชื่อสามัญว่า "Nongbang Babbler" (นกน่งกั่ง) แตกต่างจากนกอื่น ๆ ตรงที่ชอบเดินหากินบนพื้นดินมากกว่าที่จะบิน และจะบินก็ต่อเมื่อตกใจเท่านั้น พบในแถบป่าดงดิบเขตอุทยานธรรมชาติน่งกั่ง บริเวณจีนตอนใต้ ใกล้พรมแดนเวียดนาม

ส่วนสัตว์พันธุ์ใหม่ดาวเด่นอื่น ๆ ได้แก่ "กบโคราชปากใหญ่" (Korat Big-Mouthed Frog) พบที่โคราชของไทย อาศัยอยู่ตามทางน้ำ ในปากมีเขี้ยวเอาไว้คอยกัดกินแมลงและนกกล้วยป่าพันธุ์ใหม่ "Musa Rubinea" พบในมณฑลยูนนาน ฝั่งติดชายแดนพม่า

นอกจากนั้น ในเวียดนามยังเจอ "ค้างคาวจมูกท่อ" รวมถึง "ตุ๊กแกลายเสือดาว" ซึ่งมีตาสีน้ำตาลอมส้มคล้ายตาแมวและมีลายบนตัวเหมือนเสือดาว พบบนเกาะแคตบา ทางภาคเหนือของเวียดนาม

"หลังจากซุกซ่อนตัวมาเป็นเวลานับพันปี ในที่สุดเราก็ค้นพบพวกเขา ทั้งหมดนี้ยืนยันได้ว่า ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่รอการค้นพบ หรือก็เป็นไปได้เช่นกันว่ามีสัตว์อีกหลายชนิดสูญพันธุ์ไปจากโลกก่อนที่เราจะได้รู้จัก" แชปแมนกล่าว

ขณะนี้สิ่งที่ WWF แสดงความกังวลก็คือ ทั้ง ๆ ที่มนุษย์เพิ่งค้นพบสัตว์พันธุ์ใหม่ แต่อีกไม่นานมันอาจสูญพันธุ์หมดไปทั้งพื้นที่ เพราะผลกระทบจากภาวะสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง หรือภัยโลกร้อน!

ภัยที่กำลังเกิดขึ้นอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังคุกคามสถานภาพของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้

"การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศภายในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้เกิดขึ้นแล้ว ภายหลังจากแบบจำลองภาวะโลกร้อนแสดง ให้เห็นว่า อุณหภูมิมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีความแปรปรวนของสภาพอากาศสูงมากขึ้น และแนวโน้มที่จะเกิดภัยทางธรรมชาติมีความถี่และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลที่รายงานจากการประชุมคณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยภาวะการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ชี้ว่า การเพิ่มระดับของน้ำทะเลและภาวะน้ำทะเลหนุนเพราะปัญหาโลกร้อน จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อพื้นที่ชายฝั่ง โดยเฉพาะที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของพื้นที่ปากแม่น้ำที่มีความเสี่ยงสูงมากที่สุดในโลก" WWF ระบุ

แชปแมน เสริมว่า สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจสามารถ "ปรับตัว" ให้อยู่รอดได้ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่บางชนิดก็ไม่สามารถปรับตัวได้ และต้องล้มหายตายจากไป ดังนั้น เราอาจจะได้เห็นการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมหาศาลเกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ถูกค้นพบใหม่ในลุ่มน้ำโขงมีความเสี่ยงสูงมากเป็นพิเศษ เนื่องจากพื้นที่ "ถิ่นที่อยู่อาศัย" จะลดลงอย่างมากเพราะผลจากโลกร้อน ภัยแล้ง และน้ำท่วมผิดธรรมชาติ

โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะพึ่งพาอาศัยกันไม่มากก็น้อย ฉะนั้น หากการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปในทิศทางที่ไม่สอดคล้องกัน วิวัฒนาการดังกล่าวอาจทำให้พวกมันมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้นไปอีก

ผู้อำนวยการ WWF ลุ่มน้ำโขง กล่าวด้วยว่า อยากให้แต่ละประเทศที่ใช้ประโยชน์ จากแม่น้ำโขงหันมาจับมือกันให้ความสำคัญกับการวางแผนรับมือปัญหาโลกร้อน และออกข้อตกลงที่เป็นรูปธรรม เพราะนอกจากจะช่วยรักษาดูแลสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยปกป้องคุ้มครอง "ความหลากหลายทางชีวภาพ" ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงเอาไว้สืบไปจนถึงคนรุ่นหลัง





ขออย่าให้มีแมลงสาบสายพันธุ์ใหม่เล๊ย เกลียดมากกก


ข้อมูลจากข่าวสด



Create Date : 14 ตุลาคม 2552
Last Update : 14 ตุลาคม 2552 0:29:43 น.
Counter : 728 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
ตุลาคม 2552

 
 
 
 
1
2
4
5
6
9
10
11
12
13
15
18
19
21
22
23
24
27
29
 
All Blog