ท้องฟ้าจำลอง
กรุงเทพมหานคร เมืองฟ้าอมรที่แวดล้อมไปด้วยตึกสูง กับแสงไฟสว่างไสวไปทั่วบริเวณ น้อยคนนักที่จะได้สัมผัสหรือดื่มด่ำกับความงดงามของดวงดาวบนฟากฟ้า อะ ๆ แต่ใครบอกว่ากรุงเทพมหานครไม่มีดวงดาว ขอเถียงค่ะ เพราะจริง ๆ แล้วกรุงเทพมหานครมีดวงดาวเต็มท้องฟ้า ใช่แล้ว! เรากำลังพูดถึง ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ แหล่งส่องจักรวาลแบบเต็ม ๆ ตาของคนเมืองกรุง ใครพร้อมแล้วก็ตามเราเข้าไปเงยหน้าสำรวจชมท้องฟ้ายามค่ำคืนกันเลย






ความเป็นมาของท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี เปิดอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2507 และนับจากบัดนั้น ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ จึงเปิดการแสดงให้นักเรียนและประชาชนเข้าชมได้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2507 เป็นต้นมา ซึ่งอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ห้องฉายดาว และ ส่วนแสดงนิทรรศการรอบห้องฉายดาว

1. ห้องฉายดาว

ห้องฉายดาว เป็นห้องวงกลมขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20.60 เมตร หลังคาเป็นรูปโดม สูง 13 เมตร เพดานโดมเป็นแผ่นอลูมิเนียมพรุน ทาสีขาวเพื่อรับแสง ที่ฉายออกจากเครื่องฉายดาวปรากฎเป็น ดวงดาวใน ท้องฟ้าจำลอง คล้ายกับดวงดาวในท้องฟ้าจริง ความจุ 370 ที่นั่ง ตรงกลางห้อง ตั้งเครื่องฉายดาวระบบเลนส์ของ Carl Zeiss ของบริษัทคาร์ล ไซซ์ ประเทศเยอรมนี






เครื่องฉายดาว นับเป็นประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ ที่มีระบบการทำงาน ซับซ้อน ประกอบด้วยระบบ เครื่องกล ระบบไฟฟ้า และระบบแสงที่ประณีต ฉายภาพวัตถุท้องฟ้า และปรากฎการหลายชนิด เลียนแบบธรรมชาติ สามารถ ปรับเครื่องขึ้นลง เพื่อแสดงดวงดาวในท้องฟ้า ของประเทศใดก็ได้ตามวัน เวลาที่ต้องการ ทั้งดวงดาวในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และยังเป็นเครื่องฉายดาว ขนาดใหญ่เครื่องแรก ในย่านเอเซียอาคเนย์ด้วย

ศักยภาพของเครื่องฉายดาวของท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เป็นสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา กรมการศึกษา นอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มก่อสร้างขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ด้วยวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อสร้างแหล่งที่ดี ให้เยาวชน ได้ชุมนุมหาความรู้ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมการศึกษาวิชาดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ โดยให้นักเรียน เรียนรู้จากของจำลอง ซึ่งคล้ายของจริง งบประมาณ การก่อ สร้าง และดำเนินงานขั้นต้น จนสามารถเปิดแสดงให้ประชาชนได้ในปี พ.ศ.2507 เป็นเงินงบประมาณ 12 ล้านบาท

- ฉายดาวฤกษ์ได้ประมาณ 9,000 ดวง ขณะที่ตาเปล่าสามารถมองเห็นดวงดาวในท้องฟ้าได้ราว 2,000 ดวง

- ฉายดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ 5 ดวง และแสดงการเคลื่อนที่ผ่านไปในกลุ่มดาวต่าง ๆ ได้ชัดเจน

- ฉายภาพกลุ่มดาวต่าง ๆ แสดงแนวทางช้างเผือก กระจุกดาว เนบิวลา กาแลกซี่บางแห่ง ดาวแปรแสง ดาวเทียม ดาวหาง ดาวตก เมฆ แสงรุ่งอรุณ แสงสนธยา แสดงการเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา แสดงเส้นสมมุติต่าง ๆ ในท้องฟ้า เช่น เส้นศูนย์สูตร เส้นสุริยวิถี เส้นเมอริเดียน แสดงขั้วทรงกลมฟ้า และตำแหน่งที่แกนผ่านขั้วโลก จะชี้ไปในรอบ 26,000 ปี แสดงระบบสุริยะ โลกหมุนในอวกาศ ภาพฉายแสดง รอบทิศ แสดงพื้นผิวดวงจันทร์ ดาวอังคาร พื้นผิวขั้วน้ำแข็งของโลก

โดยแต่ละรอบนั้นจะใช้เวลาในการจัดฉายประมาณ 1 ชั่วโมง และรายการแสดงจะผลัดเปลี่ยนไปทุก ๆ เดือน







2. ส่วนแสดงนิทรรศการรอบห้องฉายดาว

ส่วนการแสดงนิทรรศการดาราศาสตร์ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน จัดแสดงอยู่รอบ ๆ ห้องฉายดาว ให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศของไทยและของโลก (ไม่เสียค่าชม) ได้แก่ ...

ส่วนที่ 1 โลกดาราศาสตร์
ส่วนที่ 2 ชีวิตสัมพันธ์กับดวงดาวอย่างไร ?
ส่วนที่ 3 โลก แหล่งกำเนิดชีวิต
ส่วนที่ 4 ชีวิตของดาวฤกษ์
ส่วนที่ 5 ความเป็นไปในเอกภพ
ส่วนที่ 6 มนุษย์กับการสำรวจอวกาศ







การแสดงในห้องฉายดาวห้องฉายดาว

วันอังคาร-วันศุกร์ รอบนักเรียน เวลา 10.00 น., 13.30 น.
รอบประชาชน เวลา 11.00 น., 14.30 น.
เสาร์-อาทิตย์ 4 รอบ เวลา 10.00 น., 11.00 น., 13.30 น., 14.30 น.

อัตราค่าเข้าชม

เด็ก/นักเรียน/นักศึกษา/ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี 10 บาท/คน
ผู้ใหญ่ 20 บาท/คน
พระภิกษุ-สามเณร ชมฟรี

รอบบรรยายภาษาอังกฤษ แสดงเฉพาะวันอังคาร รอบ 10.00 น. (โปรดจองล่วงหน้าเป็นหมู่คณะ) ทั้งนี้ จองรอบสอบถาม และสำรองที่นั่ง โทร 0-2392-1773 / โทรสาร 0-2391-0544

การเดินทาง

- รถโดยสารประจำทาง สาย 2, 25, 38, 40, 72, 501, 511, 513, 508

- รถไฟฟ้าบีทีเอส (ลงที่สถานีเอกมัย)


อยากไปๆ ไม่ได้ไปนานแล้ว ^^

ข้อมูลจากkapook.com



Create Date : 23 มิถุนายน 2553
Last Update : 23 มิถุนายน 2553 19:22:53 น.
Counter : 797 Pageviews.

4 comments
  
ไม่เคยไปครับ
โดย: ปลาโอเค็ม วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:21:30:50 น.
  
ไปมาเมื่องานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ปีที่แล้วครับ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=ton-nam&date=23-08-2009&group=1&gblog=16
โดย: tongsb วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:8:48:17 น.
  
อยากไปเหมือนกันค่ะ ไม่ได้ไปตั้งแต่อยู่ประถม
จะมีอะไรเปลี่ยนบ้างน้า...
โดย: APPLEAIR วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:9:37:03 น.
  
ทักทายยามบ่ายครับ
ท้องฟ้าจำลองยังไม่เคยได้ไปเลยครับ
เชยได้อีก ค่าเข้าชมก็ไม่แพง ต้องหาเวลาไปซะแล้ว
โดย: pragoong วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:14:00:19 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
มิถุนายน 2553

 
 
1
4
5
6
8
12
13
17
18
20
22
26
27
28
29
30
 
 
23 มิถุนายน 2553
All Blog